ไลน์แมนหักกี่เปอร์เซ็นต์จากร้านค้า 2565

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ธุรกิจขายอาหารในปัจจุบันต้องพึ่งพาบริการ App Delivery มากขึ้น เพราะช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย สร้างรายได้มากกว่าแค่การขายหน้าร้านปกติ หรือต้นทุนในการที่ต้องไปส่งด้วยตนเอง แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วการใช้ระบบดังกล่าวนั้นจะมีค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า ค่า GP เกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำความเข้าใจอย่างถูกต้องเพื่อจะได้คำนวณต้นทุนของรายการสินค้านั้น ๆ ว่าคุ้มค่าหรือไม่ ลองศึกษา ค่า GP คืออะไร กันดีกว่าค่ะ

ค่า GP คืออะไร

“ค่า GP คือ Gross Profit เป็นค่าใช้จ่ายที่ทางร้านต้องเสียให้กับบริการส่งอาหาร” เทียบแล้วก็คล้ายกับค่าดำเนินการที่บรรดาแพลตฟอร์มต่าง ๆ เรียกเก็บเพื่อเอาไว้โปรโมต หรือนำเสนอโปรโมชั่นต่าง ๆ ให้ลูกค้าสนใจในการสั่งซื้อมากขึ้น โดยแอปพลิเคชันแต่ละรายก็จะเรียกค่า GP ต่างกันออกไป  ปกติหากเป็นร้านอาหารดัง มีชื่อเสียง คนรู้จักอยู่แล้ว GP จะมีอัตราไม่แพงมากนัก อย่างไรก็ตามต้นทุนโดยเฉลี่ยของค่า GP นี้จะอยู่ราว 30-35% 

วิธีคำนวณ ค่า GP ของร้านอาหาร

เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน และสามารถควบคุมต้นทุนพร้อมกำหนดราคาให้รายการอาหารแต่ละชนิดได้กำไรที่เหมาะสม ก็จำเป็นต้องรู้วิธีคำนวณค่า GP ของแอปฯ เหล่านี้ด้วยนะคะ ซึ่งในปัจจุบันแอปฯ แทบทั้งหมด จะมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เข้าไปด้วย ตรงนี้เองค่ะที่หลายคนสับสนว่า สรุปแล้วเราจะต้องจ่ายค่าบริการนี้ทั้งหมด 37% เชียวหรือ? คำตอบคือ ไม่ใช่ค่ะ


ไลน์แมนหักกี่เปอร์เซ็นต์จากร้านค้า 2565
ตัวอย่างการคำนวณ ค่า GP ของ Grab food

การคำนวณ VAT หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของแอปฯ ส่งอาหารนั้นจะคำนวณจาก รายได้ที่พวกเขารับจากรายการสั่งอาหารนั้น ๆ ไปเรียบร้อยแล้ว เช่น

  • รายการอาหารที่สั่ง 100 บาท หัก ค่า GP 30% = แอปฯ มีรายได้ 30 บาท
  • รายได้ 30 บาท จะหักอีก 7% = 2.1 บาท
  • หมายความว่าทางร้านอาหารจะมีต้นทุนใช้บริการจากรายการดังกล่าวอยู่ที่ 32.1 บาท ค่ะ

จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ใช้อัตรา 100 บาท ซึ่งเทียบเท่ากับค่าเปอร์เซ็นต์พอดี นั่นหมายความว่า ในการสั่งแต่ละรายการ ทางร้านสามารถใช้การคำนวณตามสูตรคือ ราคาขายของอาหาร – 32.1% = รายได้จริง 

สมมุติลองคำนวณอีกตัวอย่างนะคะ รายการอาหารที่ขายมีราคา 250 บาท หัก ค่า GP ที่รวม VAT 7% แล้ว ก็จะได้เป็น 250 – 32.1% = 169.75 บาท นี่คือรายได้ทั้งหมดจากการขายผ่านแอปฯ ส่งอาหารค่ะ (โดนหักไปทั้งสิ้น 80.25 บาท)





คราวนี้ลองมาดูต้นทุนที่ทางร้านคำนวณไว้คร่าว ๆ นะคะ สมมุติว่า ราคาสเต็ก 1 จาน 250 บาท หักค่า GP ไปแล้วก็จะเหลือ 169.75 บาท สมมุติต้นทุนอาหารคือ 150 บาท ก็จะเหลือกำไร 19.75 บาท เป็นต้น

แต่ละแอปหักค่า GP เท่าไหร่

เมื่อเข้าใจวิธีคำนวณแล้ว ลองมาดูกันสักนิดค่ะว่าแต่ละเจ้าใหญ่ที่เปิดบริการในประเทศไทยเป็นเท่าไหร่บ้าง

ไลน์แมนหักกี่เปอร์เซ็นต์จากร้านค้า 2565
การคิดค่า GP แต่ละแอพ

  • Grab หักค่า GP 30% โอนเงินหลังจากหักค่า GP ในวันถัดไป
  • Lineman หักค่า GP 30%  โอนเงินหลังจากหักค่า GP ในวันถัดไปหากมูลค่าเกิน 500 บาท
  • Shopee food หักค่า GP 30% โอนเงินหลักจากหักค่า GP ในวันถัดไป
  • Foodpanda หักค่า GP 32% โอนเงินตั้งแต่ภายใน 1, 7, 15 หรือ 30 วัน (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข)
  • Robinhood ไม่คิดค่า GP โอนเงินภายใน 1 ชั่วโมง
  • True Food ไม่คิดค่า GP (ถึงเดือนธันวาคม 2565)

