วันธรรมสวนะ มีความสําคัญอย่างไร

     วันธรรมสวนะ
 วันธรรมสวนะ  แปลว่า  วันสำหรับฟังธรรม  เรียกกันทั่วไปว่า  วันพระ  ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน  ๒  วัน  คือ  วันพระเล็ก  ได้แก่  วันขึ้นและวันแรม  ๘  ค่ำ  และวันพระใหญ่  ได้แก่  วันขึ้นและวันแรม  ๑๕  ค่ำ
ตามประวัติกล่าวว่าครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล  พระเจ้าพิมพิสารทอดพระเนตรเห็นพวกเดียรถีย์ประชุมกันในวัน  ๘  ค่ำ  และ  วัน  ๑๔  หรือ  ๑๕  ค่ำ  ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม  จึงนำความขึ้นกราบทูลพระพุทธเจ้า  ซึ่งทรงมีพุทธานุญาตให้มีการประชุมกันในวันดังกล่าวและให้มีการแสดงธรรมและฟังธรรมเพื่อนำไปเป็นข้อปฏิบัติขัดเกลาจิตใจ  ดังนั้นวันธรรมสวนะจึงมีความสำคัญและมีคุณประโยชน์ดังนี้
๑)  เป็นโอกาสที่พระภิกษุสามเณรได้มาประชุมพร้อมกันฟังพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
๒)  เป็นโอกาสที่พระภิกษุสามเณรได้ผลัดกันแสดงธรรม  อันเป็นวิธีการฝึกตนและประสบการณ์ให้มีความสามารถในการถ่ายทอดหลักธรรมคำสอน  เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบไป
๓)  เป็นโอกาสที่พุทธศาสนิกชนจะได้เจริญศรัทธาในพระพุทธศาสนาและพระรัตนตรัย
๔)  เป็นโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันในชุมชน  เพราะในวันนี้ประชาชนจะมาร่วมกันทำบุญ  จึงเป็นวิธีการสร้างความสามัคคี  และการอนุเคราะห์ช่วยเหลือกันตามสมควร

 วันเข้าพรรษา

             วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่มีพุทธบัญญัติกำหนดให้พระภิกษุสงฆ์จะต้องพักประจำอยู่กับที่ในฤดูฝนตลอดเวลา ๓ เดือน การเข้าพรรษาในปีหนึ่งๆมีพุทธบัญญัติจะต้องพักประจำ

ตรงกับวันแรม  ๑  ค่ำ  เดือน  ๘  หรือวันที่ถัดจากวันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่พระสงฆ์จะอธิษฐานว่า  จะอยู่ประจำอาวาสเดียวไม่ไปค้างแรมที่อื่นตลอด  ๓  เดือน
 ตามประวัติกล่าวว่า  ในสมัยพุทธกาลพระสงฆ์ได้ท่องเที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ  โดยไม่มีการหยุดพัก  แม้ในฤดูฝน  ซึ่งเป็นฤดูทำนา  บางครั้งจึงไปเดินเหยียบข้าวกล้าของชาวบ้านที่เพิ่งเริ่มเป็นต้นอ่อนก่อให้เกิดความเสียหาย  ชาวบ้านพากันติเตียน  พระพุทธองค์จึงทรงวางระเบียบให้พระภิกษุอยู่ประจำอาวาสตลอด  ๓  เดือนในฤดูฝน  เรียกว่า  จำพรรษา
 ต่อมาการเข้าพรรษามีวัตถุประสงค์กว้างขวางออกไป  กล่าวโดยสรุปคือ
๑)   วันพระสงฆ์ได้มีเวลาศึกษาพระธรรมวินัยมากขึ้น
๒)  เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านบำเพ็ญกุศล
๓)  เพื่อให้ประชาชนได้นำบุตรหลานที่เป็นชายเข้ามาบวช  เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

วันออกพรรษาและวันเทโวโรหณะ

             วันออกพรรษา หมายถึง วันที่สิ้นสุดการกำหนดอยู่จำพรรษาของพระภิกษุตามพุทธบัญญัติ

ตรงกับวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๑๑  เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์สามารถไปพักค้างแรมในที่เหมาะสมอื่นได้
ทั้งนี้ก่อนวันออกพรรษา  ๑  วัน  เป็นวันที่พระสงฆ์จะมีโอกาสกล่าวคำตักเตือนซึ่งกันและกัน  หากพระสงฆ์รูปใดมีข้อข้องใจเรื่องความประพฤติเกี่ยวกับวินัยสงฆ์ก้ไม่ต้องนิ่งไว้  อนุญาตให้ชี้แจงกันได้  การออกพรรษาจึงเป็นพิธีกรรมเฉพาะพระสงฆ์  เรียกว่า วันปวารณา
                อนึ่งในเทศกาลออกพรรษา  พุทธศาสนิกชนจะมีการทำบุญตักบาตร  เรียกว่า  ตักบาตรเทโวโรหณะหรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า  การตักบาตรเทโว  คือ  การทำบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับลงจากเทวโลก  หลังจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษาเพื่อโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันรุ่งขึ้น  คือ  วันแรม  ๑  ค่ำ  เดือน  ๑๑  เป็นโอกาสพิเศษพร้อมใจกันตักบาตรเฉลิมฉลองและถือเป็นประเพณีสืบมา

