เส้นเลือดสมองตีบอันตรายไหม

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หรือที่เรียกกันว่า โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคที่อันตรายและฉุกเฉินพบได้ทั้งในวัยสูงอายุและวัยทำงาน ซึ่งทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้  ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคหลอดเลือดสมองอย่างถูกต้อง โดยแพทย์เฉพาะทางระบบประสาท จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้

Show

การรักษาและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ นับเป็นการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืน และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองในระยะยาว

ศึกษาอาการและสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มเติมที่ https://www.praram9.com/stroke-symptoms/

สารบัญ

  • โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)  ตรวจวินิจฉัยอย่างไร?
  • โรคหลอดเลือดสมอง รักษาหายได้หรือไม่?
  • การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
  • สรุป

เส้นเลือดสมองตีบอันตรายไหม

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ตรวจวินิจฉัยอย่างไร?

โรคหลอดเลือดสมองถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและเร่งด่วนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการวางแผนการรักษาอย่างแม่นยำและทันเวลา ผู้ป่วยควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อรักษาให้เนื้อเยื่อสมองกลับมาทำงานได้อย่างปกติ เมื่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองถูกนำตัวมาที่โรงพยาบาลจะมีแนวทางในการตรวจวินิจฉัย คือ

ซักประวัติและอาการของผู้ป่วย

แพทย์จำเป็นจะต้องซักประวัติอาการของผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาล โดยหากผู้ป่วยไม่สามารถให้ประวัติเองได้ แพทย์จำเป็นที่จะต้องซักประวัติจากญาติหรือผู้ที่เห็นเหตุการณ์ ดังนี้

  • เวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ หรือเวลาที่เห็นผู้ป่วยเป็นปกติครั้งล่าสุด ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยมีอาการหลังตื่นนอน โดยมีญาติเห็นผู้ป่วยเป็นปกติครั้งสุดท้ายตอนก่อนนอน 
  • ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหรือไม่
  • ยาที่ผู้ป่วยรับประทานเป็นประจำ
  • ประวัติครอบครัวของผู้ป่วย

ตรวจร่างกายของผู้ป่วย

แพทย์จะตรวจสัญญาณชีพ ได้แก่ วัดความดัน ชีพจร การหายใจ และอุณหภูมิของร่างกาย ตรวจหัวใจ และตรวจการตอบสนองของระบบประสาทโดยละเอียด ได้แก่ การตรวจกำลังของกล้ามเนื้อ ความรู้สึกสัมผัสของร่างกาย การพูดและความเข้าใจ การฟังตามคำสั่ง การเดิน เป็นต้น

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ผู้ป่วยที่สงสัยโรคหลอดเลือดสมองต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อแยกออกจากภาวะอื่น ๆ รวมถึงเป็นการตรวจหาสาเหตุ เพื่อการพิจารณาการให้ยา และเพื่อการป้องกันการเป็นซ้ำในครั้งต่อไป

