เพลงไทยเดิมแตกต่างจากไทยสากลอย่างไร

เพลงไทยเดิมแตกต่างจากไทยสากลอย่างไร

เพลงไทยเดิม เพลงดั้งเดิมของไทยเรา ซึ่งก็ถือว่าเป็นเพลงแบบแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเลยทีเดียว และยังเป็นศิลปะวัฒนธรรม ที่ควรค่าแก่การรักษาไว้อีกด้วย แต่ในปัจจุบันคนไทยเริ่มรู้จักเพลงไทยเดิมน้อยลง เพราะหันไปนิยมเพลงสากล เพลงแนวใหม่ๆ กันเป็นส่วนใหญ่ และแน่นอนว่าก็มีน้อยคนเลยทีเดียวที่จะรู้ประวัติความเป็นมาของเพลงไทยเดิม เพราะฉะนั้นเพื่อการสืบสานศิลปะวัฒนธรรมของไทยไว้ จึงควรเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาของเพลงไทยเดิม ซึ่งก็มีความเป็นมา ดังนี้

กำเนิดเพลงไทยเดิม

ดนตรี เป็นสิ่งที่มนุษย์เริ่มรู้จักตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งก็มีการนำมาร้องรำทำเพลง ทำกิจกรรมสนุกๆ เต้นรำ และมักจะใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา อย่างการสวดมนต์อีกด้วย โดยเพลงแต่เดิมนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมีจังหวะเร็วและมีช่วงทำนอง ประโยคขับร้องสั้นๆ ซึ่งจะเหมาะกับการเต้นรำมากกว่า จึงได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีจังหวะที่ช้าลง และมีความนุ่มนวลมากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มประโยคในการขับร้องให้ยาวขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะกับการใช้ในพิธีการต่างๆ การขับร้องในการเล่นละคร รวมถึงการขับกล่อม และนี่ก็ถือกำเนิดเพลงไทยเดิมขึ้นมานั่นเอง

ความหมายของเพลงไทยเดิม

เพลงไทยเดิม หมายถึง เพลงที่มีการแต่งขึ้นมา ทั้งเนื้อร้อง คำร้องและทำนอง โดยใช้หลักการแต่งแบบไทยๆ ดนตรีไทย และเน้นความเป็นเอกลักษณ์ของไทยเป็นหลัก ซึ่งก็ทำให้แตกต่างจากเพลงของชาติอื่นๆ มากทีเดียว โดยเอกลักษณ์ของเพลงไทยเดิมก็คือการเอื้อนที่มีความไพเราะและยังมีจังหวะท่วงทำนองที่ฟังสนุกและฟังรื่นหูอีกด้วย ซึ่งเพลงไทยเดิมที่นิยมก็จะเป็นเพลงสองชั้น และเพลงสามชั้นที่มีลักษณะการขับร้องแบบสักวานั่นเอง

ประเภทของเพลงไทยเดิม

ประเภทของเพลงไทยเดิมนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 จำพวกใหญ่ๆ ซึ่งก็คือ

1.เพลงสำหรับบรรเลงดนตรีล้วนๆ

เพลงประเภทนี้ ก็อธิบายง่ายๆ ตามชื่อเลย ก็คือเป็นเพลงทีมีแต่ดนตรีบรรเลง ไม่มีการขับร้อง ไม่มีการเอื้อนใดๆ เน้นดนตรีล้วนๆ ส่วนใหญ่จะได้ยินได้ฟังกันในการใช้ประกอบการแสดง เช่นเพลงโหมโรง เพลงหน้าพาทย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้เป็นเพลงในการแสดงละคร เมื่อตัวละครกำลังแสดงท่าทาง กิริยาต่างๆอีกด้วย

2.เพลงสำหรับการขับร้อง

เพลงประเภทนี้ เป็นเพลงที่มีการขับร้องแล้วตามด้วยการรับโดยการบรรเลงดนตรีเป็นจังหวะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเรียกกันว่า การร้องส่งดนตรีนั่นเอง โดยเพลงแบบนี้จะมีจังหวะที่ไพเราะ ฟังแล้วให้ความรู้สึกสนุกและรื่นรมย์มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลินได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

3.เพลงประกอบการรำ

เพลงประเภทนี้ เป็นเพลงที่มีการร้องไปตามบทร้อง เพื่อให้เกิดจังหวะที่สนุกสนานและเพื่อให้ผู้เต้น สามารถเต้นตามจังหวะได้อย่างสนุกมากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ยังมักจะใช้ในการประกอบการแสดงท่าทาง กิริยาต่างๆ ของตัวละครด้วยเช่นกัน

ลักษณะของเพลงไทยเดิม

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น ว่าเพลงไทยเดิมนั้น แบ่งเป็นเพลงชั้นเดียว เพลงสองชั้นและเพลงสามชั้น ตามวิวัฒนาการของเพลงไทยเดิม แต่นั่นเป็นเพียงแค่ลักษณะบางส่วนของเพลงไทยเดิมเท่านั้น ซึ่งตามจริงแล้ว เรายังสามารถจำแนกออกตามลักษณะได้อีกหลากหลายลักษณะกันเลยทีเดียว เช่น