               หลักธรรมคำสอนที่เกี่ยวข้องกับวันธรรมสวนนะและเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา

    หลักธรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับวันธรรมสวนะ (วันพระ) และเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนามีหลายหัวข้อ ตัวอย่างเช่น

หิริ-โอตตัปปะ -  เป็นหลักธรรมคุ้มครองโลกให้บุคคลละอายต่อบาปและเกรงกลัวต่อบาป ไม่ประพฤติชั่วทั่วในที่ลับและที่แจ้ง

พรหมวิหาร๔ -  ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นหลักธรรมประจำใจอันประเสริฐ

สติ-สัมปชัญญะ -  เป็นหลักธรรมที่มีอุปการะมาก เพราะสอนให้ระลึกได้ เห็นชัดในสิ่งที่ตนประสบสัมผัสตามความเป็นจริง

อิทธิบาท๔ -  ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นหลักธรรมที่นำไปสู่ความความสำเร็จหลักธรรมเหล่านี้ พระสงฆ์ผู้เป็นธรรมกถึกมักใช้แสดงธรรมแก่อุบาสกอุบาสิกา เพราะเป็นธรรมะขั้นพื้นฐานสำหรับชาวบ้าน

                การปฏิบัติที่ถูกต้องในวันธรรมสวนะและเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา

อามิสบูชา คือ บูชาด้วยวัตถุสิ่งของ เช่น ตักบาตรในตอนเช้า ส่วนตอนเย็นนำดอกไม้ธูปเทียนไปเวียนเทียน

ปฏิบัติบูชา คือ บูชาด้วยการปฏิบัติธรรม ได้แก่ การไปวัดฟังเทศน์ การสมาทานรักษา ศีล ๕ หรือศีล ๘ รวมถึงการบำเพ็ญสมาธิภาวนาทำจิตใจให้สงบ

เนื่องใน “วันอาสาฬหบูชา” ที่ตรงกับวันที่ 24 กรกฎาคม 2564 และ “วันเข้าพรรษา” 2564 ที่ตรงกับวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 กรมการศาสนาเชิญชวนพุทธศาสนิกชนชาวไทย "อยู่บ้าน สร้างบุญ" ลด ละ เลิก อบายมุขตลอดพรรษา พร้อมร่วมกิจกรรมในสัปดาห์วันอาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษา ระหว่างวันที่ 19 - 25 กรกฎาคม 2564

กิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจในปีนี้ คือ การเข้าวัดปฏิบัติธรรมใน วันธรรมสวนะ รูปแบบออนไลน์ (การทำวัตรเช้า-เย็น การรับศีล ฟังพระธรรมเทศนา ปฏิบัติธรรม เจริญสมาธิ ตลอดพรรษา) โดยพุทธศาสนิกชนปฏิบัติได้โดยไม่ต้องเดินทางไปวัด ในการนี้ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ จึงจะขอพาคุณไปเรียนรู้ประวัติ "วันอาสาฬหบูชา" พร้อมรู้จัก "วันธรรมสวนะ" ดังกล่าวคืออะไร? 

1. วันธรรมสวนะ คือ วันพระหรือวันฟังธรรม

ธรรมสวนะ (อ่านว่า ทำ-มะ-สะ-วะ-นะ) หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่ วันถือศีล วันฟังธรรม โดยเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ มีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 คำ่ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ

ในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสาร ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่น มีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์แสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว

จากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

2. เปิดประวัติ “วันอาสาฬหบูชา” หรือการบูชาในเดือน 8

คำว่า “อาสาฬหบูชา” แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8 โดยถือกำเนิดขึ้นในช่วงก่อนพุทธศักราช 45 ปี เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรง “ประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก” หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน

โดยพระองค์ได้ทรงแสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรกด้วย เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม (เป็นวันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก)

ในการนั้นพระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ, พระวัปปะ, พระภัททิยะ, พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา

จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

วันธรรมสวนะ มีความสําคัญอย่างไร

3. “วันอาสาฬหบูชา” = วันพระธรรม

“วันอาสาฬหบูชา” (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถแสดงธรรมเปิดเผยด้วยพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ได้ ทำให้แจ้งแก่ชาวโลก จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์

นั่นคือทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น “สัมมาสัมพุทธะ” คือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ซึ่งแตกต่างจาก “พระปัจเจกพุทธเจ้า” ที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบ แต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีอีกชื่อหนึ่งที่เรียกว่า "วันพระธรรม"

