แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนำมาใช้กับการดำเนินชีวิตจริงได้อย่างไร

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

      เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี

     เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม

     ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้

     ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว

     อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม

    ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ

     กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง

     ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น

     การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

" … ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน
มีความสงบและทำงานตั้งอธิษฐาน ตั้งปณิธาน
ในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพอกิน
ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่มีความความพออยู่พอกิน มีความสงบ
เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้
เราก็จะยอดยิ่งยวดได้ …
ฉะนั้นถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความคิดและมีอิทธิพล
มีพลังที่จะทำให้ผู้อื่น ซึ่งมีความคิดเหมือนกัน
ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำพอควร
พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้
ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล "

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542

คำสั้นๆได้ใจความ...คำว่า “หนี้” ได้ยินเพียงเบาๆ ก็สะเทือนใจ หลายคนคงอยากจะหนีให้ห่างไกลกับคำนี้ และเมื่อเป็นหนี้แล้วคงไม่มีใครที่อยากกลับไปเป็นหนี้อีกแน่นอน เพราะกว่าที่จะปลดหนี้ได้ ต้องใช้ทั้งกำลังใจ และความพยายามอย่างมาก

ปลดหนี้ว่ายากแล้ว แต่ที่ยากกว่าก็คือ ทำอย่างไร ไม่ให้กลับไปเป็นหนี้อีก วันนี้เราขอแนะนำวิธีการที่ไม่ให้กลับไปเป็นหนี้ โดยนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร ?

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวคิดปรัชญาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ชี้ถึงแนวทางในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกระดับ เพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตอยู่ในทางสายกลางและความพอเพียง ซึ่ง “ความพอเพียง” ในมุมมองของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักสำคัญซึ่งประกอบด้วย 3 ห่วง ได้แก่ :

ห่วงที่ 1 ความพอประมาณ

ความพอประมาณในความหมายของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น หลักการนี้สามารถนำมาใช้กับการใช้เงินของคุณได้ครับ ถ้าไม่อยากกลับไปเป็นหนี้ก็ควรใช้จ่ายให้พอดีกับความต้องการ เช่น ซื้อรถที่พอดีกับการใช้งาน กินแต่พอดี

หรืออาจนำมาใช้ในเรื่องการออมเงินก็ได้ โดยตามหลักการนี้คุณควรที่จะออมพอดี หรือออมแบบทางสายกลาง ไม่มากไป ไม่น้อยไป เพราะถ้าคุณออมน้อยไป เมื่อคุณต้องการใช้เงิน แล้วคุณไม่มีเงินออม คุณก็อาจกลับไปเป็นหนี้อีก หรือถ้าออมมากเกินไป คุณก็จะมีเงินไม่พอใช้ และไม่มีความสุข เพราะฉะนั้นออมแบบพอดีๆ จะช่วยให้คุณมีเงินเหลือกินเหลือใช้และเหลือเก็บนั่นเอง

ห่วงที่ 2 มีเหตุผล

การตัดสินใจในเรื่องการเงินนั้นต้องตั้งอยู่บนความพอดี และความพอดีนั้นต้องมีเหตุผลด้วย โดยก่อนจะทำอะไรควรมองปัจจัยต่างๆให้รอบด้าน และลองคิดดูว่าการกระทำนั้นจะส่งผลอะไรบ้างในอนาคต เช่น ก่อนตัดสินใจเป็นหนี้ ควรหยุดคิดก่อนว่า เราเป็นหนี้เพราะอะไร มันจำเป็นจริงเหรอ และหนี้จะส่งผลอย่างไรกับเราในอนาคต หรือถ้าเป็นเรื่องการลงทุน ก่อนลงทุนก็ควรวิเคราะห์ให้รอบด้าน ไม่ควรรีบร้อน เพราะทุกการลงทุนมักมีความเสี่ยง

ดังนั้นแนะนำว่า ก่อนที่จะทำอะไรที่เกี่ยวกับเงินๆทองๆ อยากให้ใจเย็นๆก่อนนะครับ ลองนั่งคิดทบทวนเหตุผลให้ดีๆ ว่าจะส่งผลยังไงในอนาคต เพราะถ้าคุณมีเหตุผลในการใช้เงินแล้ว โอกาสที่คุณจะกลับไปเป็นหนี้ก็จะไม่มีอีกเลย..

