อุทกภาค ธรณีภาค บรรยากาศ และชีวภาค

1.การดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งในประเทศไทยและในส่วนต่างๆ  ของโลกจะสัมพันธ์กับปรากฏการณ์อันเกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ  ของโลกทั้ง 4 ประการ คืออะไร

 บรรยากาศภาค    ธรณีภาค   อุทกภาค     ชีวภาค

บรรยากาศภาค

2.บรรยากาศ คืออะไร

บนท้องฟ้ามีอากาศที่หุ้มห่อโลกอยู่  ซึ่งประกอบไปด้วยแก๊สชนิดต่างๆ  รวมทั้งไอน้ำและฝุ่นละออง

3.บรรยากาศมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร

1.บรรยากาศมีแก๊สออกซิเจนช่วยให้มนุษย์หายใจ 
2.บรรยากาศช่วยกรองรังสีเอกซ์ แกมมา  และอัลตราไวโอเลตที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
3.บรรยากาศทำหน้าที่คล้ายเรือนกระจกช่วยอบความร้อน  ทำให้อุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืนไม่แตกต่างกันมากนัก
4.บรรยากาศเป็นแหล่งสะสมไอน้ำและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรน้ำ

4.ชั้นบรรยากาศของโลกมีกี่ชั้นแต่ละชั้นชื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร

1) โทรโพสเฟียร์  (troposphere)เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ติดผิวโลกและจะสูงขึ้นไปจากผิวโลกประมาณ 16 กิโลเมตรที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร อากาศมีการเคลื่อนที่ในแนวนอนเรียกว่า ลม           อากาศมีการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง เรียกว่า กระแสอากาศ ทำให้ไอน้ำในอากาศก่อรูปร่างเป็นเมฆก้อน  คือ  คิวมูลัส  และคิวมูโลนิมบัสและทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

2) สแตรโทสเฟียร์ (starosphere)  เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากแนวสิ้นสุดของชั้นโทรโพสเฟียร์และแนวโทรโพพอส (torpopause) โดยอยู่สูงจากระดับผิวโลกมากกว่า 16 กิโลเมตรขึ้นไปชั้นนี้จึงไม่มีเมฆและพายุการเคลื่อนที่ของอากาศมีเฉพาะการเคลื่อนที่ในแนวนอนเพียงอย่างเดียว เหมาะสำหรับการบิน

3) เมโซสเฟียร์ (mesosphere)  เป็นบรรยากาศชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นสแตลโทสเฟียร์ขึ้นไป  อยู่สูงจากระดับผิวโลกประมาณ 50-80 กิโลเมตร โดยอุณหภูมิจะลดลงตามความสูง

4) เทอร์โมสเฟียร์ (thermosphere) อุณหภูมิของอากาศจะสูงโดยตลอด

5.กลางวันกลางคืนเกิดจากอะไร

เกิดเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของโลกขณะโคจรรอบดวงอาทิตย์  ด้านรับแสงครึ่งหนึ่งของทรงกลมจะสว่าง  ด้านตรงข้ามจะมืด  

6.ฤดูกาลเกิดจากอะไร

เกิดขึ้นจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากแกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา จึงทำให้ในแต่ละช่วงของปี แต่ละบริเวณจะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น

7. อุณหภูมิของโลกที่สูงมากขึ้นและภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป  และส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดภัยพิบัติต่อมวลมนุษย์  ภัยพิบัติดังกล่าวมีอะไรบ้าง

1.การละลายของธารน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็ง  นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าในอีก 100 ปีข้างหน้าน้ำในหมาสมุทรจะสูงขึ้นประมาณ 1 เมตร  พื้นที่ชายฝั่งทะเลจะจมน้ำหายไป

2.ปรากฏการณ์ภัยแล้ง  หรือช่วงฝนแล้ง  เกิดจากภาวะของฝนไม่แน่นอน    ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ  ปรากฏการร์นี้จะเกิดขึ้นรุนแรงในประเทศแถบทะเลทรายทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา

3.ปรากฏการณ์เอลนีโญ

4.ปรากฏการณ์ลานิญา

5.ปรากฏการณ์พายุหมุน  คือ  บริเวณความกดอากาศต่ำที่มีกระแสอากาศหมุนเวียนเข้าหาความกดดันในแนวทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ  และตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้  โดยมีการเรียกชื่อพายุหมุนแตกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิดและตามความเร็ว

6.ปรากฏการณ์ไฟป่า (forest fire)  ตามปกติในฤดูแล้งมักจะเกิดไฟป่าขึ้นเองตามธรรมชาติเสมอ  เช่น  จากฟ้าผ่าหรือต้นไม้เสียดสีกัน  เป็นต้น  แต่ในปัจจุบันมีไฟป่าที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์  เช่น  การจุดไฟเผาเศษพืช

7.พื้นที่อับฝน (rainshadow)  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากภูเขาสูงทอดแนวขวางกั้นทิศทางของลมฝน  จึงมำให้ด้วนต้นลมมีฝนตกชุกกว่าด้านปลายลม

8.ปรากฏการณ์อุณหภูมิผกผัน (temperature inversion)  อุณหภูมิผกผันเป็นปรากฏก่ารณ์ที่เกิดขึ้นตรงกันข้ามกับอุณหภูมิปกติในบรรยากาศ

ธรณีภาค

8.ธรณีภาคคืออะไร

ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งประกอบไปด้วยธาตุ หิน  แร่ และดินชนิดต่างๆซึ่งห่อโลกอยู่เป็นผิวเปลือกโลก  เป็นพื้นที่ที่มนุษย์ใช้เป็นที่อาศัยอยู่และดำเนินกิจกรรมต่างๆ  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม

9.ส่วนประกอบของเปลือกโลกที่่เป็นภาคพื้นดินมีส่วนประกอบสำคัญสรุปได้ดังนี้ คือ

  1. ธาตุ  ชนิดของธาตุที่มีมากที่สุด 1.ออกซิเจน  45.2%   2.ซิลิคอน 27.2%   3.อลูมิเนียม 8.0%
  2. แร่   แบ่งเป็น 1.แร่ปฐมภูมิ   2.แร่ทุติยภูมิ
  3. หิน   ประเภทของหิน  1.)หินอัคนี เป็นหินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืดอยู่ภายใต้ มีประร้อยละ 96 ของหินเปลือกโลกทั้งหมด  2.)หินชั้น หรือหินตะกอน เกิดจากการทับถมของวัสดุต่างๆเป็นเวลานาน ตัวอย่างหินชั้น หินดินดาน หินทราย หินกรวดมน หินภูเขาไฟ   3.)หินแปร คือหินที่แปรสภาพมาจากหินอัคนีหรือหินชั้นโดยการกระทำของความร้อนหรืออุณหภูมิที่สูง หรือการเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางเคมี เช่น หินสบู่ หินไนส์ ปแปรรูปจากหินอัคนี 
  4. ดิน แบ่งเป็น 3 ชนิด 1.ดินโซนัล คือดินที่พัฒนาอย่างสมบูรณ์  2. ดินทราโซนัล คือดินที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์  3.ดินเอโซนัล คือดินที่ขาดโอกาสจะพัฒนาให้สมบูรณ์

ปรากฏการณ์จากอุทกภาค

10.อุทกภาค หมายถึงอะไร

อุทกภาค  (hydrosphere)  หมายถึง  ส่วนที่เป็นน้ำที่อยู่บนพื้นโลกทั้งหมด  ประกอบด้วย  น้ำจืดที่อยู่ในแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินร้อยละ  3.0  และน้ำเค็ม  ที่อยู่ในเทละและมหาสมุทรร้อยละ  97.0

11.ปรากฏการณ์จากอุทกภาคที่สำคัญ มีอะไรบ้าง

1.  วัฎจักรของน้ำ   หมายถึง การหมุนเวียนเปลี่ยนสถานะของน้ำ จากแหล่งน้ำต่างๆ  เช่น มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ หนอง บึง ทะเลสาบ เป็นต้น  ระเหยกลายเป็นไอน้ำลอยขึ้นไปในอากาศรวมกับไอน้ำที่มาจากต้นไม้ ไอน้ำในบรรยากาศจะรวมตัวกันและกลั่นตัวเป็นเม็ดฝนหรือหิมะ ตกลงมายังแหล่งน้ำต่างๆ และซึมลงใต้ดิน หมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ตลอดไป

2. กระแสน้ำในมหาสมุทร   กระแสน้ำในมหาสมุทร คือ การเคลื่อนที่ของน้ำในมหาสมุทรอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะไหลอยู่ตลอดเวลา และไหลเวียนไปทั่วโลกอย่างช้าๆ ในทิศทางเดียวกัน

12.จงบอกอิทธิพลทางอุทกภาคที่มีต่อโลก

1. น้ำขึ้นน้ำลง    2.น้ำเกิด น้ำตาย

13.จงบอกปฏิสัมพันธ์มนุษย์กับแหล่งน้ำ

1.อุปโภค บริโภค 2.การชลประทานและการเกษตร  3.อุตสากรรม    4.ผลิตพลังงานไฟฟ้า   5. การคมนาคมขนส่ง   6.การพักผ่อนหย่อนใจ

ปรากฏการณ์ชีวภาค

14. ชีวภาค (Biosphere)  หมายถึงอะไร

บริเวณของผิวโลก รวมทั้งในบรรยากาศและใต้ดินที่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นทั้งที่มีชีวิตอยู่และตายไปแล้ว ได้แก่ พืช สัตว์ มนุษย์ โดยพื้นที่หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กันและมีการปรับปรุงตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ ทั้งในด้านบรรยากาศ ธรณีภาค และอุทกภาค

15.ปรากฏการณ์ทางชีวภาคของพืช ที่สำคัญมีอะไรบ้าง

1  ลักษณะทางกายภาพของพืช    2 การกระจายของพืชพรรณธรรมชาติในโลก

16.ปรากฏการณ์ทางชีวภาคของสัตว์  ที่สำคัญมีอะไรบ้าง

1. สัตว์ในเขตป่าดิบ  2.  สัตว์ในเขตป่าอบอ่น  3.  สัตว์ในเขตท่งหญ้า   4. สัตว์ในเขตทะเลทราย  5. สัตว์ในเขตขั้วโลก   6. สัตว์ในเขตภูเขา   7. สัตว์ในมหาสมุทร