จุดเด่นของแต่ละแอป Food Deliverly

  • Grab ยืนหนึ่งในเมืองหลวง เข้าตลาดไทยมาเป็นเดลิเวอรีเจ้าแรก มีผู้ใช้งานมากที่สุด จำนวนร้านอาหาร: 80,000 ร้าน
  • Lineman ด้วยความที่ไลน์แมนจับมือกับเว็บไซต์วงใน (Wongnai) – เว็บรีวิวอาหารอันดับหนึ่งของประเทศไทยที่มีข้อมูลร้านอาหารในกว่า 4 แสนร้าน ทำให้ LINE MAN Wongnai มีจำนวนร้านอาหารให้ลูกค้าได้เลือกเยอะ มีร้านอาหารที่เข้าร่วมมากกว่า 200,000 ร้าน
  • Shopee Food ในระยะเริ่มต้น จะมีโปรโมชั่นปลอดค่าแรกเข้า เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับลูกค้าในแพลตฟอร์ม
  • Foodpanda เน้นตลาดต่างจังหวัด ด้วยการรุกเข้าไปในกว่า 77 จังหวัด มีจำนวนร้านอาหารที่เข้าร่วม 120,000 ร้าน
  • Robinhood เป็นแบรนด์ที่พัฒนาโดยธนาคารไทยพาณิชย์ คอนเซปต์คือต้องการคืนกำไรให้สังคมผ่านเทคโนโลยี จึงไม่เก็บค่า GP ร้านอาหาร และจ่ายให้ร้านอาหารอย่างรวดเร็ว จำนวนร้านอาหารที่เข้าร่วม 80,000 ร้าน
  • True Food สามารถทรูพอยท์ มาลดค่าส่งอาหารได้ ถ้าใครเป็นลูกค้า Truemove ยิ่งจะได้ส่วนลดราคาพิเศษด้วย

แม้จะมีความสะดวกสบายในการได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น แต่ทางร้านก็จำเป็นต้องคำนวณต้นทุนให้ดีนะคะ เพื่อจะได้ไม่ขาดทุน และยังคงดำเนินธุรกิจของตนเองต่อไปได้

ใครที่อยากรู้ว่ามีร้านไหนในเชียงใหม่ที่มี Food Delivery อย่าลืมเข้าไปเช็คที่เว็บไซต์รีวิวเชียงใหม่ หรือคลิกตรงนี้ได้เลย นอกจากเรื่องนี้เรายังมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมาย ทั้งที่กิน ที่เที่ยว ที่พัก ไลฟสไตล์ มาอัปเดตให้กันอย่างสม่ำเสมอ

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

food delivery Foodpanda Gojek GP GrabFood Gross profit LINEMAN Robinhood ค่า Gp ค่า gp Delivery ค่า GP Delivery คือ ค่า GP foodpanda ค่า gp Grab ค่า GP Grab คือ ค่า gp Lineman ค่า GP Lineman ค่า gp lineman เท่าไหร่ ค่า gp คือ ค่า gp แต่ละแอป คำนวณค่า GP คำนวนค่าgp บริการส่งอาหารเชียงใหม วิธีคำนวณค่า GP เก็บค่าGp

Line Man หักกี่เปอร์เซ็นจากร้านค้า

ค่าบริการระบบ LINE MAN GP คิดเป็น 30% ของยอดขายทั้งหมดในวันนั้น = 10,000 x 30% = 3,000 บาท รวม VAT 7% ของค่าบริการระบบ GP = 3,000 + (7% x 3,000) = 3,210 บาท ดังนั้น ร้านค้าจ่ายค่าบริการระบบ GP อยู่ที่ : 3,210 บาท

ฟู้ ด แพนด้า หัก กี่ เปอร์เซ็นต์ 2565

ค่าคอมมิชชั่น : Foodpanda จะมีการคิดค่าคอมมิชชัน 32% จากมูลค่าของออเดอร์ทั้งหมดที่สั่งผ่าน Foodpanda และจะถูกหัก VAT 7% (สำหรับออเดอร์ที่ชำระบัตรเครคิต จะละเว้นค่าธรรมเนียม 3%) และ Foodpanda มีนโยบายการันตีราคา ร้านค้าจึงไม่สามารถเพิ่มราคาจากราคาปกติที่ลูกค้ารับประทานที่ร้านได้

Shopee Food หักร้านค้ากี่เปอร์เซ็นต์

Shopee Food หักค่า GP 30% | โอนเงินหลังหักค่า GP ในวันถัดไป foodpanda หักค่า GP 32% | โอนเงินตั้งแต่ 1, 7, 15, หรือ 30 วัน (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข) Robinhood ไม่คิดค่า GP | โอนเงินภายใน 1 ชั่วโมง true food ไม่คิดค่า GP | โอนเงินไม่ต้องรอข้ามวัน

Grab Food หักกี่เปอร์เซ็นต์ 2565

GrabFood เคยเก็บค่า GP สูงสุดที่เพดาน 35 เปอร์เซ็นต์ ของยอดขาย แต่ปัจจุบันเก็บในอัตรา 15-30 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย ด้าน LINE MAN เก็บ 30 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย แต่ก็มีทางเลือกให้ร้านไม่จ่ายค่า GP ได้ ส่วน gojek เก็บในอัตรา 30 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย และ foodpanda เก็บ 32 เปอร์เซ็นต์