วิธีดูแลสุนัข เป็นโรคหัวใจ

แนวทางการวินิจฉัยโรคหัวใจในสุนัข

1.ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ฟังเสียงหัวใจและปอด

ประวัติและอาการที่เจ้าของตรวจพบจะเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจได้ เพราะบางครั้งสัตว์เลี้ยงอาจไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นขณะที่ทำการตรวจ เช่น การไอเสียงเบาในลำคอร่วมกับมีอาการรุนแรงขึ้นในตอนกลางคืนและหายใจลำบาก หรือหัวใจเต้นเร็วร่วมกับชีพจรเบา มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ

การฟังที่ช่องอกก็ทำให้ทราบอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจได้ นอกจากนี้อาจมีการตรวจคลำดูลักษณะการเต้นของชีพจรว่ามีความดัง- เบาและสัมพันธ์กับการเต้นของหัวใจหรือไม่ เพราะสามารถใช้บ่งบอกถึงโรคของหัวใจบางอย่างได้ รวมถึงการฟังและการเคาะที่ช่องอกจะช่วยบ่งชี้สภาวะความผิดปกติของปอด เช่น มีน้ำ อากาศ ความแน่นทึบ ในช่องอกหรือไม่ 

2.ตรวจเลือดทั่วไป ตรวจค่าการทำงานของตับ ไต ตรวจโรคพยาธิหนอนหัวใจ

– การตรวจนับเม็ดเลือด เช่น กรณีที่สงสัยว่ามีโรคติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ

– การตรวจพยาธิหนอนหัวใจ (Heartworm Disease) ตรวจวัดระดับแอนติเจน (พยาธิหัวใจตัวแก่) หรือตรวจหาไมโครฟิลาเรีย (พยาธิหัวใจตัวอ่อนที่อยู่ในกระแสเลือด)  

– การตรวจค่าไต (Urea, Creatinine) ในกรณีที่สงสัยว่ามีปัญหาการทำงานของไต เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงที่ไตไม่พอ

– การตรวจวัดความผิดปกติของอิเล็กโตรไลต์

– การตรวจวัดเอ็นไซม์จากตับ (ALP, ALT) ในกรณีที่สงสัยว่ามีภาวะขาดออกซิเจน

– การตรวจวัดระดับ CPK ซึ่งอาจสูงจากการเกิด การเสื่อมหรือการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ

3.เอ็กซเรย์ช่องอก

เพื่อประเมินขนาดหัวใจและปอดว่ามีความปกติหรือไม่ การเอ็กซเรย์ช่องอกและส่วนคอเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากในการวินิจฉัยแยกโรคหัวใจออกจากโรคระบบทางเดินหายใจ โดยจะเอ็กซเรย์ในขณะที่น้องหมาหายใจเข้าลึกที่สุด 2 ท่า คือ ท่านอนหงายและนอนตะแคง ภาพเอ็กซเรย์จะทำให้เราสามารถเห็นสภาพของปอด หลอดลม เส้นเลือดในปอด และช่องอก ซึ่งบอกถึงความผิดปกติที่อาจเกิดจากโรคของระบบทางเดินหายใจและโรคหัวใจได้

4.ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีความสำคัญในน้องหมาบางตัวที่ตรวจพบการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอซึ่งอาจเกี่ยวเนื่องกับโรคของปอดหรือโรคของหัวใจเองที่ไม่สามารถตรวจพบจากการเอ็กซเรย์ช่องอก เช่น เกิดความผิดปกติของการนำกระแสประสาทหัวใจหรือมีการขยายใหญ่ของหัวใจ

5.อัลตร้าซาวด์หัวใจ

เพื่อดูโครงสร้างภายในของหัวใจที่อาจมีความผิดปกติ เช่น การปิดไม่สนิทของลิ้นหัวใจ การรั่วของผนังห้องหัวใจ หรือการตีบแคบของหลอดเลือดที่หัวใจ การมีน้ำในถุงหุ้มหัวใจ เป็นต้นนอกจากนี้ยังสามารถใช้วัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ การบีบตัวและการคลายตัวได้

โรคหัวใจในสุนัขสามารถรักษาได้หรือไม่

โรคหัวใจในสุนัขสามารถรักษาได้ แต่อาจจะไม่มีการรักษาแบบใดที่สามารถรักษาโรคหัวใจของสุนัขได้ทุกชนิด ทั้งนี้ ความสำเร็จของการรักษาโรคหัวใจสุนัขขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ โดยสัตว์ที่ป่วยโรคหัวใจสามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยการออกกำลังกาย การใช้ยา รวมถึงการเลือกกินอาหารที่ถูกต้องร่วมกับคำแนะนำจากสัตวแพทย์ แต่การตรวจพบปัญหาโรคหัวใจในระยะแรก ๆ จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะจะเป็นการช่วยรักษาชีวิตน้องหมาได้เร็ว ทำให้น้องอยู่กับเราได้อีกนาน

ข้อควรระวัง อาการระยะเริ่มแรกของโรคหัวใจอาจไม่แสดงออกมาอย่างเด่นชัด ดังนั้นถ้าหากใครสงสัยว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจควรนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ทันทีนะคะ

วิธีดูแลสุนัข เป็นโรคหัวใจ

 
โรคหัวใจเป็นโรคที่สามารถเกิดได้บ่อยในสุนัข โดยแบ่งออกเป็นโรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิดและเป็นตามมาทีหลังเมื่อสุนัขอายุมากขึ้น

  1. โรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด (congenital heart diseases)

เช่น การคงอยู่ของหลอดเลือดที่เชื่อมระหว่างเส้นเลือดที่ออกจากหัวใจและเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่ ในขณะที่เป็นตัวอ่อน (patent ductus arteriosus) ความผิดปกติของผนังกั้นหัวใจห้องซ้ายและขวา (septal defect) ลิ้นหัวใจตีบ (vascular stenosis) เป็นต้น

  1. โรคหัวใจที่เกิดตามมาทีหลัง (acquired heart disease)

โรคหัวใจในกลุ่มนี้สามารถเจอได้บ่อยในสุนัขโดยเฉพาะ เมื่อสุนัขอายุมากขึ้น เช่น โรคนี้มักเจอในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น Poodle, Shi Tzu เป็นต้น โรคหัวใจโตแบบขยายใหญ่ออกด้านนอก (dilated cardiomyopathy) โรคนี้มักเจอในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น cocker spaniels, Dalmatians, Doberman Pinschers, Great Danes, Golden Retrivers เป็นต้น

อาการ

อาการของโรคหัวใจนั้นบ่งบอกได้ยาก เพราะมักคล้ายคลึงกับความผิดปกติของโรคอื่นๆ แต่หากเจ้าของสังเกตพบอาการเหล่านี้ นั่นอาจแสดงว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีความผิดปกติของหัวใจ

วิธีดูแลสุนัข เป็นโรคหัวใจ
วิธีดูแลสุนัข เป็นโรคหัวใจ

อาการระยะเริ่มแรกของโรคหัวใจอาจไม่แสดงออกมาอย่างเด่นชัด ถ้าสัตว์เลี้ยงมีอาการมากกว่า 2 ข้อขึ้นไป แสดงว่าสัตว์เลี้ยงของคุณอาจมีภาวะเสี่ยงของโรคหัวใจ ดังนั้น หากเจ้าของเริ่มสังเกตอาการดังกล่าวโดยเฉพาะสุนัขที่มีอายุมาก ให้รีบพามาพบสัตวแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาต่อไป

การตรวจวินิจฉัย  ประกอบด้วย

วิธีดูแลสุนัข เป็นโรคหัวใจ

  1. การตรวจร่างกายทั่วไป
  2. การตรวจนับเม็ดเลือดและค่าเคมีในเลือด
  3. การถ่ายภาพเอกซเรย์ช่องอก
  4. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  5. การตรวจอัลตราซาวน์หัวใจ
  6. การตรวจวิเคราะห์น้ำในช่องอกและช่องท้อง
  7. การตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น การฉีดสีเข้าหัวใจเพื่อดูการตีบแคบของลิ้นหัวใจ

การดูแลสุนัขที่มีปัญหาโรคหัวใจ (health management )

การดูแลสุนัขที่มีปัญหาโรคหัวใจ เป็นหน้าที่ของเจ้าของที่ต้องดูแลเพื่อให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอายุยืนยาว เนื่องจากโรคหัวใจเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งการดูแลสามารถทำได้ดังนี้

  1. ป้อนยาให้สม่ำเสมอและไปพบสัตวแพทย์ตามกำหนดนัด
  2. จำกัดปริมาณเกลือในอาหาร หรือให้อาหารสำหรับสุนัขที่มีปัญหาโรคหัวใจโดยตรง เนื่องจากมีการคำนวณสูตรอาหารและมีปริมาณเกลือในอาหารที่เหมาะสมกับสุนัขป่วยอยู่แล้ว การให้อาหารที่มีปริมาณเกลือมากจะทำให้เกิดการดึงน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายและทำให้สุนัขแสดงอาการของโรคมากขึ้น และทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้นด้วย
  3. จำกัดการออกกำลังกายโดยเฉพาะสุนัขที่มีปัญหาโรคหัวใจในระยะรุนแรงและสุนัขที่มีปัญหาหัวใจโต
  4. สังเกตความผิดปกติและรีบพบสัตวแพทย์ทันทีที่พบความผิดปกติ เช่น เป็นลมหมดสติ เยื่อเมือกคล้ำ

อาเจียน หายใจลำบาก เป็นต้น

การพยากรณ์โรค (Prognosis)
                  การพยากรณ์โรคสำหรับสุนัขที่มีปัญหาโรคหัวใจขึ้นอยู่กับขนาดของหัวใจ ระยะของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น การเจ็บป่วยที่สัตว์เป็นอยู่แล้ว และการดูแลเอาใจใส่ของเจ้าของ

ที่มารูป:

www.dopacer.com

www.merckmanuals.com

www.lifewithdogs.th

ผู้เรียบเรียง สพ.ญ. นัยนา สุขสันติลาภ (หมอพลอย)

โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์

Post a comment