ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์

         ในชีวิตประจำวันทุกวันนี้มนุษย์เราใช้ท่าทางประกอบการพูดหรือบางครั้งมีการแสดงสีหน้า ความรู้สึก เพื่อเน้นความหมายด้วยในทางนาฏศิลป์ ภาษาท่าเสมือนเป็นภาษาพูดโดยไม่ต้องเปล่งเสียงออกมา แต่อาศัยส่วนประกอบอวัยวะของร่างกาย แสดงออกมาเป็นท่าทาง โดยเลียนแบบท่าทางธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ การปฏิบัติภาษาท่าทางนาฏศิลป์แบ่งออกได้ ดังนี้

          1. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แทนคำพูด เช่น ฉัน เธอ ท่าน ปฏิเสธ ท่าเรียก ท่าไป
          2. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์อิริยาบทหรือกิริยาอาการ เช่น ท่ายืน ท่าเดิน ท่านั่ง
          3. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ เศร้าโศก

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แทนคำพูด การเปรียบเทียบท่าทางธรรมชาติ กับภาษาท่าของตัวพระและตัวนาง

          ท่าแนะนำตัวเอง

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ที่มา : http://thaiclassicaldances.wikispaces.com/ท่าแนะนำตัวเอง

          ท่าท่าน

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ที่มา : http://thaiclassicaldances.wikispaces.com/ท่าท่าน

          ท่าปฏิเสธ

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ที่มา : http://thaiclassicaldances.wikispaces.com//ท่าปฏิเสธ

          ท่าเรียก

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ที่มา : http://thaiclassicaldances.wikispaces.com/ท่าเรียก

          ท่าไป

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ที่มา : http://thaiclassicaldances.wikispaces.com//ท่าไป

          ท่านั่งตัวนางและตัวพระ

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ที่มา : http://thaiclassicaldances.wikispaces.com/ท่านั่งตัวนางและตัวพระ

          ท่ายืน

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ที่มา : http://thaiclassicaldances.wikispaces.com/ท่ายืน


         ท่า นางไหว้ พระรับไหว้

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

เป็นการพนมมือระหว่างอก แยกปลายนิ้วให้ออกจากกัน
ที่มา :http://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/cgi-bin/mcp/
main_php/print_informed.php?id_count_inform=11824

          ท่าเดิน

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ที่มา : http://thaiclassicaldances.wikispaces.com/ท่าเดิน

          ท่าดีใจ

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ที่มา : http://thaiclassicaldances.wikispaces.com/ท่าดีใจ

          ท่ารัก

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ที่มา : http://thaiclassicaldances.wikispaces.com/ท่ารัก

ท่าอาย

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ที่มา : http://thaiclassicaldances.wikispaces.com/ท่าอาย

ท่าร้องไห้

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ที่มา : http://thaiclassicaldances.wikispaces.com/ท่าร้องไห้

ท่าโกรธ

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ที่มา : http://thaiclassicaldances.wikispaces.com/ท่าโกรธ

ท่าเศร้า เสียใจ

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ที่มา : http://thaiclassicaldances.wikispaces.com/ท่าเศร้า+เสียใจ

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร

ขอบคุณเว็บไซต์ : http://thaiclassicaldances.wikispaces.com/ภาษาท่าทางนาฏศิลป์

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อผู้ชมการแสดงอย่างไร
                            ๒. ภาษานาฏศิลป์ที่มาจากการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสื่อความหมายโดยเฉพาะ เป็นท่าที่ครูอาจารย์ทางนาฏศิลป์คิดประดิษฐ์ขึ้นโดยเฉพาะ และยึดถือเป็นแบบฉบับมาจนทุกวันนี้ เช่น ท่าสู้ ท่าปกป้องคุ้มครอง ท่าประเทศไทย ท่าที่นี่ ท่าขู่ฆ่า ท่าพินาศย่อยยับ เป็นต้น

ที่จะต้องแสดงออกเป็นท่ารำ  เช่น    สอดสร้อยมาลา  เป็นต้น ภาษาท่าเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ความหมายระหว่างผู้แสดงและผู้ชม ในการแสดงนาฏศิลป์ เพราะทำให้ผู้ชมทราบว่าผู้แสดงกำลังสื่ออะไร  หรือกำลังมีอารมณ์อย่างไร 

