ไทยกับพม่ารบกันในสมัยอยุธยากี่ครั้ง

ไทยกับพม่ารบกันในสมัยอยุธยากี่ครั้ง

กรุงศรีอยุธยาได้พัฒนาในทุก ๆ ด้านมาโดยลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงจัดระบบการปกครอง ให้เป็นปึกแผ่น เข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นรากฐาน ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาได้พัฒนาต่อไปตามลำดับมาถึงรัชสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราชทรงปรับปรุงด้านการทหาร รวบรวมหัวเมืองอิสสระน้อยใหญ่มาอยู่ในอำนาจของ อาณาจักรอยุธยา ทำสงครามกับลานนายึดเมืองเชียงใหม่ได้ ในห้วงเวลาเดียวกันมอญ ได้ถูกพม่ารุกรานจนต้องตกอยู่ในอำนาจของพม่า ซึ่งกำลังทำสงคราม แผ่อาณาจักรอยู่ มีมอญส่วนหนึ่งจากเมืองเชียงกราน หนีพม่าเข้ามาพึ่งไทย

ไทย-พม่ารบกันมากว่า ๓๐๐ ปี สั่งเสียครั้งสุดท้ายสมัย ร.๔! ตีเชียงตุงหวังได้สิบสองปันนา!!

เผยแพร่: 26 ก.ค. 2562 11:14   โดย: โรม บุนนาค


ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นยุคที่เราเปิดประเทศต้อนรับตะวันตกทุกชาติ แต่กระนั้นก็ยังมีสงครามระหว่างไทย-พม่าอีกจนได้ ซึ่งเป็นสงครามเดียวในรัชกาลนี้ เป็นสงครามครั้งที่ ๔๔ ระหว่างไทยกับพม่า และเป็นครั้งสุดท้ายที่รบราฆ่าฟันกันตลอดมากว่า ๓๐๐ ปี

สงครามครั้งนี้ไม่ใช่พม่าเป็นฝ่ายบุกเข้ามาเหมือนส่วนใหญ่ที่รบกัน แต่ไทยบุกขึ้นไปเหนือสุดจนถึงเมืองเชียงตุง ตามคำขอของราชวงศ์เชียงรุ้งที่อพยพหนีพม่ามาขอความช่วยเหลือจากไทยในสมัยรัชกาลที่ ๓ ครั้งนั้นประเทศราชในมณฑลพายัพพากันอาสาไปตีเชียงตุง จึงโปรดให้กองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูนยกขึ้นไปในปี ๒๓๙๒ แต่ยกไปไม่พร้อมกันทั้งยังขาดเสบียงจึงต้องเลิกทัพกลับมา จนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเสด็จสวรรคต เรื่องตีเมืองเชียงตุงจึงค้างอยู่
เมื่อขึ้นรัชกาลที่ ๔ เจ้าฟ้าแสนหวีได้มีสาส์นมากราบทูลว่า การจลาจลวุ่นวายในเมืองเชียงรุ้งนั้นสงบลงแล้ว ขอพระราชทานอนุญาตให้เจ้านายเชียงรุ้งที่มารอฟังข่าวอยู่ที่กรุงเทพฯถึง ๓ ปี และมีครอบครัวมาคอยอยู่ที่เมืองน่านและเมืองหลวงพระบางซึ่งอยู่ในความปกครองของไทยก็มีมาก ให้กลับคืนบ้านเมือง และเจ้าเมืองเชียงรุ้งจะถวายเครื่องราชบรรณาการ ๓ ปีครั้งอย่างประเทศราชอื่นต่อไป

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯมีพระราชดำรัสว่า ราชวงศ์เชียงรุ้งกับบริวารหนีภัยมาพึ่ง เมื่อบ้านเมืองเรียบร้อยแล้วใครประสงค์จะกลับไปก็ตามใจสมัคร ส่วนการจะตีเมืองเชียงตุงและเรื่องที่จะผูกพันกับเชียงรุ้งต่อไปอย่างไรนั้น ก็โปรดฯให้เสนาบดีปรึกษาหารือกันนำความขึ้นกราบบังคมทูล ซึ่งเหตุที่พระองค์ไม่ทรงบัญชาเรื่องนี้ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเห็นว่า การทำศึกสงครามเป็นวิชาที่พระองค์ไม่มีโอกาสได้ทรงศึกษามาเลย

ส่วนเรื่องเมืองเชียงรุ้งนั้น คงทรงเห็นเหมือนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโหล ซึ่งเคยมีพระราชดำริมาก่อนว่า เมืองลื้อสิบสองปันนาเคยขึ้นกับพม่าและจีน และอาศัยไทยเป็นที่พึ่งเมื่อถูกพม่าหรือจีนเบียดเบียน แต่ก็ยากที่ไทยจะไปช่วยได้ เพราะหนทางไกลกันและกันดารมาก แต่จะทรงปฏิเสธก็ยาก

