หาก มี ผู้แสดง 10 คน การจัด แถว แบบ ใด จึง จะ เหมาะสม ที่สุด

        รำวงมาตรฐาน เป็นการรำหมู่ประกอบด้วยผู้แสดง 8 คน (จะมากกว่าหรือน้อยกว่า 8 คน ก็ได้แต่จะต้องเป็นคู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาสและความเหมาะสมที่ใช้ในการแสดง) ท่ารำประดิษฐ์ขึ้นจากท่ารำมาตรฐานในเพลงแม่บท  ความสวยงามของการรำอยู่ที่กระบวนท่ารำซึ่งมีลักษณะเฉพาะในแต่ละเพลง และเครื่องแต่งกายไทยแบบต่างๆซึ่งมีลักษณะการแสดงอยู่ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบการแสดงในลักษณะการรำติดต่อกันทั้ง 10 เพลง กับรูปแบบการแสดงในลักษณะการรำทีละเพลง เป็นวงกลม 

1. รูปแบบการแสดงในลักษณะการรำติดต่อกันทั้ง 10 เพลง แบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้

        ขั้นตอนที่ 1 ผู้แสดงชาย และหญิงเดินออกมาเป็นแถวตรงสองแถว หันหน้าเข้าหากัน ต่างฝ่ายทำความเคารพด้วยการไหว้

หาก มี ผู้แสดง 10 คน การจัด แถว แบบ ใด จึง จะ เหมาะสม ที่สุด

        ขั้นตอนที่ 2 รำแปรแถวเป็นวงกลมตามทำนองเพลง และรำตามบทร้องรวม 10 เพลง โดยเปลี่ยนท่ารำไปตามเพลงต่าง ๆ ตามลำดับ

หาก มี ผู้แสดง 10 คน การจัด แถว แบบ ใด จึง จะ เหมาะสม ที่สุด

        ขั้นตอนที่ 3 เมื่อรำจบบทร้องในเพลงที่ 10 ผู้แสดงรำเข้าเวที ทีละคู่ตามทำนองเพลงจนจบ

หาก มี ผู้แสดง 10 คน การจัด แถว แบบ ใด จึง จะ เหมาะสม ที่สุด

ลักษณะการปฏิบัติท่ารำวงมาตรฐานรูปแบบการรำที่ปฏิบัติต่อเนื่องกัน 10 เพลง มีรายละเอียดในการปฏิบัติดังนี้

       1.การรำจะเริ่มปฏิบัติต่อเนื่องกันทั้งทำนองดนตรี และเนื้อร้องของทุก ๆ เพลง จังหวะการใช้เท้า จังหวะใหญ่จะใช้เท้าขวาเสมอ และจะรำย่ำเท้าในท่ารำส่ายกับท่ารำชะนีร่ายไม้
      2.เพลงงามแสงเดือน ท่ารำสอดสร้อยมาลา ผู้แสดงเริ่มย่ำเท้าซ้าย จังหวะแรกตรงเนื้อร้องว่า งาม และจะหมุนตัวทางขวามือของผู้แสดงทั้งชายและหญิง เพื่อเดินปรับเป็นวงกลม 2 วง โดยผู้ชายเดินปรับเป็นวงกลม   วงนอก ผู้หญิงเดินปรับเข้ามาเป็นวงกลมวงในตรงเนื้อร้องที่ว่า เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์ให้วายระกำ แล้วหมุนตัวทางขวามือเดินกลับมาเป็นวงกลมวงเดียวเช่นเดิม ตรงเนื้อร้องที่ว่า ขอให้เล่นฟ้อน                     รำ เพื่อสามัคคีเอย
       3.เพลงรำซิมารำ ท่ารำส่าย ผู้แสดงเริ่มปฏิบัติตั้งแต่ทำนองดนตรีโดยรำย่ำเท้าหันหน้าไปตามวง และหันหน้าออก  จากวง ก่อนแล้วจึงหันหน้าเข้าในวง สลับกันตามเนื้อร้อง ต่อเนื่องวรรคละ 8 จังหวะ ลักษณะการ   เดินปรับเป็นวงกลม 2 วง ตรงเนื้อร้องที่ว่า เล่นอะไรให้มีระเบียบ   ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ กับมาสิมาเจ้าเอยมาฟ้อนรำ   มาเล่นระบำของไทยเราเอยจะปฏิบัติเช่นเดียวกับเพลง งามแสงเดือน
        4.เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ท่ารำแขกเต้าเข้ารัง กับ ท่ารำผาลาเพียงไหล่ เริ่มทำนองดนตรีครั้งแรกปฏิบัติท่ารำทางซ้ายด้านในวงก่อน เมื่อเริ่มเนื้อร้องจึงปฏิบัติท่ารำไปทางขวาด้านนอกวง
        5.เพลงดอกไม้ของชาติ ท่ารำยั่ว ผู้แสดงเริ่มปฏิบัติต่อเนื่องตั้งแต่ทำนองดนตรี โดยผู้หญิงหันหน้าเข้าหาผู้ชายเดินถอยหลังเข้าด้านในวงก่อน ผู้ชายเดินเฉียงขึ้นออกนอกวงก่อนเป็นครั้งแรก
        6.เพลงยอดชายใจหาญ ผู้หญิง ท่ารำชะนีร่ายไม้ ผู้ชาย ท่ารำจ่อเพลิงกาฬ ผู้แสดงเริ่มปฏิบัติตั้งแต่ทำนองเพลงย่ำเท้าตามจังหวะอย่างต่อเนื่องวรรคละ 8 จังหวะ จังหวะใหญ่จะใช้เท้าขวา โดยผู้หญิงจะหันหน้า ออกจากวง และหันหน้าเข้าในวงเดินไปตามวง ผู้แสดงชายท่ารำ จ่อเพลิงกาฬ ลักษณะมือจีบจะงอข้อศอกเล็กน้อยไม่ตึงแขน และจะโอบอยู่ด้านหลังของผู้หญิงไม่นำมาต่อไว้ที่ปลายแขนผู้หญิง ลักษณะการเดินจะเดินเฉียงขึ้นออกนอกวงและเข้าในวง ตามจังหวะอย่างต่อเนื่อง วรรคละ 8 จังหวะเช่นกัน

