การลงทุนครั้งแรกจะบันทึกไว้ในบัญชีใด

หน่วยที่

5

การบันทึกบัญชีตาม
วิธีทุนเปลี่ยนแปลง

และวิธีทุนคงที่

รายการที่มีผลทำให้เงินทุนของหุ้นส่วนเปลี่ยนแปลง

รายการที่มีผลทำให้เงินทุนของห้างหุ้นส่วนเปลี่ยนแปลงไป มีดังนี้
1. รายการซึ่งทำให้ทุน หรือสิทธิส่วนได้เสียของผู้เป็นหุ้นส่วนเพิ่มขึ้น

1) การลงทุนเพิ่ม
2) ผู้เป็นหุ้นส่วนชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วน
3) ส่วนแบ่งผลกำไรจากการดำเนินงาน
4) ส่วนแบ่งกำไรจากการปรับปรุงสินทรัพย์ หนี้สิน ของห้างหุ้นส่วน
5) ห้างหุ้นส่วนคิดเงินเดือน เงินโบนัส หรือดอกเบี้ยทุน ให้กับผู้เป็น
หุ้นส่วน
2. รายการที่ทำให้ทุนหรือสิทธิส่วนได้เสียของผู้เป็นหุ้นส่วนลดลง ได้แก่
1) ผู้เป็นหุ้นส่วนถอนเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นของห้างไปใช้ส่วนตัว

รายการที่มีผลทำให้เงินทุนของหุ้นส่วนเปลี่ยนแปลง

2) ห้างหุ้นส่วนชดใช้ หรือรับเอาหนี้สินส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วน
3) ส่วนแบ่งผลขาดทุนจากการดำเนินงาน
4) ส่วนแบ่งผลขาดทุนจากการปรับปรุงสินทรัพย์ หนี้สิน ของห้าง
หุ้นส่วน
5) ห้างหุ้นส่วนคิดดอกเบี้ย จากวันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนถอนกำไรไปใช้
ล่วงหน้า

วิธีการใช้บัญชีเงินกู้หุ้นส่วน (Loan Accounts) ใช้บันทึกรายการ
ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนให้ห้างหุ้นส่วน โดยเปิดบัญชีเงินกู้หุ้นส่วนแยกต่าง
หาก และห้างต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน และแสดง
บัญชีดอกเบี้ยจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนด้วย

ส่วนในทุนและส่วนในกำไรขาดทุนของหุ้นส่วน

ส่วนในทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน หมายถึง สินทรัพย์ที่หุ้นส่วนมีอยู่ใน
ห้างหุ้นส่วน ซึ่งเป็นเงินสด หรือสินทรัพย์อื่น ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนนำมา
ลงทุนในตอนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน สิทธิส่วนได้เสียของผู้เป็นหุ้นส่วน อาจ
เปลี่ยนแปลงได้ภายหลังจากดำเนินงาน เนื่องจากผู้เป็นหุ้นส่วนอาจนำ
เงินสดมาลงทุนเพิ่ม ถอนทุน หรือได้รับส่วนแบ่งกำไร

ส่วนในกำไรขาดทุน หมายถึง ข้อตกลงระบุสิทธิส่วนได้เสียเมื่อมีผล
ของการดำเนินงานของ ห้างหุ้นส่วน ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่ง
กำไรหรือขาดทุนระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน เช่น เอมและอ้อตกลง เป็นหุ้น
ส่วนกัน เอมนำเงินสดมาลงทุน 50,000 บาท อ้อนำเครื่องตกแต่ง
120,000 บาท และสินค้า 40,000 บาท มาลงทุน ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลง
แบ่งกำไรขาดทุนเท่ากัน

ส่วนในทุนและส่วนในกำไรขาดทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละ
คน จะบันทึกไว้ในบัญชีเงินทุนของ ผู้เป็นหุ้นส่วน ประกอบ

