สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

วิวัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง

 และ การปกครองของสังคมโลก

ความนำ

               การศึกษาวิวัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครองของสังคมโลก จะต้องเริ่มศึกษาตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นในโลก โดยอาศัยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์  อาทิ  เครื่องมือ เครื่องใช้โบราณสถานโบราณวัตถุและหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ถูกค้นพบ  ทำให้เราสามารถทำความเข้าใจถึงรูปแบบการดำเนินชีวิต  กฎระเบียบ  ความเชื่อ  ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน  จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวทำให้นักประวัติศาสตร์แบ่งยุคสมัยเหตุการณ์ในอดีตออกเป็นสมัยตามเครื่องมือ  เครื่องใช้ คือ ยุคหินและยุคโลหะ  ต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักการใช้ตัวอักษร  ถูกกำหนดให้เป็นสมัยประวัติศาสตร์ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 5,000 ปี  ล่วงมาแล้ว  จากหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร  ทำให้เราได้ทฤษฎีวิวัฒนาการทางสังคม  เศรษฐกิจ การเมืองการปกครองของสังคมโลกได้ชัดเจนมากขึ้น  หากพิจารณาในภาพรวมแล้วพอที่จะศึกษาถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ด้านต่าง    ได้ดังนี้

1.       วิวัฒนาการทางสังคมของโลก

2.       วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจของโลก

3.       วิวัฒนาการทางการเมืองของโลก

 วิวัฒนาการทางสังคมของโลก

                สังคมมนุษย์ในยุคแรก  ๆ ต้องพึ่งพิงธรรมชาติ  และดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด  ใช้ชีวิตเร่ร่อนหาอาหารไปเรื่อย    จนกระทั่งต่อมารู้จักการผลิตอาหารและตั้งหลักแหล่งอยู่ประจำที่วิถีชีวิตความเป็นอยู่และกิจกรรมของมนุษย์ก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในทุก   ด้าน  เมื่อมนุษย์ตั้งหลักแหล่งอยู่ประจำที่มนุษย์ก็พยายามคิดหาวิธีที่จะทำให้ตนเองอยู่ดีกินดี มีความปลอดภัย ชุมชนมีขนาดใหญ่ขึ้น  กลายเป็นหมู่บ้าน เมือง รัฐ ตามที่ราบลุ่มที่อุดมสมบูรณ์  ความพยายามของมนุษย์ในการที่จะเอาชนะธรรมชาติทำให้มนุษย์สร้างสรรค์ความเจริญด้านต่าง   ก้าวหน้ามาเรื่อยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

1.       สภาพสังคมมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์

                นับเป็นเวลาหลายแสนปีแล้วที่มนุษย์ได้จับกลุ่มกระทำเพื่อประโยชน์ร่วมกับบางอย่าง สังคมนุษย์ในยุคแรก ๆ  ยังเป็นสังคมของชนกลุ่มเล็ก ๆ  ที่เร่ร่อนไปตามแหล่งอาหาร  การคบหาสมาคมระหว่างกลุ่มยังจำกัด (ปริญญา เวสารัชช์ . 2535 : 18 ) นักสังคมวิทยาเรียกสังคมมนุษย์ยุคนี้ว่ามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์

                สมัยก่อนประวัติศาสตร์(Pre-historic World) เริ่มตั้งแต่การปรากฏตัวเป็นครั้งแรกของมนุษย์จนถึงยุคก่อนที่จะมีการใช้ตัวอักษร สังคมในยุคนี้ถูกเรียกว่า  สังคมดั้งเดิม (Primitive Society) ผู้คนในสมัยนี้จะมีประวัติความเป็นมาร่วมกันเป็นเผ่าพันธุ์หรือชาติวงศ์เดียวกัน  มีภาษาพูดและวัฒนธรรมรูปแบบเดียวกัน  มนุษย์สมัยนี้มีชีวิตแบบคนเถื่อนพึ่งพาพาธรรมชาติ  นักโบราณคดีแบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ออกเป็นยุคหินและยุคโลหะ โดยยุคหินแบ่งได้เป็นยุคหินเก่า (Old Stone Age) ยุคหินใหม่ (New Stone Age) และยุคโลหะแบ่งออกเป็นยุคทองแดง (Copper Age) ยุคสำริด (Bronze Age) และยุคเหล็ก (Iron Age)

               1.1 สังคมมนุษย์ยุคหินเก่า  ยุคหินเก่าแบ่งเป็นยุคย่อย  ๆ ได้ 3 ระยะ  ได้แก่  ยุคหินเก่าตอนต้นยุคหินเก่าตอนกลางและยุคหินเก่าตอนปลาย  คนในยุคหินเก่าดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และเสาะแสวงหาพืชผักผลไม้กินเป็นอาหาร  มีการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมอย่างเต็มที่ กล่าวคือ เมื่อฝูงสัตว์ที่ล่าเป็นอาหารหมดลง  ก็ต้องอพยพย้ายถิ่นติดตามฝูงสัตว์ไปเรื่อย    การที่มนุษย์จำเป็นต้องแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่เพราะต้องล่าสัตว์ดังกล่าว  อาจทำให้คนต้องปรับพฤติกรรมการบริโภคไปในตัวด้วยเนื่องจากชีวิตส่วนใหญ่ของคนในยุคหินเก่าต้องอยู่กับการแสวงหาอาหาร และการป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายและภัยธรรมชาติ  รวมถึงการต่อสู้ในหมู่พวกเดียวกันเพื่อการอยู่รอด จึงทำให้ต้องพัฒนาเกี่ยวกับเครื่องมือล่าสัตว์  โดยการพัฒนาอาวุธที่ทำด้วยหินสำหรับตัด  ขูดหรือสับ  เช่น  หอก  มีด  และเข็ม  เป็นต้น

                ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมพบว่า  คนในยุคหินเก่าเริ่มอยู่กันเป็นครอบครัวแล้ว  แต่ยังไม่มีการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนอย่างแท้จริง  เพราะวิถีชีวิตแบบเร่ร่อนไม่เอื้ออำนวยให้มีการตั้งหลักแหล่งถาวร ขณะเดียวกันองค์กรทางการเมืองการปกครองก็ยังไม่เกิดขึ้น  สังคมจึงมีสภาพเป็นอนาธิปัตย์คือไม่มีผู้เป็นใหญ่แน่นอน  ผู้ที่มีอำนาจมักเป็นผู้ที่มีความแข็งแรงเหนือผู้อื่น

                นอกจากนี้ยังพบว่าคนในยุคนี้เริ่มรู้จักแสดงความรู้สึกออกมาในรูปของศิลปะบ้างแล้ว ศิลปะที่สำคัญได้แก่รูปเขียนกระทิงเรียงกันเป็นขบวน ขุดค้นพบภายในถ้ำอัลตะมิระ (Alta mira) ทางตอนใต้ของสเปน  และภาพสัตว์ส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ที่คนสมัยนั้นล่าเป็นอาหาร มีวัวกระทิง  ม้าป่า  กวางแดงและกวางเรนเดียร์  เป็นต้น  พบที่ถ้ำลาสโก (Lascaux) ในประเทศฝรั่งเศส  ส่วนในประเทศไทยพบที่ถ้ำตาด้วง จังหวัดกาญจนบุรี ภูพระบาท  จังหวัดอุดรธานี  และถ้ำผีหัวโต จังหวัดกระบี่ เป็นต้น

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

((ภาพเขียนบนผนังหินที่ถ้ำตาด้วง จังหวัดกาญจนบุรี))

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

((รูปเขียนกระทิงเรียงกันเป็นขบวน ขุดค้นพบภายในถ้ำอัลตะมิระ (Alta mira) ทางตอนใต้ของสเปน ))

                    สังคมของมนุษย์ยุคหินเก่าตอนกลางและยุคหินเก่าตอนปลายมีระยะเวลาที่สั้น ปรากฏอารยธรรมเกิดขึ้นในทวีปยุโรป แอฟริกา และเอเชีย สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนยุคหินเก่าตอนกลางส่วนมากคล้ายกับยุคหินเก่าตอนต้น แต่ก็พบว่าคนยุคหินเก่าตอนกลางบางแห่งมีพัฒนาการมากขึ้น มีการพบหลักฐานแสดงว่า คนยุคหินเก่าในช่วงปลายมีความสามรถในการจับสัตว์น้ำได้ดี และมีการคมนาคมทางน้ำเกิดขึ้นแล้ว  เทคโนโลยีของยุคหินเก่าตอนปลายจะมีขนาดเล็กว่ายุคหินเก่าตอนต้นและประโยชน์ใช้สอยดีขึ้นกว่าเดิม  คนยุคหินเก่าตอนกลางจะมีวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่บนภูเขา  ตามถ้ำ หรือเพิงผา  ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่บนพื้นราบ  ริมน้ำ หรือชายทะเล

                    1.2    สังคมมนุษย์ยุคหินใหม่  คนในยุคหินใหม่ได้เริ่มปฏิวัติการครองชีพด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการล่าสัตว์และหาของป่ามาเลี้ยงสัตว์มาทำการเพาะปลูกแทน  ถือเป็นการปฏิวัติทางสังคมและเศรษฐกิจครั้งสำคัญของมนุษยชาติ  การเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นเกษตรกรดังกล่าว  นอกจากจะทำให้คนต้องหันมาเลี้ยงสัตว์และฝึกหัดสัตว์ให้เชื่องแล้ว  คนยังต้องเรียนรู้การไถหว่าน  และเก็บเกี่ยวพืช  เช่น  ลูกเดือย  ข้าวสาลี ข้าวโพด  เป็นต้น

                สภาพสังคมขณะนั้นพบว่า ผู้คนต้องหักร้างถางพงสำหรับการเพาะปลูกมีการทำคอกสำหรับขังสัตว์และสร้างที่พักอาศัยอย่างถาวรแทนการเร่ร่อนอาศัยอยู่ในถ้ำเช่นคนยุคหินเก่า  เมื่อหลายครอบครัวอาศัยอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน  จึงถือว่าหมู่บ้านเกษตรกรเหล่านี้คือหมู่บ้านแห่งแรกของโลก

                เทคโนโลยีของคนในยุคหินใหม่ทำขึ้นจากวัสดุหลายชนิด  เช่น  หิน  กระดูกและเขาสัตว์ที่แตกต่างจากคนในยุคหินเก่า  คือ เครื่องมือเครื่องใช้เหล่านั้นมีประโยชน์ใช้สอยและประณีตมากขึ้นเครื่องมือที่สำคัญคือ  ขวานหินด้ามเป็นไม้  และเคียวหินเหล็กไฟ  เป็นต้น  นากจากนี้ยังสร้างงานหัตถกรรมในครัวเรือนอีกหลายอย่างได้แก่ เครื่องปั่นด้าย เครื่องทอผ้าเครื่องจักสานและเครื่องปั้นดินเผา  ซึ่งมักทำขึ้นอย่างหยาบ ๆ  ไม่มีการตกแต่งลวดลายมากนัก

                          ในด้านศิลปะพบว่า  คนในยุคหินใหม่มีการปั้นรูปสตรีและทารกลักษณะคล้ายรูปแม่พระธรณี  อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร  ชุมชนยุคหินใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดพบในตะวันออกกลาง  บริเวณที่เป็นประเทศ  ตุรกี  ซีเรีย  อิสราเอล  อิรัก ภาคตะวันออกของอิหร่านและเลยไปถึงอียิปต์ในทวีปแอฟริกาในปัจจุบัน  จากหลักฐานทางโบราณคดีแสดงว่า  คนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวได้ค้นพบวิธีการเกษตรกรรมมาประมาณ 7.000  ปีมาแล้ว  และดูเหมือนว่ารากฐานความรู้ทางเกษตรกรรมของชาวยุโรปก็รับไปจากบริเวณนี้

               1.3  สังคมมนุษย์ยุคโลหะ  คนยุคโลหะเริ่มรู้จักใช้ทองแดง  และสัมฤทธิ์มาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับ  ในส่วนของกิจกรรมการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ได้มีการพัฒนาให้มีการประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นวิถีชีวิตของคนในยุคโลหะได้เปลี่ยนจากสภาพความเป็นอยู่แบบชุมชนเกษตรมาเป็นชุมชนเมือง  ซึ่งเมืองดังกล่าวต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางของการเกษตรกรรม  การปกครองและสังคมความสัมพันธ์ทางสังคมของยุคนี้จะอยู่กันแบบเครือญาติ (Kinship  relations) มีความรักใคร่กลมเกลียว และผูกพันอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นสังคมขนาดเล็ก การจัดระเบียบทางสังคมจะเป็นไปในแบบของตระกูล (Clan)  และหมู่บ้าน (Village) มากกว่าที่จะเป็นไปในสังคมแบบปัจจุบัน

