ในระบบเอสไอ เวลามีหน่วยเป็น

ในระบบเอสไอ เวลามีหน่วยเป็น

‘คุณแม่ถือถุงส้มเขียวหวานหนัก 2 กิโลกรัม เดินจากตลาดกลับไปบ้านเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ใช้เวลารวม 20 นาที’ จากประโยคข้างต้นนี้เพื่อน ๆ เห็นคำที่ขีดเส้นใต้ไหม รู้หรือเปล่าว่าคำเหล่านี้คืออะไร ถ้านึกไม่ออกเราบอกเลยดีกว่าว่าคำเหล่านี้คือ ‘หน่วยวัด’ นั่นเอง ปกติในชีวิตประจำวัน เราก็พบเห็นและใช้หน่วยวัดกันบ่อยอยู่แล้ว และจะยิ่งเจอบ่อยขึ้นไปอีกเมื่อเราเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เพราะการทดลองทางวิทยาศาสตร์จะต้องมีการวัดและบันทึกผลอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการบันทึกผลก็คือ ‘หน่วยวัด’ หรือ ‘มาตราวัด’ นั่นเอง ถ้าเพื่อน ๆ อยากรู้ที่มาของหน่วยวัดและหน่วย SI แล้วละก็ มาเรียนออนไลน์ไปกับเราได้เลย

เพื่อน ๆ จะตะลุยอ่านบทความนี้ หรือจะคลิกแบนเนอร์ด้านล่าง ไปเรียนกับคุณครูของเราในแอปพลิเคชัน StartDee ได้เลย

ในระบบเอสไอ เวลามีหน่วยเป็น

ในประเทศไทยมีมาตราวัดความยาวเป็นของตัวเอง เช่น คืบ ศอก วา เส้น โยชน์ บางหน่วยก็ยังมีการใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่บางหน่วยก็ไม่นิยมใช้แล้ว นอกจากประเทศไทยแล้วประเทศอื่น ๆ ก็สร้างหน่วยวัดของตัวเองขึ้นมาเหมือนกัน ทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้นเมื่อต้องมีการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ จนในปี พ.ศ. 2503 ได้มีการประชุมของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติเพื่อตกลงให้มี ‘หน่วยระหว่างชาติ (International system of unit)’ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าหน่วย SI (SI Unit) เป็นระบบวัดมาตรฐานระหว่างชาติขึ้นมา

หน่วย SI จะประกอบไปด้วย 4 หน่วยย่อย ได้แก่หน่วยฐาน หน่วยเสริม หน่วยอนุพันธ์ และคำอุปสรรค อ่านแค่ชื่อเฉย ๆ อาจจะยังไม่เข้าใจ ถ้าอย่างนั้นเราไปดูรายละเอียดของหน่วย SI แต่ละแบบกันเลยดีกว่า!

  1. หน่วยฐาน (Based units) ซึ่งจะเป็นหน่วยหลักของหน่วย SI มีทั้งหมด 7 หน่วย คือ

    ในระบบเอสไอ เวลามีหน่วยเป็น

  2. หน่วยเสริม (Supplementary units)  ประกอบด้วย 2 หน่วย คือ เรเดียนและสเตอเรเดียน
    2.1 หน่วยเรเดียน คือหน่วยของมุมบนระนาบของวงกลม เป็นมุม 2 มิติ
    2.2 หน่วยสเตอเรเดียน คือหน่วยวัดมุมตันของทรงกลม โดยเป็นมุม 3 มิติ
  3. หน่วยอนุพันธ์ (Derived unit) เป็นหน่วยที่เกิดจากหน่วยฐานมาผสมกัน เช่น หน่วยของความเร็ว เป็น เมตรต่อวินาที หน่วยของแรง ที่มาจาก kg. m/s2 หรือนิวตัน หรือแม้กระทั่งหน่วยของความถี่ที่เราจะมักคุ้นเคยกับหน่วยเฮิรตซ์ แต่จริง ๆ แล้วมาจากหน่วย ต่อวินาที หรือวินาทีกำลังลบหนึ่ง (s-1) เป็นต้น
  4. คำอุปสรรค (Prefixes) คือการลดรูปตัวเลขที่อยู่ในหน่วยฐาน หรือหน่วยอนุพันธ์ โดยอยู่ในรูปของเลข 10 ยกกำลังตัวเลขค่าหนึ่งที่เราเรียกว่าตัวพหุคูณ ซึ่งเราจะเปลี่ยนตัวพหุคูณนี้เป็นชื่อเฉพาะที่เราเรียกว่าคำอุปสรรคนั่นเอง เพื่อน ๆ อาจรู้สึกว่าคำอุปสรรคนี่เป็นอุปสรรคสมชื่อจริง ๆ แต่ถ้าเรียนออนไลน์กับเราแล้ว เชื่อเราเถอะว่าไม่ยาก ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น จาก 2,000 เมตร กลายเป็น 2x103 เมตร จาก 0.0013 จะได้เป็น 1.3x10-3 ซึ่งตัวเลข 103 และ 10-3 ของทั้งสองตัวอย่างคือตัวพหุคูณ เราจะแปลงตัวพหุคูณนี้เป็นคำอุปสรรคเพื่อให้ง่ายต่อการเรียกมากขึ้น เช่น 10-2  มีศัพท์บัญญัติคือ เซนติ และใช้สัญลักษณ์ c และจากตัวอย่างที่เราพูดถึงก่อนหน้านี้ คือ 103 มีศัพท์บัญญัติคือ กิโล และ 10-3 คือ มิลลิ เป็นต้นเยอะขนาดนี้จำไม่หมดแน่ๆ แต่ไม่ต้องเครียดไปเพราะเรามีวิธีท่องจำตารางคำอุปสรรคง่าย ๆ มาฝากเพื่อน ๆ โดยเราจะเริ่มท่องที่เลขยกกำลัง 1 และไป -1 จากนั้นเป็น 2, -2, 3 -3 ไปเรื่อย ๆ สังเกตว่า หลังจากเลข ±3 จะเป็น 6, 9, 12 ไปเรื่อย ๆ หรือพูดง่าย ๆ ว่า หลังจากเลข 3 ปุ๊บ จะบวก 3 ไปเรื่อย ๆ

เป็นอย่างไรบ้างกับกับการเรียนออนไลน์เรื่องหน่วยวัดต่าง ๆ อาจจะดูเยอะมาก แต่ถ้าเราท่องบ่อย ๆ ใช้บ่อย ๆ ก็จะคุ้นเคยกับหน่วยวัดและคำอุปสรรคเหล่านี้ไปเอง อย่าลืมใช้เทคนิคการจำที่เรานำมาฝาก รับรองว่าไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน และถ้าเพื่อน ๆ อยากเรียนรู้และทำข้อสอบเพิ่มเติมก็สามารถไปดูเพิ่มเติมที่ StartDee ได้เลย หรือจะเข้าไปทำโจทย์กันได้ที่บทความนี้ (คลิกลิงก์นี้เลย) ในครั้งหน้าเราจะมีบทเรียนสนุก ๆ มาฝากเพื่อน ๆ อีกแน่นอน แต่จะเป็นเรื่องไหนนั้นต้องรอติดตามนะ หรือจะดูวิดีโอใน Youtube ของ StartDee ก็ได้เช่นกัน