ด้วยเงินลงทุนเริ่มแรกตอนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ภายหลัง
จากการดำเนินงานไปแล้ว ส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนของ
ห้างหุ้นส่วน ซึ่งส่วนแบ่งผลกำไรขาดทุนที่หุ้นส่วนแต่ละคน
จะได้วันนั้น จะเป็นไปตามอัตราส่วนที่ได้ตกลงกันไว้ใน

สัญญาการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน อัตราส่วนแบ่งนี้จะเป็น
อัตราที่คงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยกเว้นจะมีการตกลงให้

เปลี่ยนแปลงอัตรานี้ใหม่

ตัวอย่างที่ 1 อลิษาและอมีนา ตกลงเป็นหุ้นส่วนกัน และนำเงินสดมาลงทุน 20,000 บาท และ
80,000 บาท ตามลำดับ ทำให้ส่วนในทุนของอลิษาเท่ากับ 20% และอมีนาเท่ากับ 80% ต่อมา
กิจการดำเนินงานประจำปีมีผลกำไรสุทธิ 40,000 บาท โดยแบ่งกำไร ขาดทุนเท่ากัน จะทำให้
บัญชีทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ส่วนในทุนของ ผู้เป็นหุ้นส่วนเปลี่ยนแปลงไปดังนี้

รายการ ทุน-อลิษา ทุน-อมีนา รวม
เงินทุน 20,000 80,000 100,000
แบ่งกำไรเท่ากัน (40,000/2) 20,000 20,000 40,000
40,000 100,000 140,000
รวม 100%
ส่วนในทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน 29% (28.57) 71% (71.43)

หลักเกณฑ์การบันทึกของห้างหุ้นส่วน

การจัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับกิจการ
เจ้าของคนเดียว อาจจะแตกต่าง กันเฉพาะการจัดทำบัญชีห้างหุ้นส่วน
นั้นมีบุคคลอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป ดังนั้น จึงต้องเปิดบัญชีทุนของ หุ้น
ส่วนแต่ละคน (Capital Account) ไว้

การบันทึกบัญชีของห้างหุ้นส่วน จะมี 2 วิธี คือ
1. วิธีทุนคงที่ (Fixed Capital Method) การบันทึกบัญชีตามวิธี
นี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนจะมีบัญชีทุนคนละ 2 บัญชี คือ บัญชีทุน และบัญชี
กระแสทุน โดยวิธีนี้จะบันทึกเงินสด หรือสินทรัพย์อื่นที่ผู้เป็น หุ้นส่วน
แต่ละคนนำมาลงทุนไว้ในบัญชีทุน ส่วนการเปลี่ยนแปลงรายการอื่น
ของส่วนในทุนก็จะบันทึกไว้ เป็นชื่อบัญชีแยกต่างหาก บัญชีที่
เกี่ยวข้องกับส่วนในทุนมีดังต่อไปนี้

1.1 บัญชีทุน (Capital Accounts) จะใช้บันทึกรายการที่นำเงินสด หรือ
สินทรัพย์อื่นที่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนนำมาลงทุนครั้งแรกเมื่อเริ่มตั้งกิจการส่วน
การลงทุนเพิ่ม หรือการถอนทุนของ ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนเป็นลักษณะรายการ
ที่ถาวรจะไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การบันทึกบัญชีทุนนี้จะต้องแยกออก ตามจำนวน
ของผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งปกติบัญชีนี้จะมียอดคงเหลือเป็นยอดดุลด้านเครดิต เมื่อ
ถึง วันสิ้นงวดบัญชีก็จะหายอดคงเหลือยกไปยกมา และนำไปแสดงในงบแสดง
ฐานะการเงินในส่วนของผู้เป็น หุ้นส่วนต่อไป

บัญชีทุน-ผู้เป็ นหุ้นส่วน  เลขที่ 30X
เครดิต
พ.ศ. 25xx รายการ หน้ าบัญชี เดบิต พ.ศ. 25xx รายการ หน้ าบัญชี บาท สต.
เดือน วันที่ บาท สต. เดือน วันที่

