คํา สั่ง html การจัดข้อความ

ทีนี้ ในแต่ละ Tag ก็จะมีตัวแปร หรือ ลักษณะที่กำหนดเข้าไปเพื่อเพิ่มรายละเอียดให้กับการแสดงผลข้อมูลของเรา โดยลักษณะนี้เราจะใส่เอาไว้ในส่วนของ Tagเปิด เช่น Tag แสดงตัวอักษร ชื่อว่า Tag  ... (ตรง ... คือข้อมูลที่เราต้องการแสดงนะคะ) ถ้าเราต้องการให้ตัวอักษรของเราเป็นสีแดง ก็จะต้องกำหนด ค่าสีแดงลงไปใน Tag แบบนี้  --->     ข้อความ    ตรงคำว่า ข้อความ ก็จะมีสีแดง color ก็คือการกำหนดสีให้กับแท็ก  และ #ff0000 คือ โค้ดสีแดง

คิดว่าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วคงพอจะรู้แล้วว่า Tag หรือ คำสั่ง ในภาษา Html ทำงานยังไงนะจ๊ะ ต่อไปนี้เราจะแนะนำให้เพื่อนๆรู้จักกับ Tag ที่ชื่อว่า สาเหตุที่นำแท็กนี้มาอธิบาย ก็เพราะว่า มันใช้ประโยชน์ได้ดีในการ จัดตำแหน่งข้อความ และ รูปภาพ รวมถึง ไว้ใช้ทำกรอบสวยๆ ที่เราเอามาแจกน่ะแหละ อิอิ

แปลตรงๆตัวเลยก็คือ ตาราง น่ะเอง (ไม่ใช่โต๊ะ นะจ๊ะ - -") ในการสร้างตารางนี้ก็ไม่ยากอย่างที่หลายคนคิดเลยนะ เพราะมันจะมีรูปแบบในการสร้างที่ค่อนข้างจะแน่นอนอยู่แล้ว สำหรับแท็กที่ใช้ในการสร้างตารางก็จะมีหลายแท็กด้วยกันและมักจะต้องใช้ควบคู่กันไปด้วย  เพื่อที่จะให้ได้ตารางสักหนึ่งตาราง ^^" มาดูกันดีกว่าว่ามันใช้ Tag อะไรบ้าง

...แท็กเปิด จะอยู่บนสุด และแท็กปิดจะอยู่ท้ายสุดของตาราง เป็นการบอกว่า นี่คือ 1 ตารางนะจ๊ะ

... ตำแหน่งจะอยู่คร่อมแท็ก ... เป็นการแบ่งกลุ่มให้กับแถว โดยที่ในกลุ่มนั้นอาจมีมากกว่า 1 แถวก็ได้  ถึงแม้เราไม่ใส่ก็จะถือว่า ข้อมูลที่อยู่ระหว่างแท็ก Table นั้นเป็นส่วนของ Tbody

... คือ 1 แถวของตาราง ตำแหน่งที่ใช้ อยู่ระหว่าง ...ถ้าต้องการให้ตารางมีกี่แถว เราก็ต้องเพิ่มแท็ก ... ไปเท่านั้น

... คือ 1 ช่องในแถวของตาราง ตำแหน่งที่ใช้ อยู่ระหว่าง ... ถ้าต้องการให้ใน 1แถว มีกี่ช่อง เราก็ต้องเพิ่มแท็ก ... ไปเท่านั้น

ตัวอย่างการสร้างตาราง ในที่นี้จะสร้างตาราง 3 แถวโดยให้แต่ละแถวมี 4 ช่อง และใส่คำสั่ง border เพื่อแสดงขอบตาราง






















ช่องที่ 1 แถว 1ช่องที่ 2 แถว 1ช่องที่ 3 แถว 1ช่องที่ 4 แถว 1ช่องที่ 1 แถว 2ช่องที่ 2 แถว 2ช่องที่ 3 แถว 2ช่องที่ 4 แถว 2ช่องที่ 1 แถว 3ช่องที่ 2 แถว 3ช่องที่ 3 แถว 3ช่องที่ 4 แถว 3

ผลที่ได้จากการสร้างตารางโดยใช้โค้ดคำสั่งทางซ้าย ก็จะเหมือนกับ
รูปด้านล่างนี้นะคะ จากโค้ดนี้ เราไม่ได้กำหนดขนาดให้กับตาราง
แต่ว่าตารางก็จะขยายขนาดให้พอดีกับข้อความที่เราได้ใส่ลงไป

ช่องที่ 1 แถว 1ช่องที่ 2 แถว 1ช่องที่ 3 แถว 1ช่องที่ 4 แถว 1ช่องที่ 1 แถว 2ช่องที่ 2 แถว 2ช่องที่ 3 แถว 2ช่องที่ 4 แถว 2ช่องที่ 1 แถว 3ช่องที่ 2 แถว 3ช่องที่ 3 แถว 3ช่องที่ 4 แถว 3

 ส่วนการนำตารางมาใช้กับการจัดวางข้อมูล ก็สามารถทำได้ง่ายๆ
อย่างที่เห็นอยู่นี้นะคะ โดยที่ เราได้สร้างตารางขึ้นมา 1แถว 2ช่อง
และนำส่วนโค้ด ไปไว้ทางซ้าย เอาคำอธิบาย
กับผลลัพธ์ที่ได้จากโค้ดมาไว้ทางขวา


ตอนนี้ทุกคนคงสร้างตารางกันได้แล้วนะคะ ส่วนการนำตารางไปใช้ในแบบอื่นๆ ถ้าจะมีคนจำได้
เราเคยนำเสนอวิธีการ ใส่ Background โดยใช้ Table ไปแล้วนะคะ ไปหาอ่านได้นะ ตามที่เราทำลิ้งค์ไว้ให้
สำหรับตอนนี้เราจะมาสร้างกรอบข้อความสวยๆ โดยใช้ตารางกันนะ

สำหรับกรอบข้อความ เราต้องมาดูกันก่อนว่ามันประกอบด้วยส่วนอะไรบ้าง
ก่อนอื่นก็ต้องมีรูป ที่เราจะเอามาทำเป็นขอบทั้ง 4 ด้าน และมุม ทั้ง 4 ก่อนนะคะ
ยกตัวอย่าง กรอบที่แจกไปในบลอคล่าสุด เมื่อวันก่อน 

รูปด้านล่างนี้เป็นการแสดงภาพของ ขอบ และ มุม ทั้ง 8 ส่วน นะคะ

ที่นี้เราต้องการนำภาพนี้ มาทำเป็นกรอบของข้อความ โดยต้องการให้กรอบนั้น ขยายได้ตามความยาวของข้อความ
ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน โดยไม่เสียรูปทรงเดิมไป ก็เลยเลือกใช้คำสั่ง background ให้แสดงภาพเป็นแบคกราว
เพื่อเวลากรอบขยายใหญ่ขึ้นก้อจะมีภาพอันเดิมมาต่อกันไปเรื่อยๆ ตามความต้องการ ดูจากโค้ดนะ















Text Here


ข้อความ


Text Here


อธิบาย

เราจะแบ่งอธิบายไปทีละแถวนะ ตามที่เว้นวรรคเอาไว้ เพื่อจะได้ดูง่ายๆ

เริ่มจากแท็ก เราเพิ่มคำสั่ง
cellSpacing=0 กำหนดให้ระยะห่างระหว่างแต่ละช่องในตารางเป็น 0 เพื่อให้ภาพแบคกราวที่เราสร้างมันต่อกันสนิทจะได้ดูเหมือนเป็นภาพๆเดียว
cellPadding=0 กำหนดให้ระยะห่างระหว่าง ขอบตาราง กับข้อความเป็น 0 อันนี้จะมีผลกับส่วนที่เราเอาไว้เขียนข้อความ คือช่องตรงกลางของตาราง
align=center จัดตารางนี้ให้อยู่ตรงกลางของ Blog และใส่  border=0 ไม่ต้องการให้เห็นขอบตารางเพื่อความสวยงาม

แถวที่ 1

ในแท็ก

เราใส่คำสั่ง background=Url ของภาพที่ต้องการ เข้าไปเพื่อภาพให้เป็นแบบแบคกราวตามที่ต้องการ
และในแท็กของ ช่องที่ 2แถว 1 ใส่คำสั่ง  style="WIDTH: 240px; HEIGHT: 13px" เพื่อกำหนดความกว้างและความสูงให้กับภาพ มีขนาดเป็น พิกเซล 


แถวที่ 2

เราใส่ background ตามแบบเดียวกับในแถวที่ 1แต่เพิ่ม คำสั่ง style="WIDTH: 30px" ให้ตารางด้านซ้าย กว้างพอดีรูป และทำแบบเดียวกันกับ ด้านขวาด้วย
ส่วนตรงกลางแท็ก

ช่องที่ 2 ของแถว 2  ที่เป็นพื้นที่ไว้เขียนข้อความ กำหนดขนาดให้ style="WIDTH: 240px; HEIGHT: 169px"

จากตอนแรกที่เราอธิบายไปตอนหัดสร้างตารางว่า ถึงแม้เราไม่ได้กำหนดขนาดให้กับตาราง แต่ตารางก็จะขยายขนาดให้พอดีกับข้อมูลของเราได้เอง แต่เมื่อเรากำหนดขนาดให้ช่องเขียนข้อความนี้แล้ว ทำให้ ถ้าข้อความที่เรา พิมไปมันสั้นนิดเดียว กรอบของเราก็จะไม่มีขนาดเล็กเกินกว่าที่เราได้กำหนดขนาดไว้ในตอนแรก  แต่ถ้าข้อความยาวมาก กรอบนี้ก็จะขยายออกได้ตามปกติ