2.  สภาพสังคมมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์  สังคมมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์เริ่มขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จักการใช้ตัวอักษรในการจดบันทึกเรื่องราวต่าง  ๆ ทำให้เราสามารถศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ได้กระจ่างชัดมากขึ้น  สภาพสังคมในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลง  เนื่องจากหมู่บ้านแบบเกษตรกรรมได้ขยายใหญ่ขึ้นกลายสภาพมาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ  คนที่อาศัยอยู่ในเมืองมิได้มีเพียงผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเท่านั้น แต่มีผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ  พวกช่างฝีมือ  ช่างปั้นหม้อ  ช่างก่อสร้าง  ช่างทอผ้า เป็นต้น  ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่ฝ่ายปกครองได้แก่  พระ  และนักรบ  ซึ่งถือเป็นกลุ่มชนชั้นสูง  รองลงมาคือ  ช่างฝีมือ พ่อค้า ชาวนา ชาวไร่ ซึ่งเป็นอาชีพอิสระ ชนชั้นต่ำสุด คือ พวกทาสหรือกลุ่มผู้ใช้แรงงาน จะเห็นได้ว่าสังคมมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ จะมีความเป็นชุมชนเมืองสูง ผู้คนประกอบด้วยกลุ่มต่าง  ๆ แต่ละกลุ่มจะประกอบอาชีพหรือมีหน้าที่ต่างกัน  รวมอยู่ในชุมชนเดียวกันซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากกว่าสังคมเดิม การครองชีพมีความสะดวกสบายมากขึ้นทำให้คนมีเวลาว่างมากขึ้นเอื้ออำนวยต่อการสร้างสมความเจริญต่าง  ๆ จนกลายเป็นอารยธรรมของโลก  ซึ่งพอจะแยกได้ดังนี้

               2.1 สังคมมนุษย์สมัยโบราณ  จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์  แหล่งอารยธรรมโบราณจะอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสายสำคัญในทวีปเอเชีย  ทวีปแอฟริกาและรอบ ๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น ลุ่มแม่น้ำไนล์  ลุ่มแม่น้ำไทรกรีส-ยูเฟรตีส  ลุ่มแม่น้ำสินธุ  ลุ่มแม่น้ำฮวงโห  เป็นต้น  ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น
อารยธรรมโบราณตะวันตก
  และอารยธรรมโบราณตะวันออก  ดังจะกล่าวถึงอาณาจักรสำคัญ ๆ  ดังนี้

                               2.1.1 อาณาจักรเมโสโปเตเมีย  เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) เป็นภาษากรีก หมายถึง  ดินแดนที่อยู่ระหว่างแม่น้ำ (Meso = ระหว่าง  ,กลาง Potamia = แม่น้ำคือ แม่น้ำไทกรีส (Tigris) และยูเฟรติส (Euphrates)

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง
 

((ภาพแผนที่แสดงอาณาเขตของอารยธรรมเมโสโปเตรเมีย ในยุคที่เจริญรุ่งเรือง))

                     ปัจจุบันคือเขตประเทศอิรัก    ที่นี้สังคมแบบเมือง  ในยุคหินใหม่ได้เจริญขึ้นเป็นครั้งแรกจึงนับว่าเป็นแหล่งความเจริญที่เก่าแก่ที่สุดในโลก  นครรัฐซูเมอร์ (Sumer)  คือ แหล่งกำเนินอารยธรรมแห่งแรก ในเมโสโปเตเมีย ผู้ให้กำเนิดอารยธรรมแห่งนี้คือ ชาวสุเมเรียน  หลังจากสุเมเรียนหมดอำนาจ พวกอัสสิเรียนอัคคาเดียน  คาลเดียน  อมอไรต์ โฟนิเซียน  จึงได้เข้ามาปกครอง

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

((Mesopotamia Ziggural คือ สถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากอียิปต์))
           สุเมเรียน (Sumerian) เชื่อว่ามาจากที่ราบสูงอิหร่าน  และเข้ามาอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำไทกรีส  เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล  เมื่อแรกเริ่มที่ชาวสุเมเรียนอพยพเข้ามาในเมโสโปเตเมียได้รวมกันอยู่เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ  ต่อมาจึงได้รวมกันในลักษณะนครรัฐ แต่ละนครรัฐเป็นอิสระแก่กัน  รัฐสำคัญได้แก่  อิริดู  อิรุค  นิปเปอร์  นครรัฐเหล่านี้บางครั้งก็จะรบราฆ่าฟันกันเพื่อชิงความเป็นใหญ่ชาวสุเมเรียนนับถือพระเจ้าหลายองค์  แต่ละนครรัฐจะมีพระเป็นเจ้าประทับอยู่ในวัดใหญ่ที่เรียกว่า  ซิกกูแรต (Ziggurat)ซึ่งชาวสุเมเรียน สร้างขึ้นเป็นศูนย์กลางของนครรัฐ ในระยะแรกชาวสุเมเรียนมีพระเป็นผู้ดูแลกิจการต่าง    ในนครรัฐ  นับแต่การเก็บภาษี  ข้าวปลาอาหาร  ตลอดจนควบคุมดูแลเกี่ยวกับการชลประทานและการทำไร่ทำนา  ต่อมาเมื่อเกิดการแข่งขันและรบกันระหว่างนครรัฐ อำนาจการปกครองจึงเปลี่ยนมาอยู่ที่นักรบหรือกษัตริย์  ซึ่งเป็นผู้เข้มแข็งสามารถสู้รบป้องกันนครรัฐ  และทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการต่าง ๆ แทนพระชาวสุเมเรียน  สามารถประดิษฐ์อักษรรูปลิ่ม (Cuneiform)

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

 ((ภาพแสดงอักษรรูปลิ่ม (Cuneiform)บันทึกลงในแผ่นดินเหนียว))

                    อักษรนี้เองส่งผลให้เกิดวรรณกรรมสำคัญคือ  มหากาพย์กิลกาเมช (Epic of Gilgamesh) เป็นเรื่องการผจญภัยของวีรบุรุษ  นอกจากนั้นยังรู้จักการคูณ  การหาร  การถอดกรนท์ (Root)  เลขยกกำลังสอง  เลขยกกำลังสาม  การใช้เลขฐาน 60  เช่น  นาที  วินาที  การจัดมุมฉากเป็น 90 องศา วัดมุมรอบจุดเป็น 360  องศา แบ่ง 1 องศา  เป็น 60  ลิปดา แบ่ง 1 ลิปดาออกเป็น  60  พิลิปดา แบ่ง 1 วันออกเป็น 24  ชั่วโมง

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

((อักษรคูนิฟอร์ม(รูปลิ่ม) เปรียบเทียบเป็น อักษรภาษาอังกฤษในปัจุบัน))

                 อัคคาเดียน (Akkadian) ตั้งศูนย์กลาง การปกครองอยู่ที่นครรัฐเออร์มีความสามารถในวิชาดาราศาสตร์ รู้จักการทำปฏิทิน  มีความสามารถในการคำนวณสุริยุปราคาได้ด้วย

                 อมอไรต์ (Amorite) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครรัฐบาบิโลน  มีการเก็บภาษี การเกณฑ์ทหารควบคุมการค้าอย่างใกล้ชิด ในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ได้รวบรวมกฎหมายฉบับแรกของโลก  ซึ่งเรียกว่า ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (Hummurabi’s Code)  ยึดหลักตาต่อตา  ฟันต่อฟัน (Lex talionis หรือ  an eye for an eye, atooth for a tooth)  ในการลงโทษให้ใช้การทดแทนความผิดด้วยการ กระทำอย่างเดียวกัน

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง
                   ((สถาปัตยกรรมAmorite)) 

Amorite มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครรัฐบาบิโลน

                อัสสิเรียน (Assyrian) เป็นชนชาตินักรบ  มีวินัย  กล้าหาญ มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงนิเนเวห์ (Nineveh) ได้สร้างอารยธรรมการสลักภาพนูนต่ำ ด้านการรบและการล่าสัตว์  มีการสร้างวังขนาดใหญ่  และสร้างห้องสมุดแห่งแรกของโลก  โดยพระเจ้าอัสซูรบานิปาลที่เมืองนิเนเวห์

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

                                                                            ((ภาพแผนที่อัสสิเรียน (Assyrian))  

            คาลเดีย(Chaldea)  หรือพวกบาบิโลเนียใหม่  เป็นชนเผ่าฮีบรู  ในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเดรดซาร์(Nebuchadrezzar)  ได้สร้างพระราชวังขนาดใหญ่และสร้างสวนพฤกษชาติ  บนพระราชวัง เรียกว่า สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน (Hanging Gardens of Babylon) นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก นอกจากนั้นพวก คาลเดีย  ยังมีความรู้เรื่องการชลประทาน  ดาราศาสตร์  และคำนวณการโคจรของดวงอาทิตย์  ในรอบปีได้อย่างถูกต้อง

                โฟนิเซีย (Phoenicia)  ตั้งอาณาจักรอยู่ด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณประเทศซิเรียและเลบานอนในปัจจุบัน 

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง
ชาวโฟนิเชีย เป็นนักเดินเรือที่เก่งกล้า เป็นพ่อค้าที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้น
สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง
ทั้งยังได้นำความรู้จากสุเมเรียนและอียิปต์มาประดิษฐ์ตัวอักษรที่มีทั้งสระและพยัญชนะ เรียกว่า อักษรอัลฟาเบธ
(Alphabeth เช่น A เรียกว่า Alpha คือ β เรียกว่า Beta และอื่น ๆ 
สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง
                    อักษรเหล่านี้  ได้รับการพัฒนาเป็นอักษรกรีก และ อักษรโรมันในสมัยต่อมา  อักษรโรมันก็ถูกประเทศต่าง  ๆ ในยุโรป อเมริกา  นำไปประยุกต์เป็นอักษรของตน

                               2.1.2 อาณาจักรอียิปต์  อียิปต์โบราณอันเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมโบราณ  หมายถึง  ดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์ นับตั้งแต่ที่ตั้งเขื่อนอัสวันทางตอนใต้ขึ้นมาถึงนครไคโรปัจจุบัน  ข้อแตกต่างในการสร้างอาณาจักรระหว่างชาวสุเมเรียนกับชาวอียิปต์คือ ชาวสุเมเรียนเข้ามารวมกลุ่มในรูปของนครรัฐ

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง
((แผนที่แสดงแหล่งอารยธรรมอียิปต์(สีเขียว)และเมโสโปเตเมีย(สีฟ้า))

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง
((มหาพีระมิดคูฟูทีเมืองกีเซห์))

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง
((อักษรเฮียโรกลิฟฟิกส์ เปรียบเทียบกับ อักษรภาษาอังกฤษในปัจจุบัน))

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง
((อักษรเฮียโรกลิฟฟิกส์หมายถึงพระนางคลีโอพัตรา (cartouche หรือ cartouch)))

               แต่สำหรับอียิปต์ได้รวมเข้าอยู่ภายใต้กษัตริย์องค์เดียว  เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาลกษัตริย์ผู้ครองอียิปต์พระนามว่า  เมนิส (Menes) ได้สถาปนาราชวงศ์ขึ้นปกครองเป็นฟาโรห์(Pharaoh)องค์แรกของราชอาณาจักรอียิปต์ ราชอาณาจักรนี้ได้รุ่งเรืองสืบต่อเนื่องกันมาอีกเป็นเวลาเกือบ 3,000 ปี

