บุคคลสําคัญนาฏศิลป์ไทย ละครไทย

หน่วยที่ ๓ เรื่องละครไทย

ละครไทยจะต้องมีทักษะในการแสดงที่หลากหลายรูปแบบ ในการสื่อความหมายในการแสดง ละครไทย มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในแต่ละยุค

หน่วยที่ 4 เรื่องการชม วิจารณ์ และประเมินคุณภาพการแสดง

การชม วิจารณ์ และประเมินคุณภาพการแสดง จะต้องวิจารณ์การแสดงตามหลักนาฏศิลป์และการละคร ตลอดจนพัฒนาและใช้เกณฑ์การประเมินการแสดง

คุณลักษณะนี้ถูกปิดใช้งานโดยผู้ดูแล

Lesson: บุคคลสำคัญในวงการละครของไทย

  • Overview
  • Exercise Files

About Lesson

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี

  • ศิลปินแห่งชาติ สาขานาฏศิลป์ พ.ศ. ๒๕๒๘
  • เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๖
  • ผลงานด้านการแสดง ท่านแสดงเป็นตัวอิเหนา นางดรสา พระพิราพ นางเมขลา ไชยเชษฐ์ พระไวย ไกรทอง มีฝีมือการรำเป็นเลิศ เชี่ยวชาญเพลงอาวุธทุกชนิด เช่น กระบี่ ทวน กริช เป็นต้น
  • ผลงานด้านประดิษฐ์ชุดการแสดง ประเภทรำ ได้แก่ อิเหนาฉายกริช มโนห์ราตอนบูชายัญ และได้ประดิษฐ์ท่ารำร่วมกับครูลมุล ยมะคุปต์ ได้แก่ รำพม่าไทยอธิษฐาน รำลาวไทยปณิธาน ลาวกระทบไม้

ครูรงภักดี (เจียร จำรุจรณ)

  • ศิลปินแห่งชาติ สาขานาฏศิลป์ พ.ศ. ๒๕๒๙
  • เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒
  • เมื่ออายุ ๑๓ ปี ที่กรมมหรสพ สมัยรัชกาลที่ ๖ ต่อมาเข้ารับราชการเป็นศิลปินในกรมมหรสพ
  • สมัยรัชกาลที่ ๗ มีหน้าที่เป็นครูสอนนาฏศิลป์โขน
  • มีความสามารถในการรำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ซึ่งเป็นนาฏศิลป์สูงสุดได้
  • เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายรงภักดี ประกอบพิธีครอบองค์พระ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีต่อท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพเป็นครั้งที่ ๒ โดยให้ศิลปินต่อท่ารำจากภาพยนตร์ ที่พระองค์บันทึกท่ารำของครูรงภักดีไว้

Exercise Files

No Attachment Found

หน่วยที่ ๓ เรื่องละครไทย

ละครไทยจะต้องมีทักษะในการแสดงที่หลากหลายรูปแบบ ในการสื่อความหมายในการแสดง ละครไทย มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในแต่ละยุค

หน่วยที่ 4 เรื่องการชม วิจารณ์ และประเมินคุณภาพการแสดง

การชม วิจารณ์ และประเมินคุณภาพการแสดง จะต้องวิจารณ์การแสดงตามหลักนาฏศิลป์และการละคร ตลอดจนพัฒนาและใช้เกณฑ์การประเมินการแสดง

คุณลักษณะนี้ถูกปิดใช้งานโดยผู้ดูแล

บุ ค ค ล สำ คั ญ
ว ง ก า ร น า ฏ ศิ ล ป์ ไ ท ย

หม่อมครูอึ่ง หสิตะเสน

จัดทำโดย
น.ส.พัณณิตา สายทัน ม.5/4 เลขที่ 12

หม่อมครูอึ่ง หสิตะเสน

อึ่ง หสิตะเสน เดิมคือ เจ้าจอมอึ่ง เป็นอดีตพระสนม
ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เดิมเป็นนางละครในเ จ้าคุณจอม
มารดาเอม หม่อมครูอึ่งเป็นผู้วางรากฐาน และเป็นผู้ถ่ายทอดท่ารำ
ละครตัวพระ ทั้งหมดของคณะละครวังสวนกุหลาบสอนคู่กับหม่อม
ครูนุ่ม นวรัตน์ ณ อยุธยา เป็นผู้มีความสามารถสูงส่งในการร่ายรำ
บทบาท ตัวละครพระ ถ่ายทอดท่ารำเพลงหน้าพาทย์ต่างๆ ท่ารำ
เฉพาะบทบาท และท่ารำฉุยฉายของ ตัวพระ ท่ารำบทบาทพระเอก
พระรอง และอื่ นๆ
ภายหลังออกจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตแล้วได้กราบ
บังคมทูลลาออกจากพระราชวังบวรสถานมงคล

ประวัติชีวิต

อึ่งเป็นธิดาของหม่อมหลวงชม อภัยกุล ต่อมาได้เข้ามาเป็นตัว
ละครในเจ้าคุณจอมมารดาเอม ซึ่งคณะละครนั้นได้ตกทอดไปถึงก
รมพระราชวังบวรวิไชยชาญพระราชโอรสในเจ้าคุณจอมมารดาเอม
ต่อมาได้ถวายตัวเป็นพระสนมในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญมี
บรรดาศักดิ์เป็น เจ้าจอมอึ่ง

ต่อมาจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตแล้วได้กราบบังคมทูลลา
ออกจากพระราชวังบวรสถานมงคล ไปสมรสกับ เปล่ง หสิตะเสน
มีบุตรธิดา 2 คนคือ

1. ปริก (ช.) เป็นพระอาจารย์สอนตีขิมแก่เจ้านายหลายพระองค์
2. แส (ญ.)
ภายหลังได้เข้ามาเป็นครูละครวังสวนกุหลาบ เป็นผู้วางรากฐาน และเป็นผู้
ถ่ายทอดท่ารำละครตัวพระ ทั้งหมดของคณะละครวังสวนกุหลาบ อึ่งมีความ
เชี่ยวชาญในกระบวนลีลาท่ารำตัวพระทุกประเภท ได้เป็นครูให้กับละครคณะ
ต่างๆอาทิ ละครหลวงในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อึ่งสิ้นชีวิต
เมื่อใดไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานว่าสิ้นชีวิตหลังหม่อมครูนุ่ม

ผลงานและศิษย์เอก

วิชาความรู้จากหม่อมครูอึ่งที่ถ่ายทอดผ่านมายังวังสวนกุหลาบ โดยมีศิษย์
เอกทั้งสามท่านที่เป็นศิลปินในตำนาน คือท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี
คุณครูลมุล ยมะคุปต์ และคุณครูเฉลย ศุขะวณิช เผยแพร่และมีอิทธิพล
อย่างยิ่งต่อวงการนาฏศิลป์

คุณครูลมุล ยมะคุปต์

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี คุณครูเฉลย ศุขะวณิช

ผลงานและศิษย์เอก

และการเรียนการสอนในหลักสูตรนาฏศิลป์ไทยของกระทรวงศึกษาธิการ
ให้พวกเราทุกคนได้เรียนกันในปัจจุบัน มีดังนี้
1. ท่ารำเฉพาะบทบาทของตัวพระเอกต่างๆ เช่น พระวิศณุกรรม พระมาตุลี
พระสังข์ พระราม ฯ ล ฯ
2. ท่ารำเฉพาะบทบาทของตัวยักษ์ เช่น อินทรชิต รามสูร ฯลฯ
3. ท่ารำเพลงช้า เพลงเร็ว
4. ท่ารำเพลงหน้าพาทย์ ต่างๆ เช่น เพลงเชิด เพลงเสมอ เพลงพญาเดิน
เพลงเสมอจีน เพลงกราวใน เพลงกราวนางยักษ์ เพลงตระนิมิต เพลง
ตระบองกัน เพลงชำนาญ เพลงสาธุการ เพลงเสมอมาร เพลงเสมอเถร
เพลงพราหมณ์เข้าเพลงพราหมณ์ออก
เพลงตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพลงตระบรรทมไพร เพลงตระสันนิบาต
5. ท่ารำกริชคู่สะระหม่า (รบกริชอิเหนา)
6. ท่ารำกริชมลายูสะระหม่าแขก
7. ท่ารำกระบี่
8. ท่ารำทวน
9. ท่ารำหอกซัด (ละครเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกระหมังกุหนิง)
10. ท่ารำง้าว (รำอาวุธเดี่ยวถวายหน้าพระทีนั่ง)
11. ท่ารำปฐมหางนกยูง (พระมาตุลีจัดพล)
และ วิชาความรู้ด้านการรำในบทบาท “ตัวละครพระ” อื่นๆ อีกเป็นอันมาก

ผลงานและศิษย์เอก

ภาพคณะละครวังสวนกุหลาบ ถ่ายหน้าเรือนกินนรรำ ในวัง
เพชรบูรณ์ หลังจากที่โอนมาในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าบรม
วงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย

(แต่ยังคงใช้ชื่ อคณะละครวังสวนกุหลาบอยู่)
หม่อมครูนุ่ม หม่อมครูอึ่ง นั่งอยู่สองที่สอง (แถวนั่งเก้าอี้)
ในรูปนี้มีหม่อมระวี จุฑาธุช ณ อยุธยา ด้วย (คนที่ ๔ จากขวา แถว
ยืน) หม่อมมารดาของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช

พระโอรสของทูลกระหม่อมติ๋ว

ชีวิตหม่อมครูอึ่งจากบทสัมภาษณ์คุณ
ครูลมุล ยมะคุปต์

” หม่อมครูอึ่ง กับ หม่อมครูนุ่ม เป็นหม่อมละคร ชีวิตหม่อมละครมัก

อาภัพ เมื่ออยู่ที่วังสวนกุหลาบท่านได้เบี้ยเลี้ยงเดือนละไม่กี่บาท พอทูล

กระหม่อมอัษฏางค์สิ้น ท่านก็ออกมาอยู่ข้างนอก ไม่มีลูกหลานคอย
ปรนนิบัติ คุณครูลมุล เล่าให้ฟังว่า พอถึงเวลาสิ้นเดือน หม่อมครูนุ่ม
กับหม่อมครูอึ่ง จะจูงมือกันมาหาคุณครูลมุล ศิษย์รัก คุณครูลมุล

ตอบแทนพระคุณด้วยการเอื้อเฟื้ อค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งให้กับหม่อมครูทั้ง
สองท่าน ท่านน่าสงสารมากเพราะไม่มีลูกไม่มีหลาน จนบั้นปลายชีวิตท่านก็
จากไปอย่างสงบ แต่ที่น่าเห็นใจมากกว่านั้น คือท่านสิ้นเมื่อครั้งสงครามโลก
ไม่มีศิษย์ผู้ใดไปไว้อาลัยในพิธีศพท่านได้เลย เพราะต่างคนต่างก็ลี้ภัย

สงครามกันไปหมด หม่อมครูจึงจากโลกนี้ไปอย่างเดียวดาย เป็นเส้นทางชีวิต

ที่ทำคุณประโยชน์เพื่อผู้อื่น โดยเฉพาะแก่ประเทศชาติ แต่ชีวิตอาภัพนัก ถ้า

ไม่มีหม่อมครูอึ่ง พวกเราชาวนาฏศิลป์ก็ไม่มีท่ารำตัวพระสวยสง่าไว้รำกัน

หรอกป่านนี้คงรำกันอย่างหัวมังกุท้ายมังกร”

ครูนุ่ม