1.เพลงชั้นเดียว

เพลงชั้นเดียว เป็นลักษณะแบบแรกกำเนิดเพลงไทยเดิม ซึ่งก็จะมีจังหวะดนตรีเร็วและมีคำร้องแบบสั้นๆ โดยจะสังเกตได้จากเสียงฉิ่งฉับที่ดังกระชับติดกันต่อเนื่องไปจนจบเพลงนั่นเอง โดยในอดีตนั้นคนส่วนใหญ่จะนิยมใช้เพลงชั้นเดียวในการเต้นรำ ทำกิจกรรมสนุกๆ ต่างๆ แต่ในปัจจุบันนี้เราจะไม่ค่อยได้ยินเพลงชั้นเดียวมากนัก ซึ่งก็จะใช้เพื่อการแสดงมหรสพมากกว่า

2.เพลงสองชั้น

เพลงสองชั้น เป็นเพลงที่มีการขับร้องและจังหวะแบบปานกลาง ไม่เร็วหรือไม่ช้าจนเกินไป แต่ก็มีความยาวของเนื้อเพลงที่ยาวกว่าเพลงชั้นเดียวถึงเท่าตัวเลยล่ะ ซึ่งเราสามารถสังเกตเพลงสองชั้นได้จากเสียงฉิ่ง…ฉับ ที่มีความห่างกันพอสมควร เนื้อร้องมีการเอื้อนหน่อยๆ ต่างจากเพลงชั้นเดียวที่ไม่มีการเอื้อนเลย

3.เพลงสามชั้น

เพลงสามชั้น เป็นเพลงที่มีจังหวะช้า มีการเอื้อนและทำนองร้องที่นานมาก และช่วงความห่างระหว่างเสียงฉิ่ง…ฉับ ก็ห่างพอสมควรเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะนิยมใช้ในการขับกล่อมและการบรรเลงในโอกาส พิธีการต่างๆ นั่นเอง

4.เพลงโหมโรง

เพลงโหมโรง เป็นเพลงที่ใช้ในการเปิดงานพิธีสำคัญต่างๆ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อครูอาจารย์ และเป็นการประกาศถึงการเริ่มเปิดงานนั่นเอง ซึ่งเพลงโหมโรงนั้นก็ยังแบ่งย่อยได้อีก เป็น เพลงโหมโรงเช้า โหมโรงกลางวัน โหมโรงเย็นและโหมโรงเสภา

เพลงไทยเดิม นอกจากจะเป็นเพลงดั้งเดิมของไทยเราที่ควรค่าแก่การรักษาไว้แล้ว ยังเป็นเพลงประจำชาติอีกด้วย ดังนั้นจึงควรธำรงค์รักษาไว้ และสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ทั้งดนตรี การขับร้อง และการบอกเล่าเรื่องราวการถือกำเนิดเพลงไทยเดิมให้แก่คนรุ่นหลังได้ฟัง ซึ่งนี่ก็เป็นเพียงประวัติและข้อมูลคร่าวๆ เท่านั้น เพลงไทยเดิมยังมีเรื่องราวให้ได้ศึกษาอีกมากมายเลยทีเดียว

เพลงไทยและเพลงไทยสากลต่างกันอย่างไร

เพลงสากล หมายถึง เพลงที่นิยมในต่างประเทศแล้วนำเข้ามาฟัง และแพร่หลายในประเทศไทย ทั้งเนื้อร้อง ทำนอง และอุปกรณ์เครื่องดนตรี Instruments เป็นของต่างประเทศ ตลอดจน นักร้อง นักแต่งเพลง ฯลฯ เพลงไทยสากล หมายถึง การที่นำเอาอุปกรณ์เครื่องดนตรี Instruments จากต่างประเทศนำเอามาบรรเลงเพลงไทย โดยเนื้อร้องจะเป็นเรื่องราวของสังคมไทย

เอกลักษณ์ของเพลงไทยเดิมคืออะไร

การเอื้อน มาจากการที่เพลงไทยอาศัยเนื้อร้องจากคำประพันธ์อื่นมาสวมใส่ทำนองที่แต่งไว้แล้ว ทำนองและเนื้อร้องจึงไม่พอดีกัน โดยใช้เสียง “เออ” หรือ “เอย” และลักษณะนี้เองทำให้เพลงไทยมีเอกลักษณ์และประเทศข้างเคียงก็มีการเอื้อนเช่นเดียวกันกับไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นและไพเราะ

การร้องเพลงไทยแตกต่างจากการร้องเพลงสากลอย่างไร

การขับร้องเพลงไทย (เดิม) จะต่างไปจากการขับร้องเพลงตามแนวสากลอยู่บ้าง กล่าวคือ การขับร้องเพลงไทยมีการเอื้อนทำนองเพลงคลุกเคล้าไปกับคำร้องโดยตลอด ผู้ขับร้องจะต้องรู้จักหลักการใส่อารมณ์และความรู้สึกลงไปในการเอื้อนทำนองร้อง รู้จักแต่งลีลาในการขับร้องให้สละสลวย โดยสรุปแล้วการขับร้องเพลงไทยและการขับร้องเพลงตามแนวสากลก็จะมีแนว ...

เพลงไทยเดิมมีพัฒนาการมาจากอะไร

เพลงดนตรีไทยเดิม (หมายถึง เพลงไทยเดิม กับวงดนตรีไทยเดิม) เป็นชุดเดียวกับเพลงดนตรีไทยตามจารีตประเพณี ซึ่งเป็นวัฒนธรรมร่วมทางเพลงดนตรีของอุษาคเนย์ มีพัฒนาการหลายพันปีมาแล้ว ก่อนคนชั้นนำสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ปรับเปลี่ยนให้เป็น “แบบฉบับ” ของความเป็นไทย เพลงดนตรีไทยมีลักษณะเสรี และไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมป๊อป