ความรุนแรงแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง ม.3

เรื่องความรุนแรง from PamPaul

Show
จะเห็นได้ว่า “ความรุนแรง” ถ่ายทอดจากพ่อ แม่  ลูก  หลาน  เหลน ต่อไป  ถ้าเราปล่อยให้ความรุนแรงเกิดขึ้น  ไม่ว่าจะมากหรือน้อย  ความรุนแรงก็อยู่ในสังคมตลอดไป  จึงเป็นเหตุผลว่า เราต้องป้องกันมิให้ความรุนแรงแพร่ขยายถ่ายทอดเป็นวัฎจักรที่ไม่ดีไปเรื่อย ๆ       อะไรคือความรุนแรง?

อะไรคือความรุรแรง  คลิกที่นี่เพื่ออ่าน

1.  นักเรียนศึกษาเรื่องความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน  และตอบคำถามครูลงในช่องแสดงความคิดเห็น ดังนี้
       1.1. ความรุนแรงแบ่งเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง อย่างไร
       1.2. ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีอะไรบ้าง อย่างไร
       1.3. ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเกิดจากสาเหตุใด
       1.4. ความรุนแรงในครอบครัวก่อให้เกิดผลอย่างไร 

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Related

เขียนใน กิจกรรมเพศพัฒนาที่ 2

  • กิจกรรมนักเรียนปี 2555
  • กิจกรรมสำหรับครูผู้สอน
    • หน่วยการเรียนรู้เรื่องเพศพัฒนา
      • 1.วิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้
      • 2.การวิเคราะห์นักเรียน
      • 3.การจัดทำแผนการเรียนรู้
      • 4.เกณฑ์วัดผลประเมินผลการเรียนรู้
      • 5.แบบบันทึกผลหลังสอน
  • กิจกรรมสำหรับนักเรียน
    • กิจกรรมเพศพัฒนาที่ 1
    • กิจกรรมเพศพัฒนาที่ 2
    • กิจกรรมเพศพัฒนาที่ 3
    • กิจกรรมเพศพัฒนาที่ 4
    • กิจกรรมเพศพัฒนาที่ 5
    • กิจกรรมเพศพัฒนาที่ 6
  • ผลงานนักเรียน
    • กิจกรรมที่ 3
  • รวมผลการจัดกิจกรรมปีการศึกษา 2553
    • การสอนเพศพัฒนา สำหรับครูผู้สอน
      • หน่วยที่ 1 เรื่องส่วนตัว
        • แผนที่ 1 อนามัยเจริญพันธุ์
        • แผนที่ 2 อารมณ์และความเครียด
      • หน่วยที่ 2 ครอบครัวของเรา
        • แผนที่ 1 สัมพันธภาพ
        • แผนที่ 2 วัยผู้ใหญ่
        • แผนที่ 3 ปัญหาครอบครัว
    • กิจกรรมการเรียนเพศพัฒนา สำหรับนักเรียน
      • กิจกรรมที่ 1 เรื่องส่วนตัว
        • 1.อนามัยเจริญพันธุ์
        • 2.อารมณ์และความเครียด
      • กิจกรรมที่ 2 ครอบครัวของเรา
        • 1.สัมพันธภาพ
        • 2.วัยผู้ใหญ่
        • 3.ปัญหาครอบครัว
    • กิจกรรมวัดผลประเมินผล
      • 1.เรื่องส่วนตัว
      • 2.ครอบรอบครัวของเรา
    • กิจกรรมเสริมเพศศึกษา
      • หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
      • หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
      • หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
      • หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
    • ผลงานนักเรียน
  • เรื่องจิปาถะ นานาสาระ
    • บทกวี
    • บทความสุขภาพ
    • สารเสพติด
    • อาหารและโภชนาการ
  • โครงงานสุขภาพ
  • Socail Media
    • สมัคร E- mail และ Twitter
    • สร้างBlog ด้วยWordpress

...ความรุนแรง - Violence… ความรุนแรง หมายถึง การกระทำที่เป็นความจงใจใช้กำลังหรืออำนาจทางกายข่มขู่ คุกคาม ทำร้ายตนเอง...

Posted by Psychology CU on Tuesday, December 19, 2017

พฤติกรรมเสี่ยง พฤติกรรมที่เป็นสาเหตุให้เกิดความเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิต อาจทำให้ร่างกายได้รับอันตรายสูญเสียหน้าที่ ขาดโอกาสพัฒนาตามปกติ พิการ หรือเสียชีวิต

สถานการณ์เสี่ยง เหตุการณ์ที่กำลังจะดำเนินไปสู่ความอันตราย ความไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ชีวิต และทรัพย์สิน

•ปัจจุบันเยาวชนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงหลายประการ เช่น การเสพสารเสพติด การเล่นการพนัน การทะเลาะวิวาท การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงได้ โดยขอยกพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยงต่อความรุนแรงเพียงบางประเด็น ดังนี้

การเสพสารเสพติด

•สารเสพติดนับเป็นปัญหาสำคัญของประเทศชาติ แม้ว่าจะมีการรณรงค์ป้องกัน และปราบปรามอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ตาม แต่ก็ยังมีเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่ตกเป็นทาสของสารเสพติดเนื่องมาจากปัญหาครอบครัวและสภาพแวดล้อม

ผลกระทบของสารเสพติดที่ก่อให้เกิดความรุนแรง

•นำไปสู่การก่ออาชญากรรมต่างๆ เช่น ลักขโมย ทำร้ายผู้อื่น เป็นต้น เนื่องจากเมื่อเสพสารเสพติดเป็นระยะเวลานาน

•ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย และจิตใจ มีผลต่อระบบประสาท ทำให้ผู้เสพสารเสพติดขาดสติไม่สามารถควบคุมตนเองได้ และขาดการยั้งคิด จึงนำไปสู่การทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น ดังปรากฏ เป็นข่าวตามสื่อต่างๆ

การเล่นการพนัน

•โดยเฉพาะการเล่นพนันบอลที่วัยรุ่นสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพราะฟุตบอลเป็นกีฬาที่วัยรุ่นชื่นชอบอยู่แล้ว วัยรุ่นบางคนที่อาจเริ่มต้นเล่นพนันบอลด้วยคิดว่าเล่นแค่ความสนุกสนาน แต่ไม่นานก็จะเริ่มติดใจ ในที่สุดก็จะถลำลึกลงไป และอาจก่อให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงตามมา

ผลกระทบของการเล่นพนันบอลที่ก่อให้เกิดความรุนแรง

•นำไปสู่การเป็นผู้ขายสารเสพติดหรือค้าประเวณี เพื่อต้องการหาเงินมาใช้หนี้พนัน

•ก่อให้เกิดคดีอาชญากรรม เพราะผู้ติดการพนันมักจะทำทุกวิถีทาง เช่น ปล้น จี้ ลักขโมย เป็นต้น เพื่อให้ได้เงินมาเล่นการพนัน

•หากเป็นหนี้ เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระหนี้ จะถูกตามล่าตัวจากเจ้าหนี้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตนเองหรือบุคคลในครอบครัว

การทะเลาะวิวาท

•วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีอารมณ์รุนแรง ไม่ยอมใคร ขาดการยั้งคิดหรือยับยั้งอารมณ์ บางคนมีพฤติกรรมก้าวร้าว และมัก ใช้ความรุนแรงเพื่อเป็นทางออกในการแก้ปัญหา การก่อเหตุทะเลาะวิวาทที่เป็นประเด็นใหญ่ในปัจจุบัน คือ คู่กรณีที่แบ่งเป็นฝ่ายเป็นพวก ทำให้การแก้ปัญหามีความซับซ้อนและแก้ไขได้ยาก

ผลกระทบของการทะเลาะวิวาทที่ก่อให้เกิดความรุนแรง

•ส่งผลให้บุคคลรอบข้างพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย เช่น บาดเจ็บ เสียชีวิต เป็นต้น เนื่องจากวัยรุ่นอาจใช้อาวุธในการต่อสู้กัน

•อาจถูกลงโทษ หรือดำเนินคดีตามกฎหมายตั้งแต่อายุยังน้อย

•ส่งผลให้เป็นคนหวาดระแวง เพราะคิดว่าผู้อื่นเป็นศัตรูกับตนอยู่ตลอดเวลา

การเล่นเกมคอมพิวเตอร์

•ปัญหาเยาวชนติดเกมคอมพิวเตอร์ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีเด็กจำนวนมากหนีโรงเรียนหรือขโมยเงินของพ่อแม่ไปเล่นเกมคอมพิวเตอร์ตามร้านเกม ซึ่งก่อให้เกิดปัญหายาเสพติด การมั่วสุมอบายมุข เสียการเรียน เป็นต้น

ผลกระทบของการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่ก่อให้เกิดความรุนแรง

•ส่งผลให้เกิดความเครียด เพราะผู้เล่นเกมคอมพิวเตอร์ต้องหาวิธีการเอาชนะคู่ต่อสู้ให้ได้ จึงต้องครุ่นคิดหาเทคนิคในการต่อสู้ตลอดเวลา

•แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวเลียนแบบความรุนแรงจากเกมคอมพิวเตอร์

•นำไปสู่การกระทำความผิด เช่น ลักขโมยวิ่งราว จี้ ปล้น เป็นต้น และอาจนำไปสู่วงจรการขายสารเสพติด เพื่อหาเงินมาเล่นคอมพิวเตอร์

แนวทางป้องกันปัญหาความรุนแรง

แนวทางป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

ความรุนแรงในครอบครัวเป็นสิ่งที่นำความทุกข์ ความเครียด มาให้กับครอบครัว ดังนั้นเราจึงควรหาแนวทางป้องกันปัญหา เพื่อให้ครอบครัวเกิดความสงบสุข และเพื่อความสุขของคนในครอบครัว โดยแนวทางป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มีดังนี้

•สมาชิกในครอบครัวต้องปฏิบัติต่อกันด้วยความรัก ความจริงใจ และความเอื้ออาทร

•เอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกัน ให้อภัยเมื่อคนในครอบครัวทำความผิด

•หาโอกาสพูดคุยกันในครอบครัว และพูดคุยกันด้วยเหตุผล

•แสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ที่แท้จริงออกมาอย่างตรงไปตรงมา ดีกว่าที่จะใช้อารมณ์ พูดถากถาง เสียดสี หรือประชดประชันกัน

•ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น การออกกำลังกายด้วยกัน รับประทานอาหารร่วมกัน ไปเที่ยวด้วยกัน เป็นต้น

แนวทางป้องกันปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน

ความรุนแรงในโรงเรียนมักจะเกิดขึ้นระหว่างนักเรียนกับนักเรียน และระหว่างครูกับนักเรียน ทั้งที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและนอกโรงเรียน แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียน เพราะสิ่งเหล่านี้ อาจหล่อหลอมให้นักเรียนมีพฤติกรรมความรุนแรง และออกไปก่อความรุนแรงนอกสถานศึกษาได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน มีดังนี้

•สมาชิกในครอบครัวต้องปฏิบัติต่อกันด้วยความรัก ความจริงใจ และความเอื้ออาทร

•เอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกัน ให้อภัยเมื่อคนในครอบครัวทำความผิด

•หาโอกาสพูดคุยกันในครอบครัว และพูดคุยกันด้วยเหตุผล

•แสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ที่แท้จริงออกมาอย่างตรงไปตรงมา ดีกว่าที่จะใช้อารมณ์ พูดถากถาง เสียดสี หรือประชดประชันกัน

•ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น การออกกำลังกายด้วยกัน รับประทานอาหารร่วมกัน ไปเที่ยวด้วยกัน เป็นต้น

แนวทางป้องกันปัญหาความรุนแรงในสังคม

ความรุนแรงในสังคม เป็นความรุนแรงที่พบเห็นได้บ่อยมากตามข่าวของสื่อมวลชน เป็นการกระทำรุนแรงต่อร่างกายและจิตใจ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าล้างแค้น ล่วงละเมิดทางเพศ การใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรม แนวทางการป้องกันปัญหาความรุนแรงในสังคม มีดังนี้

•การฝึกจิตสาธารณะเพื่อเสริมสร้างจิตลักษณะ ทำความดี มีสำนึกต่อส่วนรวม พร้อมช่วยเหลือผู้อื่นตามความสามารถและด้วยความบริสุทธิ์ใจ

•การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันโดยสงบสุข ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีความเอื้ออาทร มีความไว้วางใจกัน

•จัดการคุ้มครองความปลอดภัยแก่สตรี เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส

•ออกกฎหมายควบคุมการพกพาและมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง

•ป้องกันการค้าอาวุธ และการค้าผิดกฎหมายอย่างเข้มแข็ง ใช้เวลาว่างในทางสร้างสรรค์

•ติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ก่อการร้าย และเตือนภัยแก่ประชาชนล่วงหน้าถึงการก่อการร้าย

•จัดกำลังเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรม

•หลีกเลี่ยงจากการเป็นเหยื่อของความรุนแรงในสังคม ไม่นำตนเข้าไปเสี่ยงในสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ

ทักษะการตัดสินใจและการแก้ปัญหาในสถานการณ์เสี่ยงต่อความรุนแรง

ทักษะการตัดสินใจ เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตได้อย่างมีระบบ โดยประเมินทางเลือกและผลที่ได้จากการตัดสินใจเลือกทางที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

ทักษะการแก้ปัญหาเป็นความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีระบบ ทำให้ไม่เกิดความตึงเครียดทางกายและจิตใจ จนอาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้

•การทำความเข้าใจในกระบวนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการตัดสินใจที่ผิดพลาด สามารถตัดสินใจได้ทันเวลา และส่งผลกระทบต่อบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องน้อยที่สุด

•การแก้ปัญหาเป็นกระบวนการของความพยายามที่บุคคลร่วมกันพิจารณาอย่างสุขุมรอบคอบ เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ จนทำให้การดำเนินการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยทั่วไปแล้วกระบวนการแก้ปัญหาจะมีด้วยกันทั้งหมด 6 ขั้นตอน

1.จำแนกแยกแยะปัญหาหรือเป้าหมาย

2.กำหนดทางเลือกของการแก้ปัญหา

3.จัดตั้งวัตถุประสงค์

4.ตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับบรรทัดฐานมากที่สุด

5.ดำเนินการแก้ปัญหา

6.ประเมินผลการแก้ปัญหา

การจัดกิจกรรมป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรง

การจัดกิจกรรมป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงในครอบครัว

•รับประทานอาหารร่วมกัน อาจใช้เวลาช่วงมื้อเย็นในวันหยุด เนื่องจากสมาชิกอยู่พร้อมหน้ากัน

•หาเวลาพักผ่อน หรือไปเที่ยวร่วมกันอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

•ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เช่น ดูโทรทัศน์ ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ เป็นต้น

การจัดกิจกรรมป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน

•โรงเรียนควรจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เข้มแข็ง โดยเพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชน และผู้ปกครอง

•จัดกิจกรรมในชั้นเรียน โดยครูอาจยกกรณีตัวอย่างการใช้ความรุนแรงที่เป็นเหตุการณ์สมมติ หรือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงนำมาเล่าให้นักเรียนฟังการจัดกิจกรรมป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงในสังคม

•รวมกลุ่มกันระหว่างคนในชุมชน หากพบเห็นผู้ที่อาจมีการใช้ความรุนแรง ให้แจ้งเหตุแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้รับทราบ

•จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในชุมชน เช่น การแข่งขันกีฬา การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม