กรดไหลย้อนระยะ 3 อันตราย ไหม

อธิบดีกรมการแพทย์ เผยโรคกรดไหลย้อนภัยใกล้ตัวที่พบมากขึ้นในกลุ่มคนมีพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสม ชี้หากปล่อยทิ้งไว้นานเรื้อรัง อาจนำไปสู่มะเร็งหลอดอาหารส่วนปลายได้ แนะลดชา กาแฟ ของมัน และรับประทานอาหารให้ตรงเวลาครบทุกมื้อ

นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวกับการมีกรดในกระเพาะอาหารไหลขึ้นมาสู่หลอดอาหาร มีอาการคล้ายโรคกระเพาะ แต่โรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุมาจากการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารหย่อนตัวลง ทำให้มีน้ำย่อยหรือกรดสามารถไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารได้ ซึ่งโดยปกติเมื่อกลืนอาหารลงไปแล้ว หูรูดจะทำหน้าที่คลายตัวเพื่อเปิดทางให้อาหารไหลผ่านลงไปในกระเพาะอาหาร เมื่อผ่านลงสู่กระเพาะอาหารแล้ว หูรูดจะหดรัดเพื่อปิดกั้นไม่ให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร คล้ายประตูกันไม่ให้อาหารกรดหรือด่างไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหาร

สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคกรดไหลย้อนคือ มีพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมเช่น ตื่นเช้าเร่งรีบไปทำงาน รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา กินแต่ชากาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต สูบบุหรี่ รับประทานอาหารมื้อเย็นแล้วนอนทันที ไม่ได้รอระยะเวลาให้อาหารเคลื่อนที่ผ่านกระเพาะอาหาร ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาน 3 ชั่วโมง ทำให้เกิดเป็นโรคกรดไหลย้อนได้

ส่วนอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน ที่เป็นสัญญาณอันตราย ได้แก่ มีอาการกลืนลำบาก กลืนเจ็บคอ อาเจียนบ่อยๆ น้ำหนักลด และอาเจียนเป็นเลือดหรือมีอาการซีด ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน จะกลายเป็นเรื้อรังและมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทำให้หลอดอาหารส่วนปลายมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดเป็นมะเร็งในหลอดอาหารส่วนปลายได้ในอนาคต

สำหรับการรักษาสามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ให้ความแม่นยำด้วยเครื่องตรวจกรดไหลย้อน  แล้วค่อยดำเนินการผ่าตัดถ้ามีข้อบงชี้ว่ามีกรดหรือด่างไหลย้อนขึ้นมาเกินระดับจริง ซึ่งปัจจุบันการผ่าตัดไม่ยุ่งยากเนื่องจากสมัยนี้มีเครื่องมือที่ทันสมัยด้วยการส่องกล้องเข้าไปเพื่อกระชับหูรูดให้แข็งแรง สะดวกปลอดภัย 1-2 วันก็สามารถกลับบ้านได้

อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวต่อว่า ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในแต่ละวันให้เหมาะสม โดยการดูแลเรื่องการบริโภคการรับประทานอาหารให้เป็นเวลาครบทุกมื้อ มื้อละไม่ต้องมาก แค่พออิ่มเพื่อให้มีอาหารในกระเพาะอย่างสม่ำเสมอร่างกายจะย่อยอาหารได้หมด และก่อนนอน 2-3 ชั่วโมงควรงดอาหารรวมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นช่องทางของการเกิดโรคกรดไหลย้อน เช่น ลดชากาแฟและของมัน น้ำอัดลม และงดสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายเสียสุขภาพและก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

ทั้งนี้การดูแลรักษาสุขภาพของตนเองถือเป็นเรื่องที่ดี ถ้าดูแลให้มากยิ่งขึ้นหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สุขภาพร่างกายจะแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันสูงสามารถต้านทานต่อโรคได้ 

  • เกาะติดสถานการณ์

  • สุพรรณ ศรีธรรมมา
  • กรมการแพทย์
  • โรคกรดไหลย้อน
  • โรคกระเพาะ
  • มะเร็ง
  • โรคมะเร็ง

  • 169 views

Home > เช็กอาการแบบไหนใช่ “กรดไหลย้อน”

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร จนทำให้เกิดอาการที่รบกวนต่อการชีวิตประจำวัน และเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร

โรคกรดไหลย้อนเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยสาเหตุหลักๆ ของโรคนี้ก็มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรานั่นเอง โดยจะทำให้มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ลามขึ้นมาบริเวณหน้าอกหรือลำคอ หลังจากทานอาหารมื้อหนัก และมีอาการเรอมีกลิ่นเปรี้ยว

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

  • หลอดอาหารส่วนปลายคลายตัวโดยที่ยังไม่กลืนอาหาร
  • ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร
  • ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ
  • เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
  • พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานเสร็จแล้วนอนทันที การรับประทานของมันๆ มากเกินไป
  • ภาวะความเครียด  โดยผู้ที่มีความเครียดมักมีภาวะหลอดอาหารที่มีความไวเกินต่อสิ่งกระตุ้น หลอดอาหารอ่อนไหวต่อกรด เมื่อมีกรดไหลย้อนขึ้นมาแม้เพียงเล็กน้อย จะมีอาการแสดงทันที
  • ปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคอ้วน การตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม การรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น

“รับประทานแล้วนอน” ระวังกรดไหลย้อนมาเยือน

หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อน ก็คือ พฤติกรรม “รับประทานแล้วนอน” ซึ่งการนอนจะทำให้หูรูดมีการทำงานที่ไม่ดี เกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้นไปได้ รวมไปถึงท่านอนราบยังทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปได้ง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้แล้ว การรับประทานอาหารและนอนทันที ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนถึง 2 เท่า

กรดไหลย้อน ใครๆ ก็เป็นได้

อย่างที่ทราบกันดีว่า โรคกรดไหลย้อน มักพบในผู้ที่ทำงานออฟฟิศ เนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แต่ไม่เพียงเท่านั้น โรคกรดไหลย้อนสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ เป็นโรคใกล้ตัวที่ใครๆ ก็เป็นได้ โดยผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ มีความเสี่ยงเป็นกรดไหลย้อน

  • รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รับประทานแล้วนอนทันที
  • ชอบรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเป็นประจำ
  • ดื่มสุรา น้ำอัดลม
  • สูบบุหรี่
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์
  • มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือโรคอ้วน
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง
  • รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า เป็นต้น

แน่ใจได้อย่างไรว่าเป็นกรดไหลย้อน? อาการแบบไหนใช่ “กรดไหลย้อน”

อาการต่างๆ เหล่านี้ ถือเป็นสัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อน หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ นั่นแสดงว่าคุณกำลังเผชิญกับโรคกรดไหย้อนอยู่

  • แสบร้อนบริเวณหน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก
  • มีอาการเรอเปรี้ยว มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
  • ท้องอืด แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
  • เจ็บหน้าอก จุก คล้ายเหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ
  • หืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ
  • เจ็บคอเรื้อรัง

นอกจากการสังเกตอาการของตนเองแล้ว โรคกรดไหลย้อน ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนบางราย อาจมีอาการแสดงอื่นๆ ที่แตกต่างกันไป อาทิ เจ็บหน้าอก ไซนัสอักเสบ เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะต้องตรวจซักประวัติและวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการ โดยวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน เช่น การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร การตรวจวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร

โปรแกรมเหมาจ่ายส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร

เทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านระบบทางเดินอาหารกับแคปซูลจิ๋ว Capsule Endoscopy

ปรับพฤติกรรม รักษา“กรดไหลย้อน”

โรคกรดไหลย้อนพบได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาและป้องกันโรคนี้ก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ และช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วย ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
  • ไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารที่มีไขมันสูง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้
  • รับประทานอาหารมื้อเย็น ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปมากเกินไป

โรคกรดไหลย้อนหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา จนกลายเป็นภาวะเรื้อรัง จะส่งผลให้เกิดแผลและรุนแรงจนหลอดอาหารตีบ และอาจร้ายแรงจนทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ เนื่องจากหลอดอาหารส่วนปลายมีการสัมผัสกับกรดมากเกินไป ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคลุกลามและเรื้อรัง หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปรับการตรวจวินิจฉัยและจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

แชร์บทความ

ข้อมูลสุขภาพ โรคที่พบบ่อย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด