อุตสาหกรรมในประเทศไทย ปัจจุบัน

  1. หน้าหลัก
  2. เกี่ยวกับเรา
  3. ภาวะอุตสาหกรรม

ภาวะอุตสาหกรรม

ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน

เศรษฐกิจไทย ปี 2564 และแนวโน้มปี 2565

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสที่สามของปี 2564 ด้านการใช้จ่าย การส่งออกสินค้าและบริการ และการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวในเกณฑ์สูงและเร่งขึ้น การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐกลับมาขยายตัว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง ด้านการผลิต สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขาไฟฟ้า ก๊าซฯ กลับมาขยายตัว สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมฯ ขยายตัวต่อเนื่อง สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงชะลอตัว ส่วนสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการก่อสร้างลดลง เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ขยายตัวจากไตรมาสที่สามของปี 2564 ร้อยละ 1.8 (QoQ SA) รวมทั้งปี 2564 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.6 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.2 ในปี 2563

รวมทั้งปี 2564

เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.6 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.2 ในปี 2563

โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือและการก่อสร้างลดลงร้อยละ 10.0 และร้อยละ 2.2 เทียบกับการขยายตัว ร้อยละ 3.1 และร้อยละ 0.9 ตามลำดับ

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565

เศรษฐกิจไทยปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 - 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญประกอบด้วย

  1. การปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ แม้จะเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด - 19) สายพันธุ์โอมิครอน แต่มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขอย่างจำกัดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 และส่งผลให้ภาครัฐสามารถ ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดได้ตามลำดับ
  2. การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวเนื่องมาจากการผ่อนคลายมาตรการเพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้าตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและ ปริมาณการค้าโลก
  3. การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้าตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก และ
  4. แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 4.9 การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP อย่างไรก็ดี ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2565 ให้ขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดไว้อันเป็นผลจาก
    1. ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 จากการกลายพันธุ์ของไวรัส
    2. แรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก
    3. เงื่อนไขด้านฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ
    4. ความยืดเยื้อของปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
    5. ความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลกท่ามกลางแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อและปัญหาความขัดแย้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์

ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยง

  1. ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19จากการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ทำให้แพร่ระบาดได้รวดเร็วมากขึ้นซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อ และมีความจำเป็นที่ประเทศต่าง ๆ ต้องกระจายวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Booster doses)เพิ่มเติมเพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตจึงถือเป็นข้อจำกัดในหลายประเทศที่ไม่มีความพร้อม เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ยังจำเป็นต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะภายหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติควบคู่ไปกับการติดตามความพร้อมของการกระจายวัคซีนยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ให้มีความเพียงพอต่อการรับมือกับการแพร่ระบาดในปัจจุบันโดยเฉพาะความสามารถในการควบคุมอัตราการป่วยที่มีอาการรุนแรงและการเสียชีวิตให้อยู่ในระดับต่ำและไม่เกินศักยภาพของระบบสาธารณสุขที่จะรองรับได้ รวมทั้งการติดตามแนวโน้มและความเป็นไปได้ของการกลายพันธุ์ของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
  2. แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ อัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นตามปัจจัยทางด้านอุปทานที่ส่งผลให้ราคาสินค้าในหมวดพลังงานและราคาอาหารสดบางประเภทปรับตัวสูงขึ้นประกอบกับปัจจัยการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และภาวะการหยุดนิ่งในห่วงโซ่การผลิตโลกที่ได้ส่งผลต่อแรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตมากขึ้นทั้งนี้มีปัจจัยสำคัญต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะประเด็นความขัดแย้งใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่จะส่งผลต่อราคาพลังงานในตลาดโลกและความยืดเยื้อกว่าที่คาดของปัญหาภาวะการหยุดนิ่งของห่วงโซ่การผลิตที่จะเป็นแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นและจะเป็นข้อจำกัดต่อ การฟื้นตัวของการบริโภคในระยะต่อไป
  3. เงื่อนไขด้านฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจจากการเพิ่มขึ้นของภาระหนี้สิน ท่ามกลางตลาดแรงงานที่ยังไม่ฟื้นตัวสะท้อนจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาสที่สามของปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 89.3 เทียบกับร้อยละ 78.8 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงการระบาด ขณะที่สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non - Performing Loans : NPLs) และสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงพิเศษ (Special Mention Loans : SMLs) ต่อสินเชื่อรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในไตรมาสที่สามของปี 2564 ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 7.3 และร้อยละ 12.1 เทียบกับร้อยละ 4.8 และร้อยละ 3.2 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ตามลำดับ ภาระหนี้สินภาคเอกชนที่อยู่ในระดับสูงจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและความสามารถในการชำระหนี้ภายใต้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นในระยะต่อไป ประกอบกับตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการระบาด สะท้อนจากอัตราการว่างงานในไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 แม้จะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6 เทียบกับร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังสูงกว่าร้อยละ 1.0 ในช่วงเดียวกันของปี 2562 นอกจากนี้ พบว่าการว่างงานยังสูงในสาขาเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว ได้แก่ กิจกรรมโรงแรม และการบริการด้านอาหาร และภาคการก่อสร้าง ขณะเดียวกันจำนวนผู้ทำงานอยู่ในระดับต่ำและผู้เสมือนว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง

  1. แรงขับเคลื่อนจากการขยายตัวของภาคการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่การผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มเป็นปัญหาต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว ดังนี้
    1. ปัญหาภาวะการหยุดนิ่งของห่วงโซ่การผลิตโลก เนื่องจากการบริหารจัดการตู้คอนเทนเนอร์ที่ส่งผลต่อต้นทุนค่าขนส่งสินค้าทางทะเล ซึ่งหากยังคงมีความยืดเยื้อไปจนถึงช่วงครึ่งแรกของปี 2565 จะเป็นข้อจำกัดสำคัญต่อห่วงโซ่การผลิตทั่วโลกและการฟื้นตัวของภาคการส่งออกของไทย รวมทั้งเป็นความเสี่ยงที่จะสร้างแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิตในระยะต่อไป และ
    2. การขาดแคลนแรงงานต่างด้าว พบว่าการนำเข้าแรงงานต่างชาติยังเป็นไปอย่างล่าช้า โดยข้อมูลสถานการณ์การจ้างแรงงานต่างด้าวของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานในเดือนธันวาคม 2564 ระบุว่ามีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั่วประเทศอย่างถูกกฎหมายจำนวนทั้งสิ้น 2,350,677 คน เทียบกับ 2,512,328 คน และ 3,005,376 คนในเดือนเดียวกันของปี 2563 และ 2562 ตามลำดับ ภาวะการไม่เพียงพอของตลาดแรงงานดังกล่าวจะเป็นข้อจำกัดสำคัญของการฟื้นตัวของภาคการผลิตและภาคบริการ
  2. ความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลกที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย
    1. ความไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ที่การแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็วและอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีในปัจจุบัน
    2. การเพิ่มขึ้นของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศเศรษฐกิจหลักเพิ่มสูงเกินกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่อง อาทิ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ส่งผลให้ธนาคารกลางประเทศสำคัญ ๆ มีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ในขณะที่การฟื้นตัวที่ล่าช้าของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และกลุ่มประเทศรายได้น้อย ทำให้ธนาคารกลางในหลายประเทศดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนและอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศรายได้น้อยที่มีสัดส่วนของหนี้ต่างประเทศสูงจนอาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้
    3. ความผันผวนในตลาดการเงินโลกและเงินลงทุนระหว่างประเทศ เนื่องจากความเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ที่จะส่งผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเคลื่อนย้ายเงินทุน รวมทั้งการปฏิรูปการกำกับดูแลธุรกิจของรัฐบาลจีนและการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในจีนที่อาจทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวกว่าที่คาดและส่งผลต่อความผันผวนของราคาสินทรัพย์
    4. ทิศทางการดำเนินนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลักโดยเฉพาะนโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ จีน รวมถึงจุดยืนของสหรัฐฯ จีน และไต้หวันในการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans - Pacific Partnership : CPTPP)
    5. ความเสี่ยงด้านความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซียและยูเครนและชาติพันธมิตรรวมถึงความขัดแย้งในตะวันออกกลางระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯและระหว่างกบฏในเยเมนและ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจสร้างความผันผวนให้กับเศรษฐกิจโลกและระดับราคาพลังงาน

ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค

เศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มการขยายตัวจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า และแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2565 ควรให้ความสำคัญกับ

  1. การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศให้อยู่ในวงจำกัด โดยให้ความสำคัญกับ (1) การเร่งกระจายวัคซีนให้เพียงพอและครอบคลุมทั่วถึง (2) การดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมโรคตามระดับพื้นที่สถานการณ์ โดยมุ่งเน้นการเพิ่มความเข้มข้นในการควบคุม และกำกับติดตามอย่างเคร่งครัดตามมาตรการ COVID - Free Setting สำหรับองค์กรและหน่วยงาน และมาตรการ Universal Prevention สำหรับบุคคล (3) การดูแลควบคุมกิจกรรมเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคและการลักลอบเข้าเมืองที่ผิดกฎหมายและ (4) การเตรียมความพร้อมของการระบาดระลอกใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่เหลือของปี

  1. การสนับสนุนให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสามารถกลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มศักยภาพ ควบคู่ไปกับการดูแลภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว โดยเฉพาะภาคธุรกิจขนาดย่อม ที่ยังประสบปัญหาสภาพคล่องและภาระหนี้สิน โดยให้ความสำคัญกับ (1) การเร่งรัดติดตามมาตรการต่าง ๆ ทั้งด้านการเงิน การคลังที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพิจารณามาตรการเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติมโดยเฉพาะในกลุ่มที่ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึง และสาขาเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว ได้แก่ การปรับเงื่อนไขในมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ การเร่งรัดให้สถาบันการเงินช่วยเหลือด้านสภาพคล่องให้รวดเร็วมากขึ้น และการพิจารณาวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อให้สามารถเริ่มดำเนินธุรกิจได้ในระยะต่อไป (2) การเร่งรัดแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการเพื่อช่วยเหลือแรงงานเพิ่มเติม โดยเฉพาะแรงงานในสาขาที่ได้รับผลกระทบซึ่งอาจต้องเปลี่ยนสายงานสายอาชีพใหม่รวมทั้งแรงงานในกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นเพื่อลดปัญหาการเลิกจ้างในระยะต่อไป (3) การเร่งรัดปรับโครงสร้างหนี้ภาคธุรกิจ และ (4) การประชาสัมพันธ์มาตรการของภาครัฐให้ประชาชนและธุรกิจมีความเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์จากมาตรการที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. การรักษาแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยให้ความสำคัญกับ (1) การติดตามและประเมินผลมาตรการต่าง ๆ ที่ดำเนินการไปแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ ควบคู่ไปกับการปรับมาตรการและดำเนินมาตรการเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (2) การดูแลกลไกตลาดเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าต่อต้นทุนการผลิตและภาระค่าครองชีพของประชาชน รวมทั้งผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และ (3) การพิจารณาการใช้จ่ายภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 และ 2566 โดยให้ความสำคัญมากขึ้นกับโครงการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างงานสร้างอาชีพในระดับชุมชน เพื่อสนับสนุนให้แรงงานที่ได้รับผลกระทบและย้ายกลับภูมิลำเนามีโอกาสในการประกอบอาชีพและมีงานทำในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในระยะแรกของการฟื้นตัว
  3. การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน เพื่อลดข้อจำกัดการขยายตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยให้ความสำคัญกับมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขด้านรายได้และสภาพปัญหาของลูกหนี้แต่ละราย / กลุ่ม เป็นสำคัญ ควบคู่ไปกับการใช้มาตรการจูงใจในการรวมหนี้ และบรรเทาภาระหนี้สินที่สำคัญ ได้แก่ หนี้สินด้านการศึกษาการเช่าซื้อ และหนี้สินที่เกิดจากการบริโภค
  4. การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า ให้สามารถสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการรักษาระดับการจ้างงานในภาคการผลิต โดยให้ความสำคัญกับ
    1. การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าสำคัญไปยังตลาดหลักที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนควบคู่ไปกับการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ และการสนับสนุนการค้าชายแดน
    2. การพัฒนาสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า
    3. การแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อระบบการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการเรื่องการขนถ่ายสินค้าระหว่างท่าเรือกับจุดรับส่งสินค้าเพื่อลดระยะเวลาและต้นทุนการขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการ
    4. การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าสำคัญใหม่ ๆ รวมทั้งการเร่งรัดกระบวนการพิจารณาในการตัดสินใจเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ และ
    5. การปกป้องความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต
  5. การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความสำคัญ
    1. การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2562 - 2564 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
    2. การแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจรวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต
    3. การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น
    4. การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว รวมถึงขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละภูมิภาค
    5. การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญ ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และ
    6. การพัฒนากำลังแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้มข้นโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่
  6. การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ประกอบด้วย
    1. การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 93.4 ของกรอบงบประมาณทั้งหมด และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของงบประมาณทั้งหมด รวมทั้งการเบิกจ่ายโครงการตามพระราชกำหนดฯ เงินกู้วงเงิน 1 ล้านล้านบาท และ 5 แสนล้านบาทในส่วนที่เหลือ
    2. การขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐทั้งในด้านการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งให้เป็นไปตามแผนงาน โดยเฉพาะการเร่งดำเนินการในโครงการที่สำคัญ ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้ดำเนินการแล้ว อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โครงการรถไฟชานเมือง โครงการลงทุนสำคัญด้านพลังงาน เป็นต้น และ
    3. การเพิ่มพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal space) โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่าย เพื่อให้ฐานะการคลังอยู่ในระดับที่เพียงพอในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายใต้ความไม่แน่นอนและความผันผวนในระยะต่อไป
  7. การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของภาคเศรษฐกิจต่างประเทศจากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินโลก ควบคู่ไปกับการรักษาบรรยากาศทางการเมืองเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อความเชื่อมั่นและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
  8. การขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สนับสนุนการกระจายรายได้ และปรับตัวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

สรุปสถานการณ์พลังงานปี 2564 และแนวโน้มปี 2565

สถานการณ์พลังงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 พบว่า การใช้พลังงานขั้นต้นเพิ่มขึ้น 0.01% จากการใช้ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน / ลิกไนต์ ไฟฟ้าพลังน้ำและไฟฟ้านำเข้า เพิ่มขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจในช่วงต้นปี ในขณะที่การใช้น้ำมันลดลงเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ซึ่งภาครัฐมีการประกาศใช้มาตรการต่าง ๆ อาทิ การทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) การจำกัดการเดินทางข้ามจังหวัด และการประกาศเคอร์ฟิว เป็นต้น

สถานการณ์พลังงานรายเชื้อเพลิงในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 สรุปได้ ดังนี้

  1. การใช้น้ำมันสำเร็จรูป ลดลง 8.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดระลอก 3 ในเดือนเมษายนต่อเนื่องมาจนถึงเดือนกันยายน 2564 โดยการใช้น้ำมันดีเซลลดลง 6.5% การใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล ลดลง 9.2% และการใช้น้ำมันเครื่องบิน ลดลง 44.9% ขณะที่การใช้น้ำมันเตา เพิ่มขึ้น 13.7% โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้ในภาคขนส่ง
  2. การใช้ LPG โพรเพน และบิวเทน เพิ่มขึ้น 8.1% โดยการใช้เพิ่มขึ้นจากฐานการใช้ที่ต่ำมากกว่าปกติในปี 2563 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19โดยการใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีการใช้เพิ่มขึ้น 24.3% สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม มีการใช้เพิ่มขึ้น 11.9% ตามการขยายตัวของการส่งออก และภาคครัวเรือน มีการใช้เพิ่มขึ้น 1.4% ขณะที่ภาคขนส่ง มีการใช้ลดลง 16.9% จากข้อจำกัดในการเดินทางในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 และการใช้เอง มีการใช้ลดลง 36.8%
  3. การใช้ก๊าซธรรมชาติ เพิ่มขึ้น 1.1% โดยการใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นเกือบทุกสาขาเศรษฐกิจยกเว้นการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ (NGV) ทั้งนี้การใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 0.2% ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มฟื้นตัว การใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและการใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพิ่มขึ้น 7.7% และ 1.6% ตามลำดับ ตามการส่งออก ที่ขยายตัวได้ดี ขณะที่การใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ (NGV) ลดลง 19.7% จากผลกระทบการแพร่ระบาดของโรค โควิด -19 เป็นข้อจำกัดทำให้การใช้ NGV ในการเดินทางลดลง
  4. ด้านการใช้ไฟฟ้า ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในระบบ 3 การไฟฟ้า (System Peak) ของปี 2564 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 เวลา 14.49 น. อยู่ที่ระดับ 31,023 เมกกะวัตต์ เพิ่มขึ้น 2.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยการใช้ไฟฟ้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 อยู่ที่ 143,663 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้น 1.0% ซึ่งการใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ 45% อยู่ในสาขาอุตสาหกรรม การใช้เพิ่มขึ้น 5.5% จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้การผลิตสินค้าเพื่อส่งออกขยายตัวได้ดี ส่วนการใช้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น 0.7% จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ที่ส่งผลให้ยังคงมีมาตรการ Work From Home และการจำกัดการเดินทาง ขณะที่การใช้ไฟฟ้าในสาขาธุรกิจลดลง 7.0% จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2563 โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน อาทิ ธุรกิจโรงแรม ห้างสรรพสินค้า และภัตตาคาร เป็นต้น

ทั้งนี้ แนวโน้มการใช้พลังงานปี 2565

      • ธุรกิจผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากความต้องการใช้ที่คาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 3.6% ต่อปี ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงนโยบายสนับสนุนการลงทุนภาครัฐตามแผน PDP เอื้อให้เกิดการขยายกำลังการผลิตและการลงทุนโรงไฟฟ้าใหม่
      • โรงกลั่นน้ำมัน ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยช่วง 3 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงปี 2564 ราคาน้ำมันสำเร็จรูปของไทยมีแนวโน้มปรับขึ้นโดยคาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเพิ่มขึ้นที่ระดับเฉลี่ย 36.3 บาท / ลิตรในปี 2565 ก่อนลดลงสู่ระดับเฉลี่ย 35.1 และ 34.3 บาท / ลิตรในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ นอกจากนี้ผลประกอบการของโรงกลั่นน้ำมันในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น
      • ความต้องการใช้เอทานอลมีแนวโน้มอยู่ที่ระดับ 4.2 - 4.6 ล้านลิตร / วัน เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.5% ต่อปี ในทิศทางเดียวกับการเติบโตของการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 (95) และ E20 (ที่คาดว่าจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 25 - 30% ของปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์ทั้งหมด) โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) แผนส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 เป็นน้ำมันเบนซินพื้นฐานในปี 2566 (2) การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง (Gasoline) จะขยายตัวต่อเนื่องตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้น (3) จำนวนรถยนต์สะสมที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.5 - 2.5% ต่อปี
      • อุตสาหกรรมไบโอดีเซลช่วง 3 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยคาดว่าความต้องการใช้จะอยู่ที่ 5.3 - 5.5 ล้านลิตร / วัน หรือเติบโตเฉลี่ย 4.0 - 6.0 % ต่อปี

อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าปี 2564 และแนวโน้มปี 2565

การลงทุนจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และพลังงานจากขยะ ใน 4 เดือนแรกปีนี้ ความต้องการไฟฟ้าจากภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 1.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการฟื้นตัวในหลายอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและการประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมก๊าซ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน อาหารและเครื่องดื่ม วัสดุก่อสร้าง และบรรจุภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ความต้องการจากภาคธุรกิจและผู้ใช้ในครัวเรือนหดตัวตาม 9.7% และ 3.4% ตามลำดับเมื่อเทียบรายปี ในช่วงที่เหลือของปี คาดว่าความต้องการจะเพิ่มขึ้น โดยได้แรงหนุนหลักจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมที่จะได้ประโยชน์จากการขยายตัวของการส่งออกสำหรับทั้งปีคาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น 2.8%

ในปี 2565 และ 2566 ภาวะธุรกิจจะดีขึ้นสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้า จากความต้องการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.7% ต่อปี และการสนับสนุนจากรัฐบาลในการลงทุนในอุตสาหกรรมตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาไฟฟ้าและการพัฒนาพลังงานทดแทน คาดว่าการลงทุนจะเร่งตัวขึ้นในการติดตั้งโซลาร์รูฟในประเทศ พลังงานชีวมวล (ผู้ผลิตระดับชุมชนและการริเริ่มของชุมชนภาครัฐและเอกชนในภาคใต้) ผู้ผลิตก๊าซชีวภาพ (สำหรับการผลิตระดับชุมชน) และโครงการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน

การแข่งขันในภาคธุรกิจได้ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน ผู้ประกอบการเดิมได้ขยายกำลังการผลิตและมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามา อีกทั้งผู้เล่นที่มีจุดแข็งด้านการเงินและเทคโนโลยี เช่น ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) และ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) ที่มีพื้นฐานด้านวิศวกรรม การจัดซื้อจัดจ้าง และการก่อสร้าง (EPC) มีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญสำคัญในการติดตั้งระบบไฟฟ้า หรือบางส่วนเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ ผู้ประกอบการเหล่านี้ได้เริ่มส่งพลังงานหมุนเวียนสู่โครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรักษาอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้เล่นรายใหญ่วางแผนที่จะขยายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

อุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย มีอะไรบ้าง

ประกอบด้วย 6 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อาหาร ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ยางและพลาสติก เคมีภัณฑ์ และปิโตรเลียม โดยลักษณะของสาขาอุตสาหกรรมของไทยที่สำคัญ ได้แก่ (1) สาขาอุตสาหกรรมเน้นผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก โดยมี (Technology Deepening) และ (3) สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรม ไทยเทียบกับโลก (World Impact)

ปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดอยู่ในระดับการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมระดับใด

การศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีศักยภาพอุตสาหกรรมอยู่ในอันดับที่ 35 และมีอุตสาหกรรมไทยที่ติด 1 ใน 15 อันดับ ของโลกอยู่ 7 อุตสาหกรรมด้วยกัน ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตถ่านโค้กและผลิตภัณฑ์จากการกลั่นน้ำมัน (อันดับ 9) อุตสาหกรรมยางและพลาสติก (อันดับ 9) อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม (อันดับ11) อุตสาหกรรมสุขภาพ (อันดับ 11)

อุตสาหกรรมประเภทใดที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยมากที่สุด

5 อันดับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ทำเงิน ประจำปี 25601.ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (PETRO) +43.2%2.กระดาษและวัสดุการพิมพ์ (PAPER) +39.5%3.ขนส่งและโลจิสติกส์ (TRANS) 33.5%4.ยานยนต์ (AUTO) 30.8%5.การท่องเที่ยวและสันทนาการ (TOURISM) 27.6%5.

มีอุตสาหกรรมอะไรบ้าง

ประเภทของอุตสาหกรรม.
อุตสาหกรรมเบื้องต้น หรืออุตสาหกรรมที่ 1 เป็นการผลิตเพื่อให้ได้วัตถุดิบไปใช้ประกอบการ อย่างอื่น เช่น การกสิกรรม การประมง การทำเหมืองแร่.
อุตสาหกรรมที่ 2 เป็นการผลิตวัตถุสำเร็จรูป เช่น การทำอาหารกระป๋อง การสีข้าว.
อุตสาหกรรมที่ 3 เป็นกิจการด้านบริการ เช่น การขนส่ง การโรงแรม.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด