จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญ อย่างไร

                อย่างไรก็ดีบทบัญญัติจรรยาบรรณทั้ง 9 ข้อนี้ บังคับใช้ตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ. 2488 มีผลกับครูซึ่งเป็นสมาชิกของคุรุสภาเท่านั้น กล่าวคือ ตามมาตรา 24 ของ พ.ร.บ. ครูพ.ศ.2488 กำหนดให้มีครูเพียง 4 กลุ่มเท่านั้นได้แก่ (1) ข้าราชการครู คือข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการซึ่งบรรจุและแต่งตั้ง พ.ร.บ. ข้าราชการครู พ.ศ. 2533 (2) พนักงานครูเทศบาลคือพนักงานเทศบาลต่างๆ ทั้งประเทศเฉพาะพนักงานผู้ดำรงตำแหน่งผู้สอนในสถานศึกษาของเทศบาล (3) ข้าราชครูกรุงเทพมหานคร คือข้าราชการครูกรุงเทพมหานครที่สังกัดสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร และ (4) ผู้สอนในโรงเรียนเอกชนซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการโดยต้องได้รับเงินเดือนประจำ ผู้ประกอบวิชาชีพครู

ก่อนอื่นเลยก็ต้องเท้าความกันเสียหน่อยถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นนะคะ หลายท่านคงได้ทราบข่าวกันทั่วถึงแล้ว จากกรณีที่ศาลอาญามีคำพิพากษาลงโทษจำคุก เกี่ยวกับกรณีทุจริตค่าโฆษณา 138 ล้านบาท เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากที่ศาลได้พิพากษาโทษไปแล้ว ก็มีประเด็นตามมามากมายเกี่ยวกับการที่พิธีกรชื่อดังยังคงจัดรายการอยู่ โดยประเด็นหลักก็อยู่ที่คำว่า จริยธรรม และ จรรยาบรรณ ของสื่อที่ควรจะมี

จนล่าสุดขณะที่คุณครูลิลลี่เขียนต้นฉบับนี้อยู่ พิธีกรคนดังกล่าวก็ได้ยุติบทบาทของตัวเองลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นี่คือการทบทวนเรื่องราวที่เกิดขึ้นแบบเล่าสู่กันฟังนะคะ อย่างที่เรียนย้ำแต่ต้นว่าจะไม่ออกความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่มีเรื่องความรู้ภาษาไทยดี ๆ มานำเสนอกันค่ะ นั่นคือเรื่องของคำ 2 คำที่เราได้ยินทั้งนักข่าวโทรทัศน์ วิทยุ รวมถึงสื่อทั้งหลายใช้กันอยู่บ่อย ๆ นั่นคือคำว่า จริยธรรม และ จรรยาบรรณ จนมีคนมาถามคุณครูลิลลี่ว่า จริง ๆ แล้ว 2 คำนี้ใช้เหมือนใช้ต่าง หรือใช้แทนกันได้หรือไม่อย่างไร เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ

จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญ อย่างไร


คำว่า จรรยาบรรณ ต้องเริ่มจาก คำว่า จรรยา ก่อนนะคะ คำว่า จรรยา เป็นคำนาม หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่คณะ เช่น จรรยาแพทย์ เรามักจะนิยมใช้คำว่า จรรยา ในความหมายที่ดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความประพฤติที่ดี ส่วนคำว่า “จรรยาบรรณ” เป็นคำนาม หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

มาดูที่คำว่า จริยธรรม นะคะ คำนี้ก็ต้องเริ่มที่คำว่า จริย- ก่อน คำว่า จริย- อ่านว่า จะ-ริ-ยะ เป็นคำนามค่ะ หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ใช้ในคำสมาส เช่น จริยศึกษา หมายความว่า การศึกษาเกี่ยวกับความเจริญงอกงามในทางความประพฤติและการปฏิบัติตนเพื่อให้อยู่ในแนวทางของศีลธรรมและวัฒนธรรม หรืออย่างคำสมาสว่า จริยศาสตร์ ก็จะหมายถึง ปรัชญาสาขาหนึ่งที่ว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์ แสวงหาเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าอย่างไหนถูกไม่ถูก ดีไม่ดี ควรไม่ควร และ พิจารณาปัญหาเรื่องสถานภาพของค่าทางศีลธรรมด้วย ส่วนคำว่า จริยธรรม ที่สงสัยกันนั้น เป็นคำนามนะคะ หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ หรือ ศีลธรรม รวมถึง กฎศีลธรรม ด้วยค่ะ ทราบกันอย่างนี้แล้ว ถ้าจะวิพากษ์วิจารณ์หรือพูดถึงข่าวคราวดังกล่าวก็เลือกใช้ให้ถูกต้องนะคะว่าในรูปประโยคไหนจะใช้ จริยธรรม และรูปประโยคไหนจะใช้คำว่า จรรยาบรรณ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองคำควรมีไว้ในใจเสมอเพราะนั่นจะทำให้เราอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และถูกต้องค่ะ

รองศาสตราจารย์ สุพัตรา สุภาพ ได้กล่าวถึงค่านิยมสังคมเมืองและค่านิยมสังคมชนบทของสังคมไทยไว้ค่อนข้างชัดเจน โดยแบ่งค่านิยมออกเป็นค่านิยมของคนในสังคมเมืองและสังคมชนบทซึ่งลักษณะค่านิยมทั้งสองลักษณะ จัดได้ว่าเป็นลักษณะของค่านิยมที่ทำให้เกิดมีอิทธิพลต่อค่านิยมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นชัดเจนในตาราง

จรรยาบรรณหมายถึงประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพแต่ละอาชีพกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงรวมถึงฐานะของสมาชิกอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

จริยธรรมหมายถึงจริยศาสตร์วิชาปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์แสวงหาเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติและการครองชีวิตว่าถูกผิดดีชั่วควรไม่ควรรวมถึงพิจารณาปัญหาสถานภาพของค่าทางศีลธรรม

ความหมายจรรยาบรรณและจริยธรรมสื่อสารมวลชน

จริยธรรมของสื่อสารมวลชนหมายถึงธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติของสื่อมวลชนในขณะท่ีจรรยาบรรณหมายถึงประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติหรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพน้ันๆต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพใช้ความรู้มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม

จรรยาบรรณของสื่อสารมวลชนหมายถึงหลักคุณธรรมของผู้ประกอบอาชีพนักสื่อสารมวลชนมารวมตัวกันเป็นสมาคมวิชาชีพสร้างขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่ผู้ประกอบอาชีพนักสื่อสารมวลชนให้มีความรับผิดชอบ

ความสำคัญของจริยธรรมและจรรยาบรรณสื่อสารมวลชน

จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพสื่อมวลชนเป็นเครื่องมือที่ใช้กากับดูแลพฤติกรรมของส่ือมวลชนในขณะปฏิบัติหน้าท่ีที่ทางสมาคมวิชาชีพส่ือได้กาหนดไว้ท้ังน้ีเพื่อก่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นรวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมสูงสุด

สื่อมวลชนเสรีภําพบนควํามรับผิดชอบ: กรณีศึกษาการละเมิดสิทธิ

Lasswell 1948: 37-51 และWright 1974: 605-620 (อ้างในอรอนงค์สวัสดิ์บุรีและพงศ์ภัทรอนุมัติราชกิจ, 2554) ได้กล่าวถึงการทาหน้าที่ของสื่อมวลชนว่ามีบทบาทหน้าที่ในการสอดส่องดูแล(Surveillance) และรายงานเหตุการณ์ในสังคม

ปทัสถานสื่อมวลชนตามทฤษฏีว่าด้วยความรับผิดชอบทางสังคม(The social Responsibility Theory) (Theorodore Peterson 1973:103) เป็นทฤษฏีที่ทาให้สื่อมวลชนตระหนักในความรับผิดชอบของตนเองมากขึ้นโดยมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพเป็นหลักในการดาเนินงานมุ่งเสริมสร้างความคิดเห็นอย่างเสรียกระดับความขัดแย้งในสังคมจากการใช้ความรุนแรงเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันซึ่งมีหลัก3 ประการเพื่อให้สื่อมีความเป็นกลางและสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคมได้คือ

1. ให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการมีส่วนร่วมและเลือกรับข่าวสาร 

2. สื่อต้องมีอิสรภาพและเสรีภาพในการนาเสนอข่าว

3. สื่อต้องตระหนักถึงประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ

บทบาทหน้าท่ีของสื่อมวลชนภายใต้ทฤษฏีนี้คือ

1. สนับสนุนระบบการเมืองด้วยการเสนอข่าวสารและข้อเท็จจริงที่เก่ียวกับกิจกรรมต่างๆของส่วนรวม

2. เพิ่มพูนสติปัญญาของสาธารณชนและส่งเสริมกระบวนการทางประชาธิปไตยเพื่อให้ประชาชนได้เกิดความสามารถในการปกครองตนเอง

3. ปกป้องรักษาสิทธิของปัจเจกบุคคลโดยทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมรัฐบาล

4. สนับสนุนระบบเศรษฐกิจโดยทำหน้าที่ให้บริการสื่อโฆษณาโดยรายได้ส่วนน้ีจะต้องไม่ทาลายอิสรภาพของสื่อมวลชน

5. ให้ความบันเทิงที่คัดเลือกมาแล้วว่ามีคุณภาพ

6. หลีกเลี่ยงการนาเสนอข่าวที่อาจนาไปสู่การก่ออาชญากรรมความรุนแรงความไม่สงบหรือความแตกแยกในสังคม

7. จะต้องสะท้อนความคิดเห็นที่แตกต่างรวมท้ังเปิดโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามได้ใช้สิทธิโต้ตอบ(สุกัญญาบูรณเดชาชัย,2549)

ในขณะท่ีDennis Mcquail:1994(อ้างในอัศวินเนตรโพธิ์แก้วและคณะ,2553)ได้สรุปหลักการทฤษฏีความรับผิดชอบต่อสังคมดังนี้

1. สื่อควรยอมรับในพันธะหน้าที่ต่อสังคม

2. พันธะหน้าที่เหล่านี้จะเกิดข้ึนได้โดยตั้งมาตรฐานของข้อมูลข้อเท็จจริงความถูกต้องในระดับสูงหรือระดับมืออาชีพ

3. ในการยอมรับและนาพันธะนี้ไปใช้สื่อควรมีการกากับดูแลตัวเองภายในกรอบของกฎหมาย

4. สื่อควรหลีกเลี่ยงสิ่งใดก็ตามที่นาไปสู่อาชญากรรมความรุนแรงหรือความวุ่นวายของพลเมืองหรือต่อต้านชนกลุ่มน้อย

5. สื่อควรเป็นนักพหุนิยมและสะท้อนความหลากหลายของสังคมนาเสนอมุมมองที่หลากหลาย

6. สังคมและสาธารณะมีสิทธิที่จะคาดหวังในมาตรฐานการแสดงออกในระดับสูงและการเข้าแทรกแซงควรเป็นไปเพื่อความมั่นคงปลอดภัยหรือเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ

7. นักหนังสือพิมพ์และวิชาชีพสื่อควรจะอธิบายต่อสังคมเช่นเดียวกับที่อธิบายต่อนายจ้างและตลาด

