ใน ประเทศไทย นั้นจะมี แนวรอยเลื่อนที่มีพลัง เกิดขึ้น ที่ ภาค ใด มากที่สุด

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก กรมทรัพยากรธรณี

           แผ่นดินไหวภาคเหนือที่เกิดขึ้น เมื่อเย็นวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 เกิดจากรอยเลื่อนพะเยา แต่ยังต้องเฝ้าระวังรอยเลื่อยอื่น ๆ ที่มีโอกาสขยับตามได้ด้วยเช่นกัน ลองมาดูกันว่า ในประเทศไทยมีรอยเลื่อนอะไรที่ต้องเฝ้าระวังอีกบ้าง

          เหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 6.3 แมกนิจูด (อ้างอิงจากกรมอุตุนิยมวิทยา) ที่เกิดขึ้นในภาคเหนือเมื่อช่วงเย็นวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 สร้างความตื่นตระหนกให้คนไทยอีกครั้ง เพราะแผ่นดินไหวครั้งนี้ถือว่ามีขนาดความรุนแรงมากที่สุดในรอบหลายสิบปีที่ประเทศไทยเคยประสบมา และคาดว่าจะสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินเป็นจำนวนไม่น้อย

          ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่า จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวครั้งนี้มาจากรอยเลื่อนพะเยา ที่พาดผ่านอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านทิศเหนือของรอยเลื่อนท่าสี มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร

          อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยไม่ได้มีเพียงแค่รอยเลื่อนพะเยาเท่านั้น เพราะแหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหวนั้นมาจากรอยเลื่อนที่มีพลัง ซึ่งเมื่อรอยเลื่อนใดรอยเลื่อนหนึ่งขยับ ก็มีโอกาสที่รอยเลื่อนอื่น ๆ จะขยับตามและทำให้เกิดแผ่นดินไหวในจุดอื่น ๆ ตามมาได้อีกเช่นกัน ซึ่งรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย เคยเกิดขึ้นแล้ว 9 แห่งด้วยกัน และจากการรายงานของกรมทรัพยากรธรณีวิทยา พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลังทั้งหมด 14 รอยเลื่อน  โดยกระจายอยู่ใน 22 จังหวัด ได้แก่

ใน ประเทศไทย นั้นจะมี แนวรอยเลื่อนที่มีพลัง เกิดขึ้น ที่ ภาค ใด มากที่สุด

          1. รอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่านอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 101 กิโลเมตร

          2. รอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่านอำเภอเทิง อำเภอขุนตาล และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย  ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร

          3. รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 29 กิโลเมตร

          4. รอยเลื่อนเมย วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ พาดผ่านตั้งต้นจากลำน้ำเมย ชายแดนพม่า ต่อไปยังห้วยแม่ท้อ ลำน้ำปิง จังหวัดตาก ไปถึงจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ และสิ้นสุดที่จังหวัดอุทัยธานี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 250 กิโลเมตร

          5. รอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวโค้งไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร    

          6. รอยเลื่อนเถิน พาดผ่านอำเภอแม่พริก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ในแนวโค้งในไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 103 กิโลเมตร

          7. รอยเลื่อนพะเยา พาดผ่านอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านทิศเหนือของรอยเลื่อนท่าสี มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร

          8. รอยเลื่อนปัว พาดผ่านพื้นที่อำเภอสันติสุข อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง และอำเภอทุ่งช้าง ของจังหวัดน่านในแนวเหนือ-ใต้  ด้วยความยาวประมาณ  130 กิโลเมตร

          9. รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ  150 กิโลเมตร

          10. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร

          11. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร

          12. รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่านอำเภอหนองไผ่ อำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 110 กิโลเมตร

          13. รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านพื้นที่ตั้งแต่ จังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบ คีรีขันธ์ และพังงา  มีความยาวประมาณ 270 กิโลเมตร  

          14. รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอทับปุด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา พาดผ่านไปตามทะเลอันดามัน ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กับอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 148 กิโลเมตร

          นอกจาก 14 รอยเลื่อนที่กรมทรัพยากรธรณีได้ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว สำนักข่าวบางแห่งยังเผยว่า รอยเลื่อนมะยม ก็เป็นอีกหนึ่งรอยเลื่อนที่มีพลัง โดยรอยเลื่อนดังกล่าว จะพาดผ่านอำเภอสอง จังหวัดแพร่ และอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 22 กิโลเมตร ดังนั้น ทุกภาคส่วนจึงควรติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของทั้ง 15 รอยเลื่อนดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

 - การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย

- รอยเลื่อนแม่จัน...ยังหายใจ

- ตามล่าหารอยเลื่อน: หลักฐานรอยเลื่อนมีพลัง

รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยมีกี่แห่ง

ซึ่งตามหลักการแล้ว พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว มักจะอยู่บนรอยเลื่อนของเปลือกโลก โดยจากแผนที่ของกรมทรัพยากรธรณี เมื่อปี 2555 ระบุว่า ในประเทศไทยมีรอยเลื่อน ที่ยังมีพลังทั้งสิ้น 14 รอยเลื่อน ประกอบด้วย 1.รอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่าน จ.เชียงราย และ เชียงใหม่

รอยเลื่อนใดของประเทศไทยที่มีโอกาสทำให้เกิดแผ่นดินไหวทางภาคตะวันตกได้

และเมื่อวันที่ 22 เดือนเมษายน ค.ศ. 1983 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.6 (Prachaub, 1990) บริเวณใกล้เขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งเกิดจากรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ โดยเหตุการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าวสร้างความรุนแรงแผ่นดินไหวระดับ IV-VI แผ่กระจายไปทั่วภาคตะวันตกและภาคกลางของประเทศไทย

รอยเลื่อนใดในประเทศไทยที่อยู่ทางภาคใต้

รอยเลื่อนที่พบอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย 1. รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านพื้นที่ตั้งแต่ จังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบ คีรีขันธ์ และพังงา มีความยาวประมาณ 270 กิโลเมตร

รอยเลื่อนมีพลังเกิดจากสาเหตุใด

คือ รอยเลื่อนบนเปลือกโลกที่สามารถตรวจสอบได้ หรือมีหลักฐานทางธรณีวิทยาว่า ยังคงมีการเลื่อนตัวอยู่ในช่วงเวลาธรณีกาลสมัยโฮโลซีน (Holocene) หรือประมาณ 11,000 ปีมาแล้ว ซึ่งรอยเลื่อนมีพลังดังกล่าวนี้ มีโอกาสก่อให้เกิดแผ่นดินไหวได้อีก