ขั้น ตอน การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ มี กี่ ขั้น

เริ่มต้นโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างไร


 1.  หาหัวข้อที่จะศึกษา
 พยายามคิดและหาสิ่งที่เราต้องการจะศึกษา ซึ่งอาจจะมาจากงานอดิเรกหรือปัญหาอื่นๆ ที่ผู้พัฒนาต้องการหาทางแก้ไข ซึ่งอาจจะมีเพียง 1 หรือ 2 เหตุการณ์
 2.  ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
 พยายามที่จะศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหัวข้อที่คิดไว้จากวารสารวิชาการ ห้องสมุด หรืออินเทอร์เน็ต สังเกตเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าว ค้นหาผลลัพธ์ที่ไม่สามารถอธิบายได้หรือผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิด พูดคุยปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญหรือบริษัทต่างๆ ในสาขาที่เกี่ยวกับหัวข้อที่ต้องการจะศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรง ตระเตรียมหรือสร้างเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการศึกษา
 3.  จัดการ
 จัดการรวบรวมทุกๆ สิ่งที่เรียนรู้มา  ในขั้นนี้ ผู้พัฒนาควรวิเคราะห์และสรุปความรู้ที่ได้รับอย่างเป็นระบบ และมุ่งเน้นลงไปที่แนวความคิดที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น โดยพยายามเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับกับปัญหาที่สนใจ เพื่อจะได้กำหนดขอบเขตของงานภายใต้เวลาที่มีและตั้งสมมติฐานได้
 4.  จัดตารางเวลา
 สร้างและกำหนดกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้พัฒนาจะต้องทำใส่ลงในกำหนดเวลา กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทดลองและการเก็บข้อมูลอาจจะต้องใช้เวลามาก เนื่องจากการทดลองเพียงครั้งเดียวหรือสองครั้งอาจจะไม่เพียงพอ ผู้พัฒนาควรจะวางแผนในการทำการทดลองซ้ำ ผู้พัฒนาไม่ควรลืมที่จะจัดสรรเวลาไว้สำหรับการเขียนรายงานและแสดงผลงานด้วย
 5.  วางแผนการทดลอง
 เมื่อผู้พัฒนามีแนวความคิดต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการศึกษาแล้ว จากนั้นให้ลองเขียนแผนการทดลอง โดยแผนการทดลองนี้ควรอธิบายถึงวิธีทำการทดลองและสิ่งที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นขั้นตอน โดยผู้พัฒนาอาจจะเลือกวิธีการอธิบานโดยแบ่งเป็นหัวข้อย่อยหรือเขียนขั้นตอนของกระบวนการทำงานออกมาเป็นขั้นตอนชัดเจน
 6.  ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา
 การทำโครงงานที่ดี การสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้พัฒนาควรหาเวลาพูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับโครงงานที่จะทำและแผนการทดลอง
 7.  ทำการทดลอง
 ออกแบบการทดลองด้วยความรอบคอบ ในขณะทำการทดลอง ควรจดบันทึกรายละเอียดทุกอย่างที่เกี่ยวกับการทดลอง การวัดผลและสิ่งที่สังเกตได้  อย่ามั่นใจในความจำของเรามากเกินไป เพราะอาจหลงลืมได้  การทำการทดลองควรเป็นไปอย่างรอบคอบ ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงตัวแปรควรที่จะเปลี่ยนทีละตัวแปร และทำการทดลองควบคุมด้วยซึ่งตัวแปรทุกชนิดไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง  ควรมีจำนวนตัวอย่างเพียงพอที่จะทำการทดลอง  ในแต่ละการทดลอง ควรมีจำนวนตัวอย่างอย่างน้อย 5 ตัวอย่าง
 8.  ตรวจสอบผลการทดลอง
 เมื่อทำการทดลองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้พัฒนาควรจะต้องตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ วิเคราะห์ดูว่าผลการทดลองเป็นไปตามที่คาดไว้หรือไม่ อย่างไร  การทดลองแต่ละครั้งมีขั้นตอนการทดลองเหมือนกันหรือไม่  มีคำอธิยายอื่นๆ อีกหรือไม่ที่ผู้พัฒนายังนึกไม่ถึง  การสังเกตการณ์การทดลองแต่ละครั้งมีข้อผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่  การทำความเข้าใจถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น  และวิเคราะห์ข้อผิดพลาดนั้นอาจจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ควรทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิตเพื่อสนับสนุนผลงานด้วย
 9.  สรุปผลการทดลอง
 ผู้พัฒนาอาจจะสรุปผลการทดลองของตนโดยการระบุถึงตัวแปรที่สำคัญ การเก็บข้อมูลให้เพียงพอ และสรุปว่า การทดลองนั้นๆ ยังจำเป็นที่ต้องทดลองต่อไปอีกหรือไม่  ผู้พัฒนาควรเปิดใจกว้าง ไม่ควรเปลี่ยนแปลงผลการทดลองเพียงเพื่อให้ตรงกับทฤษฎีที่ได้เรียนรู้มา  การทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ ไม่จำเป็นที่ผลการทดลองจะต้องตรงกับสมมติฐานที่ตั้งไว้  เพราะการทดลองนี่ถือเป็นเพียงการพิสูจน์สมมติฐานเท่านั้น