(1) กรณีศึกษํา: กํารเสียชีวิตของปอทฤษฏีสหวงษ์

เมื่อสะท้อนถึงบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนยุคดิจิทัลกรณีการเสียชีวิตของปอทฤษฏีสหวงษ์น้ันสังคมมีการวิจารณ์การทางานของส่ือในการรุมถ่ายภาพเบียดแผงกั้นและไม่สนใจสมาชิกในครอบครัวรวมถึงไม่ให้เกียรติต่อผู้เสียชีวิตเพียงเพราะต้องการภาพถ่ายท่ีชัดเจนท่ีสุดนาไปเผยแพร่ซึ่งจากเหตุการณ์น้ีบนโลกโซเชียลได้มีภาพใบหน้าของปอทฤษฏีขณะนาร่างจากโรงพยาบาลไปประกอบพิธีทางศาสนาที่จังหวัดบุรีรัมย์แพร่กระจายทั่วสื่อออนไลน์มีการส่งต่อผ่านทางแอพพลิเคชั่นต่างๆมีการแชร์ต่ออย่างรวดเร็วต้นตอของภาพดังกล่าวส่วนหนึ่งนั้นอาจจะมาจากสื่อมวลชนที่ไปทาข่าวส่วนผู้รับสารเมื่อเห็นดังนั้นจึงแชร์ภาพไว้อาลัยโดยไม่ได้

คานึงถึงการให้เกียรติแก่ผู้เสียชีวิตและเมื่อนาร่างไปประกอบพิธีทางศาสนาแล้วสื่อมวลชนยังได้เสนอข่าวโดยมีการสัมภาษณ์ถึงความรู้สึกของคนในครอบครัวมีการถ่ายภาพขยายเข้าไปให้เห็นถึงความโศกเศร้าเป็นการคาดคั้นอารมณ์ให้ผู้รับสารเกิดอารมณ์สะเทือนใจร่วมอีกด้วย

เมื่อสื่อมวลชนพยายามที่จะแสวงหาข่าวและข้อมูลให้ได้มากที่สุดแม้จะโดยกระบวนการใดก็ตามหากเกินความพอดีอย่างเช่นกรณีดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังซึ่งการแทรกแซงหรือก้าวล่วงเข้าไปในชีวิตส่วนตัวของบุคคลอันเก่ียวข้องกับความเป็นอยู่ท้ังทางร่างกายช่ือเสียงเกียรติคุณและความเป็นส่วนตัวมากเกินขอบเขตนั้นย่อมทาให้เกิดความราคาญและวุ่นวายใจเป็นภาวะที่อาจนามาสู่ความไม่สงบแห่งสังคมได้(ชูชีพปิณฑะสิริ, 2525)

ในขณะท่ีสาโรชเมฆโสภาวรรณกุล(2559) บรรณาธิการฝ่ายภาพหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ถึงกรณีดังกล่าวว่าสิ่งที่ช่างภาพต้องตระหนักคือห้ามละเมิดความเป็นมนุษย์ห้ามละเมิดจริยธรรมเพราะไม่จาเป็นที่ต้องให้ได้รูปสะเทือนอารมณ์ทุกคร้ังเช่นภาพเด็กสตรีที่ถูกกระทาหรือภาพนักโทษภาพเหล่านี้คือส่ิงที่ในอนาคตจะต้องไม่ปรากฏซึ่งยอมรับว่าช่างภาพต้องถ่ายภาพให้หลากหลายและมีการส่งภาพละเมิดสิทธิเข้ามาในองค์กรบ้างแต่องค์กรต้องตอบกลับช่างภาพคนนั้นทันทีว่าถ่ายมาทาไมต้องการอะไรนอกจากเป็นการอบรมคนในองค์กรเดียวกันแล้วยังเป็นการคัดกรองข้อมูลข่าวสารให้มีคุณภาพก่อนออกสู่สายตาประชาชน

สื่อมวลชนกับการรับผิดชอบทางสังคม

ความรับผิดชอบ(Responsibility and Accountability) ของสื่อมวลชนเป็นสิ่งสําคัญท่ีส่ือจะต้องตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อเนื่องจากสื่อมีอํานาจต่อการรับรู้ของประชาชนผู้รับสารสามารถชี้นําผู้รับสารได้หากสื่อมวลชนปฏิบัติตามแนวคิดที่คณะกรรมการฮัทชิน(Hutchins Commission) ได้วางไว้ก็จะสามารถสร้างสังคมประชาธิปไตยขึ้นได้แต่ในทางตรงกันข้ามหากส่ือใช้อํานาจเพ่ือแสวงอํานาจทางเศรษฐกิจและการเมืองของตนเองและพวกพ้องสังคมก็จะขาดความไร้ระเบียบดังน้ันจึงเป็นหน้าท่ีของสถาบันการศึกษาที่จะต้องผลิตนักสื่อมวลชนท่ีตระหนักในหน้าท่ีและความรับผิดชอบ(Responsibility and accountability) ของการเป็นนักสื่อมวลชนท่ีรับผิดชอบต่อสังคม

ประเภทของความรับผิดชอบ

สื่อมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามระบอบของสังคมประชาธิปไตยเพื่อดํารงรักษาเสรีภาพเน่ืองจากเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดและการเคารพในเสยีงของคนส่วนมากโดยไม่ละเลยเสียงของคนส่วนน้อยภายใต้กรอบกติกาของสังคมเป็นหัวใจหลักของการปกครองระบอบประชาธิปไตยดังนั้นสื่อมวลชนต้องมีความรับผิดชอบ(responsibility) มิเพียงแต่นําเสนอข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้มีอํานาจในสังคมเท่านั้นแต่ยังต้องส่งเสริมการแสดงออกทางความคิดของประชาชนอย่างเท่าเทียมกันด้วยพร้อมท้ังการปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีนําเสนอข้อมูลท่ีถูกต้องครบถ้วนเพรียบพร้อมด้วยเหตุผลที่เชื่อถอืได้ส่งเสริมการนําเสนอความคิดเห็นที่หลากหลายโดยไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะในสังคมท่ีประชาชนยังขาดข้อมูลความรู้ในเรื่องของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยและไม่รู้เท่าทันส่ือ(Media Illiteracy) สูงเช่นประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทยเน่ืองจากสื่อมีอํานาจในการสร้างการรับรู้และการตีความหมายในประเด็นต่างๆของผู้รับสารได้สูงมาก(Potter, 2011) หากสื่อไม่รับผิดชอบ(responsibility) แล้วประชาชนจะเกิดความเข้าใจในประเด็นต่างๆเพียงแง่มุมเดียวหรือมีโลกทัศน์ที่แคบเปรียบเสมือนกบในกะลาท่ีไม่เห็นไม่รับรู้โลกอื่นๆภายนอกว่ามีอะไรอีกบ้างเชื่อว่าที่ตนอยู่นั้นคือความถูกต้องอาจนําไปสู่ความไร้ระเบียบของสังคมซึ่งสื่อไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบ(Accountability) ได้

1.ความรับผิดชอบทางกฎหมาย

ในฐานะที่นักข่าวเป็นนายประตูข่าวสารหรือเป็นด่านแรกในการทำงานข่าวควรจะต้องศึกษากฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเช่นพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยเฉพาะความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์พระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พระราชบัญญัติว่าด้วยคดีเด็กและเยาวชนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความผิดฐานละเมิดต่อชื่อเสียงเกียรติยศและทางทำมาหาได้  ทั้งนี้เพราะความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นข้อจำกัดในการใช้สิทธิเสรีภาพประการหนึ่งภายใต้หลักประกันสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญสำหรับความผิดทางกฎหมายที่นักข่าวหรือบรรณาธิการจะต้องเผชิญอยู่เสมอคือความผิดฐานหมิ่นประมาทละเมิดต่อชื่อเสียงเกียรติยศและทางทำมาหาได้ของบุคคลอื่นละเมิดอำนาจศาลนักข่าวจึงต้องระมัดระวังในการใช้ถ้อยคำการรายงานข่าวที่ต้องเคารพหลักการพูดความจริง

2.ความรับผิดชอบทางจริยธรรม

ความรับผิดชอบทางจริยธรรม(ethics) เป็นความรับผิดชอบที่ต้องใช้จิตสำนึกพิจารณาและใคร่ครวญถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นข่าวญาติพี่น้องและครอบครัวในแง่ของการกำกับดูแลและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนให้อยู่ในกรอบของจริยธรรมนั้นสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติจะเป็นองค์กรหลักในการควบคุมการทำงานของผู้ประกอบวิชาชีพโดยมีข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้สมาชิกใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการทำงาน

ลักษณะความรับผิดชอบของสื่อสารมวลชน

ความรับผิดชอบของสื่อมวลชนเป็นสิ่งสําคัญท่ีสื่อจะต้องตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อเนื่องจากสื่อมีอํานาจต่อการรับรู้ของประชาชนผู้รับสารสามารถชี้นําผู้รับสารได้หากสื่อมวลชนปฏิบัติตามแนวคิดที่คณะกรรมการฮัทชิน(Hutchins Commission) ได้วางไว้ก็จะสามารถสร้างสังคมประชาธิปไตยขึ้นได้แต่ในทางตรงกันข้ามหากสื่อใช้อํานาจเพื่อแสวงอํานาจทางเศรษฐกิจและการเมืองของตนเองและพวกพ้องสังคมก็จะขาดความไร้ระเบียบดังน้ันจึงเป็นหน้าท่ีของสถาบันการศึกษาที่จะต้องผลิตนักสื่อมวลชนท่ีตระหนักในหน้าท่ีและความรับผิดชอบ(Responsibility and accountability) ของการเป็นนักสื่อมวลชนท่ีรับผิดชอบต่อสังคม

กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในสังคมและวิธีการรับผิดชอบของสื่อสารมวลชน

กรณีศึกษา: สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยเรียกร้องให้สื่อมวลชนยึดถือจรรยาบรรณในการนำเสนอข่าวสารเพื่อป้องกันการตกเป็นจำเลยในคดีแพ่งและอาญา

สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยเรียกร้องให้สื่อมวลชนยึดถือจรรยาบรรณในการนำเสนอข่าวสารเพื่อป้องกันการตกเป็นจำเลยในคดีแพ่งและอาญาพร้อมย้ำว่าการกำกับดูแลกันเองดีกว่าให้หน่วยงานอื่นมากำกับดูแลสื่อแม้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบันจะทำให้สื่อมวลชนรายงานข่าวได้อย่างรวดเร็วฉับไวและทันสถานการณ์แต่ก็มักจะมาพร้อมกับความผิดพลาดของเนื้อหาตั้งแต่การสะกดคำผิดไปจนถึงการเสนอข่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงซึ่งถือเป็นสิ่งที่สื่อมวลชนต้องแสดงรับผิดชอบตามจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างกรณีเมื่อวันที่24 พฤษภาคมที่ผ่านมาสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นรายงานว่านายสรสิทธิ์สุนทรเกศผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่าในช่วงระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งพบว่ามีเงินที่ใช้จ่ายหมุนเวียนในประเทศหายไปนับหมื่นล้านบาทจากระบบแต่วันถัดมานายสรสิทธิ์ออกมาปฎิเสธว่าไม่เคยให้สัมภาษณ์ในประเด็นนี้และไม่เคยพูดที่ไหนมาก่อนเลยนายเจษฏาอนุจารีประธานคณะอนุกรรมการจริยธรรมและรับเรื่องร้องเรียนสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยกล่าวถึงการนำเสนอข่าวที่คลาดเคลื่อนในกรณีนี้ว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้สื่อมวลชนจึงต้องตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนก่อนนำเสนอ

 ส่วนอีกกรณีการอ้างแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยที่มาเช่นเมื่อวันที่31 พฤษภาคม2554 คมชัดลึกรายงานว่า”แหล่งข่าวในกองทัพระบุว่าตำรวจและทหารมีหลักฐานกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรีเคยพูดว่าจะกลับมาเป็นประธานาธิบดี”

ประธานคณะอนุกรรมการจริยธรรมและรับเรื่องร้องเรียนสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยแสดงความเห็นว่าการอ้างแหล่งข่าวสามารถทำได้แต่สื่อมวลชนจะต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่นำเสนอหากเกิดการฟ้องร้องจะต้องมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าข้อมูลนั้นมาจากใคร

 หากเป็นประเด็นที่ไม่กระทบต่อสังคมในวงกว้างสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยจะรอให้ผู้เสียหายจากการเสนอข่าวเข้ามาร้องเรียนเพื่อดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงแล้วออกคำแนะนำหรือบทลงโทษต่อสื่อมวลชนรายนั้นซึ่งสภาวิชาชีพฯจะดำเนินการได้เฉพาะองค์กรสื่อที่เป็นสมาชิกเท่านั้น

 สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อ10 เมษายน2552 ปัจจุบันมีองค์กรสื่อลงนามร่วมเป็นสมาชิก16 องค์กรแบ่งเป็นสถานีโทรทัศน์13 องค์กรและสถานีวิทยุ3 องค์กรมีหน้าที่สนับสนุนกลไกการควบคุมกันเองทางด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบของสื่อมวลชนเพื่อให้สมาชิกผลิตผลงานที่มีคุณภาพสู่สังคมไทย

ข้อมูลจาก

https://www.voicetv.co.th/read/12216

http://proceedings.bu.ac.th/index.php/com-phocadownload-controlpanel/csr?download=226:ความรับผิดชอบของสื่อมวลชน&start=20

คุณธรรมจริยธรรมจรรยาบรรณมีความสำคัญอย่างไร

อาจสรุปความเกี่ยวพันระหว่างคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณได้ว่า คุณธรรมเป็นหลักเกณฑ์ฝ่ายดีที่เป็นสำนึกที่เกิดขึ้นในจิตใจมนุษย์ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนแล้ว ส่วนจริยธรรมเป็นกฎของการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง ที่ควรเป็นที่ยอมรับ ส่วนจรรยาบรรณนั้นเป็นข้อกติกาเพื่อกำหนดให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มต้องประพฤติในสภาวการณ์ต่างๆนั่นเอง

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ หมายถึงอะไร มีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพอย่างไร

คุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ คือ สิ่งที่ช่วยควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในการประกอบอาชีพ โดยการคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น หรือไม่ใช่ความรู้ความสามารถไปทำที่ไม่ถูกต้อง จึงทำให้เกิดผลเสียต่อตนเอง 1. ช่วยให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความราบรื่นและสงบ 2. ช่วยให้มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา

จริยธรรมมีความสำคัญต่อชีวิตเราอย่างไร

จริยธรรมมีความสำคัญสำหรับเป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติสำหรับตนเองและสังคมโดยรวม ซึ่งเมื่อบุคคลได้นำมาปฏิบัติแล้ว ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์สุข มีความสงบและเจริญก้าวหน้า องค์การใดหรือหมู่คณะใด ได้ประพฤติปฏิบัติในหลักของจริยธรรมแล้ว ย่อมเป็นสังคมแห่งอารยะ คือ สังคมแห่งผู้เจริญอย่างแท้จริง โดยมีผู้กล่าวถึงความสำคัญของ ...

จริยธรรม คือ อะไร มีความ สำคัญ อย่างไร

จริยธรรมเป็นแนวทางการประพฤติปฏิบัติ ที่อาศัยหลักการด้านศีลธรรม เป็นเหตุ เป็นผลให้คนในสังคมมีการแยกแยะสิ่งที่ถูกต้องควรทำและสิ่งที่ผิดไม่ควรทำ ไม่เบียดเบียนกัน เห็นแก่ประโยชน์ตนเองและผู้อื่น เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นปกติสุข สาเหตุของความ เสื่อมทางจริยธรรมของสังคมไทยเป็นเพราะขาดการขัดเกลาทางสังคม สถาบันทางสังคม ...