วิธีการพยายามปรับตัวเข้าหากัน

ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของคู่รักเป็นส่วนหนึ่งของการเติมเต็มชีวิตให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่การสร้างและรักษาความสัมพันธ์โรแมนติกนั้น มิใช่เพียงความใกล้ชิดทางกายเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นการร่วมถักทอความรักและความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะเป็นปัจจัยเชื่อมความสัมพันธ์ของคู่รักของคุณให้ยืนยาว 

ชีวิตรักที่ราบรื่นย่อมนำมาซึ่งความสบายใจและความสุขในชีวิต การรักษาความสัมพันธ์ให้ดีนั้นต้องอุทิศเวลา ตลอดจนการสื่อสารที่ตรงไปตรงมาและเอาใจใส่กันและกันอย่างสม่ำเสมอ กุญแจสำคัญหนึ่งของคู่รักที่มีความสุขคือตอบสนองต่อปฏิสัมพันธ์ทางร่างกายและจิตใจของทั้งสองฝ่ายอย่างเหมาะสม โดยอาจลองใช้วิธีการเหล่านี้เติมเต็มความรักของคุณให้สมบูรณ์ขึ้น

วิธีการพยายามปรับตัวเข้าหากัน

5 เคล็ดลับ ดูแลความสัมพันธ์คู่รักให้ยืนยาว

เคล็ดลับง่าย ๆ เหล่านี้อาจช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและเติมความสุขในความสัมพันธ์ของคู่รักได้

1. เปิดใจพูดคุยกัน

การสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผยเป็นหลักการสำคัญของความสัมพันธ์ที่ราบรื่น ขั้นแรกอาจลองแบ่งเวลาสั้น ๆ ในแต่ละวันเปิดใจพูดคุยถึงกันปัญหาในครอบครัวและเรื่องส่วนตัว อย่างเรื่องสุขภาพหรืออาชีพการงาน หารือเพื่อปรับความเข้าใจให้ตรงกัน หรือพูดคุยกันถึงอนาคตของการใช้ชีวิตร่วมกัน ซึ่งจะช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ของคุณกับคู่รักให้ยาวนานขึ้น

ในการพูดคุย ควรให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มพูดถึงประเด็นของตนเองก่อน เมื่ออีกฝ่ายฟังจบอาจลองพูดสรุปสิ่งที่ได้ฟังเพื่อความเข้าใจตรงกัน แล้วค่อยโต้ตอบหรือแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ไม่ควรพูดแทรกในเชิงชวนทะเลาะ และไม่ควรมีสิ่งอื่นดึงความสนใจจากการสนทนาในระหว่างพูดคุยกัน อย่างการดูโทรทัศน์หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ

2. ใช้เวลาว่างร่วมกัน

การแบ่งเวลาว่างมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เป็นวิธีที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักได้เป็นอย่างดี โดยอาจเลือกกิจกรรมที่ชอบทำร่วมกัน หรือกิจกรรมแปลกใหม่และสร้างสรรค์ที่ในชีวิตประจำวันไม่เคยทำมาก่อน อย่างการวางแผนไปเที่ยวด้วยกัน ลงเรียนทำอาหารด้วยกัน หรือเปลี่ยนบรรยากาศโดยออกไปรับประทานอาหารกันที่ร้านใหม่ ๆ ที่ทั้งสองคนไม่เคยไป 

การวางแผนและใช้เวลาร่วมกันในกิจกรรมที่แปลกใหม่ไปจากกิจวัตรเดิม ๆ จะช่วยให้เห็นถึงนิสัยของอีกฝ่าย อย่างการตัดสินใจแก้ปัญหาและความเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ซึ่งอาจทำให้ความสัมพันธ์ของชีวิตคู่มีสีสันและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

3. เป็นผู้สนับสนุนที่ดี

การเป็นผู้สนับสนุนในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการช่วยแก้ไขปัญหาของอีกฝ่าย แต่หมายถึงการแสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่ามีคนที่คอยอยู่เคียงข้างในช่วงเวลาที่ยากลำบากหรือเดือดร้อน และเป็นการแสดงให้รู้ว่ามีคนที่คอยห่วงใยในสิ่งที่เขาต้องเผชิญ 

สิ่งสำคัญคือการทำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดี และสังเกตว่าอีกฝ่ายต้องการให้เรายื่นมือเข้าช่วยแก้ปัญหาหรือไม่ เนื่องจากการผลีผลามเข้าไปช่วยจัดการเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกินความสามารถของเรา อาจทำให้สถานการณ์แย่ลงได้

4. เข้าใจความแตกต่างและประนีประนอม

เป็นเรื่องธรรมดาหากคนสองคนจะมีทัศนคติที่ไม่ตรงกัน แต่การยอมรับและเคารพในความแตกต่างระหว่างกัน จะทำให้สามารถใช้ชีวิตคู่ด้วยความเข้าใจกันได้ โดยทั้งสองฝ่ายควรปรับตัวเข้าหากัน ไม่ควรผลักภาระให้เป็นปัญหาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 

หากคุณไม่เริ่มจากความพยายามเปลี่ยนแปลงตนเองก่อน ก็ไม่ควรคาดหวังว่าจะเปลี่ยนแปลงนิสัยหรือทัศนคติของอีกฝ่ายได้ ความสัมพันธ์อันราบรื่นของคู่รักจึงขึ้นอยู่กับการประนีประนอมยอมรับความแตกต่างของแต่ละฝ่าย เพื่อหาปรับตัวเข้าหากันสู่จุดสมดุลที่เหมาะสม

5. ยอมรับในความขัดแย้ง

ในทุกความสัมพันธ์มักมีความขัดแย้งไม่ลงรอยเกิดขึ้นได้เสมอ หากมีเรื่องทะเลาะหรือมีปากเสียงกันรุนแรงนั่นแสดงว่าความสัมพันธ์ของคุณเกิดปัญหาบางอย่างที่ต้องการการแก้ไข สิ่งที่ควรทำคือการเผชิญหน้ากับปัญหานั้นและหาทางออกร่วมกัน เพราะการหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงปัญหาและเก็บซ่อนเอาไว้มักทำให้ปัญหาบานปลายในภายหลัง นอกจากนี้ หากขาดการสื่อสารเพื่อปรับความเข้าใจกัน อาจทำให้ความผูกพันที่เคยแน่นแฟ้น จืดจางลงหรืออาจถึงขั้นแตกหักกันได้

การดูแลความสัมพันธ์ของคู่รักให้ยืนยาวนั้นไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว คู่รักที่ใช้ชีวิตร่วมกันนั้น จำเป็นต้องมีการสื่อสารที่ดีระหว่างกัน เคารพซึ่งกันและกัน และปรับตัวเข้าหากันอยู่เสมอ จึงจะสามารถใช้ชีวิตคู่อย่างมีความสุขได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณพบเจอปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขหรือทำให้คุณกับคนรักทะเลาะกันบ่อยครั้ง การไปพบนักจิตวิทยาหรือแพทย์ อาจช่วยแนะนำวิธีที่เหมาะสม เพื่อให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างราบรื่น

          ต้องยอมรับว่าในแต่ละองค์กรนั้นประกอบด้วยพนักงานที่มาจากหลากหลายสถานที่ หรือเรียกให้เข้าใจกันง่าย ๆ ว่า “ร้อยพ่อพันแม่” ไม่มีใครที่มีอะไรหรือคิดอะไรเหมือนกัน อีกทั้งยังมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน การที่เราจะทำให้คนที่มีพื้นฐานที่แตกต่างกันเข้ากันให้ได้นั้น เป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไปไม่ได้

          การทำงานหากจะให้เกิดความราบรื่น ต้องเริ่มจากการรู้จักปรับตัวเราเพื่อเข้าหาสิ่ง ๆ นั้นให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวให้เข้ากับเจ้านายคนใหม่ เพื่อนร่วมงานใหม่ หรือวิธีการทำงานใหม่ ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องมีจุดเริ่มต้นที่มาจากการยินยอมที่จะปรับตัวแทบทั้งสิ้น

          ความพยายามในการปรับตัวให้เข้ากับทีม หรือเพื่อนร่วมงานจะทำให้เราเข้าใจเขามากขึ้น และลดปัญหาความขัดแย้งในการทำงานได้ แต่จะทำอย่างไรจึงจะทำให้คนที่ทำงานร่วมกับเรารับรู้ และยอมรับในความพยายามของเรา ลองมาดูวิธีปรับตัวให้เข้ากับการทำงานเป็นทีม ซึ่งมีอยู่ดังนี้

เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่

          เมื่อต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น แม้ว่าจเป็นคนที่เราไม่คุ้นเคยมาก่อน เราก็ควรแสดงความเป็นมิตร เพื่อให้เขาอยากสอนงานเรา หรือทำงานร่วมกับเราด้วยความเต็มใจ หากเป็นไปได้ให้ใช้รอยยิ้ม เป็นตัวช่วยให้เรากล้าที่จะพูดคุยกับเพื่อนคนใหม่ และเปิดใจให้กว้าง อย่ามีอคติกับการเรียนรู้ บางคนจะรู้สึกว่าตัวเองก็มีความรู้ในงานที่ตัวเองทำอยู่แล้ว ทำไมจึงต้องไปเรียนรู้กับคนอื่นอีก ในการทำงานเป็นทีมเราต้องคิดว่าการทำงานร่วมกัน คือการแบ่งปันความรู้กัน ไม่ใช่การเอาความรู้มาอวดกัน หากเราเปิดใจให้กว้างเราจะได้รับความรู้ใหม่อีกมากมาย ซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานของตัวเองได้ อีกทั้งการเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ยังทำให้เราได้รับการยอมรับจากคนในทีมได้เร็วขึ้นด้วย

เรียนรู้และจดจำอย่างเป็นระบบ

          เมื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม เราต้องพยายามเรียนรู้ว่าทีมของเรามีระบบการทำงานอย่างไร แล้วจึงค่อย ๆ จดจำ เรียนรู้อย่างเป็นระบบ ในตอนแรกเราอาจจะทำได้ไม่ดี เนื่องจากเพิ่งจะคุ้นเคยกับระบบ แต่ครั้งต่อ ๆ มาเราต้องทำงานให้ดีขึ้นมากกว่าเดิม โดยพยายามจดจำให้มากที่สุด แต่ในการเรียนรู้งานนั้นควรทำอย่างเป็นระบบ ทำความเข้าใจก่อน แล้วจึงเรียบเรียงออกมาเป็นคำพูดของตัวเอง เราจะเข้าใจระบบการทำงานได้ง่ายขึ้น จากนั้นไม่นาน เราก็จะทำงานร่วมกับทีมได้ดีขึ้น

ยอมรับคำวิจารณ์

          เมื่อเกิดความผิดพลาดในการทำงาน เราควรเปิดใจเพื่อยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์อันอาจจะเกิด คำวิพากษ์วิจารณ์การทำงานเกี่ยวกับการทำงานเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะต้องการตำหนิเพื่อให้เราได้รับความอับอาย แต่เพราะต้องการให้รับเรียนรู้ข้อผิดพลาด เราจึงต้องเปิดใจให้กว้าง โดยไม่มีอคติ เพราะหากเรายังคงมีอคติเกิดขึ้นภายในใจเรา เราจะไม่สามารถทำงาน เพราะเราจะรู้สึกว่าเรากำลังโดนตำหนิ หรือคิดว่าเราทำงานไม่ดี เราก็จะไม่สามารถเข้ากับทีมได้ สิ่งที่เราควรทำคือการยอมรับคำวิจารณ์ และนำมาปรับปรุงตัว เพื่อให้เราทำงานได้ดีขึ้น

ยอมรับความสามารถของคนอื่น

          การเชื่อว่าเราคือคนที่ทำงานเก่งที่สุด ดีที่สุด และมีความสามารถมากกว่าคนอื่น ๆ ภายในทีม จะทำให้เราเข้ากับทีมได้ค่อนข้างยาก เพราะเราจะไม่เชื่อว่าคนอื่นสามารถทำงานได้ดี หรืออาจจะทำงานผิดพลาดได้ หากเราคิดเช่นนั้น เราจะทำงานร่วมกับทีมไม่ได้ หากเราเป็นหัวหน้างาน เราก็จะรู้สึกว่าลูกน้องของเราทำงานไม่ดีเลยสักอย่าง ผิดพลาดตลอด ทั้ง ๆ ที่เขาเพิ่งจะทำงานได้ไม่นานเท่าไร ยังไม่ทันได้เห็นความสามารถทั้งหมดของเขา ก็กังวลไปก่อนแล้วว่าเขาอาจจะทำไม่ได้ เราควรปล่อยให้เขาได้ทำงานเสียก่อน แล้วค่อยตักเตือนทีหลัง หากเกิดความผิดพลาดในการทำงานเกิดขึ้น ในการทำงานเป็นทีม เราต้องเชื่อมั่นว่าคนอื่นทำงานได้ดี และมีความสามารถไม่ต่างจากเรา การทำงานเป็นทีมจึงจะราบรื่น

รับผิดเมื่อเกิดความผิดพลาด

วิธีการพยายามปรับตัวเข้าหากัน
          หากเราต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของความผิดพลาดในการทำงาน สิ่งแรกที่เราควรทำ คือการกล่าวคำขอโทษที่ทำให้ทีมได้รับการตำหนิ หรือเกิดความล่าช้าในการทำงาน อย่าดึงดันที่จะปฏิเสธ หรือโยนความรับผิดชอบให้คนอื่น เพราะเราจะสูญเสียความเชื่อถือจากคนในทีมได้ เราต้องยืดอกยอมรับความผิดนั้น รับปากว่าจะแก้ไขความผิดพลาดนั้นอย่างไร และจะไม่ให้ความผิดเช่นนั้นเกิดขึ้นอีกในอนาคต เมื่อเราทำงานผิดพลาดไม่ต้องพยายามที่จะหาข้อแก้ตัว แต่ให้พยายามหาข้อแก้ไข เพื่อให้งานที่ผิดพลาดนั้นดีขึ้น แล้วจำไว้เป็นบทเรียนว่าอะไรที่ทำให้เกิดความผิดพลาด เราจะไม่ทำอีก เพียงเท่านี้เพื่อนร่วมทีมก็จะไว้ใจให้เราทำงานเช่นเดิม

          การทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพต้องมาจากการเตรียมพร้อม และเริ่มต้นให้ดี ก้าวแรกที่มั่นคงส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงาน หากเรามีความมุ่งมั่น เต็มใจที่จะเรียนรู้ และยอมรับความคิดเห็นของทีม เราก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับทีม แล้วทำงานร่วมกับองค์กรได้อย่างราบรื่นมากขึ้น

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

วิธีการพยายามปรับตัวเข้าหากัน

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เหตุผลที่คนทำงานต้องสร้างทีมเวิร์ค

การทำงานเป็นทีมดีกว่าการทำงานคนเดียวอย่างไร