  1. การตรวจเลือด (blood test): เพื่อแยกโรคหลอดเลือดสมอง ออกจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้มีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น ภาวะน้ำตาลต่ำ ภาวะเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ ภาวะการทำงานของตับหรือไตที่ผิดปกติ 
  2. การตรวจเอกซเรย์ปอด (chest x-ray): เพื่อดูภาวะความผิดปกติของหัวใจและปอด
  3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography; EKG): เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง อาจจะพบร่วมกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจ และลิ่มเลือดจากหัวใจนี้สามารถหลุดไปที่สมอง และทำให้เกิดสมองขาดเลือด หรือ stroke ได้
  4. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan): มีข้อดี คือ ใช้เวลาน้อย และสามารถตรวจวินิจฉัยโรคในกลุ่มที่มีภาวะเลือดออกในสมอง และประเมินการแตกของกระโหลกศีรษะได้ดี แต่ข้อเสียคือ ความละเอียดของภาพในเนื้อสมอง เช่น สมองขาดเลือดในระยะเบื้องต้น จะน้อยกว่าการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI scan) 
  5. การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI scan): ข้อดี คือ มีความละเอียดสูง สามารถดูภาวะหลอดเลือดในสมองตีบในระยะเฉียบพลันภายใน 15 นาทีถึง 7 วันได้ และสามารถเห็นหลอดเลือดใหญ่ ๆ ที่ตีบได้ โดยไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี แต่ข้อเสีย คือ ใช้ระยะเวลาในการตรวจนาน และต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วย เช่น ในผู้ป่วยบางคนที่กลัวที่แคบ หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถนอนนิ่งได้นาน ๆ หรือในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pace maker) จะไม่สามารถรับการตรวจด้วยวิธีนี้ได้ เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะไปรบกวนการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจและทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  6. การฉีดสารทึบรังสีเพื่อการวินิจฉัยหลอดเลือดสมอง (cerebral angiography): เป็นการใช้สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดผ่านทางขาหนีบเพื่อฉีดสารทึบรังสี ประเมินหลอดเลือดสมอง ซึ่งแพทย์มักจะส่งตรวจวินิจฉัยในกรณีที่สงสัยภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง ที่ทำให้เกิดเลือดออกในชั้นเยื่อหุ้มสมองได้
  7. การตรวจอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดที่คอ (TCD transcranial doppler หรือ carotid duplex): เป็นการตรวจโดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์ตรวจดูความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองและหลอดเลือดที่บริเวณลำคอ เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดที่คอตีบ และใช้เป็นข้อมูลเพื่อพิจารณาการวางแผนผ่าตัดหลอดเลือดในกรณีที่มีข้อบ่งชี้

อย่างไรก็ตาม แพทย์จะพิจารณาการตรวจตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย

เส้นเลือดสมองตีบอันตรายไหม

> กลับสู่สารบัญ

โรคหลอดเลือดสมอง รักษาหายไหม?

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ว่าจะเป็นจากสาเหตุหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) หรือ หลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด (hemorrhagic stroke) หากรักษาได้อย่างทันท่วงที จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตและลดความเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต และเพิ่มโอกาสให้สมองกลับมาทำงานเป็นปกติได้

โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic Stroke)

โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดอัน สามารถรักษาให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติได้ โดยผู้ป่วยไม่มีความพิการ อัมพฤกษ์ อัมพาตหลงเหลืออยู่ สิ่งสำคัญคือ จะต้องรีบนำส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทันทีหลังมีอาการภายในเวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง แพทย์จะตรวจวินิจฉัยตามขั้นตอนที่กล่าวไปข้างต้น และทำการรักษาอย่างเร่งด่วน 

จุดมุ่งหมายในการรักษาคือ ทำให้หลอดเลือดสมองกลับมามีเลือดไหลเวียนได้ปกติ โดยมีหลายวิธีการรักษา หนึ่งในการรักษาคือ การให้ยาละลายลิ่มเลือดเข้าทางหลอดเลือดดำ (IV rtPA; alteplase) ตัวยาจะออกฤทธิ์ละลายลิ่มเลือดที่ไปอุดตันสมองได้ประมาณ 30-50% ของผู้ป่วย  และทำให้ผู้ป่วยไม่มีความพิการหลงเหลืออยู่ หรือมีความพิการน้อยมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเข้ารับการรักษา 

หลังจากการรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก (ICU) หรือหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke unit) เพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดโดยบุคลากรทางการแพทย์เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง 

แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมานานกว่า 4 ชั่วโมงครึ่ง หากได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกในสมองได้มากกว่าผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทันทีหลังมีอาการประมาณ 6% (จากการศึกษา)

โรคหลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด (hemorrhagic stroke)

จุดมุ่งหมายในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองแตก หรือฉีกขาดเฉียบพลัน คือ การควบคุมปริมาณเลือดที่ออกในสมอง เพื่อรักษาระดับความดันเลือด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกในสมองปริมาณมาก จนกระทั่งมีภาวะความดันในกระโหลกสูง ผู้ป่วยอาจจะจำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดเร่งด่วนทันทีที่นำส่งโรงพยาบาล

ถ้าในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกในสมองปริมาณน้อย อาจไม่จำเป็นที่จะต้องผ่าตัด แต่ให้การรักษาแบบประคับประคองได้ และหลังจากรับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยหนัก (ICU) เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมงเช่นเดียวกัน 

ในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองชนิดที่มีเลือดออกในชั้นเยื่อหุ้มสมองจากหลอดเลือดสมองโป่งพองและแตก (subarachnoid hemorrhage from rupture aneurysm) ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดทันทีที่นำส่งโรงพยาบาล เพื่อลดการแตกซ้ำของหลอดเลือดสมองที่โป่งพอง

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองและป้องกัน ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว จะมีความเสี่ยงที่อาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้มากกว่าคนปกติ การรักษาและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ ควรปฏิบัติดังนี้

  1. ลดและควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคความดันสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน 
  2. แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด โดยยามีฤทธิ์ต้านการจับกันของเกล็ดเลือด ไม่ให้การเกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง เพื่อป้องกันการเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน

หากผู้ป่วยมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันซ้ำ ๆ ผู้ป่วยอาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดหลายชนิดร่วมกัน แต่ข้อควรระวังคือ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายมากขึ้น เช่น ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือ ภาวะเลือดออกในสมอง เป็นต้น ดังนั้นควรอยู่ในความดูแลและได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทเท่านั้น ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

ศึกษาโรคหลอดเลือดสมองในคนวัยทำงานเพิ่มเติมที่: 
https://www.praram9.com/stroke-in-young-people/

เส้นเลือดสมองตีบอันตรายไหม

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

โรคหลอดเลือดสมอง เกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย หากสงสัยว่ามีอาการให้รีบมาโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อรักษาเนื้อเยื่อสมองให้มีความเสียหายน้อยที่สุดและกลับมาทำงานได้อย่างปกติ โดยที่ไม่มีความพิการเกิดขึ้น เมื่อรักษาหายเป็นปกติแล้ว ควรหมั่นดูแลสุขภาพ ป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยง เพื่อไม่ให้โรคหลอดเลือดสมองกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

เส้นเลือดสมองตีบอันตรายไหม

ตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อรู้ทันมะเร็งเต้านม

อ่านเพิ่มเติม

เส้นเลือดสมองตีบอันตรายไหม

High altitude illness หรือภาวะแพ้ที่สูง ที่นักปีนเขาต้องระวัง !

อ่านเพิ่มเติม

เส้นเลือดสมองตีบอันตรายไหม

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ เส้นเลือดในสมองตีบอันตรายแค่ไหน

Stroke หรือโรคหลอดเลือดสมอง มีสาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ จนทำให้สมองขาดเลือด และทันทีที่สมองขาดเลือด เซลล์สมองต่างๆ จะค่อยๆถูกทำลาย ส่งผลให้สมองสูญเสียหน้าที่จนเกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้

อาการเส้นเลือดในสมองตีบเป็นยังไง

อาการของโรคเส้นเลือดในสมองตีบ จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน โรคเส้นเลือดสมองตีบมักพบอาการดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะ สายตาพร่ามัว อัมพาตครึ่งซีก ใบหน้าบิดเบี้ยว สื่อสารไม่ได้ เสียการรับรู้ความรู้สึก การเคลื่อนไหวร่างกายและการทรงตัว เช่น รู้สึกชาตามตัว แขนขาอ่อนแรงหรือขยับไม่ได้ และเดินเซ เป็นต้น

เส้นเลือดในสมองตีบทำอย่างไร

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันด้วยวิธี Mechanical Thrombectomy เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาในปัจจุบัน ด้วยวิธีการนำเอาลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดสมองออกผ่านทางสายสวน เพื่อเปิดหลอดเลือดให้เลือดสามารถไปเลี้ยงสมองได้ ซึ่งเป็นการรักษาในผู้ป่วยที่มีสภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมองขนาดใหญ่ ...

เส้นเลือดในสมองอุดตัน อันตรายไหม

โรคหลอดเลือดสมองอุดตันไม่เพียงแต่มีอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต แต่ยังร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากรักษาไม่ทันท่วงที ที่สำคัญปัจจุบันผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงไม่ใช่เฉพาะแต่ผู้สูงอายุเท่านั้น แต่วัยรุ่นและวัยทำงานก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ ดังนั้นการรู้เท่าทันโรคและเทคนิคการรักษาหลอดเลือดสมองอุดตันจึงเป็นสิ่ง ...