แต่การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพียงในชั้นเรียนตามเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรเท่านั้น ไม่อาจช่วยให้จุดมุ่งหมายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลโดยสมบูรณ์ได้ ทั้งนี้เพราะครูจำเป็นจะต้องสอนเนื้อหาต่าง ๆ ในหลักสูตรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด นักเรียนจึงไม่ค่อยมีโอกาสมีประสบการณ์ตรงในการใช้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วนทุกขั้นตอนในกระบวนการเรียนรู้

ขั้น ตอน การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ มี กี่ ขั้น

การให้นักเรียนกระทำกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมให้จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสัมฤทธิ์ผลโดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะในการทำโครงงาน นักเรียนจะได้มีโอกาสดำเนินการศึกษา จะศึกษาเอง การวางแผนการศึกษาเพื่อตอบปัญหานั้น ๆ ด้วยตนเอง ออกแบบการทดลองหรือวิธีการศึกษาด้วยตนเอง ลงมือทดลองเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน

ตลอดจนสรุปผลของการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาและชี้แนะ สรุปได้ว่านักเรียนจะมีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงในกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ทุกขั้นตอน มีโอกาสได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณสมบัติอื่น ๆ ให้แก่นักเรียนด้วย เช่น ความเป็นคนช่างสังเกต มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีวินัยและซื่อสัตย์ในการทำงาน มีความละเอียดรอบคอบ มีความรับผิดชอบ ยอมรังฟังคำติชมและความคิดเห็นของผู้อื่น มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ รู้จักแบ่งเวลาในการทำงานและการกระทำกิจกรรมอื่น ๆ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นต้น

4. ประเภทต่าง ๆ ของโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ

  • 4.1 โครงงานประเภทการสำรวจ
  • 4.2 โครงงานประเภทการทดลอง
  • 4.3 โครงการประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์
  • 4.4 โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎีหรือ คำอธิบายสิ่งต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ ๆ โดยมีหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือทฤษฎีอื่น ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ สนับสนุน ทฤษฎีหรือคำอธิบายดังกล่าวอาจใหม่ หรือขัดแย้ง หรือขยายแนวความคิด หรือคำอธิบายเดิมที่มีผู้ให้ไว้ก่อนแล้วก็ได้ อาจเป็นการอธิบายปรากฏการณ์เก่าในแนวใหม่ อาจเสนอในรูปของคำอธิบาย สูตร หรือสมการก็ได้ แต่จะต้องมีข้อมูลหรือทฤษฎีอื่นมาสนับสนุนอ้างอิง

    โครงงานวิทยาศาสตร์มีกี่เรื่อง

    1. โครงงานประเภทการทดลอง 2. โครงงานประเภทการสำรวจรวบรวมข้อมูล 3. โครงงานประเภทการสร้างสิ่งประดิษฐ์ 4. โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีและหลักการ

    ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์คืออะไร

    ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดและยากที่สุด ตามหลักการแล้วนักเรียนควรจะเป็นผู้คิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษาด้วยตนเอง แต่ครูอาจมีบทบาทหรือมีส่วนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถคิดหัวข้อเรื่องได้ด้วยตนเอง ดังจะได้กล่าวต่อไป

    ขั้นตอนการทำโครงงานมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

    เรื่องที่ 2 ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์.
    ขั้นสำรวจหรือตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะทำ ... .
    ขั้นศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตัดสินใจทำ ... .
    ขั้นวางแผนดำเนินการ ... .
    ขั้นเขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์ ... .
    ขั้นลงมือปฏิบัติ ... .
    ขั้นเขียนรายงานโครงงาน ... .
    ขั้นเสนอผลงานและจัดแสดงผลงานโครงงาน.

    โครงงานวิทยาศาสตร์ 5 บท มี อะไรบ้าง

    6. เนื้อเรื่อง บทที่1 บทนำ บทที่2 เอกสำรและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่3 วิธีดำเนินโครงกำร/วิธีดำเนินกำรวิจัย บทที่4 ผลกำรทดลอง/วิจัย และกำรวิเครำะห์ข้อมูล บทที่5 สรุป อภิปรำยและข้อเสนอแนะ