                ชาวอียิปต์คล้ายชาวสุเมเรียนในเรื่องการนับถือพระเจ้าหลายองค์ องค์สำคัญที่สุดคือ สุริยเทพ (Amon Ra ) เทพเจ้าองค์สำคัญของชาวอียิปต์ มีสัญลักษณ์ คือ  หินที่มีรูปร่างคล้ายพิระมิด  นอกจากนี้ก็มี  โอซิริส(Osiris) คือเทพเจ้าแห่งแม่น้ำไนล์  และยมเทพ  เชื่อว่าเป็นเทพผู้นำความอุดมสมบูรณ์  ชาวอียิปต์เชื่อว่าฟาโรห์ทุกพระองค์คือสุริยเทพ  แบ่งภาคมาจุติในรูปของมนุษย์ และเมื่อตายจะเข้าไปรวมเป็นส่วนเดียวกับเทพโอซีริส ส่วนคนที่ตายไปแล้วจะต้องไปพบกับยมเทพ  ดังนั้น จึงต้องมีคัมภีร์มรณะ (Book of Dead) ให้กับคนตาย

                ทัศนะเกี่ยวกับเทพเจ้าดังกล่าวนำไปสู่การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่มหัศจรรย์และยิ่งใหญ่ที่สุดคือ พีระมิด(Pyramid) ความคิดที่ว่าฟาโรห์คือเทพเจ้าทำให้เกิดความเชื่อว่าฟาโรห์ คือ ผู้ที่อมตะหรือผู้ที่ไม่ตาย ดังนั้น  พวกเขาจึงเก็บรักษาร่างกายไว้มิให้เน่าเปื่อยผุพัง  วิญญาณของฟาโรห์จะคงอยู่ตลอดไป นี่คือเหตุผลที่ชาวอียิปต์ได้สร้างพีระมิดขึ้นอย่างใหญ่โต  แข็งแรง  มั่นคง  ท้าทายกาลเวลามาเป็นเวลาเกือบ 5,000 ปีมาแล้ว  พีระมิดทั้งหมดถูกสร้างเรียงรายอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์จากกิเซห์ลงไปทางใต้เป็นระยะทางประมาณ 60 ไมล์ มีพีระมิดรวมกันทั้งสิ้นราว 60 แห่ง  สร้างขึ้นระหว่าง 2,700 – 2,400 ปีก่อนคริสตกาล นากจากนั้นชาวอียิปต์ยังรู้จักการชลประทานแก้ปัญหาน้ำท่วมฝั่งแม่น้ำไนล์รู้จักทำปฏิทินโดยแบ่งปีหนึ่งมี 3 ฤดู คือ ฤดูน้ำหลาก ฤดูไถหว่าน และฤดูเก็บเกี่ยว ปีหนึ่งมี 12 เดือน ๆ หนึ่งมี 30 วันรู้จักการทำกระดาษจากต้นปาปิรุส (Papyrus) ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ รู้จักรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย โดยทำเป็นมัมมี (Mummy) นับเป็นความรู้ทางการแพทย์ที่ก้าวหน้ามากส่วนทางด้านดาราศาสตร์ก็รู้จักการทำปฏิทินทางสุริยคติ การทำแผนที่ท้องฟ้าบอกตำแหน่งดวงดาวส่วนด้านคณิตศาสตร์ก็รู้จักวิธีบวก ลบ และหาร (ไม่รู้จักวิธีคูณและระบบทศนิยม)

                               2.1.3 อาณาจักรกรีก (GREEK) กรีกโบราณได้รับอิทธิพลความเจริญโดยตรงจากทั้งเมโสโปเตเมียและอียิปต์  ด้วยอิทธิพลดังกล่าว ชาวกรีกโบราณจึงพัฒนาอารยธรรมได้รวดเร็วจนกลายเป็นอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ชาวกรีกเป็นชาวอารยันซึ่งชนเผ่านี้มีถิ่นเดิมอยู่ทางเหนือ เรียกตัวเองว่า เฮเลนส์ (Hellens) เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาลได้แยกออกเป็น 2 กลุ่ม  กลุ่มหนึ่งเดินทางไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เรียกว่า ชาวอินโดอารยัน อีกกลุ่มหนึ่งเดินทางมุ่งไปทางตะวันตกผ่านตอนใต้ของรัสเซียลงสู่แหลมบอลข่าน  และเข้ามาตั้งรกรากบริเวณคาบสมุทรเพโลพอนเนซัสที่ในปัจจุบันเรียกกว่ากรีซ

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

((The Mediteranran World 550-500 BC))

                เอเธนส์ (Athens) นครรัฐอันยิ่งใหญ่ของกรีก  ซึ่งรัฐนี้เจริญถึงขีดสุดในระยะ 500 ปีก่อนคริสตกาล เอเธนส์ได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนแห่งนครรัฐกรีกทั้งปวงเพราะเอเธนส์เป็นแหล่งรวมสรรพวิชาความรู้  ปราชญ์ และวิชาการสาขาต่าง ๆ  ซึ่งต่อมาได้ส่งทอดมรดกทางวัฒนธรรมผ่านทางยุโรปเป็นการวางรากฐานอารยธรรมตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน อารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของกรีกโบราณมีหลายประการ เช่น  สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบคลาสสิค สถาปัตยกรรมคลาสสิคชิ้นที่งดงามที่สุดคือวิหารพาร์เธนอน(Parthenon) ซึ่งตั้งอยู่บนเนินอโครโปลิส (Acropoles)

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

((สถาปัตยกรรมคลาสสิคชิ้นที่งดงามที่สุดคือวิหารพาร์เธนอน(Parthenon))

                   ซึ่งเป็นศูนย์กลางของนครรัฐเอเธนส์กรีกโบราณได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งนักปราชญ์  เนื่องจากได้มีนักปราชญ์กรีกหลายท่านที่ถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิดศิลปะวิทยาการแทบทุกแขนงมาจนถึงยุคปัจจุบันเช่น  เพลโต (Plato) อริสโตเติล (Aristotle) เฮโรโดตุส (Herodutus)  และอาร์คิมิดิส (Arcimides) เป็นต้น  กรีกโบราณ  ปกครองด้วยระบบกษัตริย์เป็นผู้ทรงอำนาจเด็ดขาด  แต่ก็ส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตยด้วยการตั้งสภาห้าร้อยประกอบด้วยสมาชิกสภาจากทั้ง 10 เผ่าพันธุ์ โดยวิธีการจับสลาก  มีวาระ  ทั้งยังมีการออกเสียงประชามติโดยวิธีการ Ostracism  คือให้ราษฎรเขียนชื่อนักการเมืองที่ตนไม่สนับสนุนและต้องการขับไล่ออกจากนครรัฐเอเธนส์  โดยการเขียนชื่อลงบนเครื่องปั้นดินเผาหรือเปลือกหอย (Ostrakon) ผู้ใดได้รับคะแนนเสียงมากกว่า 6,000 ชิ้น  จะต้องออกจากนครรัฐ ภายใน 10 วัน  และห้ามกลับเข้ามาภายใน ระยะเวลา 10 ปี

                สปาร์ตา (Sparta)  เป็นครรรัฐที่มีความเข้มแข็งทางทหาร  ประชาชนได้รับการปลูกฝังอบรมตั้งแต่เด็กให้มีความกล้าหาญ  อดทน  มีระเบียบวินัยในการรบ  สังคมสปาร์ตา มี 3 กลุ่ม คือพวกสปาร์เตียตส์ (Spartiates) ซึ่งเป็นชาวสปาร์ตาแท้  พวกนี้เป็นทหารของรัฐและมีสิทธิทางการเมือง  พวกเพริโอชิ (Periocci)  เป็นพวกที่อาศัยอยู่รอบ ๆ  นครรัฐ มีหน้าที่รับราชการทหาร ทำการค้าขาย  ทำธุรกิจและทำกสิกรรมพวกนี้ไม่มีสิทธิ  ทางการเมือง  ส่วนพวกเฮลอต (Helot) เป็นชนพื้นเมืองเดิมและเป็นเชลยศึกพวกนี้มีฐานะเป็นทาสของรัฐ ไม่มีสิทธิทางการเมือง

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

 ((ภาพแสดงศิลปศาสตร์ของชาวสปาร์ตา (Sparta) ขณะที่กำลังสั่งสอนเยาวชน)) 

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

((ภาพแผนที่ของชาวสปาร์ตา)) 

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

((โครงสร้างทางสังคมของชาวสปาร์ตา(spartagreatrhetra)))

                    นครรัฐอีลิส (Elis) เนื่องจากนครรัฐอีลิส ไม่เข้มแข็งทางการรบเหมือนนครรัฐสปาร์ตา และเอเธนส์แต่ได้ครอบครองสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งโอลิมปุส  กษัตริย์อิฟฟิตอส  แห่งอีลิส  จึงใช้กุศโลบายในการรักษาความปลอดภัยให้แก่นครรัฐของตน  โดยการเชิญนครรัฐต่าง ๆ  มาร่วมงานบวงสรวงเทพเจ้าซีอุสโดยมีสัญญาหยุดพักรบระหว่างการบวงสรวงและแข่งขันกีฬา  จึงถือได้ว่า ชาวอีลิส เป็นผู้ให้กำเนิด

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง
((แผนที่กรีก))

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง
((กรุงเอเธน ประเทศกรีก))

                   อารยธรรมกรีกไม่ได้ตั้งอยู่แค่เพียงประเทศกรีกเท่านั้นแต่ยังรวมถึงหมู่เกาะรอบๆทะเลอีเจียนทั้งหมดและเอเชียไมเนอร์  อารยธรรมกรีกแบ่งเป็นยุคๆดังนี้อารยธรรมกรีกยุคเริ่มแรก

·        Minoan (2800 BC-1450 BC) อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดเรียกว่า อารยธรรม Minoan ตั้งชื่อตามกษัตริย์ Minos ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ Crete มีเมืองสำคัญ คือ Knossus และมีกิจกรรมที่สำคัญคือ การค้าขาย

                         เดิมทีนักโบราณคดีไม่เชื่อว่า อารยธรรมMinoan มีความเจริญรุ่งเรือง เพราะว่าในยุคศตวรรษที่ 18, 19นั้น เกาะCrete อยู่ใต้การปกครองของตุรกี จนวันนึงได้มีการขุดพบเมือง Troy กับ Mycenie โดยไฮนริช ชไลมานน์ และในคริสตวรรษที่ 20 เซอร์ อาเธอร์ เอเวนส์ ได้ขุดพบเมือง Knossus บนเกาะCrete อีกทั้งยังได้พบหลักฐานของอารยธรรมที่คล้ายคลึงกับอารยธรรมไมซีเน แต่เก่าแก่กว่าและรุ่งเรืองกว่า อารยธรรมMinoan นั้นได้ล่มสลายในศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสตกาล โดยอาจเป็นเพราะการเกิดTsunami และการรุกรานจากผู้อพยพทางตอนเหนือ (ชาวMycenian)

·        Mycenaean(1600 BC –  1100BC) ปกครองโดยกษัตริย์ Agamanonเป็นเมืองที่เก่งทางด้านการรบ การค้าขาย และมีความสามารถในการทำทอง เช่น สร้อย เครื่องประดับต่างๆ เป็นต้น เชื่อกันว่าสาเหตุของการล่มสลายของ Mycenaean เนื่องจากการทำสงครามกับกรุงTroy เป็นเวลานาน ทำให้อ่อนกำลังลง หรือถูกรุกรานจากเมืองทางตอนเหนือ (Dorian)

ยุคมืด (1100 BC-750BC)               

                             เนื่องจากการรบที่กินระยะเวลายาวนานอีกทั้งยังถูกบุกรุกจากชนกลุ่มทางด้านเหนือ(Dorian) ทำให้ประชากรลดน้อยลง และการพัฒนาถดถอยลง ในยุคนี้เกิดมหากาพย์เรื่อง Illiad(เรื่องเกี่ยวกับการรบระหว่างMycenie กับTroy) และ Odyssey(เรื่องราวของโอเดซุส วีรบุรุษผู้ช่วยรบกับTroy)  ซึ่งประพันธ์โดยกวีตาบอดนามว่า Homer  มหากาพย์สองเรื่องนี้สอนให้เห็นคุณค่าของวีรบุรุษ (ยกย่องความกล้าหาญและซื่อสัตย์)

                              2.1.4 อาณาจักรโรมัน (Roman) ชาวโรมันก็เป็นชนเผ่าอินโดยูโรเปียนเช่นเดียวกับชาวกรีก  ซึ่งชนเผ่าอินโดยูโรเปียนแยกออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ หลายกลุ่มด้วยกัน  ได้แก่ กลุ่มชาวละติน (Latin)  กลุ่มชาวอีทรัสกัน (Etruscan)เป็นต้น  ในบรรดากลุ่มต่าง ๆ  เหล่านี้ชาวโรมันเป็นกลุ่มที่เข้มแข็งที่สุด