4. “วันอาสาฬหบูชา” ในไทย มีครั้งแรกปี 2501

เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีการบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาในประเทศพุทธเถรวาทมาก่อน จนมาในปี พ.ศ. 2501 การบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาจึงได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย ตามที่คณะสงฆมนตรี ได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2501

โดยคณะสังฆมนตรีได้มีมติให้เพิ่ม "วันอาสาฬหบูชา" เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธในประเทศไทย ตามคำแนะนำของพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) โดยได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา พร้อมทั้งกำหนดพิธีกรรมทางศาสนาขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยให้มีพิธีปฏิบัติเทียบเท่ากับ “วันวิสาขบูชา” 

วันธรรมสวนะ มีความสําคัญอย่างไร

5. “วันอาสาฬหบูชา” = วันพระสงฆ์

เนื่องจากวันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่ “โกณฑัญญะ” ได้บรรลุธรรมสำเร็จพระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลคนแรก และพระพุทธเจ้าได้ประทานเอหิภิกขุอุปสมบทเป็นภิกษุองค์แรกในพระศาสนา

การที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในโลกดังกล่าว พระรัตนตรัยจึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีอีกชื่อหนึ่งที่เรียกว่า "วันพระสงฆ์"

6. กำเนิดหลักคำสอน “บัว 4 เหล่า”

หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข อยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลาถึง 7 สัปดาห์ และในขณะที่ทรงนั่งประทับในสัปดาห์ที่ 5 พระองค์ทรงนั่งคำนึงว่าสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นของลึกซึ้ง ยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจได้ แม้กระนั้นก็ยังทรงพิจารณาเห็นว่าสัตว์โลกที่สอนได้ยังมีอยู่ เปรียบเสมือนดอกบัว 4 จำพวก ได้แก่

วันธรรมสวนะ มีความสําคัญอย่างไร

- พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว : เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือน “ดอกบัวพ้นน้ำ” เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที

- พวกที่มีสติปัญญาดี : เมื่อได้ฟังธรรมและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือน “ดอกบัวปริ่มน้ำ” ซึ่งจะบานในวันถัดไป

- พวกที่มีสติปัญญาน้อย : แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ ขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ในที่สุดก็จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในวันข้างหน้า เปรียบเสมือน “ดอกบัวใต้น้ำ” ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง

- พวกที่ไร้สติปัญญา : แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธา ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือน “ดอกบัวจมในโคลนตม” มีแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน

7. สถานที่สำคัญเนื่องด้วย “วันอาสาฬหบูชา”

ปัจจุบันเหล่านักโบราณคดีมีการสันนิษฐานว่า จุดที่เกิดเหตุการณ์สำคัญใน “วันอาสาฬหบูชา” คือที่ตั้งของ “ธรรมเมกขสถูป” เพราะแม้ในพระไตรปิฎกจะไม่ระบุชัดเจนว่าจุดใดคือที่ตั้งของสถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา และแม้ สารนาถ (จัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 ตั้งอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย) จะถูกทำลายและถูกทอดทิ้งไปนานกว่า 700 ปีแล้ว

แต่ด้วยหลักฐานบันทึกของสมณทูตจีนที่บันทึกไว้ และชื่อเรียกของสถูปแห่งนี้ที่มีนามว่า ธรรมเมกขะ ที่แปลว่า "ผู้เห็นธรรม" บอกชัดเจนว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถูปนี้ถูกสร้างอุทิศให้แด่ผู้เห็นธรรมคนแรก ซึ่งก็ได้แก่พระอัญญาโกณฑัญญะนั่นเอง

วันธรรมสวนะ มีความส าคัญอย่างไร

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำ สัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า “วันธรรมสวนะ” อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม(ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดย วันพระ เป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ “กำเนิดวันพระของศาสนาพุทธ”

วันธรรมะสวนะมีเหตุการณ์สำคัญอะไรบ้าง

ประวัติความเป็นมา ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลว่านักบวชศาสนาอื่น มีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าศาสนาพุทธยังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาติให้ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชน ในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ

วันธรรมสวนะ ขึ้นกี่ค่ํา

วันธรรมสวนะ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันพระ หรือวันธรรมสวนะ หมายถึง วันประชุมฟังธรรมถือศีล ของชาวพุทธตรงกับวันทางจันทรคติ ในหนึ่งเดือนจะมี 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ

การฟังธรรมมีผลดีอย่างไร

การฟังธรรมพระพุทธเจ้าตรัสว่าถ้าทำเป็นจะได้รับประโยชน์ ๕ ประการ ๑) ผู้ฟังจะได้ทราบสิ่งที่ไม่เคยฟัง ๒) สิ่งใดที่เคยฟังแล้วยังไม่เข้าใจชัดจะได้เข้าใจชัดขึ้น ๓) จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส ๔) ทำความเห็นที่ผิดๆ ไห้ถูกต้อง ๕) ย่อมบรรเทาความสงสัยซึ่งเคยสงสัย