ห่วงที่ 3 ภูมิคุ้มกัน

การมีภูมิคุ้มกัน หมายถึงการเตรียมพร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลง โดยคาดการณ์สถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการมีภูมิคุ้มกันนั้นจะเป็นเกราะป้องกัน ที่จะทำให้คุณไม่กลับไปเป็นหนี้อีก โดยภูมิคุ้มกันในที่นี้ก็คือ ภูมิคุ้มกันด้านการเงิน ซึ่งได้แก่ :
 

แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนำมาใช้กับการดำเนินชีวิตจริงได้อย่างไร
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนำมาใช้กับการดำเนินชีวิตจริงได้อย่างไร

นอกจากหลักสำคัญ 3 ห่วงที่กล่าวไปแล้ว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังมี เงื่อนไข ที่ช่วยให้การตัดสินใจ และให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับที่พอเพียง โดยเงื่อนไขมี 2 ประการดังนี้ :

เงื่อนไข ความรู้

ก่อนที่จะทำอะไร ควรมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นให้รอบด้านเสียก่อน เพราะการตัดสินใจด้วย เงื่อนไขความรู้ จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

เรื่องการเงินก็เช่นกัน การมีความรู้เรื่องเงินๆทองๆ จะช่วยให้คุณตัดสินใจในเรื่องการเงินไม่ผิดพลาด และไม่โดนคนอื่นมาเอาเปรียบ นอกจากนี้เงื่อนไขความรู้ยังรวมถึงการพัฒนาความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพอีกด้วย เพราะความรู้จะช่วยให้คุณมีรายได้เพิ่มขึ้น และเลี้ยงตัวเองได้

เงื่อนไข คุณธรรม

เงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไขที่จะต้องเสริมสร้าง โดยจะประกอบด้วย การมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต รวมถึงอดออมอยู่เสมอ และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดก็คือ การแบ่งปัน และช่วยเหลือผู้อื่น การมีเงื่อนไขข้อนี้จะทำให้คุณใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข หลังจากที่ไม่มีหนี้

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยคุณไม่ให้กลับไปเป็นหนี้ได้ แต่สุดท้ายก็อยู่ที่ว่าคุณได้นำไปปรับใช้หรือเปล่า และไม่ใช่แค่เรื่องหนี้กับเรื่องการเงินเท่านั้น คุณสามารถนำหลักการนี้ไปใช้กับเรื่องอื่นๆในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

หลังจากที่คุณปลดหนี้ได้แล้ว ลองใช้ชีวิตแบบพอเพียงดู แล้วคุณจะพบกับความสุขที่แท้จริง..

แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างไรบ้าง

เราสามารถมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยร่วมปฏิบัติในสิ่งง่าย ดังนี้ 1. ยึดหลักประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จ าเป็นในทุก ด้าน ลด ละ ความฟุ่มเฟือยในการดารงชีวิต 2. ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ใน ภาวะขาดแคลนในการดารงชีพ 3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ที่รุนแรงและไม่ถูกต้อง

เศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างไร

เศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญและมีคุณค่าต่อประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับประเทศ โดยเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตแบบพออยู่พอกินและสามารถพึ่งพาตนเองได้ เศรษฐกิจพอเพียงจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ อันจะนำไปสู่สังคมที่มีคุณภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่ง ...

เศรษฐกิจพอเพียงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยอย่างไร

เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจได้ เช่น โดยพื้นฐานแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศจึงควรเน้นที่เศรษฐกิจการเกษตร เน้นความมั่นคงทางอาหาร เป็นการสร้างความมั่นคงให้เป็นระบบเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง จึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเสี่ยง หรือความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจใน ...

การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับข้อใด

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความพอประมาณ