หลักฐานทางประวัติศาสตร์มีความสําคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร * 1 คะแนน

          หลักฐานทางประวัติศาสตร์ (Historical Sources)

             หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ร่องรอยการกระทำ การพูด การเขียน การประดิษฐ์ การอยู่อาศัยของมนุษย์
หรือลึกไปกว่าที่ปรากฏอยู่ภายนอก คือ ความคิดอ่าน โลกทัศน์ ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ความรู้สึก
ของคนในปัจจุบัน สิ่งที่มนุษย์จับต้องและทิ้งร่องรอยไว้ กล่าวได้ว่าอะไรก็ตามที่มาเกี่ยวพันกับมนุษย์ หรือมนุษย์เข้าไป
เกี่ยวพันสามารถใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น

              ประโยชน์ของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ เป็นเครื่องมือในการสืบค้นร่องรอยของอดีต เป็นแหล่งค้นคว้า
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนำเอาไปประกอบกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

             การแบ่งประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

             1.  แบ่งตามยุคสมัย

          1.1 หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานที่เกิดขึ้นในสมัยที่ยังไม่มีการบันทึกเป็นอักษร แต่เป็นพวกซากโครงกระดูกมนุษย์ ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ตลอดจนความพยายามที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ในลักษณะของการบอกเล่าต่อๆกันมา เป็นนิทานหรือตำนานซึ่งเราเรียกว่า “มุขปาฐะ
          1.2 หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานสมัยที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ตัวอักษร และบันทึกในวัสดุต่างๆ มีร่องรอยที่แน่นอนเกี่ยวกับสังคมเมือง มีการรู้จักใช้เหล็ก และโลหะอื่นๆ มาเป็นเครื่องมือใช้สอยที่ปราณีต มีร่องรอยศาสนสถานและประติมากรรมรูปเคารพในศาสนาอย่างชัดเจน

              2.  แบ่งตามลักษณะหรือวิธีการบันทึก

         2.1 หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ เอกสาร
ทางวิชาการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม ตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย
ในการศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีการเน้นการฝึกฝนทักษะการใช้หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนใหญ่ จนอาจกล่าวได้ว่าหลักฐานประเภทนี้เป็นแก่นของงานทางประวัติศาสตร์ไทย
          2.2 หลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เงินตรา หลักฐาน
จากการบอกเล่า ที่เรียกว่า
 “มุขปาฐะ” หลักฐานด้านภาษา เกี่ยวกับพัฒนาการของภาษาพูด หลักฐานทางศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ หลักฐานประเภทโสตทัศน์ ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพสไลด์
แผนที่ โปสเตอร์ แถบบันทึกเสียง แผ่นเสียง ภาพยนตร์ ดวงตราไปรษณียากร

             3. แบ่งตามลำดับความสำคัญ

               3.1  หลักฐานชั้นต้น (Primary sources)  อันได้แก่หลักฐานที่บันทึกไว้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง  หรือรู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง
            3.2 หลักฐานรอง(Secondary sources) ซึ่งได้แก่บันทึกของผู้ที่ได้รับทราบเหตุการณ์จากคำบอกเล่าของบุคคลอื่น
มาอีกต่อหนึ่ง หนังสือประวัติศาสตร์ที่มีผู้เขียนขึ้นภายหลัง โดยอาศัยการศึกษาจากหลักฐานชั้นต้น
  ก็ยังถือว่าเป็นหลักฐานรองอยู่นั่นเอง  นิธิ  เอี่ยวศรีวงศ์  ได้กล่าวไว้ว่าการแบ่งประเภทของหลักฐานเป็นชั้นต้นและชั้นรอง  มีประโยชน์ในการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน  หลักฐานชั้นต้นมักได้รับน้ำหนักความน่าเชื่อถือจากนักประวัติศาสตร์มาก  เพราะได้มาจากผู้รู้เห็นใกล้ชิดกับข้อเท็จจริง  ในขณะที่หลักฐานรองได้รับน้ำหนักความน่าเชื่อถือน้อยลง  อย่างไรก็ตาม  ไม่ควรถือ
ในเรื่องนี้อย่างเคร่งครัดมากนัก
  เพราะหลักฐานชั้นต้นก็อาจให้ข้อเท็จจริงผิดพลาดได้  เช่นผู้บันทึกไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงในเหตุการณ์ที่ตนบันทึก  หรืออาจจะตั้งใจปกปิดบิดเบือนความจริงเพื่อประโยชน์ของตนหรือคนที่ตนรักเคารพ  เป็นต้น  ในทางตรงกันข้าม  เอกสารชั้นรองที่บันทึกไว้โดยผู้ไม่มีส่วนได้เสีย  แม้ว่าห่างไกลจากเหตุการณ์  แต่ก็สอบสวน
ข้อเท็จจริงอย่างถ่องแท้แล้ว
  ก็อาจให้ความจริงที่ถูกต้องกว่าก็ได้

             หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  คือ
                     - หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
                     - หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

         1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร   ถ้าแบ่งตามลักษณะเด่นของข้อสนเทศที่ให้ในหลักฐานแล้ว 
อาจกล่าวได้ว่ามีอยู่  13  ประเภท  คือ
                 1.1 จดหมายเหตุชาวต่างชาติ 
                 1.2 จดหมายเหตุชาวพื้นเมือง
                 1.3  ตำนาน
                 1.4  พงศาวดารแบบพุทธศาสนา 
                1.5  พระราชพงศาวดาร
                 1.6  เอกสารราชการหรือเอกสารการปกครอง
                 1.7  หนังสือเทศน์
                 1.8  วรรณคดี
                 1.9  บันทึก
                 1.10  จดหมายส่วนตัว
                 1.11  หนังสือพิมพ์
                 1.12  งานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์
                 1.13  จารึก

             2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร    ได้แก่
             2.1  หลักฐานทางโบราณคดี  เช่น  หลุมฝังศพ  ซากโครงกระดูก  เครื่องปั้นดินเผา  ลูกปัด  หม้อ  ไห  ถ้วย  ชาม  ภาชนะต่างๆ  หลักฐานเหล่านี้ได้ผ่านการตีความหมายของนักโบราณคดีตามหลักวิชาอย่างถูกต้องแล้ว
              2.2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ  คือ  สิ่งก่อสร้างในงานสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  และสิ่งแวดล้อมของสังคมที่ให้กำเนิดศิลปกรรมทั้งหลาย  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะมักจะช่วยกำหนดอายุของเมืองหรืออารยธรรมที่ไม่มีหลักฐานอย่างอื่นบอกไว้
             2.3 นาฏกรรมและดนตรี  มักเป็นศิลปะที่ได้รับสืบทอดจารีตมาแต่อดีต
              2.4 คำบอกเล่า คือ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้มีการจดเป็นลายลักษณ์อักษร  ไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน  จึงแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและคนเล่า  ซึ่งคำบอกเล่านี้มักเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  ที่คนภายในสังคมนั้นมีข้อจำกัดทางการศึกษาจึงใช้การจดจำบอกเล่าสืบต่อกันมา

หลักฐานทางประวัติศาสตร์มีความสําคัญต่อการศึกษาอย่างไร

การศึกษาข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีความส าคัญ ดังนี้ มีรายละเอียดที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา เรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีต เป็นหลักฐานที่น ามาศึกษาเหตุการณ์ ในอดีตแนวทางตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และเป็นสิ่งที่ให้ ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง

หลักฐานทางประวัติศาสตร์หมายถึงอะไรและมีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ร่องรอยของสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ สร้างสรรค์ รวมทั้งร่องรอยของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในอดีต และเหลือตกค้างมาถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องนำทางในการศึกษา สืบค้น แสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยงกับเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ได้ในระดับหนึ่ง

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีความสําคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร

13. หลักฐานลายลักษณ์อักษรมีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร เป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลประวัติศาสตร์ดีที่สุด เป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลง่ายกว่าหลักฐานอื่น เป็นหลักฐานที่มีจำนวนมาก หาง่าย

เวลามีความสําคัญต่อการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อย่างไร

การศึกษาเหตุการณ์สำคัญในอดีตนั้นย่อมมีช่วงเวลาและสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลานักประวัติศาสตร์จําเป็นต้องอาศัยอ้างอิงช่วงเวลาด้วยคำต่างๆเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงและรายละเอียดของเหตุการณ์ต่างๆเวลาจึงมีความสำคัญต่อการศึกษาสังคมมนุษย์ในอดีตเพราะเวลาจะช่วยบอกได้ว่าสังคมในพื้นที่ต่างๆมีเรื่องราวสำคัญเกิดขึ้นในแต่ละช่วง ...