เผอิญในตอนนั้นอังกฤษตีเมืองพม่าเป็นครั้งที่ ๒ เห็นว่าพม่าคงจะมาช่วยเชียงตุงไม่ได้ เสนาบดีทั้งหลายจึงกราบทูลให้ถือโอกาสไปตีเชียงตุง เมื่อได้เชียงตุงแล้วก็จะได้สิบสองปันนาด้วยไม่ยาก แต่การตีครั้งนี้ควรให้มีกองทัพกรุงเทพฯขึ้นไปควบคุมกองทัพมณฑลพายัพด้วย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงทรงบัญชาตามมติคณะเสนาบดี ให้เกณฑ์คนหัวเมืองพายัพ ๑๐,๐๐๐ จัดเป็น ๒ ทัพ ให้เจ้าพระยายมราช (นุช บุณยรัตพันธ์) คุมทัพหน้าไปทางเชียงใหม่ ๑ กองทัพ กับกรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นจอมพล คุมทัพหลวงไปทางเมืองน่านอีกทาง สมทบกันเข้าตีเชียงตุง กองทัพที่ยกไปครั้งนี้ตีหัวเมืองรายทางได้ตลอด จนเข้าล้อมเมืองเชียงตุง แต่ก็ฝ่ากำแพงเมืองเข้าไปไม่ได้ จนขาดแคลนเสียงอาหาร ต้องถอยทัพกลับมาตั้งหลักที่เชียงแสน

ในขณะนั้นได้มีการจัดทัพแบบยุโรปขึ้นในกรุงเทพฯแล้ว คณะเสนาบดีเห็นว่าเชียงตุงอ่อนกำลังลงแล้ว ควรจะเพิ่มกำลังทัพพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์เข้าตีเชียงตุงให้ได้ในฤดูแล้งปี ๒๓๙๖ แต่ตอนนั้นพม่าสงบศึกกับอังกฤษแล้วจึงส่งกำลังมาเสริมทางเชียงตุง แต่ฝ่ายไทยไม่รู้ อีกทั้งกองทัพเจ้าพระยายมราชยังยกไปไม่ทันกำหนด กองทัพของกรมหลวงวงศาธิราชสนิทเลยต้องเผชิญกับกองทัพพม่าที่มีกำลังมากกว่า ต้องถอยทัพกลับมา สงครามไทย-พม่าที่ยืดเยื้อมากว่า ๓๐๐ ปีจึงสิ้นสุดลงในครั้งนี้

กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงให้ความเห็นที่ไทยตีเมืองเชียงตุงไม่สำเร็จ ก็เพราะไปทำสงครามในดินแดนของข้าศึก ซึ่งไทยไม่รู้จักภูมิประเทศ ทั้งยังประมาทไม่ขวนขวายในการสืบสวนหาข้อมูลให้สมกับกระบวนพิชัยสงคราม แต่ถึงแม้จะตีเมืองเชียงตุงได้ก็คงรักษาไว้ไม่อยู่ ด้วยเป็นดินแดนที่ห่างไทยแต่ใกล้พม่ามากกว่านั่นเอง


ไทยกับพม่ารบกันในสมัยอยุธยากี่ครั้ง

ขณะที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของสยามนั้น มีการทำสงครามกับพม่าทั้งหมด 24 ครั้ง ดังนี้

ปี 2082 พม่ารุกรานเมืองเชียงกราน (ปะทะกันประปรายบริเวณชายแดน)
ปี 2091 พม่ารุกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ระหว่างที่เกิดการแย่งชิงราชบัลลังก์ในอยุธยา
ปี 2106 อยุธยาถูกโอบล้อมและยอมแพ้ หลังจากนั้นต้องยอมส่งเครื่องบรรณาการให้พม่า
ปี 2111 ราชธานีของกรุงศรีอยุธยาถูกพระเจ้ากรุงหงสาวดีเข้ายึดครอง
ปี 2127 สมเด็จพระนเรศวรทรงกู้อิสรภาพมาให้สยามประเทศ
ปี 2127 สยามสู้รบกับเจ้าเมืองพะสิม
ปี 2128 พม่าส่งอุปราชเมืองเชียงใหม่ไปต่อสู้กับชาวสยามที่บ้านสระเกศ
ปี 2133 พระมหาอุปราชแห่งพม่ายกทัพมาครั้งแรก
ปี 2135 สมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราช
ปี 2135 ชาวสยามยึดเอาเมืองทวายและตะนาวศรีของพม่าได้
ปี 2137 สมเด็จพระนเรศวรทรงตีเอาเมืองต่างๆ ของมอญได้
ปี 2138 สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพบุกเมืองหงสาวดีเป็นครั้งแรก
ปี 2142 สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพบุกเมืองหงสาวดีเป็นครั้งที่สอง
ปี 2147 เป็นสงครามครั้งสุดท้ายของสมเด็จพระนเรศวร พระองค์เสด็จสวรรคตระหว่างเคลื่อนทัพผ่านล้านนาเพื่อไปตีรัฐฉาน
ปี 2156 พม่าตีเมืองทวายและตะนาวศรี แต่ประเทศสยามสามารถกู้เมืองทั้งสองกลับคืนมาได้
ปี 2157 พม่าปิดล้อมและยึดครองเมืองเชียงใหม่
ปี 2205 พม่าเข้าโจมตีและยึดครองเมืองทวาย
ปี 2205 ประเทศสยาม (สมเด็จพระนารายณ์ฯ) ส่งเจ้าพระยาโกษาเหล็กเข้าปิดล้อมและยึดครองเมืองเชียงใหม่คืนระหว่างที่กรุงอังวะถูกจีนฮ่อโจมตี
ปี 2206 พม่าบุกมาทางด่านเจดีย์สามองค์เข้าสู่เมืองไทรโยกในอาณาเขตของสยามประเทศ
ปี 2207 ประเทศสยาม (สมเด็จพระนารายณ์) ตั้งกองทัพเป็น 3 ทัพเข้าโจมตีพม่า
ปี 2302 พม่ารุกรานและยึดครองเมืองท่าของมอญ และเข้าปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา
ปี 2307 พม่ายึดเอาท่าเรือของมอญอีกครั้ง ตามด้วยเมืองมะริดและเข้าโจมตีเมืองต่างๆ ทางใต้ของสยาม
ปี 2310 กองทัพพม่าจากเมืองล้านนาเข้าปิดล้อม บุกเข้าพิชิตชัยและทำลายกรุงศรีอยุธยา

   

ไทยกับพม่ารบกันในสมัยอยุธยากี่ครั้ง

ไทยกับพม่ารบกันในสมัยอยุธยากี่ครั้ง


ติดตามเรื่องราวต่อ 

ไทยกับพม่ารบกันมากี่ครั้ง

ตามเรื่องราวที่ปรากฎมาในพงษาวดาร เมื่อกรุงศรีอยุทธยาเป็นราชธานี ไทยได้ทำสงครามกับพม่า ๒๔ ครั้ง ต่อมาถึงเมื่อกรุงธนบุรีแลกรุงรัตนโกสินทรเปนราชธานี ได้ทำสงครามกับพม่าอิก ๒๐ ครั้ง รวมเปน ๔๔ ครั้งด้วยกัน ในจำนวนสงครามที่ว่ามานี้ ฝ่ายพม่ามาบุกรุกรบไทยบ้าง ฝ่ายไทยไปบุกรุกรบพม่าบ้าง จะว่าด้วยพม่ามาบุกรุกรบไทยก่อน การสงครามที่ ...

ไทยกับพม่ารบกันกี่ปี

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นยุคที่เราเปิดประเทศต้อนรับตะวันตกทุกชาติ แต่กระนั้นก็ยังมีสงครามระหว่างไทย-พม่าอีกจนได้ ซึ่งเป็นสงครามเดียวในรัชกาลนี้ เป็นสงครามครั้งที่ ๔๔ ระหว่างไทยกับพม่า และเป็นครั้งสุดท้ายที่รบราฆ่าฟันกันตลอดมากว่า ๓๐๐ ปี

พระนเรศวรรบกับพม่ากี่ครั้ง

ตลอดระยะเวลาที่เสด็จขึ้นครองราชย์ 15 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2133 จนเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2148 ทรงอุทิศเวลาเกือบตลอดรัชสมัย ให้กับการศึกสงคราม เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ให้กรุงศรีอยุธยาตลอดมา กล่าวกันว่าทรงนำทหารเข้ารบและทำศึกสงคราม มากกว่า 15 ครั้ง แต่การรบที่สำคัญและเด่นๆ มี 3 ครั้ง คือ เมื่อ พ.ศ. 2126 ที่ไป ...

สงครามไทยกับพม่าในสมัยรัตนโกสินทร์มีกี่ครั้งอะไรบ้าง

การทาสงครามกับพม่าครั้งสำคัญๆ เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ตลอดรัชกาลนี้มีการทำสงครามกับพม่าถึง 7 ครั้ง ที่สำคัญและหนักหน่วงที่สุดคือสงครามครั้งที่หนึ่ง ใน พ.ศ. 2328 ซึ่งเรียกกันว่า “ศึกเก้าทัพ” ที่พระเจ้าปดุงของพม่ายกทัพเข้ามา 5 ด้านรวม 9 ทัพ ทำให้