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง
((Archaeologist Alberta Campitelli shows off a reproduction Etruscan tomb under Rome’s Villa Torlonia. Mussolini used the false catacombs to shelter from air raids.))
สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

(( ภาพแผนที่แสดงอาณาเขตของชาวอิทรุสคันEtruscan civilization around 750-500 BCE ))

                ในชั้นต้น  ชาวโรมันตกอยู่ใต้อำนาจการปกครองของพวกอีทรัสกัน  ต่อมาได้ร่วมใจกันขับไล่กษัตริย์อีทรัสกันออกไปจากกรุงโรมเป็นผลสำเร็จ  และได้สถาปนากรุงโรมเป็นสาธารณรัฐอิสระ (Republic) และเพื่อความปลอดภัยจากชาวละตินกลุ่มอื่น    ชาวโรมันจึงคอยปราบปรามพวกกลุ่ม ต่าง ๆ  รวมทั้งพวกกรีกเข้าไว้ในอำนาจได้มากที่สุด  เพราะชาวโรมันเป็นชาตินักรบที่เข้มแข็งและสามารถครอบครองดินแดนต่าง ๆ  เป็นบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล  คนทั่วไปจึงมักเรียกชาวโรมันว่า  จักรวรรดิโรมัน

                มรดกทางอารยธรรมของโรมันมีหลายด้าน  เช่น  ด้านศิลปะ วรรณคดี  การละคร และปรัชญาเป็นต้น  ซึ่งส่วนใหญ่เลียนแบบกรีก  แต่ในด้านการจัดกำลังกองทัพ  การจัดการปกครอง กฎหมายและการก่อสร้างเพื่อสาธารณประโยชน์ทั้งหลาย  โรมมีความสามารถกว่าชนชาติอื่น ใด ในสมัยโบราณ  ถ้าจะเทียบกันระหว่างกรีกกับโรมันแล้วจะพบว่า  ชาวกรีกเป็นนักคิด บูชาเหตุผลและเป็นผู้มีจินตนาการสูงส่วนชาวโรมันเป็นนักปฏิบัติและนักดัดแปลงที่ชาญฉลาด  ชาวโรมันแม้จะไม่มีจินตนาการแต่ก็เป็นผู้สามารถในทางปฏิบัติ  ดังนั้นสิ่งสร้างสรรค์ต่าง ๆ  ของโรมันจึงเป็นคุณค่าในแง่ประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความงามในเชิงศิลปะ  และความลึกซึ้งในทางวิชาการ

                ส่วนเลขโรมัน  ซึ่งในปัจจุบันก็ยังใช้อยู่หลายวงการ  โดยมีหลักการใช้ง่าย ๆ  คือ  ต้องรู้สัญลักษณ์ เช่น I=1 V=5 X=10 L=50 C=100 D=500 M=1000

                  การนำมาเรียงกัน  ถ้าบวกก็เพิ่มเข้าข้างหลัง  แต่ได้ไม่เกิน  3  เช่น VIII = 8 ส่วนการลบก็เพิ่มเข้าข้างหน้า  แต่ได้ไม่เกิน  1  ตัว  เช่น IX=9 หมายถึง เอา 10 ตั้ง เอา 1 ไปลบออกจึงเหลือ 9

ตัวอย่าง XXX=30 XL=40 L=50 LXXX=80 XC=90 CXIV=114  เป็นต้น

                โดยภาพรวมแล้ว   โรมันเป็นชาตินักรบมีวินัย  กล้าหาญ อดทน  อาณาจักรโรมันเจริญสูงสุดในสมัยจูเลียส  ซีซาร์ (21 B.C.) แต่เต็งไปด้วยสงคราม  ศิลปกรรมโรมัน  มักเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความงามส่วนใหญ่จะลอกเลียนศิลปะกรีก โรมันมีศูนย์กลางแลกเปลี่ยนทางธุรกิจที่เรียกว่า โรมัน ฟอรัม”  มีสนามกีฬาขนาดใหญ่  บรรจุคนได้  67,000 คน เรียกว่า โคลอสเซียม มี กฎหมายสิบสองโต๊ะ ซึ่งเป็นรากฐานของกฎหมายอิตาลี  ฝรั่งเศส  สก็อตแลนด์ ญี่ปุ่น  ในสมัยต่อมา

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง
                                                   ((โคลอสเซียม))

              ในราวศตวรรษที่ 100 BC คลื่นการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นของชาวอินโด-ยูโรเนียนได้กระจายไปทั้งภูมิภาคชาวอินโด-ยูเรเนียนใช้อาวุธและเครื่องใช้ทำจากเหล็กและได้ตั้งถิ่นฐานที่อิตาลีในปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์มีการทำนาเพาะปลูกอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักมีการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มชนและสร้างเป็นหมู่บ้านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไทเบอร์ ซึ่งต่อมาเจริญก้าวหน้ามาเป็นกรุงโรมจากหลักฐานที่ค้นพบทำให้ทราบว่าโรมได้รับการก่อสร้างขึ้นเมื่อปี 753 BC แต่การพัฒนาได้เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหรือหลังจากนั้นโดยได้รับอิทธิพลของอีตรุสคาน (Etruscan) คนงานช่างโลหะที่มาจากเอเซียไมเนอร์

              การขยายตัวของอาณาจักรโรมันขยายตัวออกไปได้มากอย่างไรก็ดีมีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นหลายครั้งหลังจากสงครามกลางเมืองที่เกิดการแย่งชิงกันในช่วงเวลาจากปี 82-79 BC ซึ่งอยู่ในยุคของเผด็จการซุลล่า (Sulla) ต่อมาก็เป็นยุคของปอมเปย์ (Pampey) ระหว่างปี 52-46 BC และก็มาถึงยุคซีซาร์ (45-44BC) และจบลงด้วยชัยชนะของอ็อกตาเวียนในปี 31 BC ที่ต่อมาได้ฉายาว่าออกัสตุส (Augustus) และได้สร้างอาณาจักรโรมันให้เป็นปึกแผ่นตั้งแต่ปี 27 BC

                อาณาจักรโรมันครอบคลุมไปไกลครอบคลุมยุโรปเกือบหมดตะวันออกกลางและอัฟริกาเหนือ การขยายอาณาจักรยิ่งใหญ่เกิดขึ้นในยุคจักรพรรดิ์ทราจัน (Trajan) ระหว่างปีคศ. 98-117 และฮาเดรียน (Hadrian) ในปี คศ. 117-138

             ความล่มสลายของอาณาจักรโรมันเกิดจากการแก่งแย่งชิงดีและสงครามกลางเมืองทำให้อาณาจักรโรมันซึ่งเต็มไปด้วยศิลปวิทยาการต่าง ๆ เกิดความอ่อนแอชาวบาร์บาเรียนที่เป็นชนชาวเขาเข้ามาบุกและทำลายโรมันกรุงโรมเกิดการล้มสลายว่ากันว่าทำให้เกิดการสูญหายของวิทยาการต่าง ๆไปมากมายจากการถูกทำลายในปีคศ. 235 ต่อมา ไดโอคลีไทน์ (Diocletian) (284-305) พยายามก่อร่างสร้างเมืองใหม่ต่อมาจักรพรรดิ์คอนสแตนติน (Constantine) (306-337) ได้ย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่ไบเซนไทน์ (Byzantine)ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงคอนสแตนติโนเปิ้ลต่อมาในปี 395 ก็ได้แบ่งแยกออกเป็นสองอาณาจักรคือ ทางทิศตะวันออกขึ้นกับกรุงคอนสแตนติโนเปิ้ลและอาณาจักรโรมันทางทิศตะวันตกขึ้นกับกรุงโรมจนกระทั่งถึงปีคศ. 476 อาณาจักรโรมันทางตะวันออกก็ถึงจุดจบ

                   2.1.5  อาณาจักรลุ่มแม่น้ำสินธุ  บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุตั้งแต่เขตที่ราบหุบเขาหิมาลัยไปจนจดชายฝั่งทะเลในเขตอินเดียภาคตะวันตก  ทางแคว้นปัญจาบและบริเวณประเทศปากีสถานในปัจจุบัน  เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมอินเดีย  และต่อมาได้ขยายไปครอบคลุมลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบน  แม่น้ำสินธุมีความสัมพันธ์กับอารยธรรมของพวกสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมีย  อาจกล่าวได้ว่าผลิตภัณฑ์จากนครในลุ่มแม่น้ำสินธุได้เผยแพร่ไปถึงริมฝั่งแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรติส มีการแลกเปลี่ยน  สินค้าไม่ใช่เฉพาะวัตถุดิบและสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยเท่านั้น  แต่ยังรวมไปถึงพวกอาหารด้วย

                เมืองสำคัญของอารยธรรมแห่งนี้คือ  เมืองโมเฮนโจดาโร(Mohenjodaro)  และเมืองฮารัปปา (Harappa) ซึ่งเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการค้าของบริเวณนี้  สันนิษฐานว่าทั้งสองเมืองนี้มีอายุประมาณ  4,000 2,500 ปีก่อนคริสตกาล  อารยธรรมของดินแดนแห่งนี้เป็นอารยธรรมชั้นสูงยิ่ง  และได้สร้างความเจริญมาเป็นพัน ๆ ปีก่อนสมัยประวัติศาสตร์ ผู้คนที่อยู่ในดินแดนนี้รู้จักการทอผ้าฝ้าย  ทำเครื่องนุ่งห่อมการสร้างเมืองที่มีแบบแผน  มีถนนสายตรงหลายสาย  พร้อมทั้งท่อระบายน้ำ  มีที่อาบน้ำสาธารณะระบบชลประทานดีเยี่ยม  แสดงให้เห็นว่าความคิดของประชาชนในลุ่มแม่น้ำสินธุนี้ต้องการเน้นความสำคัญของระเบียบและสุขลักษณะเป็นสำคัญ  แตกต่างจากอารยธรรม เมโสโปเตเมีย  ที่มุ่งเน้นความสำคัญของศาสนสถาน

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง
Mohenjodaro

                   ต่อมาประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสตกาล  ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำสินธุถูกรุกรานโดย  พวกอริยกะ หรือพวกอารยันซึ่งมีเชื้อสายอินโดยูโรเปียนที่มีถิ่นฐานแถบทะเลสาบแคสเปียน
พวกอริยกะ เกรงว่าพวกตนจะถูกกลืน โดยชนพื้นเมืองหรือพวกมิลักขะจึงต้องจัดระบบวรรณะ (Caste System) ขึ้นเพื่อต้องการรักษาสีผิวและความบริสุทธิ์ของสายเลือดอารยันของตนไว้

                พวกอารยัน เข้ามาปกครองในช่วง  1500 1200 B.C. ได้สร้างคัมภีร์ฤคเวท  ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุด  คัมภีร์ที่สำคัญคือ  สามเวท ยชุรเวท และอาถรรพเวท

                ในสมัยมหากาพย์ (Epic Age) ในช่วง 1200 800 B.C. ดินแดนนี้มีความเจริญทางด้านศิลปะวิทยาการด้านภาษา วรรณคดี  อย่างมากที่เด่น ๆ  คือ  อุปนิษัท ซึ่งเป็นวรรณคดี  ภาษาสันสฤต   เกี่ยวกับปรัชญาและหลักศาสนาฮินดู  เบื้องต้น  มหากาพย์ที่สำคัญ  2  เรื่องคือ รามายณะ  และมหาภารตะ ดินแดนนี้จึงมีผู้เรียกว่า ภารตะ ส่วนคำว่า อินเดีย นั้นอังกฤษเป็นผู้ตั้งชื่อให้ตามชื่อของแม่น้ำสินธุหรือ INDUS

                                2.1.6 อาณาจักรลุ่มแม่น้ำฮวงโห  ลุ่มแม่น้ำฮวงโห หรือลุ่มแม่น้ำเหลือง  เป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก  ตั้งอยู่ในประเทศจีน  เรื่องราวของจีนในสมัยดึกดำบรรพ์นั้น  ประกอบด้วยนิทานและนิยายต่าง ๆ มากมาย  ต่อมาเราสามารถสืบค้นเรื่องราวเกี่ยวกับแหล่งอารยธรรมของลุ่มแม่น้ำฮวงโหได้ถึง 5,000 ปีเศษ เพราะว่ามีผู้บันทึกเหตุการณ์ไว้มีการค้นพบอาวุธและเครื่องมือหินในประเทศอีกมากมาย โดยเฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นโฮนาน  และขุดค้นพบซากโครงกระดูกมนุษย์ในถ้ำใกล้กับกรุงปักกิ่ง  นักโบราณคดีตั้งชื่อโครงกระดูกว่า โครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง”  ทำให้ทราบว่าบริเวณที่เป็นประเทศจีนเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์รุ่นแรก ๆ  ที่ยังมีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกับมนุษย์สมัยปัจจุบัน อายุ 50,000 110,000 ปีมาแล้วอารยธรรมสมัยนี้จัดอยู่ในยุคหินเก่าตอนต้น

                การศึกษาเกี่ยวกับแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหนั้นทำได้สะดวกกว่าชาติอื่นมาก เพราะชาวจีนมีการบันทึกเหตุการณ์เหล่านั้นไว้  ตลอดเวลาอันยาวนานแห่งประวัติศาสตร์จีน ได้มีราชวงศ์ต่างๆ ผลัดกันขึ้นครองประเทศ เจริญรุ่งเรืองและเสื่อมสลายแต่อารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหยังมีการถ่ายทอด
สืบกันมาไม่ขาดสาย

                โลกปัจจุบันถือว่าเป็นหนี้บุญคุณของคนจีนในด้านปรัชญาการดำรงชีวิต การปกครอง ศิลปะสถาปัตยกรรม  ดังจะเห็นได้จากคำสอนของขงจื้อ  เล่าจื๊อ เม่งจื้อ  การสร้างกำแพงเมืองจีน  เป็นต้น  อารยะรรมของลุ่มแม่น้ำฮวงโหได้มีบทบาทและอิทธิพลต่อโลก  เช่น  คำสอนของนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ ของจีนโบราณ

                ทางด้านเทคโนโลยี  จีนได้เป็นผู้ไห้กำเนิดความคิดแก่โลกตะวันตกในการพัฒนาอาวุธเช่นปืนไฟ โดยเริ่มจากการประดิษฐ์ดอกไม้ไฟของจีน  นอกจากนี้จีนยังรู้จักการใช้เข็มทิศ  เครื่องวัดแผ่นดินไหว  การพิมพ์  ลูกคิด  ที่สำคัญที่สุดเห็นจะได้แก่  เทคโนโลยีทางการแพทย์  คือการรักษาด้วยวิธีฝังเข็มซึ่งกำลังเป็นที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน

                ขณะที่อินเดียเป็นแม่แบบของอารยธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จีนก็เป็นแม่แบบของอารยธรรมในเอเชียตะวันออก  ได้แก่  เกาหลี  ญี่ปุ่น และยังมีดินแดนอื่น ๆ ที่รับอารยธรรมของจีน  เช่น  เวียดนาม ทิเบต เป็นต้น  ส่วนดินแดนที่ห่างไกลออกไป  เช่น  ยุโรป  ตะวันออกกลาง  และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะรู้จักจีนในฐานะพ่อค้า  ผู้ผลิตสินค้าประเภทเครื่องถ้วยชาม  ผ้าไหม  อันเป็นสินค้าตลาดโลกต้องการเป็นประการสำคัญต่อการดำเนินชีวิต

กำแพงเมืองจีน Great Wall of China

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง
                   กำแพงเมืองจีน หรือกำแพงอิฐยักษ์ เป็นกำแพงกั้นเมือง และกั้นประเทศทั้งประเทศ ตามพรมแดนด้าน เหนือของจีน เป็นกำแพงที่ยาวใหญ่มหึมา หาที่ใดในโลกมาเปรียบ ไม่ได้อีกแล้ว มีขนาดกว้างตั้งแต่ 4.5 เมตร ถึง 7.5 เมตร(10 ฟุต) ซึ่งทหารม้าเข้าแถวเรียง 8 ได้อย่างสบาย ๆ มีความสูง จากพื้นด้าน ล่างตั้งแต่ 8 เมตร ถึง 9 เมตร(20-30 ฟุต หนา15-25 ฟุต) สูงพอที่จะไม่สามารถ ปีนข้ามไปได้ง่าย ๆ เดิมเชื่อว่ามีความยาว 2,550 ไมล์ ( 2,400 กิโลเมตร) บนกำแพงทุก ๆ ระยะ 200 เมตร(300 ฟุต) จะมีหอหรือป้อม สำหรับตรวจเหตุการณ์ มีป้อมมากกว่า 15,000 แห่ง สร้างสูงขึ้นไปอีก 3 เมตร ถึง 6 เมตร และมีระฆังแขวน เพื่อตีบอกสัญญาณเกิดเหตุ ไว้ประจำทุกหอ รวมทั้งหมดมีไม่ต่ำกว่า  20,000 หอ เริ่มสร้างระหว่างปี พ.ศ. 300-329 (243-252ปีก่อนคริสตกาล) ในสมัยพระเจ้าซี่วังตี่ ใช้เวลาสร้าง ประมาณ 10 ปี และมีการสร้างต่อเติมอีกหลายกครั้งใช้แรงงานเกณฑ์จากราษฎรทั้ง ประเทศนับจำนวนล้าน มีผู้เสียชีวิตนับพันนับหมื่น เป็นสิ่งก่อสร้าง ชนิดเดียวในโลก ที่สามารถมองเห็น เมื่อมองจากดวงจันทร์ในสมัยนั้นเป็นสิ่งก่อสร้าง ที่ป้องกันข้าศึกได้อย่างดีเยี่ยม ปัจจุบันไม่มีความ หมายในด้านป้องกันประเทศอีกแล้ว คงมีค่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่มหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลก

สาเหตุความเสื่อมของจักรวรรดิ

                1. หลังปี ค.. 180 เนื่องจากไม่มีกำหนดการสืบตำแหน่งไว้ในรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดการแย่งอำนาจในหมู่นายพล

            2. การถูกโจมตีจากศัตรูภายนอกและเกิดรัฐอิสระขึ้นตามชายแดนที่ถูกคุกคาม

            3. ที่ดินแทบทั้งจักรวรรดิตกอยู่ในเงื้อมมือชนชั้นสูงส่วนน้อยเท่านั้น ชาวนาที่สิ้นเนื้อประดาตัวกลายเป็นโคโลนุส (Colonus) ซึ่งจะได้รับที่ดินชิ้นหนึ่งจากเจ้าของที่ดิน เพื่อทำการเพาะปลูกโดยเสรี แต่จะต้องชดใช้เจ้าของที่ดินด้วยแรงงานของตน เมื่อนานวันเข้าก็เปลี่ยนสภาพเป็นกึ่งทาส (serdom)

5. สงครามกลางเมือง ทำให้กระทบกระเทือนระบบการค้า

ภารสิ้นสุดจักรวรรดิโรมันตะวันตก

            เพื่อความเข้าใจในเหตุการณ์จึงแทรกลำดับพระจักรพรรดิของโรมันเฉพาะที่สำคัญๆ ไว้ตามลำดับดังนี้คือ

                1. ออกุสตุส (Augustus) 30 ปีก่อน ค..–.. 14  นับเป็น ยุคทองของโรม

            2. ทิเบริอุส (Tiberius) .. 14-37 เพิ่มอำนาจจักรพรรดิและลดอำนาจของสภาราษฎร

            3. คลอดิอุส (Claudius) .. 41-54 ได้ปกครองภาคใต้ของอังกฤษ และเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณี วรรณคดี และภาษาของโรมันไปสู่ประเทศนั้น นอกจากนี้ยังยินยมให้มีตัวแทนจากมณฑลอื่น ๆ เข้าร่วมประชุมสภาซีเนท นับว่าเป็นการรวมที่ได้ผลวิธีหนึ่ง

            4. เนโร (Nero) .. 54-68 เป็นจักรพรรดิที่โหดเหี้ยมมาก เพราะทรงฆ่าพระมารดา, พระอนุชา, ชายา 2 องค์ รวมทั้งพระอาจารย์ของพระองค์เองคือ เซเนคา (Seneca) ปรัชญาเมธีผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง รวมทั้งเป็นผู้ที่ทำการจุดไฟเผากรุงโรมเพียงเพื่อความบันเทิงของตัวเอง ป้ายความผิดให้พวกคริสเตียน และประหารชีวิตเสียเป็นจำนวนมาก ในปลายรัชสมัยของพระองค์ได้เกิดจลาจลขึ้นในโรม จักรพรรดิเนโรปลงพระชนม์พระองค์เอง ใน ค.. 68 นับเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์จูเลียน

            5. เวสปาเชียน (Vespasian) .. 69-79 เดิมเป็นแม่ทัพที่ปราบปรามจลาจลในโรมตอนปลายสมัยเนโรได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิราชวงศ์เลเวียน (Flavian) งานชิ้นสำคัญคือโคลอสเซียม (Colosseum) ได้ทรงส่งโอรสติตุส (Titus) ไปปราบปรามและทำลายกรุงเจรูซาเล็มในปาเลสไตน์

            6. ทราจัน (Trajan) .. 98-177 รวมรูมาเนีย (ดาเซีย) เข้ามาอยู่ในบังคับของโรมและขยายอาณาจักรโรมันออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น

            7. เฮเดรียน (Hadrian) .. 117-138 ทรงขยายแนวป้องกันการรุกรานออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอังกฤษ ในยุโรปกลาง ระหว่างลุ่มแม่น้ำไรน์และแม่น้ำดานูบ เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกอารยชน

            8. มาร์คุส ออเรลีอุส (Marcus Aurelius) .. 161-180 นับว่าเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นจักรพรรดิที่มี 5 พระองค์ (.. 96-180) ทรงเขียนหนังสือ ”Meditations” บรรยายหลักปรัชญาในแนวสโตอิค คือถือความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ รัชสมัยของพระองค์นี้ถือว่าเป็นสมัยสุดท้ายของสันติภาพโรมัน(Pax Romana) ซึ่งคงอยู่ระหว่าง 27B.C.–180A.D.  นับเป็นปีแห่งสันติสุขโรมัน และเป็นช่วงระยะที่อารยธรรมเฮลเลนิสติคแผ่ขยายออกไปในจักรวรรดิมากที่สุด

            9. ไดโอเคลเชียน (Diocletian) .. 284-305 เป็นกษัตริย์พระองค์เดียวที่สามารถทรงจัดการระงับการจลาจลวุ่นวายภายหลังสันติภาพโรมัน พระองค์ปกครองอาณาจักรภาคตะวันออกของโรมันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางตะวันตกได้ทรงแต่งตั้งผู้ปกครองอีกองค์หนึ่ง ซึ่งการแบ่งเช่นนี้ได้นำไปสู่การแบ่งอาณาจักรโรมันออกเป็นภาคตะวันตกและตะวันออกในสมัยต่อมา

            10. คอนสแตนติน (Constantine) .. 312-337  รวมจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิเดียวกันได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และย้ายเมืองหลวงจากโรมไป ไบแซนติอุม (Byzantium) เปลี่ยนเรียกชื่อใหม่ว่า คอนสแตนติโนเปิล” (Constantinople) ตามพระนามของพระองค์ (ปัจจุบันคือเมืองอิสตันบุล) โดยเจตนาจะให้เป็นศูนย์กลางของการปกครองดินแดนทั้งภาคตะวันตกและตะวันออก แต่การทั้งนี้กลับทำให้ประชาชนเริ่มรู้สึกแบ่งแยกทางจิตใจ ทางตะวันตกซึ่งมีอิตาลี สเปน โลกยังยึดอารยธรรมโรมันอยู่ (Romanization) แต่ทางตะวันออกซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล และเอเชียโมเนอร์ต่างรับอารยธรรมกรีก (Hellenization) และเมื่อคอนสแตนตินประกาศ กฤษฎีกาแห่งมิลาน” (Edict of Milan) แล้ว คริสตศาสนาก็สามารถเผยแพร่ในอาณาจักรโรมได้

            11. จัสติเนียน  ( Justinian)  ..527-565  เป็นพระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออกในสมัยแรก

            ย้อนกล่าวถึงในสมัยเมื่อ  มาร์คัส  ออเรลิอุส  สิ้นพระชนม์แล้ว  สันนิษฐานว่าสาเหตุคงจะเนื่องจากเกิดโรคระบาดใหญ่ในจักรวรรดิ  พระจักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็อ่อนแอและสนใจเฉพาะแต่การกีฬาและการบันเทิง ในที่สุดก็ถูกลอบปลงพระชนม์และตำแหน่งจักรพรรดิก็กลายเป็นตำแหน่งที่ราชองครักษ์นำไปขายให้แก่ผู้ที่ให้ราคาดีที่สุด  พวกทหารตามมลฑลต่างๆ ก็ถือโอกาสแต่งตั้งพระจักรพรรดิของตนเป็นจักรพรรดิ  แม่ทัพคนหนึ่งแห่งแม่น้ำดานูบ คือ เซปติมิอุส  ซีเวรุส ( Septimius Severus)  ชาวอัฟกันถือโอกาสเดินทัพเข้าสู่กรุงโรม  ปราบปรามคู่ต่อสู้คนอื่นๆและสถาปนาตนเองเป็นพระจักรพรรดิ

((ที่มาของข้อมูล…อัธยา  โกมลกาญจน.  ประวัติศาสตร์อารยธรรมโลก 1.  กรุงเทพฯ :  โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2520.))

                    ระบบศักดินาสวามิภักดิ์  หรือระบบฟิวดัล  คำว่าฟิวดัล (Feudal)  มาจากภาษาละตินว่า Feudum ในภาษาอังกฤษหมายถึง Fee หรือ Fief แปลว่า ที่ดิน  ลักษณะสำคัญของระบบฟิวดัลคือความผูกพันระหว่างเจ้าของที่ดิน (Lord) กับผู้ทำกินในที่ดิน  หรือผู้รับมอบที่ดิน  เรียกว่า วาสซาล (Vassal) ทั้งลอร์ดและวาสซาลจะต้องทำพิธีสาบานต่อกันว่าจะรักษาพันธะและหน้าที่ของตน  กล่าวคือลอร์ดจะต้องพิทักษ์รักษาวาสซาลให้ปลอดภัยจากศัตรู  ให้ความยุติธรรมปกป้องคุ้มครอง  ส่วนวาซาลจะต้องช่วยทำงานให้ลอร์ด  ทั้งทางด้านการทหาร  และช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ลอร์ด  สังคมสมัยกลางแบ่งคนออกเป็น 3 ชนชั้น  คือ  ชนชั้นขุนนาง  มีหน้าที่ในการปกครอง  กลุ่มที่สองคือ  สามัญชนส่วนใหญ่เป็นชาวนาซึ่งอาศัยอยู่ในที่ดินของขุนนางในลักษณะของทาสติดที่ดิน  ชาวนาโดยทั่วไปมีชีวิตที่ลำบากยากไร้  ต้องส่งผลผลิตให้แก่ขุนนาง  ชนกลุ่มที่ 3 คือ พระและนักบวช  ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาคริสต์  ซึ่งสมัยกลางนี้  ศาสนาคริสต์มีอิทธิพลมาก  จนกล่าวได้ว่าสมัยกลางเป็นสมัยแห่งศรัทธา (Age of Faith) ชีวิตผู้คนตั้งแต่เกิดจนตายจะถูกควบคุมด้วย  ศาสนจักร  พวกที่ไม่ปฏิบัติตามคำสอนศาสนาจะถูกลงโทษด้วยวิธีที่เรียกว่า  บัพพาชนียกรรม (Excommunication) หรือถูกขับออกจากศาสนา

                ศาสนาอิสลาม ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 ได้กำเนิดศาสนาใหม่คือ  ศาสนาอิสลาม  โดยมีศาสดาคือ  นบีมูฮัมหมัด  ได้ประกาศคำสอนหรือความเชื่อในดินแดนตะวันออกกลาง และแพร่กระจายไปทั่วจนถึงลุ่มแม่น้ำสินธุ การขยายตัวของศาสนาอิสลามทำให้ภาษาอาหรับเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย  เป็นคู่แข่ง สำคัญของศาสนาคริสต์  จนทำให้เกิดสงครามศาสนาที่เรียกว่า สงครามครูเสดขึ้น

                สงครามครูเสด (Crusade  War)  เป็นสงครามศาสนาที่เกิดขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 1095  ถึง ค.ศ. 1272  โดยมีสงครามครั้งสำคัญๆ 8 ครั้ง ชาวคริสต์ในยุโรปได้เดินทางไปสู้รบกับพวกมุสลิมในตะวันออกกลาง จุดประสงค์สำคัญ คือ  การแย่งชิงนครเยรูซาเล็ม  ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม สงครามครูเสดทำให้ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ถูกทำลายลง เพราะขุนนางต้องสูญเสียกำลังคน และกำลังทรัพย์ในการรบ ส่วนทาสติดที่ดินที่อาสาไปรบ หากรอดชีวิตกลับมาก็ได้เป็นอิสระ อำนาจของขุนนางจึงลดลง นอกจากนี้สงครามครูเสดยังกระตุ้นการค้าระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออกพวกนักรบครูเสดได้นำสินค้า เช่น เครื่องเทศผ้าไหม ผ้าซาตินและผลไม้ชนิดต่างๆกลับไปเผยแพร่ในยุโรปสังคมจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  เกิดชุมชนเมืองขยายตัวครอบคลุมไปทั่วยุโรป  อิทธิพลของศาสนาคริสต์ลดน้อยลง  มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปศาสนา สาเหตุที่เรียกว่าสงครามครูเสด(Crusade War) เพราะชาวคริสต์ที่ไปรบถือเครื่องหมายกางเขน(Cross)  เป็นสัญลักษณ์ Cross  จึงเพี้ยนเป็น Crusade

                  สงครามครูเสด เป็นสงครามศาสนาระหว่างชาวคริสต์จากยุโรป และ ชาวมุสลิม เนื่องจากชาวคริสต์ต้องการยึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ และ เมืองคอนสแตนติโนเปิลหรือเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกีในปัจจุบัน

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

((สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 ในสภาแห่งเคลียมอนท์ประกาศให้แย่งชิงแดนศักดิสิทธิ์คืน))

                      ในตอนเริ่มสงครามนั้นชาวมุสลิมปกครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์อยู่ ดินแดนแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และ คริสต์ ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล

                      ชาวมุสลิมครอบครอง เมืองนาซาเรธ เบธเลเฮม และเมืองสำคัญทางศาสนาอีกหลายเมือง ในยุคของคอลีฟะหฺอุมัร (634-44) ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาและการเมืองของอาณาจักรอิสลามในยุคนั้น

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

((สุลต่าน ศอลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์ เป็นบุคคลสำคัญที่อยู่ในระหว่างสงครามครูเสด))

                     บทสรุปของสงครามในครั้งนั้นคือกองทัพมุสลิมสามารถยึดดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืนจากชาวคริสต์ได้ และขับไล่ผู้รุกรานต่างดินแดนออกไป ซึ่งยังคงดำรงชาติมุสลิมสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้

                   2.3  สังคมมนุษย์สมัยใหม่  สมัยใหม่เริ่มขึ้นตั้งแต่ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15  เมื่อระบบศักดินาสวามิภักดิ์เสื่อมลงได้มีการสถาปนารัฐชาติ(Nation State) ขึ้น ปัจจัยสำคัญสืบเนื่องมาจากอิทธิพลของศาสนจักรเสื่อมลง  เกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้น  นอกจากนี้ยุคของการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการซึ่งเกิดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่14-16 ได้เกิดการก่อตัวของลัทธิมนุษยนิยม(Humanism) ขบวนการฟื้นฟูศิปวิทยาการเกิดขึ้นในแหลมอิตาลี มีความก้าวหน้าทางวิทยาการ  ส่วนการปฏิรูปศาสนาทำให้เกิดศาสนาคริสต์นิกายใหม่  คือ  โปรเตสแตนท์  และเป็นการลดบทบาทของสันตปาปาลง พระมหากษัตริย์มีอำนาจมากขึ้น จึงก่อให้เกิดสังคมในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่ารัฐชาติเกิดขึ้นครั้งแรกในยุโรปแล้วแพร่กระจายไปทั่ว รัฐชาติที่สำคัญในระยะแรกได้แก่ สเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส  อังกฤษ  เป็นต้น  รัฐชาติเหล่านี้จะปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

                การค้นพบดินแดนใหม่ทำให้ชาวยุโรปเข้าไปจับจองดินแดนส่วนต่าง ๆ ของโลกในลักษณะของการยึดครองอาณานิคมและนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม  ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมมนุษย์อย่างมาก  กล่าวคือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดการขยายตัวของเมือง  มีประชากรเพิ่มมากขึ้น  เมื่อเกิดการผลิตในระบบโรงงานทำให้ประชากรถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน  ทั้งในด้านค่าจ้าง สวัสดิการและทั่วไป  การทำงานการใช้แรงงานเด็กและสตรี เกิดชนชั้นใหม่ที่มีบทบาทและระบบทางเศรษฐกิจ  คือ  ชนชั้นกลางหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เกิดการขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยมในทวีปเอเชียและแอฟริกาจนเป็นสาเหตุให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 สงครามโลกทั้งสองครั้งมีผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะสงครามโลกครั้งที่ 2 มนุษย์ได้นำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาผลิตอาวุธประหัตประหารกัน

วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจของโลก

                1.  วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจโลกยุคโบราณ  เมื่อมีมนุษย์เกิดขึ้นในโลกมนุษย์มีความจำเป็นในการแสวงหาอาหารตามธรรมชาติ  ด้วยการล่าสัตว์และการหาพืชผักผลไม้จากธรรมชาติ เป็นอาหาร  เพียงวันต่อวันโดยไม่มีเก็บ  ยังเป็นมนุษย์ยุคหินเก่า  และการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคหินใหม่ มนุษย์เห็นความจำเป็นในการผลิตอาหารเนื่องจากการหาอาหารตามธรรมชาติกระทำได้ยากขึ้น  ต้องมีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ตามแหล่งที่มีอาหาร  มนุษย์จึงรู้จักการทำการเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์  มีการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการเพาะปลูก  การเลี้ยงสัตว์  และภาชนะในการประกอบอาหาร  มนุษย์รู้จักการใช้ไฟมีการใช้เสื้อผ้าที่ทำจากหนังสัตว์และใบไม้

                นับตั้งแต่มนุษย์ได้ตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนใหญ่ มนุษย์รู้จักการแบ่งงานกันทำให้ต้องมีการผลิตอาหารมีคนตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนใหญ่ จึงมีการแลกเปลี่ยนสิ่งของที่ใช้ในการดำรงชีวิต และพัฒนามาเป็นระบบการซื้อขายสินค้า  มีการใช้เงินตราเป็นสื่อกลางอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้า มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้โลหะในการทำเครื่องมือเครื่องใช้  เช่น  เหล็ก  สำริด ทองแดง เป็นผลให้การเกษตรสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น  มนุษย์มีอำนาจการซื้อมากขึ้น  เมื่อสังคมขยายตัวเป็นชุมชนใหญ่ขึ้นเป็นเมืองนครรัฐ  และอาณาจักร เช่น  อาณาจักรอียิปต์  กรีก โรมัน จนกระทั่งอาณาจักรโรมันล่มสลาย

                2.  วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจในยุคกลาง  ระบบเศรษฐกิจในยุคกลางเป็นการดำเนินภายใต้ระบบแมนเนอร์หรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์  ปัจจัยการผลิตที่สำคัญ คือ  แรงงานและที่ดิน  ที่ดินถูกยึดครองโดยชนชั้นเจ้านาย  ประชาชนเป็นแรงงานที่ทำงานในที่ดินและเลี้ยงสัตว์  ในยุคนี้เงินตราเป็นสิ่งหายากตลาดถูกจำกัด  เพราะกลัวการรุกราน  มีภาวะสงครามอยู่ทั่วไป  มนุษย์จึงต้องช่วยเหลือตนเองทุก ๆ  เรื่อง  การติดต่อค้าขายหยุดชะงักในช่วงยุคกลางตอนต้น  ในช่วงยุคกลางตอนปลายเมื่อเกิดสงครามครูเสดในประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12-15  ทำให้การค้าขยายตัว  เพราะโลกตะวันตกได้ติดต่อกับโลกตะวันออกสินค้าที่ซื้อขายกันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและเครื่องเทศจากตะวันออกไกล  การซื้อขายเริ่มเป็นระบบการลงทุนเพื่อการแสวงหาผลกำไร  เกิดลัทธิทุนนิยม  ซึ่งขยายตัวอย่างมากในช่วงศตวรรษที่  11 และ  12

                ลัทธิทุนนิยม  หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่มีจุดหมายเพื่อแสวงหากำไรเป็นสำคัญ  มีการสะสมทุนอย่างกว้างขวางและนำทุนนั้นไปใช้หากำไรด้วยวิธีต่าง ๆ ระบบทุนนิยมขยายตัวในศตวรรษที่  11  เนื่องจากมีการใช้เงินตราเป็นสื่อกลางและการให้สินเชื่อ  แม้ว่าเงินที่กู้จะถูกห้ามไม่ให้มีการเรียกดอกเบี้ยแต่จะใช้บวกเพิ่มในราคาสินค้า  รวมทั้งการโอนเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  โดยใช้ตั๋วเงินซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียม  ต่อมาการคิดดอกเบี้ยเงินกู้และการหากำไรก็เริ่มแพร่หลายในยุโรป  เนื่องจากทัศนคติโดยทั่วไปเริ่มเปลี่ยนแปลง  เนื่องจากผู้กู้มีความเสี่ยงจึงต้องชดเชยด้วยดอกเบี้ย  สรุปได้ว่าการพัฒนาแนวคิดทุนนิยมนั้นเกิดจากการค้าและธุรกิจขยายตัวทำให้เกิดชนชั้นพ่อค้าและนักลงทุนผู้แสวงหากำไรและเรียกดอกเบี้ยให้เป็นปกติในการทำธุรกิจ  นายทุนสามารถวางแผนการผลิตขนาดใหญ่  ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างขาดความเห็นอกเห็นใจกัน  เพราะนายทุนต้องการผลกำไร  ระบบทุนนิยมส่งผลให้เกิดสถาบันการเงินคือธนาคารพาณิชย์เกิดขึ้นทั้งในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศอังกฤษ

                3.  วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจในยุคใหม่  การขายตัวทางเศรษฐกิจในคริสศตวรรษที่  15  ภายหลังการสิ้นสุดสงครามครูเสด  ยุโรปมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  มีการสำรวจทางทะเล  การปฏิรูปทางศาสนา  การล่าอาณานิคม  มีผลทำให้ตลาดการค้าขยายตัวอย่างรวดเร็ว  อาณานิคมเป็นทั้งแหล่งวัตถุดิบและแหล่งขายสินค้า   ธุรกิจขยายตัว  มีการจัดตั้งบริษัทที่เกิดผลกำไรมหาศาล เกิดระบบสินเชื่อและระบบธนาคารมีการออกธนาบัตรเพื่อใช้หมุนเวียนในระบบธุรกิจ  ลัทธิพาณิชย์นิยมจึงเกิดขึ้นและระบบธนาคารมีการออกธนบัตรเพื่อใช้หมุนเวียนในระบบธุรกิจ ลัทธิพาณิชย์นิยมจึงเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ลัทธิพาณิชย์นิยมเป็นลัทธิที่เกิดขึ้นเพราะมนุษย์อยากสะสมความมั่งคั่งร่ำรวยรัฐบาลกลางจึงต้องส่งเสริมการค้าให้เจริญรุ่งเรือง
                   โดยเฉพาะการค้าระหว่างประเทศด้วยการผลิตสินค้าสำเร็จรูปแล้วส่งไปขายยังต่างประเทศ
  โดยนำเข้าวัตถุดิบราคาถูกจากประเทศเมืองขึ้นหรือประเทศอาณานิคม  ประเทศที่มั่งคั่งที่สุดคือประเทศอังกฤษ ในแนวคิดของลัทธิพาณิชย์นิยมรัฐบาลต้องมีอำนาจในการควบคุมระบบเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึงเพื่อมุ่งหวังให้ประเทศของตนโดดเด่นกว่าประเทศอื่นลัทธิพาณิชย์นิยมจะมุ่งเน้นการค้าระหว่างประเทศให้ได้เปรียบมากที่สุดโดยเฉพาะความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อันหมายถึงการมีทองคำและเงินไหลเข้าประเทศลัทธิพาณิชย์นิยมมีอิทธิพลต่อนโบยายเศรษฐกิจของยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 อย่างมาก  ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าด้วยการปรับปรุงทั้งด้านการเกษตร  อุตสาหกรรม  และการค้าร่วมกันไป  ลัทธิพาณิชย์นิยมถูกนำไปใช้ในประเทศโปรตุเกส สเปน ฮอลันดา อังกฤษและฝรั่งเศส โดยรัฐบาลเข้าควบคุมการค้าระหว่างประเทศทุกชนิเพื่อให้ได้เปรียบดุลการค้าและสะสมโลหะมีค่า เช่น ทองคำและเงินให้มากที่สุด จึงก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมและปฏิวัติทางด้านการเกษตรกรรม  มีการนำเครื่องมือทางเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม  เศรษฐกิจรุ่งเรือง  มีการพัฒนาทางด้านการค้าและระบบการขนส่ง  อาจกล่าวได้ว่ามีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อันนำไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่  1  จนเป็นผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1เกิดภาวะเงินเฟ้อการล้มละลายของธนาคาร ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

                4.  สภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน  ภายหลังสงครามโลกครั้งที่  2  สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศ ที่มีบทบาทที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลก  มีการเชื่อมโยงระบบการเงินระหว่างประเทศ  มีการช่วยเหลือระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ  เช่น  ธนาคารโลก  กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และองค์การการค้าโลกในแต่ละภูมิภาคก็มีการจัดตั้งเขตการค้า

                ระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา  ในยุคที่ขนาดของเศรษฐกิจและการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศไม่เติบโตมากนัก  การแลกเปลี่ยนสินค้าอาจไม่มีปัญหา  แต่ครั้นขนาดของเศรษฐกิจใหญ่ขึ้นระบบการแลกเปลี่ยนแต่เดิมซึ่งใช้มาตรฐานการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศซึ่งเรียกว่า  มาตรฐานสินค้า  ไม่มีความสะดวกอีกต่อไป  จึงจำเป็นต้องใช้เงินตราในการแลกเปลี่ยนอย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญในการใช้เงินตราสำหรับการซื้อขายสินค้า  ระหว่างประเทศก็คืออัตราแลกเปลี่ยน  เพื่อแก้ไขปัญหานี้  สหรัฐอเมริกาจะได้พยายามพัฒนาระบบการเงินระหว่างประเทศที่เรียกว่ามาตรฐานโลหะ  2  ชนิด (Bimetalic  Standard)    โดยกำหนดค่าเงินตราของตนเทียบกับโลหะทองคำและเงิน  แต่ระบบดังกล่าวก็ยังไม่ถือว่าเป็นระบบสากล  จนกระทุ่งถึงคริสต์ศตวรรษที่  19  จึงได้มีการคิดค้นระบบการเงินระหว่างประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับ  ในวงการค้าระหว่างประเทศเป็นระบบแรกเรียกว่าระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard)  ซึ่งเป็นระบบการเงินที่ใช้ทองคำเป็นทุนสำรองเงินตรา  โดยกำหนดให้เงินตราของแต่ละประเทศที่อยู่ในระบบนี้สามารถแลกเปลี่ยนเป็นทองคำได้เสมอ  ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวสามารถเคลื่อนย้ายทองคำไปมา ระหว่างประเทศได้อย่างเสรีสอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจที่ใช้อยู่  ภายใต้ระบบมาตรฐานทองคำเงินตราของประเทศต่าง ๆ  จะต้องมีทุนสำรองเป็นทองคำ โดยกำหนดค่าของเงินตรากับทองคำจำนวนหนึ่ง  เช่น  1 ปอนด์  เท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก  0.0689  ออนซ์  1  ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก  0.0287  ออนซ์ เป็นต้น  อย่างไรก็ตามหลังสงครามโลกครั้งที่สองปริมาณทองคำสำหรับการแลกเปลี่ยนไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน  ระบบมาตรฐานทองคำจึงจำเป็นต้องยุติไป

                การเคลื่อนตัวของศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ  หลังจากสงครามโลกครั้งที่  1  สิ้นสุดลงจนถึงปลายทศวรรษ  1930  ได้เกิดความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ  ในยุโรป และมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเดิมอย่างประเทศอังกฤษ  หลายประเทศพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยวิธีการต่างๆ  แต่การใช้มาตรการหนึ่งได้ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อประเทศอื่น ๆ เช่น บางประเทศประสบกับภาวะสินค้าล้นตลาดทำให้ต้องลดค่าเงินของตนลงเช่นกัน  เพื่อปกป้องส่วนแบ่งตลาดของตน  นอกจากนั้นประเทศต่างๆ  ซึ่งไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเช่น  อิตาลี  ญี่ปุ่น  เยอรมนี  เริ่มมองหาหนทางที่จะเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจด้วยการใช้นโยบายขยายดินแดน กลายเป็นชนวนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต  แหล่งผลิตต่างๆ รวมถึงการเกิดภาวะเงินเฟ้อ  ในระดับสูงในขณะที่ประเทศผู้ชนะสงครามได้เรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามจากประเทศผู้แพ้เป็นการซ้ำเติม  ให้ปัญหามากยิ่งขึ้น  นอกจากนั้น การที่บางประเทศมีความนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์  หรือสังคมนิยมในขณะที่หลายประเทศนิยมระบบเศรษฐกิจแบบเสรี  นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ

                ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ  ในยุโรปต้องประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงนี้เองสหรัฐอเมริกากลับไม่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากสงคราม  ประกอบกับสหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรมช่วงที่  2 ซึ่งเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีบนพื้นฐานของพลังงานไฟฟ้าและพลังงานจากการสันดาปภายในความมั่นคงทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ได้ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายศูนย์กลางทางเศรษฐกิจแก่ประเทศอื่น  ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐมีบทบาทเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในขณะที่ทองคำเริ่มมีความสำคัญลดลง  จนทำให้ต้องยกเลิกระบบมาตรฐานทองคำดังกล่าวแล้ว

                การเปลี่ยนแปลงระบบการเงิน  หลังจากการพังทลายของระบบมาตรฐานทองคำ  ผู้นำทางเศรษฐกิจ จาก 44  ประเทศจึงได้จัดการประชุมกันเพื่อจัดตั้งระบบการเงินระหว่างประเทศขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งที่เมืองเบรตตัน วูดส์(Bretton Woods) มลรัฐ  นิว  แฮมเชียร์ (New  Hampshire)  สหรัฐอเมริกาในปี  ค.ศ. 1944  ระบบการเงิน  ที่ตั้งขึ้นใหม่เรียกว่าระบบมาตรฐานปริวรรตทองคำ(Gold  Exchange  Standard)  ซึ่งเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยน  แบบคงที่ (Fixed  Exchange  Rate) โดยกำหนดให้เงินสกุลต่าง ๆ  ของแต่ละประเทศมีค่าคงที่เมื่อเทียบกับมูลค่าทองคำ  และตกลงให้มีการผันผวนได้ไม่เกินร้อยละ  การแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่าง ๆ  สามารถกระทำได้อย่างเสรี  ทั้งนี้โดยกำหนดให้ทองคำหนักหนึ่งออนซ์  มีค่าเท่ากับ 35  ดอลลาร์สหรัฐ  ส่วนเงินตราสกุลอื่น     ก็ให้เทียบค่าในอัตราที่แน่นอนกับดอลลาร์สหรัฐหรือทองคำ  การตกลงที่เบรตตัน วูดส์  ส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐยิ่งมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในระบบการเงินระหว่างประเทศการใช้ข้อตกลงดังกล่าวมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อป้องกันมิให้ประเทศต่าง   ใช้นโยบายการลดค่าเงินเป็นเครื่องมือในการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามหากจำเป็นต้องลดค่าเงินก็สามารถดำเนินการได้  ยกเว้นการลดค่าเงินมาก ๆ  จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ด้วย

                อย่างไรก็ตามระบบมาตราปริวรรตทองคำ  หรือระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ดำรงอยู่ได้ไม่นานนักก็มาถึงทางตัน  โดยเริ่มส่งสัญญาณในปลายทศวรรษ 1960  และพังทลายลงในปี ค.ศ. 1973 ทั้งนี้เนื่องจากในข้อตกลงที่  เบรตตัน วูดส์ มีเงินดอลลาร์สหรัฐเพียงสกุลเดียวเท่านั้นที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นทองคำได้โดยไม่จำกัดจำนวน ต่อมาระหว่างปี  ค.ศ. 1965-1968  รัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องมีภาระในการใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพื่อการทำสงคราม  ในเวียดนามและการให้สวัสดิการทางสังคมแก่ประชาชนส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในอัตราสูงถึงร้อยละ 9 ในปี ค.ศ. 1968 นโยบายดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมากและประชาชนก็ใช้จ่ายมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  การซื้อสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ  ซึ่งส่งผลให้สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1971  นับตั้งแต่  สงครามโลกครั้งที่ สองยุติในปี  ค.ศ. 1945  เป็นต้นมาการขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นนี้เองได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนจึงได้พยายามป้องกันความเสียงจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐโดยหาเงินสกุลอื่นๆ เช่น  ดอยช์มาร์กของเยอรมนีเป็นเงินสำรองทำให้สหรัฐอเมริกาต้องหันไปใช้นโยบายลอยตัวดอลลาร์สหรัฐด้วย นำไปสู่ระบบการเงินที่เรียกว่า ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว(Floating Rate Standard) ทำให้ประเทศต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนาต้องกำหนดแนวทางในการปรับตัวซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ  กลุ่มที่ยังยึดมั่นในเงินตราต่างประเทศสกุลหลักเพียงสกุลเดียวกับกลุ่มที่ใช้วิธีการกำหนด  อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลของตนกับเงินตราต่างประเทศของประเทศคู่ค้า(Composite of Currency) ทำให้มีอัตราแลกเปลี่ยนกับเงินหลายสกุล  ประเทศในกลุ่มหลังนี้รวมทั้งประเทศไทยด้วย

                      การกีดกันทางการค้าสู่การจัดตั้งองค์การการค้าโลก  หลังสงครามโลกครั้งที่  2  ยุติ  ใหม่ ๆ สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมได้สนับสนุนให้มีการทำสนธิสัญญา ที่เรียกว่า ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วย  พิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (General  Agreement on Tariffs and Trade :GATT) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาหลายฝ่ายทางด้านการค้าระหว่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้าต่าง ๆ  เช่น  การตั้งกำแพงภาษี  การจำกัดโควตาการให้เงินอุดหนุนการค้า  รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการค้าเสรีในระหว่างประเทศสมาชิก  เพื่อส่งเสริมความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาความอยู่ดีกินดีของประชากรทั่วโลก  ซึ่งกว่า GATT  ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างมาก  โดยเฉพาะในระหว่างปี  ค.ศ. 1963-1973  การขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศสูงถึงร้อยละ  9  ต่อปี  และรายได้จากการค้าระหว่างประเทศขยายตัวถึงร้อยละ  5  ต่อปี  อย่างไรก็ตามในต้นทศวรรษ  1980  และ  1990 ระบบการค้าของโลกภายใต้กรอบเวทีของ GATT กลับนำไปสู่  ลัทธิกีดกันทางการค้า  ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจาก

                1)  ประเทศญี่ปุ่นซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างงดงามและมีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และเป็นผู้ส่งออกสำคัญในตลาดการค้าระหว่างประเทศได้กีดกันการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

                2)  ในช่วงเวลาเดียวกันระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากลับอ่อนกำลังลงเพราะการขาดดุลการค้าในระดับสูงทำให้กลุ่มนักธุรกิจกดดันให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้ากับประเทศที่ได้เปรียบทางการค้า

                3)  การเจรจาระดับทวิภาคีเพื่อให้มีการจำกัดการส่งออกสินค้า  (Bilateral Voluntary Export) เช่นการที่สหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปพยายามกดดันญี่ปุ่นให้จำกัดปริมาณการส่งออกสินค้ายิ่งเป็นตัวเร่งการขยายตัวของลัทธิกีดกันทางการค้ามากยิ่งขึ้น

                    อย่างไรก็ตามกการดำเนินการเจรจาต่อรองทางการค้าภายใต้กรอบเวที GATT ก็ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง  จนกระทั่งถึงเจรจากรอบที่  8 ระหว่างปี  ค.ศ.  1986-1993 ซึ่งได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีจากประเทศภาคีสมาชิก   เมืองปุนต้า  เดล  เอสเต้  ประเทศอุรุกวัย  ซึ่งรู้จักกันในนามของการเจรจารอบอุรุกวัย (Uruguay  Round)  การเจรจาในรอบนี้ถือได้ว่ามีขอบข่ายกว้างขวางมากที่สุดโดยมีสาระสำคัญของการเจรจาได้แก่การค้าเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา การค้าที่เกี่ยวกับการลงทุน  การเปิดเสรีในการค้าสินค้าและบริการรวมทั้งการปฏิรูประบบและกลไกของ GATT อาทิ  ข้อตกลงเปิดตลาดสินค้าเกษตร  การปรับปรุงกระบวนการยุติข้อพิพาท  นอกจากนั้นในการประชุมรอบดังกล่าวยังได้มีข้อตกลงที่จะยกฐานะของ GATT ให้เป็นองค์การระหว่างประเทศเรียกว่าองค์การการค้าโลก (World  Trade Organization : WTO) และได้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่  1  มกราคม  ค.ศ. 1993  ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อปรับปรุงกลไกการทำงานของ GATT  ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและขยายข้อตกลงให้ครอบคลุมการค้าสินค้าบริการและการค้าทรัพย์สินทางปัญญา

                การก้าวจากการใช้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ  หลังจากระบบมาตราปริวรรตทองคำพังทลาย  ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การแทรกแซง (Managed Float) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรี (Flexible Exchange Rate)  ได้ถูกจัดขึ้นภายใต้การประชุมของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ณ ประเทศจาไมก้าในปี  ค.ศ. 1976  ในการประชุมดังกล่าวที่ประชุมได้ยอมให้อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินต่าง ๆ  เป็นไปตามกลไกของตลาดแม้ว่าบางประเทศยังคงอัตราแลกเงินตราของตนไว้กับสกุลเงินของประเทศใดประเทศหนึ่งหรือผูกไว้กับเงินตราหลายสกุลของประเทศคู่ค้า  เช่นกลุ่มประเทศแถบคาบสมุทรแคริเบียนผูกค่าเงินของตนไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐ

                ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ  พยายามหาแนวทางในการสกัดลัทธิกีดกันทางการค้านั้นการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มทุนนิยมยังคงดำเนินต่อไป  จนในที่สุดสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มสังคมนิยมได้ล่มสลาย  ในปี  ค.ศ.  1991  เนื่องจากความไม่มีประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลางทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจถดถอยอย่างต่อเนื่องผสมกับปัญหาทางสังคม และการเมืองที่เรื้อรังทำให้กลุ่มประเทศสังคมนิยม  เปลี่ยนมายอมรับระบบเศรษฐกิจทุนนิยมหรือระบบเศรษฐกิจแบบตลาดซึ่งใช้กลไกราคาในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน เช่น ประเทศโปแลนด์และแบบค่อยเป็นค่อยไป  เช่น  ฮังการี

                สำหรับประเทศทุนนิยมยังมีการแข่งขันทางเศรษฐกิจต่อไปโดยแต่ละประเทศ  ต่างก็เร่งรีบพัฒนาเศรษฐกิจ ของตนเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้  ประเทศต่าง ๆ  โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปต่างๆ  ก็ตระหนักถึงความยุ่งยากในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ  เช่น  ญี่ปุ่น  กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (Newly Industrialized Countries :NICs) และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก จึงได้ดำเนินการกีดกันทางการค้าแบบใหม่ คือ  การรวมกลุ่มทางการค้าหรือการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ(Economics Blocks) เพื่อป้องกันผลประโยชน์ของตนเอง ส่งผลให้เกิดกลุ่มทางเศรษฐกิจต่าง ๆ  ในเวลา ต่อมาหลายกลุ่ม เช่น  สหภาพยุโรป (European Union : EU) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North America Free Trade Area : NAFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) เป็นต้น

          ราชวงศ์ชิง (ภาษาแมนจู: daicing gurun; ภาษาจีน:清朝 ; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา ; ) หรือบางครั้งเรียกว่าราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน

                2.2  สังคมมนุษย์สมัยกลาง  สมัยกลาง หมายถึง  ระยะเวลาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่  5  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกพวก อนารยชนเผ่าเยอรมันเข้ายึดครอง  ซึ่งเป็นปีที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล  เมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันออก  อยู่ใต้อิทธิพลของพวกออตโตมันเติร์ก ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม  เมื่อ  ค.ศ. 476  จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษ ที่  15  รวมระยะเวลาของสมัยกลางราว 1,000 ปี  สังคมสมัยกลางเป็นสังคมเกษตรกรรม  ไม่มีอุตสาหกรรม  หรือการค้าขาย ในแง่อารยธรรมกล่าวได้ว่า  สมัยกลางเป็นยุคมืด (Dark Age) ศาสนาคริสต์มีอิทธิพลต่อชีวิตผู้คนโดยทั่วไปวัดกลายเป็นศูนย์กลางความรู้โดยมีพระ  และบาทหลวงเป็นผู้สอนอ่านเขียนและถ่ายทอด  วิทยาการสังคมยุโรปจึงตกอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนาคริสต์  ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 9 ได้มีการก่อตัวของระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ((www.flotte2.com/500AD.htm ยุโรปสมัยกลางเป็นยุคมืด…))

 

สังคมมนุษย์ในยุค ใด เป็นสังคมเกษตรกรรม ขนาดใหญ่ และพัฒนา กลายเป็นเมือง

Western Empire & Eastern/Byzantine Empire

                                                                                         www.school.net.th/…/mathdev/roman.htm

ข้อใดเป็นพัฒนาการของมนุษย์ในยุคสําริด

สมัยสำริด คือ ยุคแห่งการพัฒนาความเจริญของสังคมเข้าสู่อารยธรรมพบไปทั้งในยุโรปและเอเชีย พัฒนาการที่สำคัญทางเทคโนโลยี คือ การรู้จักใช้โลหะ นับตั้งแต่การนำเอาทองแดงตามธรรมชาติมาตีเป็นเครื่องใช้ จนถึงการรู้จักถลุงแร่ทองแดง นำเอาทองแดงมาหลอมผสมกับตะกั่ว ดีบุก หรือสารหนู เป็นโลหะสำริด (Bronze) สมัยสำริดในยุโรปอายุประมาณ 4,550 ...

ยุคใด เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยุคปัจจุบันดำรงอยู่

สมัยปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาของอารยธรรมหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นช่วงที่แต่ละอารยธรรมจะมีเทคโนโลยีเข้ามาใช้อย่างแพร่หลาย และมีการตระหนักถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกวิธี นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดช่วงเวลาที่เป็น "สมัยปัจจุบัน" ของสากลโลกไว้ให้ตรงกับ ค.ศ. 1945 จนถึงปัจจุบันนี้ โดยเริ่มนับจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นต้นมา

ข้อใดหมายถึงยุค “ยุคหินขัด”

1.3. ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล 1.3.1 มนุษย์ยุคหินใหม่ รู้จักผลิตอาหารได้เอง รู้จักการทอผ้า ใช้เครื่องนุ่งห่มและทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ยังทำด้วยหิน เขาสัตว์ หรือกระดูกสัตว์ แต่พัฒนาฝีมือประณีตขึ้น จึงมักเรียกยุคนี้ว่า "ยุคหินขัด" ตลอดจนรู้จักการนำสุนัขมาเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน

ยุคใดที่สังคมเป็นแบบเร่ร่อนอาศัยตามเพิงผา

ยุคหิน ยุคหินเก่า (Palaeolithic Period) O ใช้เครื่องมือหินกะเทาะหยาบ ๆ เพียงด้านเดียว O อาศัยอยู่ตามถ้ำและเพิงผา O ล่าสัตว์และหาของป่า รู้จักใช้ไฟ O เร่ร่อนย้ายถิ่นฐานไปตามแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์