    ถอนทุน (ลดทุน)   xx       ลงทุนครั้งแรก   xx

               ลงทุนเพิ่ม   xx

1.2 บัญชีกระแสทุน (Current Accounts) จะใช้บันทึกรายการต่างๆ ที่
ทำให้ทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนเปลี่ยนแปลงไปทุกรายการ เช่น การถอนใช้ส่วนตัว
การได้รับส่วนแบ่งผลกำไรหรือขาดทุน ดอกเบี้ยทุนที่คิดให้กับผู้เป็นหุ้นส่วน
เป็นต้น ซึ่งเป็นรายการเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะไม่ถาวร ยกเว้นการ ลงทุนเพิ่ม
หรือการถอนทุน บัญชีกระแสทุนนี้ไม่ต้องโอนปิดเข้าบัญชีทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน
แต่ละคน โดย ต้องแยกออกตามจำนวนของผู้เป็นหุ้นส่วน ยอดคงเหลือในบัญชี
กระแสทุนอาจจะเป็นยอดดุลด้านเดบิต หรือด้านเครดิตก็ได้ เพื่อยกยอดไปยัง
งวดบัญชีหน้า และเมื่อสิ้นงวดบัญชีจะแสดงในงบแสดง ฐานะการเงิน ซึ่งเป็น
รายการหนึ่งที่แยกต่างหากจากบัญชีทุน

1.3 บัญชีเงินถอน (Drawing Accounts) มีไว้เพื่อใช้บันทึกรายการเกี่ยว
กับการถอนกำไร ไปใช้ล่วงหน้า เช่นเดียวกับบัญชีถอนใช้ส่วนตัวในกิจการ
ประเภทเจ้าของคนเดียว โดยที่ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจจะตกลงระหว่างกันเองว่าผู้เป็น
หุ้นส่วนแต่ละคนสามารถถอนกำไรไปใช้ล่วงหน้าได้ในวงเงินคนละเท่าใดได้บ้าง
สำหรับส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้นั้น อาจจะถือว่าเป็นการลดทุนก็ได้

2. วิธีทุนเปลี่ยนแปลง (Alternative Capital Method) วิธีนี้จะเปิดบัญชี
ทุนเพียงบัญชี เดียวเท่านั้น โดยจะบันทึกรายการที่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนลงทุน
ในครั้งแรก การเพิ่มทุนหรือลดทุน และ รายการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนิน
งานที่ทำให้ทุนเปลี่ยนแปลง โดยจะบันทึกรายการที่ทำให้ทุน เพิ่มขึ้นด้านเครดิต
ส่วนรายการที่ทำให้ทุนลดลงให้บันทึกด้านเดบิต จะทำให้บัญชีทุนของผู้เป็นหุ้น
ส่วน แต่ละคนเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามรายการที่เกิดขึ้น เช่น การได้รับ
ส่วนแบ่งกำไร การคิดเงินเดือน ให้หุ้นส่วน การคิดดอกเบี้ยทุน เป็นต้น
บัญชีทุนแต่ละบัญชีในวันสิ้นงวดจะมีรายการดังต่อไปนี้

2.1 เครดิตเงินลงทุนเมื่อเริ่มตั้งกิจการ
2.2 เครดิตเงินลงทุนเพิ่ม
2.3 เครดิตส่วนแบ่งผลกำไรสุทธิ
2.4 เดบิตส่วนแบ่งผลขาดทุนสุทธิ
2.5 เดบิตการลดทุน
2.6 เดบิตถอนใช้ส่วนตัว

บัญชีเงินทดรองและบัญชีเงินกู้

บัญชีเงินทดรองของผู้เป็นหุ้นส่วน (Advance to Partner
Accounts) ใช้บันทึกรายการ เมื่อห้างหุ้นส่วนจ่ายเงินทดรองหรือเงินกู้
ยืมให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน กิจการจะบันทึกบัญชีดังนี้

เดบิต เงินทดลอง-ผู้เป็นหุ้นส่วน xx

เครดิต เงินสด xx

บัญชีเงินทดรองผู้เป็นหุ้นส่วน ถือเป็นบัญชีลูกหนี้ซึ่งมาตรฐานงบการเงิน
ตามประกาศของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ใช้ชื่อบัญชีว่า
“เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลหรือกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน” ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน
ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนกู้ยืมเงินระยะเวลาเกิน 1 ปี การแสดงรายการใน งบแสดงฐานะ
การเงินจะแสดงภายใต้หัวข้อสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “เงินให้กู้
ยืมระยะยาว แก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน”

กรณีห้างหุ้นส่วนมีการคิดดอกเบี้ยสำหรับเงินทดรอง ให้ถือเป็นรายได้อื่นๆ

ของห้างหุ้นส่วน กิจการจะบันทึกบัญชีดังนี้

• เมื่อห้างหุ้นส่วนได้รับดอกเบี้ยเงินทดรองจากหุ้นส่วนเป็นเงินสด จะบันทึก

บัญชีดังนี้ เดบิต เงินสด xx

เครดิต ดอกเบี้ยรับ xx

• ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมีความประสงค์ไม่จ่ายดอกเบี้ยเป็นเงินสด แต่ยอมให้ลด
ทุนของตนเอง
การบันทึกบัญชีดังนี้

วิธีทุนคงที่ วิธีทุนเปลี่ยนแปลง

เดบิต กระแสทุน-ผู้เป็นหุ้นส่วน xx เดบิต ทุน-ผู้เป็นหุ้นส่วน xx

เครดิต ดอกเบี้ยรับ xx เครดิต ดอกเบี้ยรับ xx

บัญชีเงินกู้ยืมของผู้เป็นหุ้นส่วน (Loans From Partner Accounts) ใช้
บันทึกรายการ เมื่อห้างหุ้นส่วนกู้ยืมเงินจากผู้เป็นหุ้นส่วน กิจการจะบันทึกบัญชี
ดังนี้

เดบิต เงินสด xx

เครดิต เงินกู้-ผู้เป็นหุ้นส่วน xx

บัญชีเงินกู้ผู้เป็นหุ้นส่วน ถือเป็นบัญชีเจ้าหนี้จะนำไปแสดงในงบแสดงฐานะ
การเงินภายใต้หนี้สิน หมุนเวียน ซึ่งมาตรฐานงบการเงินตามประกาศของกรม
พัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ใช้ชื่อ - บัญชีว่า “เงินกู้ยืมระยะสั้นแก่
บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน” และในกรณีห้างหุ้นส่วนกู้ยืมเงินจาก - ผู้เป็น
หุ้นส่วนระยะเวลาเกิน 1 ปี การแสดงรายการในงบแสดงฐานะการเงินจะแสดง
ภายใต้หัวข้อหนี้สิน ไม่หมุนเวียน ใช้ชื่อบัญชีว่า “เงินกู้ยืมระยะยาวแก่บุคคล
หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน”

สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ถือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ กิจการจะบันทึกบัญชีดังนี้

เดบิต ดอกเบี้ยรับ xx
เครดิต เงินสด xx

ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมีความประสงค์ไม่รอรับดอกเบี้ยเป็นเงินสด แต่งขาไปเพิ่มทุน
ของตนเอง
การบันทึกบัญชีดังนี้

วิธีทุนคงที่ วิธีทุนเปลี่ยนแปลง

เดบิต ดอกเบี้ยรับ xx เดบิต ดอกเบี้ยรับ xx

เครดิต กระแสทุน-ผู้เป็นหุ้นส่วน xx เครดิต ทุน-ผู้เป็นหุ้นส่วน xx

หลักการบันทึกบัญชีโดยวิธีทุนคงที่ และวิธีทุนเปลี่ยนแปลง

รายการ วิธีทุนคงที่ วิธีทุนเปลี่ยนแปลง

1. การลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน เดบิต เงินสด xx เหมือนวิธีทุนคงที่

1.1 ลงทุนเป็นเงินสด เครดิต ทุน-ผู้เป็นหุ้นส่วน xx

1.2 ลงทุนเป็นสินทรัพย์อื่น เดบิต สินทรัพย์ (ระบุ) xx เหมือนวิธีทุนคงที่
(ต้องตีราคาสินทรัพย์ที่นำมา เครดิต ทุน-ผู้เป็นหุ้นส่วน xx
ลงทุนใหม่ และบันทึกตามราคา
ที่ตกลง)

1.3 ลงทุนโดยโอนสินทรัพย์ เดบิต สินทรัพย์ที่โอนมา (ระบุ) xx เหมือนวิธีทุนคงที่
และ หนี้สินมาให้ห้างหุ้นส่วน เครดิต หนี้สินที่โอนมา (ระบุ) xx
ทุน-ผู้เป็นหุ้นส่วน xx

รายการ วิธีทุนคงที่ วิธีทุนเปลี่ยนแปลง

1.4 ลงทุนเป็นแรงงาน ผู้เป็น ไม่ต้องบันทึกบัญชีเพียงแต่บันทึก ทรง เหมือนวิธีทุนคงที่
หุ้นส่วนทุกคนต้องตกลงกันเพื่อ จำว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดลงทุน เป็น
กำหนดแรงงานที่ถือเป็นการ แรงงานและตีค่าเป็นจำนวนเท่าใด
ลงทุนให้แน่นอน และต้องตกลง
กันให้ชัดเจน ว่าจะมีการจ่ายคืน
ทุนให้กับหุ้นส่วนที่ ลงทุนเป็น
แรงงานหรือไม่

ก) ถ้าไม่ต้องจ่ายคืนทุน

ข) ถ้าต้องจ่ายคืนทุน เดบิต ค่าความนิยม xx เหมือนวิธีทุนคงที่
เครดิต ทุน-หุ้นส่วนลงแรงงาน xx

รายการ วิธีทุนคงที่ วิธีทุนเปลี่ยนแปลง
เหมือนวิธีทุนคงที่
2. การลดทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน เดบิต ทุน-หุ้นส่วนผู้ลดทุน xx
2.1 ลดทุนโดยขอคืนเป็นเงินสด เครดิต เงินสด xx

เดบิต ทุน-หุ้นส่วนผู้ลดทุน xx

2.2 ทุนเป็นสินทรัพย์อื่นซึ่ง เครดิต สินทรัพย์ที่ลด (ระบุ) xx
อาจตีราคาสินทรัพย์ใหม่หรือโอน
ราคาตามบัญชี กำไรจากการจำหน่าย เหมือนวิธีทุนคงที่

สินทรพย์ xx

ผลต่างถ้าขาดทุนจากการจำหน่าย

สินทรัพย์ให้อยู่ด้านเดบิต

รายการ วิธีทุนคงที่ วิธีทุนเปลี่ยนแปลง

3. การถอนใช้ส่วนตัว เดบิต กระแสทุน-หุ้นส่วนผู้ถอนใช้ xx เดบิต ทุน-หุ้นส่วนผู้ถอนใช้ xx
ของผู้เป็นหุ้นส่วน
เครดิต เงินสด xx เครดิต เงินสด xx
3.1 ถอนใช้เป็นเงินสด

3.2 ถอนใช้เป็นสินค้า เดบิต กระแสทุน-หุ้นส่วนผู้ถอนใช้ xx เดบิต ทุน-หุ้นส่วนผู้ถอนใช้ xx

(โดยคิดราคาทุน) เครดิต ซื้อ/สินค้า xx เครดิต ซื้อ/สินค้า xx

4. การแบ่งผลกำไร เดบิต กำไรขาดทุน xx เดบิต กำไรขาดทุน xx
ขาดทุนให้ผู้เป็นหุ้นส่วน เครดิต ทุน-หุ้นส่วน
เครดิต กระแสทุน-หุ้นส่วน แต่ละคน xx
4.1 กรณีแบ่งผลกำไร
แต่ละคน xx

4.2 กรณีแบ่งผล เดบิต กระแสทุน-หุ้นส่วนแต่ละคน xx เดบิต ทุน-หุ้นส่วนแต่ละคน xx
ขาดทุน
เครดิต กำไรขาดทุน xx เครดิต กำไรขาดทุน xx

แบบทดสอบหลังเรียน