ภาษานาฏศิลป์
ความหมายของภาษานาฏศิลป์
โดยปกติแล้ว มนุษย์จะใช้ท่าทางประกอบคำพูด และเมื่อต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อาจจะใช้สีหน้าหรือความรู้สึกประกอบคำพูดนั้นๆ ด้วย เช่น กวักมือเข้า หมายถึงให้เข้ามาหา โบกมือออกไป หมายถึงให้ออกไป ในการแสดงนาฏศิลป์ ได้นำท่าธรรมชาติเหล่านี้มาประดิษฐ์ขึ้นเป็นท่าทางที่สวยงาม เราเรียกว่า “ภาษาท่านาฏศิลป์” ซึ่งท่าทางที่เลียนแบบธรรมชาตินี้ อาจจำแนกออกเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. ท่าที่ใช้แทนคำพูด เช่น ปฏิเสธ เรียก ไป มา รับ ส่ง ฯลฯ
๒. ท่าแสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบถ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน ฯลฯ
๓. ท่าที่แสดงอารมณ์ภายใน เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ รัก ฯลฯ
ในการร่ายรำท่าต่างๆ เหล่านี้ ได้นำมาประกอบบทร้อง เพลงดนตรี โดยมุ่งถึงความสง่างามของลีลาท่ารำ
และจำเป็นต้องอาศัยความงามทางศิลปะเข้าช่วย วิธีการใช้ท่าทางประกอบบทร้อง บทพากย์ และเพลงดนตรีนี้ ทางนาฏศิลป์เรียกว่า การรำตีบทหรือการรำบท ซึ่งเปรียบได้ว่าเป็นวิธีการอธิบายความหมายของท่าในนาฏศิลป์
สรุปได้ว่า ภาษานาฏศิลป์ หมายถึง การแสดงท่าทางเลียนแบบธรรมชาติอย่างงดงาม สอดคล้องกับความหมายของคำร้องหรือคำประพันธ์เพื่อแทนคำพูด กิริยาอาการ ความรู้สึก และสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกันทั้งผู้แสดงและผู้ชม
ความสำคัญของภาษานาฏศิลป์
ภาษานาฏศิลป์ เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นองค์ประกอบหนึ่งของนาฏศิลป์ไทย แสดงถึงความสุนทรีย์ (งดงาม) ของงานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย ช่วยสื่อความหมายและทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้งผู้แสดงและผู้ชม
ประโยชน์ของภาษานาฏศิลป์
ประโยชน์ของภาษานาฏศิลป์มีดังนี้
๑) ช่วยพัฒนาการแสดงนาฏศิลป์ไทยให้มีความสวยงามได้มาตรฐาน
๒) ช่วยสื่อความหมายให้เข้าใจได้ตรงกันเมื่อเรียกและใช้ภาษานาฏศิลป์ต่างๆ ๓) ใช้เป็นแนวทางในการประดิษฐ์ท่าร่ายรำของการแสดงนาฏศิลป์ชุดต่างๆ

ประเภทของภาษานาฏศิลป์
ภาษานาฏศิลป์อาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
๑. ภาษานาฏศิลป์ที่ปรุงแต่งจากท่าทางตามธรรมชาติของมนุษย์ ได้แก่
๑.๑ ท่าทางที่ใช้แทนคำพูด เช่น ปฏิเสธ ไป มา เป็นต้น
๑.๒ ท่าแสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบท เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น
๑.๓ ท่าที่แสดงอารมณ์ภายใน เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ รัก เป็นต้น
๒. ภาษานาฏศิลป์ที่มาจากการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสื่อความหมายโดยเฉพาะ เป็นท่าที่ครูอาจารย์ทางนาฏศิลป์คิดประดิษฐ์ขึ้นโดยเฉพาะ และยึดถือเป็นแบบฉบับมาจนทุกวันนี้ เช่น ท่าสู้ ท่าปกป้องคุ้มครอง ท่าประเทศไทย ท่าที่นี่ ท่าขู่ฆ่า ท่าพินาศย่อยยับ เป็นต้น
ภาษานาฏศิลป์มีอยู่มากมาย ที่นักเรียน ควรเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้ถูกต้องเหมาะสม มีดังต่อไปนี้
๑) ท่าแนะนำตัว หมายถึงสรรพนามแทนตัวเรา หรือ ฉัน หรือ ข้าพเจ้า ปฏิบัติดังนี้ : จะนั่ง หรือยืนก็ได้ มือซ้ายใช้จีบหงายที่อก หรือใช้ฝ่ามือซ้ายแตะที่อก หรือชี้นิ้วชี้ซ้ายที่อก หรือใช้นิ้วหัวแม่มือข้างซ้ายชี้ที่อกก็ได้
๒) ท่าท่าน ปฏิบัติดังนี้ : ยกมือข้างใดข้างหนึ่งขึ้นตั้งฉากระดับใบหน้า ตามองที่มือยกขึ้น เอียงศีรษะ
ตรงข้ามกับมือที่ยกขึ้น
๓) ท่ารัก ชื่นชม ปฏิบัติดังนี้ : แบมือทั้ง ๒ ประสานกันทาบที่ฐานไหล่ ใบหน้ายิ้มแสดงอารมณ์
มีความสุข ส่งสายตาประสานกัน
๔) ท่าเศร้าโศก เป็นทุกข์ ปฏิบัติดังนี้ : แบมือทั้ง ๒ ประสานลำแขนที่หน้าท้อง เอียงศีรษะให้งดงาม
ก้มหน้าเล็กน้อย แสดงสีหน้าเศร้า
๕) ท่าปฏิเสธ ไม่ ปฏิบัติดังนี้ : ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งตั้งวงหน้าระดับอก แล้วสั่นข้อมือและใบหน้าเล็กน้อย เอียงศีรษะตรงข้ามกับมือที่ตั้งวง
๖) ท่าเธอ ปฏิบัติดังนี้ : ชี้นิ้วซ้ายมาด้านหน้าระดับอก เอียงศีรษะข้างขวา
๗) ท่าที่นี่ ปฏิบัติดังนี้ : ใช้นิ้วชี้ของมือข้างใดข้างหนึ่งชี้ลงพื้นด้านหน้าลำตัวระดับหน้าท้อง
ในลักษณะคว่ำมือและหักข้อมือลง เอียงศีรษะตรงข้ามกับมือที่ชี้นิ้ว ส่งสายตามองนิ้วที่ชี้
๘) ท่ายิ้ม ปฏิบัติดังนี้ : ใช้มือซ้ายกรีดมือจีบคว่ำเข้าหาปาก เอียงศีรษะและลำตัวข้างเดียวกับมือที่จีบ
ริมฝีปาก ใบหน้ายิ้มให้งดงาม แสดงสีหน้าดีใจ มีความสุข
๙) ท่าตาย ปฏิบัติดังนี้ : แบมือหงายทั้ง ๒ ข้าง เหยียดแขนตึงระดับไหล่
๑๐) ท่ามา มี ๒ ขั้นตอน ปฏิบัติดังนี้ : ขั้น ตอนที่ ๑ ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งตั้งวงหน้า
ขั้นตอนที่ ๒ หักข้อมือ พร้อมกดฝ่ามือลงอย่างรวดเร็ว ให้มืออยู่ในลักษณะจีบคว่ำเพียงเล็กน้อย
๑๑) ท่าไป มี ๒ ขั้นตอน ปฏิบัติดังนี้ : ขั้นตอนที่ ๑ ใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง ทำนาฏยศัพท์จีบหงาย
ที่ข้างหน้าระดับอก
ขั้นตอนที่ ๒ ม้วนจีบคว่ำลง ม้วนมือออกไปปล่อยจีบ หักข้อมือขึ้นเป็นตั้งวงหน้า
๑๒) ท่าทำลายพินาศ ย่อยยับ มี ๒ ขั้นตอน ปฏิบัติดังนี้ : ขั้นตอนที่ ๑ ถูฝ่ามือระดับหน้าท้อง
ขั้นตอนที่ ๒ แยกฝ่ามือทั้งสองข้างไว้ข้างลำตัว เหยียดแขนตึง

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

Related

การฝึกปฏิบัตินาฏยศัพท์และภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทยมีประโยชน์อย่างไร

๑. ช่วยพัฒนาการแสดงนาฏศิลป์ไทยให้มีความสวยงามได้มาตรฐาน ๒. ช่วยสื่อความหมายให้เข้าใจได้ตรงกันเมื่อเรียกและใช้ภาษานาฏศิลป์ต่างๆ ๓. ใช้เป็นแนวทางในการประดิษฐ์ท่าร่ายรำของการแสดงนาฏศิลป์ชุดต่างๆ

นาฏยศัพท์ และภาษาท่า เกี่ยวข้องกับการแสดงนาฏศิลป์ โขน ละคร อย่างไร

นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับลักษณะท่ารำ ที่ใช้ในการฝึกหัดเพื่อแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่างๆ “นาฏย” หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เกี่ยวกับการแสดงละครศัพท์” หมายถึง เสียง คำ คำยากที่ต้องแปล เรื่อง เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน ทำให้ได้ความหมายขึ้นมา

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทยมีความหมายว่าอย่างไร

ภาษาท่า เป็นการนำท่าทาง สีหน้าที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น คำพูด กริยาอาการ อารมณ์ ความรู้สึกมาปฏิบัติ เป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยที่มีความหมายแทนคำพูด ให้สอดคล้องกับจังหวะเพลงและการขับร้อง การฝึกปฏิบัติ ภาษาท่าจะต้องฝึกให้ถูกต้องตามแบบแผนเพื่อจะได้สื่อความหมายได้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้ชมเข้าใจความหมายที่ผู้ แสดงต้องการสื่อความ ...

ข้อใดเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดในการประดิษฐ์ภาษาท่าขึ้นมาใช้ในการแสดงนาฏศิลป์

Q. ข้อใดเป็นเหตุผลสําคัญที่สุดในการประดิษฐ์ภาษาท่าขึ้นมาใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อให้สอดคล้องกับคําร้อง เพื่อให้เป็นที่พอใจของนักแสดง