7.เพลงบูชานักรบ ผู้หญิงท่ารำ ขัดจางนาง กับท่ารำ ล่อแก้ว ผู้ชายท่ารำ จันทร์ทรงกลดกับ  ท่ารำ ขอแก้ว ผู้แสดงเริ่มปฏิบัติตั้งแต่ทำนองเพลงตามจังหวะอย่างต่อเนื่อง วรรคละ 4 จังหวะ โดยผู้หญิงเดินไปตามวงเอี้ยวตัวหันหน้ามามองผู้ชายด้าน ขวา ซ้าย สลับกัน และเมื่อจบเนื้อร้องเปลี่ยนเป็นท่ารำ ล่อแก้ว รำตามทำนองเพลงดนตรีจนจบเพลง โดยหันหน้าออกจากวงก่อนและหันหน้าเข้าวงสลับกันตามจังหวะเพลง ผู้ชายท่ารำ จันทร์ทรงกลด เดินออกจากวงและเดินเข้าวงสลับกันโดยเดินเฉียงขึ้นไปตามวงเล็กน้อย หน้ามองผู้หญิงตามจังหวะเพลง ปฏิบัติต่อเนื่อง 4 จังหวะ เช่นกัน จังหวะที่ 4 ใช้จมูกเท้าแตะพื้น เปิดส้นเท้าเล็กน้อยไม่ต้องแบะเข่าออก และเมื่อจบเนื้อร้องเปลี่ยนเป็นท่ารำ ขอแก้ว รำตามทำนองดนตรีจนจบเพลง โดยหันหน้าเข้าวงก่อน และหันหน้าออกจากวงสลับกัน หน้าจะหันตรงกันข้ามกับผู้หญิง 

2. รูปแบบการแสดงในลักษณะการรำทีละเพลง แบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ผู้แสดงชาย และหญิงเดินออกมาเป็นแถวตรงสองแถว แล้วเดินเป็นวงกลม หันหน้า  เข้าหากัต่างฝ่ายทำความเคารพด้วยการไหว้

หาก มี ผู้แสดง 10 คน การจัด แถว แบบ ใด จึง จะ เหมาะสม ที่สุด

ขั้นตอนที่ 2 รำตามบทร้องทีละเพลงโดยเปลี่ยนท่ารำไปตามเพลงต่าง ๆ ตามลำดับ เมื่อจบบทร้อง  แต่ละเพลงแล้ว ให้ยืนตัวตรงมือแนบลำตัว 

หาก มี ผู้แสดง 10 คน การจัด แถว แบบ ใด จึง จะ เหมาะสม ที่สุด

ขั้นตอนที่ 3 เมื่อรำจบบทร้องในเพลงที่ 10 ผู้แสดงรำเข้าเวที ทีละคู่ตามทำนองเพลงจนจบ

หาก มี ผู้แสดง 10 คน การจัด แถว แบบ ใด จึง จะ เหมาะสม ที่สุด

ลักษณะการปฏิบัติท่ารำวงมาตรฐาน รูปแบบการรำทีละเพลงมีรายละเอียดในการปฏิบัติดังนี้

        1.การรำจะเริ่มปฏิบัติ ตรงเนื้อร้องของทุก ๆ เพลง และเมื่อปฏิบัติจบแต่ละเพลงจะวางมือทั้งสองไว้ข้างลำตัว  จังหวะการใช้เท้า จังหวะใหญ่จะใช้เท้าซ้าย และเริ่มเท้าซ้ายในการปฏิบัติแต่ละเพลง  จะรำย่ำเท้าในท่ารำส่ายกับท่ารำชะนีร่ายไม้

2.เพลงงามแสงเดือน ท่ารำ สอดสร้อยมาลา มีลักษณะการปฏิบัติท่ารำอยู่ 2 รูปแบบ คือ

 รูปแบบเดิม

    •  ผู้แสดงเริ่มย่ำเท้าซ้ายจังหวะแรกตรงเนื้อร้องว่า เดือน และผู้หญิงหมุนตัวทางซ้ายมือของ ผู้แสดง ผู้ชายกดไหล่ขวารับกับผู้หญิงเพื่อเดินปรับเป็นวงกลม 2 วง โดยผู้ชายเดินปรับเป็นวงกลมวงนอก ผู้หญิงเดินปรับเข้ามาเป็นวงกลมวงในตรงเนื้อร้องที่ว่า เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์ให้วายระกำ แล้วหมุนตัวทางขวามือทั้งผู้หญิงและผู้ชายเดินกลับมาเป็นวงกลมวงเดียวเช่นเดิม ตรงเนื้อร้องที่ว่า ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย เมื่อรำจบเนื้อร้องแล้ว วางมือแนบลำตัวทั้งสองข้างเพื่อเตรียมรำตามเนื้อร้องในเพลงต่อไป

รูปแบบปัจจุบัน

    •   ผู้แสดงเริ่มย่ำเท้าซ้าย จังหวะแรกตรงเนื้อร้องว่า งาม และผู้หญิงหมุนตัวทางซ้ายมือของ  ผู้แสดง ผู้ชายกดไหล่ขวารับกับผู้หญิงเพื่อเดินปรับเป็นวงกลม 2 วง โดยผู้ชายเดินปรับเป็นวงกลมวงนอก ผู้หญิงเดินปรับเข้ามาเป็นวงกลมวงในตรงเนื้อร้องที่ว่า เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์ให้วายระกำ แล้วหมุนตัวทางขวามือทั้งผู้หญิงและผู้ชายเดินกลับมาเป็นวงกลมวงเดียวเช่นเดิม ตรงเนื้อร้องที่ว่า ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย เมื่อรำจบเนื้อร้องแล้ว วางมือแนบลำตัวทั้งสองข้างเพื่อเตรียมรำตามเนื้อร้องในเพลงต่อไป

    3.เพลงรำซิมารำ ท่ารำส่าย ผู้แสดงเริ่มปฏิบัติตรงเนื้อร้อง โดยหันหน้าออกจากวงก่อน แล้วหันหน้าเข้าในวงสลับกัน ตามเนื้อร้องวรรคละ 8 จังหวะ ลักษณะการเดินปรับเป็นวงกลม 2 วง ตรงเนื้อร้องที่ว่าเล่นอะไรให้มีระเบียบ   ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ กับมาสิมาเจ้าเอยมาฟ้อนรำ   มาเล่นระบำของไทยเราเอยจะปฏิบัติเช่นเดียวกับเพลงงามแสงเดือนรูปแบบการรำทีละเพลง

    4.เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ท่ารำ แขกเต้าเข้ารัง กับ ท่ารำ ผาลาเพียงไหล่ เริ่มปฏิบัติท่ารำตรงเนื้อร้อง โดยผู้แสดงจะปฏิบัติท่ารำไปทางขวาด้านนอกวงก่อน

    5.เพลงดอกไม้ของชาติ ท่ารำยั่ว ผู้แสดงเริ่มปฏิบัติท่ารำตรงเนื้อร้อง โดยผู้หญิงหันหน้าเข้าหาผู้ชายแล้วเริ่มย่ำเท้าซ้ายตรงเนื้อร้องคำว่า ขวัญใจ แล้วเดินถอยหลังไปด้านนอกวงกลมก่อน ผู้ชายเดินเฉียงขึ้นเข้าด้านในก่อนเป็นครั้งแรก

    6.เพลงยอดชายใจหาญ ผู้หญิงท่ารำ ชะนีร่ายไม้ ผู้ชายท่ารำ จ่อเพลิงกาฬ มีลักษณะปฏิบัติท่ารำผู้หญิง 2 รูปแบบคือ

  รูปแบบเดิม

    •   ผู้แสดงหญิงเริ่มปฏิบัติท่ารำตรงเนื้อร้อง โดยหันหน้าออกนอกวง ย่ำเท้าซ้าย ขวา ตามจังหวะอย่างต่อเนื่อง วรรคละ 8 จังหวะ โดยย่ำเท้าขวาในจังหวะใหญ่ จากนั้นหันหน้าเข้า  ในวง ยั้งจังหวะเล็กน้อยเพื่อย่ำเท้าซ้ายในจังหวะใหญ่ ย่ำเท้าสลับต่อเนื่องตามจังหวะ 8จังหวะ ปฏิบัติสลับกันเช่นนี้จนจบเนื้อร้อง ผู้แสดงชายท่ารำ จ่อเพลิงกาฬ ปฏิบัติเช่นเดียวกับการรำวงมาตรฐานรูปแบบที่ปฏิบัติต่อเนื่องกัน 10 เพลง

รูปแบบปัจจุบัน

    •    ผู้แสดงหญิงเริ่มปฏิบัติท่ารำตรงเนื้อร้อง โดยหันหน้าออกนอกวง และหันหน้าเข้าในวงสลับกันตามเนื้อร้องวรรคละ 8 จังหวะ โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับรำวงมาตรฐานรูปแบบที่ปฏิบัติต่อเนื่องกัน 10 เพลง ผู้แสดงชายท่ารำ จ่อเพลิงกาฬ ปฏิบัติท่ารำเช่นเดียวกับการรำวงมาตรฐานรูปแบบที่ปฏิบัติต่อเนื่องกัน 10 เพลง

    7.เพลงบูชานักรบ ผู้หญิงท่ารำ ขัดจางนาง กับท่ารำ ล่อแก้ว ผู้ชายท่ารำ จันทร์ทรงกลด กับท่ารำ ขอแก้ว ผู้แสดงเริ่มปฏิบัติตรงเนื้อร้องตามจังหวะอย่างต่อเนื่อง วรรคละ 4 จังหวะ โดยผู้หญิงเดินไปตามวงเอี้ยวตัวหันหน้ามามองผู้ชาย ด้านขวา ซ้าย สลับกันเริ่มย่ำเท้าขวาตรงเนื้อร้องคำว่า น้องรักเป็นจังหวะแรก และเมื่อจบเนื้อร้องเปลี่ยนเป็น   ท่ารำ ล่อแก้ว รำตามทำนองเพลงดนตรีจนจบเพลง โดยหันหน้าออกจากวงก่อนและหันหน้าเข้าวงสลับกันตามจังหวะเพลง ผู้ชายท่ารำ จันทร์ทรงกลด เดินออกจากวง และเดินเข้าในวงสลับกัน โดยเดินเฉียงขึ้นไปตามวงเล็กน้อย หน้ามองผู้หญิงตามจังหวะเพลง ปฏิบัติต่อเนื่อง 4 จังหวะ เช่นกัน โดยจะเริ่มย่ำเท้าในจังหวะที่ 2 และจังหวะที่ 4 ให้ลากเท้ามาชิด โดยใช้จมูกเท้าแตะพื้นเปิดส้นเท้าเล็กน้อยไม่ต้องแบะเข่าออก และเมื่อจบเนื้อร้องเปลี่ยนเป็นท่ารำ ขอแก้ว รำตามทำนองดนตรีจนจบเพลง โดยหันหน้าเข้าวงก่อน และหันหน้าออกจากวงสลับกันหน้าจะหันตรงกันข้ามกับผู้หญิง