ค่าไฟฟ้า หัก ณ ที่จ่าย หรือไม่

www.avaccount.com > บอร์ดบัญชีและภาษี

(1/1)

KAT:
จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ที่สำนักงานประปา สำนักงานไฟฟ้า และองค์การโทรศัพท์ ตามลำดับ

จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายกับสำนักงานเหล่านี้หรือไม่ค่ะ

ถ้าหัก จะต้องบันทึกบัญชียังไง

007:
ค่าน้ำ ค่าไฟ ถือเป็นสินค้า ไม่ต้องหักครับ

ค่าใช้โทรศัพท์ถือเป็นค่าบริการ ต้องหัก 3% ครับ

ค่าเช่าโทรศัพท์(ถ้ามี) เป็นค่าเช่า ต้องหัก 5% ครับ

007:
ค่าน้ำ ค่าไฟ ถือเป็นสินค้า ไม่ต้องหักครับ

ค่าใช้โทรศัพท์ถือเป็นค่าบริการ ต้องหัก 3% ครับ

ค่าเช่าโทรศัพท์(ถ้ามี) เป็นค่าเช่า ต้องหัก 5% ครับ

ชาย:
ไปจ่ายค่าน้ำที่การประปาปทุมธานี โดนเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 12.57  มันถูกต้องแล้วใช่หรือไม่

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

ตอบ

ไปที่เวอร์ชันเต็ม

ก่อนที่เราจะเริ่มทำธุรกิจจำหน่ายหรือผลิตสินค้าสักหนึ่งอย่าง สิ่งสำคัญที่เราต้องมีก่อนอันดับแรกเลยคือชื่อเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อใช้เป็นตราสินค้าของเราและเป็นที่จดจำของผู้ใช้สินค้า

1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ชาวบ้านร้านตลาดทั่วไปอย่างเราๆ คงเคยชินแล้วว่าเมื่อจ่ายจ่ายค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้าที่ใดเราก็ไม่เคยต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นการถูกต้องแล้วเหตุผลคือ

1.1 การจ่ายค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้านั้น ผลทางกฎหมายคือการจ่ายค่าสินค้า น้ำประปาและค่าไฟฟ้าถือเป็นสินค้าซึ่งกฎหมายปัจจุบันไม่ได้กำหนดให้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้จ่ายจะเป็นบุคคลธรรมดา ชาวบ้านร้านค้า หรือบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดๆ ก็ไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทั้งสิ้น

1.2 การไฟฟ้า ฯ และการประปาฯ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจผู้ขายไฟฟ้าและน้ำประปานั้น เป็นนิติบุคคลที่ไม่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ดังนั้น แม้ผู้จ่ายเงินค่าน้ำค่าไฟจะเป็นหน่วยงานราชการซึ่งมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อซื้อสินค้า แต่เมื่อชำระค่าน้ำค่าไฟให้แก่การไฟฟ้าฯ หรือการประปา ก็จะหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ได้

มีคำถามที่ได้รับอยู่เสมอก็คือ ธุรกิจอาคารสำนักงานให้เช่า หรือ service apartment ต่างๆ ซึ่งมักจะแยกเก็บค่าน้ำค่าไฟออกจากค่าเช่าหรือค่าบริการทั้งเรียกเก็บตามหน่วยมิเตอร์ หรือเก็บเป็นการเหมา ผู้จ่ายค่าน้ำค่าไฟจะต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่??

ขอยืนยันคำตอบเดิมคือ ไม่ว่าผู้ที่ขายน้ำประปาหรือไฟฟ้าจะเป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบุคคลธรรมดาซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ ผู้ที่จ่ายค่าน้ำค่าไฟฟ้าก็ไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายเช่นกัน

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ไฟฟ้าและน้ำประปานั้นถือเป็น "สินค้า" ตามมาตรา 77/1 (9) แห่งประมวลรัษฎากร การขายน้ำประปาและไฟฟ้าจึงเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8)ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในฐานะเป็นการขายสินค้าไม่ใช่การให้บริการ เพราะมีบางท่านมีความเห็นว่าน้ำประปาและไฟฟ้าเป็นบริการ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายไฟฟ้าและน้ำประปาจะเกิดขึ้นเมื่อมีการชำระค่าไฟฟ้าและน้ำประปาจะเกิดขึ้นเมื่อมีการชำระค่าไฟฟ้าและน้ำประปาตามกฎกระทรวงฉบับที่189 (พ.ศ.2534) ฯ ข้อ 1 ดังนี้ ผู้จ่ายค่าน้ำค่าไฟฟ้าจึงต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7ของค่าน้ำหรือค่าไฟฟ้าที่จ่าย มีกรณีที่เป็นปัญหาของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ไม่ได้เป็นผู้ขายไฟฟ้าหรือน้ำประปา แต่มีบุคคลอื่นขอร่วมใช้น้ำประปาหรือไฟฟ้าโดยผู้ประกอบการฯ เรียกเก็บเงินจากผู้ใช้ร่วมนั้น กรณีดังกล่าวก็ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ขอใช้น้ำใช้ไฟด้วยเช่นกันเพราะถือเป็นการขายน้ำประปาและไฟฟ้า แต่ก็ไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ได้ เพราะกฎหมายถือเป็นการขายสินค้าตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ใช่การให้บริการ

ก่อนจบขอฝากว่าสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ขายน้ำประปาหรือไฟฟ้าต้องนำค่าน้ำค่าไฟฟ้าที่ขายได้มารวมคำนวณภาษีเงินได้ตอนสิ้นปีด้วย อย่าดีใจว่าไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเสียจนลืมนำมารวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปี แต่ถ้าเป็นการไฟฟ้าฯ หรือการประปาฯ ซึ่งไม่เข้าลักษณะหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีเงินได้ จึงไม่ต้องนำค่าน้ำค่าไฟฟ้าที่ขายได้มารวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด ------------------------------------------------------------------------------------------------------

▪️ใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงิน บิลต่างๆ ที่ออกเป็นชื่อของผู้อื่น เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น

บริษัท “สามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้” เนื่องจากเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการ

แต่จะต้องมีหลักฐานเพื่อพิสูจน์ได้ว่าบริษัทมีการจ่ายจริง และหลักฐานอื่นๆประกอบ เช่น สัญญาเช่า เป็นต้น

📉ภาษีมูลค่าเพิ่ม

▪️ส่วนภาษีซื้อที่ปรากฏในใบกำกับภาษีที่ออกมาในนามของเจ้าของอาคารผู้ให้เช่านั้นบริษัท “ไม่สามารถนำมาเป็นภาษีซื้อได้” เนื่องจากใบกำกับภาษีไม่ได้แสดงชื่อของบริษัท

📊สนใจผู้ช่วยวางแผนโครงสร้างธุรกิจ วางแผนภาษีและเครื่องมือจัดการธุรกิจดิจิทัลที่ตอบโจทย์ ติดต่อ AccRevo ได้เลยค่า

ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ที่มีใบเสร็จรับเงินออกในนามของเจ้าของอาคารผู้ให้เช่า บริษัทสามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เนื่องจากเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ส่วนภาษีซื้อที่ปรากฎในใบกำกับภาษีที่ออกในนามของเจ้าของอาคารผู้ให้เช่านั้น บริษัทไม่สามารถนำมาเป็นภาษีซื้อได้ เนื่องจากใบกำกับภาษีไม่ได้แสดงชื่อของบริษัท

ค่าไฟฟ้า หัก ณ ที่จ่าย กี่ เปอร์เซ็นต์

3. กรณีจ่ายค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้คำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายในอัตรา 1% ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

ชำระค่าไฟฟ้าต้องเสียภาษีประเภทใด

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นภาษีที่ทางผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องมีการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ซึ่งจะถูกเรียกเก็บตามที่กฎหมายกำหนดคือ 7% โดยมีวิธีคำนวณตามสูตร คือ (ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft) x 7% ก็จะได้เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่าย

ค่าไฟใช้ภาษีซื้อได้ไหม

เผยแพร่เมื่อ 26 Jun 2020 12:04. ใบกำกับภาษีสำหรับค่าไฟฟ้า ระบุชื่อนิติบุคคลถูกต้อง แต่ระบุที่อยู่ตามสถานที่ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นสถานประกอบการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินำไปถือเป็นภาษีซื้อของสำนักงานใหญ่ได้

ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้ไหม

▪️ใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงิน บิลต่างๆ ที่ออกเป็นชื่อของผู้อื่น เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น บริษัท “สามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้” เนื่องจากเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการ