ถ้า กฎหมาย กํา หน ด ให้ นิติบุคคล เสียภาษีจาก กํา ไร สุทธิ ทางบัญชี จะเกิด ผล เสีย อย่างไร

1. หน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ

1.1  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย เช่น บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด เป็นต้น

1.2  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศ ได้แก่

ก. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศ จะต้องนำกำไรสุทธิเฉพาะที่ได้จากการกระทำ กิจการในประเทศไทยมาเสียภาษีเงินนิติบุคคล

ข. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศมีลูกค้าหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย

1.3  กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศหรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ

1.4  กิจการร่วมค้า

2. รอบระยะเวลาบัญชี

2.1 รอบระยะเวลาบัญชีโดยทั่วไปกำหนดให้มี 12 เดือนโดยจะเริ่มและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้

2.2 รอบระยะเวลาบัญชีซึ่งน้อยกว่า 12 เดือนกรณีที่กฎหมายยอมให้รอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือน ได้มีเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ คือ

1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเริ่มตั้งใหม่จะถือวันเริ่มตั้งถึงวันหนึ่งวันใดเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแลกก็ได้ แต่รอบระยะเวลาบัญชีต่อไปต้องเท่ากับ 12 เดือน

2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ตามที่อธิดีกรมสรรพากรจะเห็นสมควรและสั่งอนุญาตซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ขอเปลี่ยนที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนจะน้อยกว่า 12 เดือน

3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เลิกกันให้ถือเอาวันที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนเลิกเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเลิกกัน รอบระยะเวลาบัญชีที่ควบกันจึงเป็นไปตาม

 ( ข้อ 3 ) ซึ่งอาจน้อยกว่า 12 เดือน

2.3 รอบระยะเวลาบัญชีมากกว่า 12 เดือน รอบระยะเวลาบัญชีอาจขยายออกไปมากกว่า 12 เดือนก็ได้ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกิจการ หากผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการไม่สามารถยื่นรายการและเสียภาษีได้ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วถ้าได้ยื่นคำร้องต่ออธิการบดีภายใน 30 วัน

3. กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิโดยคำนวณจากรายได้ซึ่งได้จากกิจการหรือจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี

4. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ

    การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติตามมาตรา 65 ทวิซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

3.1 รายการที่ระบุไว้ตามมาตรา 65 ตรี ไม่ถือเป็นรายจ่าย

3.2  ค่าสึกหรอและค่าเสื่ออมราคาของสินทรัพย์ให้หักได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาดังนี้

ข้อ 1 การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจะต้องไม่เกินอัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของทรัพย์สิน

ข้อ 2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาและเลือกใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปให้ใช้วิธีทางการบัญชีและอัตรานั้นตลอดไปจะเปลี่ยนแปลงได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากร

ข้อ  3 การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาให้คำนวณตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี

ข้อ 4 ทรัพย์สินประเภทรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนหรือรถยนต์นั่งให้หักค่าสึกหรอราคาจากมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท

ข้อ 5 การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสำหรับทรัพย์สินไม่ว่ากรณีใดจะหักจนหมดมูลค่าต้นทุนของสินทรัพย์นั้นไม่ได้ โดยให้คงเหลือมูลค่าของทรัพย์สินนั้นเป็นจำนวนอย่างน้อย 1 บาท

ข้อ 6 กรณีทรัพย์สินที่ได้มาเยการเช่าซื้อหรือซื้อขายเงินผ่อนให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมูลค่าต้นทุน คือ ราคาที่พึงชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายเงินผ่อน

ข้อ 7 การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้สำหรับวิจัยและพัฒนาให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้น

ข้อ8 การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินประเภทเครื่องบันทึกการเก็บเงินอาจเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในร้อยละ 100 ของมูลค่าต้นทุนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน ข้อ1ก็ได้

ข้อ 9 การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทอาคารถาวรที่บริษัทที่เป็นสำนักงานปฏิบัติ การภูมิภาคซื้อหรือรับโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของกิจการเจ้าของตนเองให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 25 ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้

4.3 การตีราคาทรัพย์สิน

4.4 การโอนทรัพย์สินโดยไม่มีค่าตอบแทน

4.5 การคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินและหนี้สิน

4.6 การตีราคาสินค้า

4.7 การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศ

4.8 การคำนวณราคาทุนของสินค้าเป็นเงินคราต่างประเทศ

4.9 การจำหน่ายหนี้สูญ

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงือนไขในการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้มีดังนี้

ข้อ 1 หนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้ต้องเป็นหนี้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

1.1  ต้องเป็นหนี้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ หรือหนี้ที่รวมเป็นเงินได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงหนี้ที่ผู้เป็น หรือเคยเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นลูกหนี้ไม่ว่าหนี้นั้นจะเกิดขึ้นก่อน

1.2  ต้องเป็นหนี้ที่ไม่ขาดอายุความและมีหลักฐานโดยชัดเจนที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้

ข้อ 2 การจำหน่ายหนี้สูญจากลูกหนี้ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 500000 บาทขึ้นไป ต้องดำเนินการต่อไปนี้

1.1  ได้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณีโดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้งและไม่ได้ชำระหนี้

1.2  ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือยื่นคำขอเฉลี่ยในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง และกรณีนั้นๆ ได้มีคำบังคับหรือคำสั่งของศาลแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดจะชำระหนี้ได้

1.3  ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคำขอชำระหนี้ในคดีลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย

ข้อ 3 การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในกรณีของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 500000 บาท ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

4.1.1.1 ได้ดำเนินการตามข้อ (2.1)

4.1.1.2 ได้ดำเนินการฟ้อลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับการฟ้องนั้นแล้ว หรือ ได้ยื่นคำเฉลี่ยหนี้ในคดีลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งศาลได้มีคำสั่งรับคำขอนั้นแล้ว

4.1.1.3 ได้ดำเนินการฟ้องคดีล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้วหรือได้ยื่นคำขอชำระหนี้

ข้อ 4 การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของธนาคาร หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

ข้อ 5 การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ ปลดหนี้ให้ลูกหนี้อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณท์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกำหนดให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 ข้อ 3 หรือข้อ 4

ข้อ 6 การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในส่วนที่ได้ปลดหนี้ หรือ ประนอมหนี้ในลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟู กิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 ข้อ 3 หรือข้อ4

ข้อ 7 การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นในส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนำหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดมาใช้โดยอนุโลม ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 3 4

“ลูกหนี้อื่น”หมายความว่า เจ้าหนี้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินซึ่งได้ดำเนินการเจราจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทำการตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน

“ลูกหนี้”หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วยและให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ด้วย

ข้อ 8 การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เป็นลูกหนี้จัดชั้นสูญและลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันเงินสำรองครบร้อยละร้อยตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ข้อ 234

ข้อ 9 หนี้ของลูกหนี้รายใดที่เข้าลักษณะตามข้อ1 และได้ดำเนินตามข้อ 2 ข้อ3 ข้อ4 ข้อ5 ข้อ6 ข้อ 7 หรือข้อ8 ครบถ้วนแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีใดให้จำหน่ายเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้และถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น เว้นแต่กรณีตามข้อ 3(2)และ (3) ให้ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลได้มีคำสั่งรับคำสั่งรับคำฟ้องขอเฉลี่ยหนี้ หรือขอรับชำระหนี้ และกรณีตามข้อ 6 ให้ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้วแต่กรณี

4.10 การคำนวณเงินปันผลเป็นรายได้ สำหรับบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยให้นำเงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวมหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับกู้ยืมเงินเพื่อการส่งเสริมการเกษตร พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม เงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า มารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้

 5.  เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม)

      5.1 เงินสำรองต่างๆนอกจาก

            (1) เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันชีวิตที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไรเฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 65 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันซึ่งเอาประกันต่อออกแล้วถือเป็นรายจ่ายได้

            (2) เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันชีวิตที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไรเฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันซึ่งเอาประกันต่อออกแล้วถือเป็นรายจ่ายได้

             (3) เงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญสำหรับหนี้จากการให้สินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้กันไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่ตั้งขึ้นจากเงินสำรองประเภทดังกล่าวที่ปรากฎในงบแสดงฐานะการเงินของรอบระยะเวลาบัญชีก่อน

      5.2 เงินกองทุน เว้นแต่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง

      5.3 รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หาหรือการกุศล เว้นแต่รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีให้หักได้ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา ตามที่อธิบดีกำหนโดยอนุมัติรัฐมนตรีให้หักได้อีกในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิซึ่งมีหลักเกณฑ์ตามประกาศกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ดังนี้

      ข้อ 1  รายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายให้หรือเพื่อกิจการดังต่อไปนี้

(1)การส่งเสริม อนุรักษ์ และรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์คุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนคุ้มครองสัตว์ป่า

(2)การคุ้มครองและการดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ

(3)การคุ้มครองและรักษาป่าสงวนแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ

(4)การส่งเสริม คุ้มครองและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

(5)กาควบคุม ป้องกัน แก้ไข ตลอดจนการลดและขจัดอันตราอันเกิดจากการแร่กระจายของมลพิษ หรือภาวะมลพิษและของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

(6) กองทุนสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

(7)การบูรณะโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ตามกฎหมายว่าด้วย โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

(8) การก่อสร้างถนนและได้โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ส่วนราชการและองค์การของรัฐบาลโดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งนี้เฉพาะส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาล ผู้รับโอนได้ให้ประชาชนใช่ประโยชน์ในถนนดังกล่าว

ทั้งนี้ รายจ่าย (1) ถึง (8) ต้องเป็นการจ่ายให้แก่กิจการตามโครงการพระราชดำริของทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล หรืองค์การกุศลสาธารณะที่รัฐมนตรีประกากำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 2 รายจ่ายเพื่อการศึกษา ได้แก่ รายจ่ายในการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินที่จ่ายให้แก่หรือเพื่อกิจการ ดังต่อนี้

(1)สถานศึกษา หอสมุดหรือห้องสมุด หรือสถาบันวิจัย ทั้งนี้เฉพาะของทางราชการ

(2)การให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาเป็นการทั่วไป

(3)กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเพื่อการสร้างสถานศึกษา หอสมุด หรือสมุดของทางราชการ

(4) สถานศึกษาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นและสถานศึกษาที่เป็นสถานบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถานบันอุดมศึกษาเอกชน

ข้อ 3 รายจ่ายเพื่อการกีฬา ได้แก่ รายจ่ายในการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่หรือเพื่อกิจการดังต่อไปนี้

(1) การกีฬาแห่งประเทศไทย

(2)คณะกรรมการกีฬาจังหวัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมกีฬาในจังหวัด

(3)กรมพลศึกษา เพื่อการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน

(4) สมาคมกีฬาสมัครเล่นที่ได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย

      5.4 ค่ารับรองหรือค่าบริการ ส่วนที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง

      5.5 รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือรายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออกหรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่มิใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม

      5.6 ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระหรือพึงชำระและภาษีซื้อ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เว้นแต่ภาษีซื้อที่ต้องห้ามนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีที่ซื้ออื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาฯ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ

      5.7 การถอนเงินโดยปราศจากค่าตอบแทนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

      5.8 เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควร

      5.9 รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หรือรายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นเว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็อาจลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถัดไปได้

       5.10 ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง

       5.11 ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุนสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเอง

       5.12 ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืนเนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ หรือขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ เว้นแต่ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้าปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน สำหรับการนำผลขาดทุนสุทธิมาหักนี้ 

       5.13 รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ

       5.14 รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศโดยเฉพาะ

       5.15 ค่าซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อ หรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

       5.16 ค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่สูญหรือสิ้นไปเนื่องจากกิจการที่ทำ

       5.17 ค่าของทรัพย์สินนอกจากสินคาที่ตีราคาต่ำลง ทั้งนี้ ภายใต้บังคับมาตรา 65 ทวิ

       5.18 รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ

       5.19 รายจ่ายใดๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว

       5.20 รายจ่ายที่มีลักษณะทำนองเดียวกับที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (19) ซึ่งจะกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

6. อัตราภาษี และการคำนวณภาษี

6.1 อัตราภาษี

     (1) ภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลร้อยละ 30

     (2) ภาษีจากกำไรสุทธิเฉพาะกรณีที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ร้อยละ 10

6.2 การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิและต้องคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล และยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ดังนี้ 

      (1) การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ได้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎาการ

      (2) การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี การคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้คำนวรกำไรสุทธิตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎาโดยนำกำไรสุทธิดังกล่าวคูณด้วยอัตราภาษีได้นิติบุคคล เมื่อจะคำนวณภาษีบริษัทจะต้องปรับปรุงกำไรสุทธิให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรแล้วจึงคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

7. การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิจะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีดังนี้

7.1 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบ จะต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชำระภาษีตามแบบ ภ...51 ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

7.2 การเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี จะต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ตามแบบ ภ... 50 ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ

กิจการที่เลือกการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีโดยเสียจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งกิจการจะต้องมีการจัดทำงบการเงิน คืองบกำไรขาดทุนและงบแสดงบานะการเงินเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนแรก และต้องมีผู้สอบบัญชีที่อธิบดีกรมสรรพากรรับรองด้วย