ซอด้วงใช้บรรเลงในวงดนตรีใด

เป็นวงดนตรีประเภทหนึ่ง     ที่มีเครื่องดนตรีประเภทที่มีสาย ใช้ดีดและสี  เช่น จะเข้และซอ  เป็นประหลัก  มีเครื่องเป่าที่เรียกว่า “ ขลุ่ย “ เป็นประธาน  เลือกเครื่องหนังที่เห็นว่ามีเสียงดังเหมาะสม  กลมกลืน เช่น โทน-รัมนา  เป็นเครื่องกำกับจังหวะหน้าทับ และใช้ฉิ่งตีเป็นเครื่องกำกับจังหวะย่อย ( หนัก-เบา )  และฉาบ กรับ โหม่ง เป็นเครื่องประกอบจังหวะ  จัดแบ่งการประสมวงเป็น ๒ ขนาดคือ  เครื่องสายวงเครื่องเล็ก ( วงเครื่องเดี่ยว ) และเครื่องสายวงใหญ่ ( วงเครื่องคู่ ) ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบพิธีในงานมงคล  เช่น งานมงคลสมรส หรืองานเลี้ยงรับรองต่างๆที่ไม่ต้องการเสียงดังมาก
              วงเครื่องสายอาจเป็นวงที่มีวิวัฒนาการด้วยตนเอง     ซึ่งแต่เดิมอาจไม่เกี่ยวข้องกับวงปี่พาทย์เลยก็ได้  เพราะมีการกล่าวถึงเครื่องดนตรีหลายชิ้นที่มีใช้อยู่แล้วในสมับกรุงศรีอยุธยาตอนต้น  เช่น ระบุถึงไว้ในกฏมณเฑียรบาลว่า  “ ร้อง (เพลง) เรือ เป่าขลุ่ย ตีโทนขับรำโห่นี่นั่น  “ และ “ ร้องเพลงเรือ  เป่าปี่เป่าขลุ่ย  สีซอ  ดีดจะเข้  ตีโทนทับ “ ดังนี้คงหมายถึงเครื่องดนตรีบางอย่างที่มีอยู่ในสมัยนั้น  เป็นต่างคนต่างเล่น  คงมิได้หมายถึงการประสมวงตามแบบฉบับ จึงไม่พบหลักฐานว่าเครื่องสายมีการประสมวงมาแต่เดิม
              สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ได้ทรงประธานอธิบายถึงกำเนิดวงเครื่องสายไว้ว่า “  ผู้ชายบางพวกซึ่งหัดเล่นเครื่องสายอย่างจีน    จึงคิดกันเอาซอด้วง  ซออู้  ปี่อ้อ  เข้าเล่นประสมกับเครื่องกลองแขก  เครื่องสายอย่างนี้เรียกกันว่า  “ กลองแขกเครื่องใหญ่ “ ซึ่งภายหลังเราเรียกว่าผสมนี้ว่า “ เครื่องสายปี่ชวา “   แล้วทรงกำหนดเวลาไว้ว่า เห็นจะเกิดขึ้นในราวตอนปลายรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์   ด้วยเมื่อตอนต้นรัชกาลที่ ๕ ยังถือกันว่าเป็นของเกิดใหม่   ครั้นต่อมาเอากลองแขกกับปี่อ้อออกเสีย  ใช้ทับกับรัมนา ขลุ่ยแทน  เรียกว่า “ มโหรีเครื่องสาย “  บางวงก็เติมระนาดและฆ้องเข้าด้วย  จึงเกิดมีมโหรีผู้ชายเล่นแทนผู้หญิงอย่างเดิมสืบมาทุกวันนี้  ที่ผู้หญิงหัดเล่นก็มีแต่น้อยกว่าผู้ชายเล่น  มโหรีในชั้นหลังดูไม่มีกำหนดจำนวนเครื่องเล่น เช่น ซอด้วง ซออู้  แล้วแต่จะมีคนสมัครเล่นเท่าใดก็เข้าเล่น  มาปัจจุบันบางวงแก้ไขเอาซอด้วง ซออู้ออก ใช้ขิมและฮามอเนียฝรั่งเข้ามาผสมแทนก็มี
              ต่อมาภายหลังเราไม่เรียกวงแบบนี้ว่ามโหรีเครื่องสาย  แต่เรียกกันว่า “ วงเครื่องสาย “ แต่นั้นเป็นมา  และตั้งแต่รัชกาลที่ ๖ เป็นต้นมา  มีผู้นำเอาขิมบ้าง  ไวโอลินบ้าง  ออร์แกนบ้าง  ตลอดจนเครื่องอื่นเข้ามาเล่นเป็นวง  เรียกกันว่า “ วงเครื่องสายผสม “ โดยเรียกชื่อวงไปตามดนตรีที่นำเข้ามาผสม เช่น วงเครื่องสายผสมออร์แกน  วงเครื่องสายผสมเปียนโน  วงเครื่องสายผสมขิม เป็นต้น    วงเครื่องสายที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน  ที่ใช้บรรเลงและขับร้องกันอยู่ในปัจจุบันคือ

              เครื่องสายวงเล็ก  ( เครื่องเดี่ยว )  ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
                  1.  ซอด้วง
                  2.  ซออู้
                  3.  จะเข้
                  4.  ขลุ่ยเพียงออ
                  5.  โทน
                  6.  รัมนา
                  7.  ฉิ่ง                                   

              เครื่องสายวงเครื่องใหญ่  ( วงเครื่องคู่ )  ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
                  1.  ซอด้วง   ๒  คัน
                  2.  ซออู้       ๒  คัน
                  3.  จะเข้      ๒  ตัว
                  4. ขลุ่ยเพียงออ
                  5. ขลุ่ยหลิบ
                  6. โทน
                  7. รัมนา
                  8. ฉิ่ง
                  9. ฉาบ

ซอด้วงใช้บรรเลงในวงดนตรีใด

              เป็นวงเครื่องสายที่ประสมกับวงกลองแขก ซึ่งเดิมเรียกว่า “ กลองแขกเครื่องใหญ่ “ เกิดขึ้นในราวปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๔   ปัจจุบันใช้บรรเลงในงานอวมงคล  ไม่กำหนดเครื่องที่ตายตัว  แล้วแต่ความเหมาะสม  มีเครื่องดนตรีดังนี้
                  1.  ปี่ชวา
                  2. ซอด้วง
                  3. ซออู้
                  4. จะเข้
                  5. ขลุ่ยเพียงออ
                  6. ขลุ่ยหลิบ
                  7. กลองแขก
                  8. ฉิ่ง
                  9. ฉาบ
                10. กรับ            

ซอด้วงใช้บรรเลงในวงดนตรีใด

วงเครื่องสายผสมขิม
                  เป็นวงเครื่องสายที่นำ “ ขิม “ ซึ่งเป็นเครื่องสายของจีนเข้ามาบรรเลงรวมวง  จากคำอธิบายของอาจารย์มนตรี ตราโมท  ( ๓ พ.ค.๓๗ งานดุริยางค์ไทย ) เรื่องวงเครื่องสายผสมขิมว่า  การนำขิมเข้ามาบรรเลงในวงเครื่องสาย  แต่เดิมมีผู้นำเข้ามาเล่นก่อนแล้ว  แต่สำหรับวงหลวงนั้น  ขิมเข้ามาบรรเลงร่วมวงในรัชกาลที่ ๖  เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗  พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร  แพทย์หลวงถวายคำแนะนำให้ทรงฟังดนตรีเบาๆ  หรือฟังนิทานในตอนบ่ายๆทุกวัน  ดังนั้นกรมมหรสพจึงได้จัดวงเครื่องสายอย่างเบาๆไปบรรเลงที่ข้างห้องบรรทมที่วังพญาไท ( ปัจจุบันเป็นโงพระยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ ) เครื่องดนตรีทุกชิ้นต้องบรรเลงเบาๆเหมือนได้ยินเสียงมาแต่ไกล  ในการนี้มอบให้อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้ไปซื้อขิมจากรน่านดุริยบรรณ และเป็นผู้บรรเลงร่วมกับวงเครื่องสายของกรมมหรสพ  ซึ่งมีผู้บรรเลงถวายในครั้งนั้นดังนี้
                  1.  หลวงไพเราะเสียงซอ   สีซอด้วง
                  2.  พระสรรเพลงสรวง      สีซออู้
                  3.  พระเพลงไพเราะ       เป่าขลุ่ย
                  4.  นายจ่าง  แสงดาวเด่น ดีดจะเข้
                  5.  ครูมาตรี  ตราโมท        ตีขิม
                  6.  หลวงวิมล  วังเวง        ตีโทน
                  7.  พระประดับดุริยกิจ       ตีรัมนา
                  8.  หลวงเสียงเสนาะกรรณ  ตีฉิ่ง
              นับว่าเป็นวงเครื่องสายผสมขิมวงแรก ที่บรรเลงถวายพระอาการพระประชวรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ  จนพระอาการดีขึ้นตามลำดับ และหายในเวลาปกติในเวลาต่อมา   ดังนั้นวงเครื่องสายผสมขิมจึงเป็นต้นกำเนิดของคำว่า “ ดนตรีเป็นยารักษาโรค “ 

วงเครื่องสายผสมเปียนโน   ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
              1. ซอด้วง
              2. ซออู้
              3. ขลุ่ยเพียง   ( เทียบเสียงสากล )
              4. ไวโอลิน
              5. เปียนโน
              6. โทน
              7. รัมนา
              8. ฉิ่ง
              9. ฉาบ
วงเครื่องสายผสมออร์แกน
            1. ซอด้วง
            2. ซออู้
            3. จะเข้
            4. ออร์แกน
            5. ขิม
            6. โทน
            7. รัมนา
            8. ฉิ่ง
            9. ฉาบ     

ขอบคุณเว็บไซต์  https://www.gotoknow.org/posts/170305

ซอด้วงใช้บรรเลงในวงดนตรีใด