คำสั่ง Countifs สามารถกำหนดเงื่อนไขการนับได้กี่คู่ช่วง/เกณฑ์

การนับอย่างมีเงื่อนไข หลายเงื่อนไข ด้วยสูตร countifs

สูตร Countifs() ของ Excel ใช้สำหรับการนับในกรณีที่ต้องการมีหลายเงื่อนไข เช่น นับจำนวนผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์ในแต่ละกลุ่มว่ามีกี่คน ในกรณีนี้ จะเห็นว่ามีการนับโดยใช้เกณฑ์กลุ่ม และเกณฑ์การสอบผ่าน เป็นต้น ถ้าใช้สูตร Countif  (ไม่มี s) จะนับได้เพียงเงื่อนไขเดียว เช่น นับว่าในกลุ่มนี้มีกี่คน หรือนับว่าจำนวนผู้ที่สอบผ่านทั้งหมดมีกี่คน แต่จะไม่สามารถให้นับเป็นกลุ่ม ๆ ได้ ถ้าต้องการนับเป็นกลุ่ม ๆ ว่า ในแต่ละกลุ่ม มีคนสอบผ่านกี่กคน ต้องใช้สูตร Countifs()

สูตร Countifs() ใช้กับ Excel 2007 ขึ้นไปเท่านั้น

รูปแบบการใช้สูตร Countifs

COUNTIFS(criteria_range1, criteria1, [criteria_range2,criteria2], …)

  • criteria_range1  คือช่วงเงื่อนไขที่ 1 ที่ต้องการให้นับ เช่น ช่วงที่เป็นชื่อกลุ่ม 
  • criteria1 คือเงื่อนไขของการนับ เงื่อนไขอาจจะเป็นข้อความ เช่น "แดง" "เขียว" เป็นต้น หรืออาจจะเป็นการอ้างอิงไปที่เซลล์ ก็ได้ เช่น B5 หรืออาจจะเป็นการเปรียบเทียบ เช่น มากกว่าหรือเท่ากับ 50 ก็ระบุเป็นเงื่อนไขว่า ">=50" เป็นต้น ขอให้สังเกตว่า ข้อความการเปรียบเทียบ หรือเครื่องหมายการเปรียบเทียบ และตัวเลข ต้องอยู่ในเครื่องหมายคำพูดเพื่อให้เป็นข้อความชุดเดียวกัน แต่ถ้ามีการอ้างอิงเซลล์ เช่น มีการระบุเกณฑ์การผ่านไว้ที่เซลล์ E3 ให้เขียนเงื่อนไขว่า ">=" &E3   คือใช้เครื่องหมาย & มาเชื่อมระหว่างเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์และการอ้างอิงเซลล์
  • criteria_range2, criteria2, ...    ช่วงเงื่อนไขและเกณฑ์อย่างที่ 2 เช่น ช่วงเงื่อนไขอาจจะเป็นคะแนนของแต่ละคน และเงื่อนไขคือคะแนนที่ต้องทำให้ผ่าน เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งาน Countifs() ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่าง คลิกที่นี่

จากภาพข้างล่าง ให้หาจำนวนผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์ 40 คะแนน ในแต่ละกลุ่ม โดยเขียนคำตอบในเซลล์ F2 และ F3

ถ้าดูจากข้อมูล จะเห็นว่า มีสมาชิกสีแดงอยู่ 4 คน สมาชิกสีเขียวอยู่ 3 คน ถ้าดูจากเกณฑ์การผ่าน 40 คะแนน จะเห็นว่า กล่มสีแดง มีผู้สอบผ่าน 40 คะแนน จำนวน 4 คน และกลุ่ม สีเขียว มีสมาชิกสอบผ่านเกณฑ์ จำนวน 1 คน เท่านั้น

วิธีการหา

  1. คลิกที่ F2 เพื่อหาจำนวนผู้สอบผ่านของกลุ่มสีแดง
  2. พิมพ์ที่ช่องสูตร =Countifs(
  3. ระบุช่วงเงื่อนไขแรก สำหรับเงื่อนไขแรก เราจะใช้กลุ่ม คือหากลุ่มสีแดงก่อน
  4. ให้ใช้เมาส์ลากช่วง B2 ถึง B8 ซึ่งเป็นช่วงที่แสดงชื่อกลุ่มของสมาชิกทุกคน จากนั้นให้กดปุ่ม F4 เพื่อไม่ให้ตำแหน่งการอ้างอิงเปลี่ยนแปลง จะเห็นว่ามีเครื่องหมาย $ เกิดขึ้น คือ
    =Countifs($B$2:$B$8
  5. พิมพ์เครื่องหมายคอมม่า และใช้เมาส์คลิกที่ เซลล์ E2 เพื่อระบุว่า เอาเฉพาะกลุ่มสีแดง จะได้ ดังนี้
    =Countifs($B$2:$B$8, E2
  6. ต่อไปเป็นการระบุช่วงเงื่อนไขที่ 2 คือคะแนน
  7. ให้พิมพ์เครื่องหมายคอมม่า และใช้เมาส์ลาก C2 ถึง C8 แล้วกดปุ่ม F4 เพื่อไม่ให้ตำแหน่งการอ้างอิงเปลี่ยนแปลง จะได้ดังนี้
    =Countifs($B$2:$B$8, E2, $C$2:$C$8
  8. เงื่อนไขคือ ต้องได้ 40 ขึ้นไป เลข 40 อยู่ที่เซลล์ C10 เราจะใช้การอ้างอิง เพื่อสามารถเปลี่ยนเกณฑ์ได้ง่าย
  9. ให้พิมพ์เครื่องหมายคอมม่า และพิมพ์ ">="&
  10. จากนั้นให้ใชเมาส์คลิกที่ C10 และกด F4
  11. พิมพ์เครื่องหมายวงเล็บปิด จะได้ทั้งหมด ดังนี้
    =Countifs($B$2:$B$8, E2, $C$2:$C$8,$C$10)
  12. กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้แล้วกดปุ่ม Enter หรือปุ่ม Enter อย่างเดียวก็ได้ จะเห็นผล ดังนี้

  13. ที่มุมล่างด้านขวาของเซลล์ F2 ให้ลากปุ่ม Auto Fill ลงมา เพื่อคัดลอกสูตร

  14. เมื่อปล่อยเมาส์ จะได้คำตอบตามต้องการ

  15. ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่าง คลิกที่นี่

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

การเตรียมสอบ ก.พ. ภาค ก. เพื่อสอบบรรจุเข้ารับราชการ มีการทดสอบความสามารถทั่วไป มักจะมี ข้อสอบที่เกี่ยวกับอุปมาอุปไมย  ข้อสอบมีลักษณะ ให้หาตัวเลือกที่มีความหมาย ความสัมพันธ์คล้ายคลึง หรือเหมือนกับที่โจทย์กำหนดให้มา  หรือเติมข้อความที่มีความหมายสอดคล้องกับคำอุปมาอุปไมยที่ยกมาให้ เป็นต้น ดังนั้น การเข้าใจความหมายของคำอุปมาอุปไมย จึงช่วยให้ทำข้อสอบได้ดียิ่งขึ้น คำอุปมาอุปไมย หมายถึง ถ้อยคำที่เป็นสำนวนพวกหนึ่ง กล่าวทำนองเปรียบเทียบ ให้เห็นจริง เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจน และสละสลวยน่าฟังมากขึ้น การพูดหรือการเขียน นิยมหาคำอุปมาอุปไมยมาเติมให้ได้ความชัดเจนเกิดภาพพจน์ เข้าใจง่าย เช่น คนดุ หากต้องการให้ความหมายชัดเจน น่าฟัง และเกิดภาพพจน์ชัดเจนก็ต้องอุปมาอุปไมยว่า “ดุ เหมือน เสือ” ขรุขระมาก การสื่อความยังไม่ชัดเจนไม่เห็นภาพ ต้องอุปมาอุปไมยว่า “ขรุขระเหมือนผิวมะกรูด” หรือ “ขรุขระเหมือนผิวพระจันทร์” ก็จะทำให้เข้าใจ ความหมายในรูปธรรมชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดาวน์โหลด App สอบ ก.พ. สำหรับ Android ฟรี ที่ Play Store ตามหลักสูตร ก.พ. ใหม่ มีแนวข้อสอบ มากกว่า 1,000 ข้อ มีเฉลยอย่างละเอียด มีคำอธ

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์

ครั้งที่แล้ว ได้แนะนำหลักการทำ ข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. ความสามารถทั่วไป เงื่อนไขสัญลักษณ์ มา แล้ว ถ้าใครยังไม่ได้อ่าน ก็คลิกกลับไปอ่านได้ ความจริง ข้อสอบเงื่อนไขสัญลักษณ์ เป็นข้อสอบไม่ยาก ถ้าเข้าใจหลักการ และมีทักษะความชำนาญ ใจเย็น ๆ อย่าตื่นเต้น โดยเฉพาะการดูเครื่องหมายต่าง ๆ อย่าดูผิด เช่น เครื่องหมายมากกว่า (>) น้อยกว่า (<) เป็นต้น เพราะการแก้ปัญหาโจทย์เงื่อนไขสัญลักษณ์ หรือ inequality ก็คล้ายกับการแก้ปัญหาสมการโดยทั่วไป นั่นเอง คือ สามารถบวก ลบ คูณ หาร ด้วยจำนวนที่เท่ากัน ทั้งสองข้างของเครื่องหมายได้ กลับเศษเป็นส่วนได้ แต่ก็มีบางเรื่อง บางรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้าง ซึ่งอ่านได้จาก ข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. ความสามารถทั่วไป เงื่อนไขสัญลักษณ์ นะครับ ครั้งนี้ จึงเป็นการนำแนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์ เพื่อนำมาฝึกทำให้เกิดทักษะความชำนาญ เพื่อจะได้ทำข้อสอบได้รวดเร็วขึ้น เพราะในห้องสอบ เวลาจัดได้ว่ามีค่ามาก ยิ่งทำเร็วและถูกต้อง ยิ่งดี ดาวน์โหลด App สอบ ก.พ. สำหรับ Android ฟรี ที่ Play Store ตามหลักสูตร ก.พ. ใหม่ มีแนวข้อสอบ มากกว่า 1,000 ข้อ มีเฉลยอย่างละเอียด มีคำอธิบ

เทคนิคการทำ ข้อสอบ อนุกรม ของ ก.พ.

|   ประเภทของอนุกรม |  เทคนิคการทำโจทย์เลข อนุกรม |  ข้อแนะนำเพิ่มเติม | ดาวน์โหลด App สอบ ก.พ. สำหรับ Android ฟรี ที่ Play Store ตามหลักสูตร ก.พ. ใหม่ มีแนวข้อสอบ มากกว่า 1,000 ข้อ มีเฉลยอย่างละเอียด มีคำอธิบายทุกข้อ มีสรุปและเทคนิคการทำข้อสอบ มีชุดข้อสอบให้ลองทำ พร้อมจับเวลา คลิกปุ่มข้างล่าง เพื่อไปดาวน์โหลด ข้อสอบเลขอนุกรม ของ ก.พ. ต้องการวัดความถนัดทางด้านตัวเลข โดยการจัดทำตัวเลขเป็นชุด ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันบางอย่าง โดยให้ผู้เข้าสอบได้แสดงความถนัดด้านตัวเลข ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาตามที่โจทย์ระบุ ประเภทของอนุกรม รูปแบบความสัมพันธ์ของตัวเลขอนุกรมเท่าที่พบบ่อย ๆ มีหลายประเภท เช่น ก. อนุกรมเชิงเดี่ยว  ได้แก่ชุดตัวเลขที่เป็นอนุกรมเพียงชุดเดียว เช่น ค่าของตัวเลขเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ โดยการบวก หรือ คูณ ตัวเลขก่อนหน้า เช่น  บวกด้วยตัวเลขที่เป็นค่าคงที่ เช่น    5   10   15   20   ...?... บวกด้วยตัวเลขที่มีระบบ เช่น     1    2    5    10   ...?... คูณด้วยค่าคงที่ เช่น   1   3   9   27   ...?... มีทั้ง บวก ลบ คูณ หรือหาร สลับก

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด