ความเครียดส่งผลต่อจิตใจอย่างไร

ผลกระทบต่อร่างกาย ที่เกิดจาก "ความเครียด"

เผยแพร่: 8 พ.ย. 2562 14:50   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Show

ความเครียดถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งความเครียดมีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัย ทั้งจากปัจจัยภายนอก เช่น ครอบครัว สิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านการเงิน ความกดดันในที่ทำงาน เหตุการณ์บ้านเมือง ฯลฯ และจากปัจจัยภายใน ที่อาจเกี่ยวข้องกับอุปนิสัย ความคิด เช่น มีความคาดหวังสูง ต้องการความสำเร็จสูง มีความอ่อนไหวง่าย เป็นคนปรับตัวยาก ฯลฯ เป็นต้น

ความเครียด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

1. Acute Stress เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันที โดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายและฮอร์โมนจะกลับสู่ปกติ

2. Chronic Stress เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น เมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง

ความเครียดส่งผลต่อจิตใจอย่างไร

ผลพวงจากความเครียด มีอะไรบ้าง?

1. การแสดงออกทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ฉุนเฉียวง่าย โมโหร้าย ระงับอารมณ์ไม่ค่อยอยู่ ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ เบื่อซึม ท้อแท้ มองโลกในแง่ร้าย เป็นต้น

2. การแสดงออกทางด้านพฤติกรรม เช่น กัดเล็บ ดึงผม แยกตัว ไม่เข้าสังคม พูดจาก้าวร้าวขึ้นหรือพูดน้อยลง เป็นต้น

3. การแสดงออกทางร่างกาย โดยเมื่อเกิดภาวะเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนสารทุกข์ออกมาคือ อะดรีนาลิน สตีรอยด์ เมื่อฮอร์โมนเหล่านี้เข้าสู่กระแสหมุนเวียนเลือดจะนำไปสู่อวัยวะสำคัญต่าง ๆ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงการทำงานของอวัยวะสำคัญๆ แปรปรวนไป เช่น นอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก อ่อนเพลีย กินเก่งหรือเบื่ออาหาร ท้องผูก สมรรถภาพทางเพศลดลง ปวดท้อง ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดศีรษะ มึนงง หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ฯลฯ

โดยความเครียดอาจนำไปสู่โรคต่างๆ ได้ เช่น โรคทางเดินอาหาร โรคไมเกรน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคมะเร็ง เป็นต้น

วิธีขจัดความเครียดด้วยตัวเอง

- ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
- ออกไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อน หรือพูดคุยกับครอบครัว
- ผ่อนคลายความเครียดด้วยตัวเอง เช่น ฝึกสมาธิ ออกเดินทางท่องเที่ยว
- หางานอดิเรกทำในยามว่าง เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูหนัง ฯลฯ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ทั้งนี้ หากคุณรู้สึกว่าความเครียดเริ่มมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เช่น การนอน การรับประทานอาหาร การงาน และความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับคนรอบข้าง ควรเข้าพบและปรึกษาจิตแพทย์เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป เพราะผู้ที่เกิดความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานาน หากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้


ข้อมูลอ้างอิงประกอบ


https://www.honestdocs.co
https://www.pobpad.com
https://www.siamhealth.net/


MOBILE

ความเครียด (Stress)

✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว

KEY POINTS:


  • เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ความทุกข์ใจ ความกดดัน ร่างกายจะตอบสนองต่อเหตุการณ์เหล่านั้นด้วยภาวะเครียด มี 3 ประเภทคือ ความเครียดเฉียบพลัน ความเครียดเฉียบพลันเป็นช่วงเวลา และความเครียดเรื้อรังที่อาจนำไปสู่ความผิดปกติทางร่างกายต่างๆ ได้
  • ความเครียดเรื้อรังอาจนำมาสู่ความผิดปกติทางและโรคต่างๆ ได้ เช่น อาการปวดตึงศีรษะ เครียดลงกระเพาะ การรับประทานอาหารเปลี่ยนไป โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคจิตเวชอย่างโรคซึมเศร้า โรควิตกกกังวล
  • ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดในชีวิต ดังนั้นการจัดการกับความเครียดเป็นการรับมือที่ดีที่สุด เช่น การออกกำลังกาย การนอนหลับให้เพียงพอ การตั้งเป้าหมายเพื่อให้ตัวเองรู้สึกควบคุมสถานการณ์ได้ รวมถึงการปรึกษาจิตแพทย์


Table of Contents
ความเครียดคืออะไร?
ความเครียดเกิดจากอะไร?
ความเครียดและความวิตกกังวลต่างกันอย่างไร?
ความเครียดมีกี่ประเภท?
อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเครียด
ภาวะแทรกซ้อนจากความเครียด
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
จัดการกับความเครียดอย่างไร?
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเกิดความเครียด


ความเครียดคืออะไร?

ความเครียด (Stress) เป็นภาวะทางจิตใจที่ร่างกายตอบสนองต่อความทุกข์ และความกดดันในรูปแบบของอารมณ์โกรธ สับสนและเสียใจเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์รวมถึงสถานการณ์ใหม่ๆ ความเครียดที่เกิดขึ้นสามารถพัฒนาความรุนแรงจนกลายเป็นปัญหาและสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ รวมถึงด้านพฤติกรรม

เราทุกคนต่างเคยเผชิญกับ “ความเครียด” แต่ความสามารถในการรับมือกับความเครียดของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรม เหตุการณ์ในชีวิตที่เคยเผชิญ รวมถึงบุคลิกหรือลักษณะนิสัยส่วนบุคคล


ความเครียดเกิดจากอะไร?


ความเครียดส่งผลต่อจิตใจอย่างไร

ความเครียดเกิดจากการเผชิญสิ่งต่างๆ ในชีวิต สามารถจำแนกต้นเหตุของความเครียดได้ ดังนี้


  • เกิดจากสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ เช่น กลัวที่จะเริ่มคุยกับเพื่อนใหม่ กลัวสอบไม่ผ่าน การตกเป็นเหยื่อ การทำงานในที่อันตราย หรืออยู่ในครอบครัวยากจน เป็นต้น
  • เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่น การเปลี่ยนสถานศึกษา การเปลี่ยนที่ทำงาน การโยกย้ายตำแหน่ง การย้ายมาอยู่กับคู่สมรส การสูญเสียบุคคลที่รัก การหย่าร้าง เป็นต้น
  • เกิดจากการเจ็บป่วย เช่น ใช้ชีวิตอยู่กับโรคเรื้อรัง ใช้ชีวิตอยู่กับความทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะกะทันหัน เป็นต้น

เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนความเครียด เพื่อต่อสู้กับความเครียดรวมถึงกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้นกันในร่างกาย ประโยชน์ของฮอร์โมนความเครียดคือ ช่วยให้เราตอบสนองหรือหาทางแก้ไขเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียดเหล่านี้ เช่น ช่วยให้เรากล้าที่จะพูด กล้าที่จะทำอะไรบางอย่าง แต่หากร่างกายหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้มากเกิดไปหรือติดต่อกันนานๆ อาจกลายเป็นผลเสียได้ เช่น ทำให้เรารับมือกับความเครียดได้ยาก ทำให้รู้สึกอึดอัดใจ นานไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจและร่างกายได้


ความเครียดและความวิตกกังวลต่างกันอย่างไร?

ความเครียดและความวิตกกังวลมีความแตกต่างอยู่ที่ช่วงเวลาของเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยประสบ โดยความเครียดจะเป็นภาวะทางจิตใจที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ตัวเองกำลังประสบอยู่ หรือเคยเผชิญเหตุการณ์ในอดีตแล้วย้อนกลับมาเกิดซ้ำอีก

ในขณะที่ความวิตกกังวลจะเป็นภาวะความไม่สบายใจ หวาดหวั่นและตึงเครียด เมื่อได้รับรู้หรือคาดการณ์ความเลวร้าย รวมถึงความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองในอนาคต ความวิตกกังวลก็สามารถสร้างผลเสียให้กับร่างกายและจิตใจได้เช่นกัน


ความเครียดมีกี่ประเภท?


ความเครียดส่งผลต่อจิตใจอย่างไร

ความเครียดสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้


  1. ความเครียดเฉียบพลัน (Acute stress): ความเครียดที่เกิดขึ้นมากะทันหัน เป็นปฏิกิริยาต่อสถานการณ์ที่กดดัน ท้าทายหรือสิ่งที่ไม่คาดคิดมาก่อน เป็นประเภทของความเครียดที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด
  2. ความเครียดเฉียบพลันเป็นช่วงเวลา (Episodic acute stress): ความเครียดที่เกิดขึ้นกะทันหันแบบบ่อยครั้ง เนื่องจากต้องเจอกับสถานการณ์ตึงเครียดอยู่บ่อยๆ ความเครียดประเภทนี้จะทำให้รู้สึกกดดันอยู่บ่อยครั้งหรือสิ่งต่างๆ ไม่เป็นแบบที่คิดเลย ส่งผลให้เกิดความล้าทั้งร่างกายและจิตใจ
  3. ความเครียดเรื้อรัง (Chronic stress): ความเครียดที่เกิดขึ้นแบบกินเวลายาวนานจนส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ความเครียดเรื้อรัง เช่น การทำงานภายใต้ความกดดัน การต้องอยู่ในครอบครัวที่ไม่มีความสุข ปัญหาเรื่องรายได้ไม่เพียงพอ

นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รวบรวมกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับความเครียดโดยเฉพาะไว้ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับที่ 11 (ICD-11) ไว้ทั้งหมด 8 โรค ดังนี้


  1. โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post traumatic stress disorder)
  2. โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญชนิดซับซ้อน (Complex post traumatic stress disorder)
  3. ความเศร้าโศกจากการสูญเสียยาวนานเกินปกติ (Prolonged grief disorder)
  4. โรคการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorder)
  5. ความผิดปกติการสร้างความผูกพัน (Reactive attachment disorder)
  6. ความผิดปกติการเข้าสังคมไม่เลือกหน้า (Disinhibited social engagement disorder)
  7. โรคจำเพาะอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความเครียด (Other specified disorders specifically associated with stress)
  8. โรคที่เกี่ยวเนื่องกับความเครียด แต่ไม่มีความเฉพาะเจาะจง (Disorders specifically associated with stress, unspecified)

อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเครียด

อาการเครียดที่เกิดขึ้นได้เปลี่ยนแปลงร่างกายหลายๆ ด้าน จะเป็นสัญญาณเตือนที่ดีว่าผู้ป่วยกำลังเครียดอยู่ โดยจะแบ่งกลุ่มอาการได้ ดังนี้


  1. อาการด้านเชาวน์ปัญญา: หลงลืมง่ายแม้แต่เรื่องเล็กน้อย สมาธิสั้น ความอดทนต่ำ ความสามารถการแก้ไขปัญหาลดลง ประสิทธิภาพในการตัดสินใจแย่ลง มองโลกในแง่ร้าย เห็นแต่ด้านลบของสิ่งต่างๆ
  2. อาการด้านอารมณ์: อารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ฉุนเฉียวง่าย ซึมเศร้า เสียใจ ตื่นตระหนก รู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว
  3. อาการด้านร่างกาย: ปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะศีรษะ ไหล่และคอ ระบบขับถ่ายมีปัญหา ผมร่วง เป็นสิว ผิวอักเสบ หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกง่าย อ่อนเพลีย ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้กำเริบ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ความต้องการทางเพศน้อยลง
  4. อาการด้านพฤติกรรม: รับประทานอาหารมากขึ้นหรือน้อยลง นอนไม่หลับ ปลีกตัวเองออกจากสังคม รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา ทำผิดพลาดตลอดเวลา สูบบุหรี่มากขึ้น ดื่มแอลกอฮอล์มากหรือบ่อยครั้งขึ้น รวมถึงหันไปพึ่งยาเสพติดหรือการพนัน ความสัมพันธ์กับคนรอบเปลี่ยนไป

ภาวะแทรกซ้อนจากความเครียด


ความเครียดส่งผลต่อจิตใจอย่างไร

นอกจากความรู้สึกที่เปลี่ยนไปแล้ว ความเครียดยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบต่างๆ ในร่างกายได้อีกด้วย ได้แก่


  • การปวดศีรษะจากความตึงเครียด (Tension Headache)

ถือเป็นอาการแทรกซ้อนจากความเครียดที่พบบ่อยที่สุด โดยลักษณะการปวดจะเป็นชนิดกดบีบหรือรัดแน่นบริเวณท้ายทอย ร้าวขึ้นไปถึงบริเวณขมับและหน้าผาก บางกรณีอาจรู้สึกปวดทั้งศีรษะหรืออาจปวดร่วมกับไมเกรนด้วยก็ได้


  • ท้องไส้ปั่นป่วนจากภาวะความเครียด (Upset stomach)

ความเครียดส่งผลต่อการสื่อสารระหว่างสำไส้และสมอง ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าลำไส้ปั่นป่วนซึ่งเกิดมาจากความเครียด โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดท้องหรือมีแก๊สในท้อง รวมถึงส่งผลให้จุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุลจนนำไปสู่โรคระบบทางเดินอาหาร (Digestive disease) ต่างๆ ตามมา อย่างโรคกระเพาะอาหารหรือที่เรียกว่า เครียดลงกระเพาะ


  • ความผิดปกติของการรับประทานอาหาร (Eating disorders)

ความเครียดจะส่งผลต่อระบบประสาทที่เกี่ยวกับการกิน ทำให้พฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ที่มีภาวะเครียดเปลี่ยนแปลงไป บางรายมีพฤติกรรมกินจุบจิบ กินมากกว่าปกติ รวมถึงกินหนักกลางดึก แต่ในบางรายกลับกินน้อยกว่าปกติ


  • โรคหัวใจและหลอดเลือดที่สัมพันธ์กับความเครียด (Cardiovascular Diseases)

เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนและคอร์ติซอล ซึ่งอะดรีนาลีนจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ในขณะที่คอร์ติซอลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและเพิ่มคอเลสเตอรอล ในระยะยาวส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง


อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์

หากผู้ป่วยมีอาการเครียดหนักขึ้นดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา


  • ไม่สามารถจัดการความรู้สึกจากความเครียดที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง เช่น เริ่มเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า
  • รู้สึกเครียดและวิตกกังวลมากเกินปกติ
  • ความเครียดได้สร้างผลเสียต่อกิจวัตรประจำวัน

ความเครียดส่งผลต่อจิตใจอย่างไร


จัดการกับความเครียดอย่างไร?


ความเครียดส่งผลต่อจิตใจอย่างไร

การจัดการกับความเครียดไม่เพียงแค่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้


  1. ออกกำลังกายเพื่อให้นอนหลับง่ายและหลับลึกขึ้น ส่งผลให้รู้สึกเครียดน้อยลงแม้จะเป็นเพียงการเดินในระยะสั้นๆ
  2. ในแต่ละวันก่อนเข้านอน ควรแบ่งเวลาเพื่อทบทวนสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น อะไรที่ได้ลงมือทำไปแล้วและอะไรที่ยังไม่ได้ทำ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและลดความกดดันตัวเอง
  3. ตั้งเป้าหมายให้ตัวเองในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ หรือแต่ละเดือน เพื่อให้ตัวเองมองเห็นสถาการณ์ต่างๆ ได้ชัดขึ้นและรู้สึกควบคุมได้
  4. รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี พร้อมกับงดอาหารจำพวกน้ำตาล ของมัน คาเฟอีนและกาแฟ
  5. นอนหลับให้ครบ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่ควรอดนอนหรือนอนดึก เพราะจะทำให้ระดับความเครียดสูงขึ้น
  6. หากิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ เช่น เล่นโยคะ นั่งสมาธิ ฝึกการหายใจเข้าลึกๆ ดูหนัง ฟังเพลง พูดคุยกับผู้คน หัวเราะ รวมถึงการใช้เวลาเงียบๆ เพื่อหยุดความคิดของตัวเอง
  7. พบจิตแพทย์เพื่อบำบัดความเครียดที่เกิดขึ้นและรับคำแนะนำ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเกิดความเครียด


1. โรคเครียดกับโรคซึมเศร้าเหมือนกันไหม ?

ไม่เหมือนกัน เนื่องจากความเครียดเป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อเหตุการณ์กดดันหรือความทุกข์ใจและไม่ใช่โรคจิตเวช ส่วนโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากเหตุการณ์ร้ายแรงหรือมีสิ่งที่กระทบจิตใจจนทำให้รู้สึกเศร้าหมองหรือเสียใจติดต่อกันเป็นเวลานาน


2. ความเครียดทำให้เจ็บหัวใจได้หรือไม่ ?

ภาวะเครียดไม่เพียงแต่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะเท่านั้น ยังทำให้เลือดมีความหนืดเนื่องจากมีไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หัวใจบีบตัวแรงและเต้นเร็วขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำรู้สึกเจ็บหัวใจเมื่อเผชิญกับความเครียด


3. โรคเครียด (ภาวะเครียด) รักษาอย่างไร ?

อันดับแรก จิตแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการตั้งคำถามเพื่อประเมินอาการและความรุนแรงของภาวะเครียด และทำการบำบัดด้วยวิธีการต่างๆ รวมถึงการแนะนำให้ผู้ป่วยรับมือหรือกำจัดความเครียดได้ดีขึ้น ในกรณีที่มีความเครียดเรื้อรังจนส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหาร จิตแพทย์อาจจ่ายยารักษาอาการทางร่างกายร่วมด้วย


4. ความเครียดทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตจริงหรือไม่ ?

ต่อมน้ำเหลืองบวมโตอาจมีความสัมพันธ์กับความเครียดได้ เนื่องจากต่อมน้ำเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เมื่อเกิดความเครียดทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อปกป้องร่างกาย จึงอาจเป็นที่มาของความเครียดทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต



✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย


ความเครียดส่งผลต่อจิตใจอย่างไร




แหล่งข้อมูล


ความเครียด (Stress)

✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว

KEY POINTS:


  • เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ความทุกข์ใจ ความกดดัน ร่างกายจะตอบสนองต่อเหตุการณ์เหล่านั้นด้วยภาวะเครียด มี 3 ประเภทคือ ความเครียดเฉียบพลัน ความเครียดเฉียบพลันเป็นช่วงเวลา และความเครียดเรื้อรังที่อาจนำไปสู่ความผิดปกติทางร่างกายต่างๆ ได้
  • ความเครียดเรื้อรังอาจนำมาสู่ความผิดปกติทางและโรคต่างๆ ได้ เช่น อาการปวดตึงศีรษะ เครียดลงกระเพาะ การรับประทานอาหารเปลี่ยนไป โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคจิตเวชอย่างโรคซึมเศร้า โรควิตกกกังวล
  • ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดในชีวิต ดังนั้นการจัดการกับความเครียดเป็นการรับมือที่ดีที่สุด เช่น การออกกำลังกาย การนอนหลับให้เพียงพอ การตั้งเป้าหมายเพื่อให้ตัวเองรู้สึกควบคุมสถานการณ์ได้ รวมถึงการปรึกษาจิตแพทย์


Table of Contents
ความเครียดคืออะไร?
ความเครียดเกิดจากอะไร?
ความเครียดและความวิตกกังวลต่างกันอย่างไร?
ความเครียดมีกี่ประเภท?
อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเครียด
ภาวะแทรกซ้อนจากความเครียด
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
จัดการกับความเครียดอย่างไร?
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเกิดความเครียด


ความเครียดคืออะไร?

ความเครียด (Stress) เป็นภาวะทางจิตใจที่ร่างกายตอบสนองต่อความทุกข์ และความกดดันในรูปแบบของอารมณ์โกรธ สับสนและเสียใจเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์รวมถึงสถานการณ์ใหม่ๆ ความเครียดที่เกิดขึ้นสามารถพัฒนาความรุนแรงจนกลายเป็นปัญหาและสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ รวมถึงด้านพฤติกรรม

เราทุกคนต่างเคยเผชิญกับ “ความเครียด” แต่ความสามารถในการรับมือกับความเครียดของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรม เหตุการณ์ในชีวิตที่เคยเผชิญ รวมถึงบุคลิกหรือลักษณะนิสัยส่วนบุคคล


ความเครียดเกิดจากอะไร?


ความเครียดส่งผลต่อจิตใจอย่างไร

ความเครียดเกิดจากการเผชิญสิ่งต่างๆ ในชีวิต สามารถจำแนกต้นเหตุของความเครียดได้ ดังนี้


  • เกิดจากสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ เช่น กลัวที่จะเริ่มคุยกับเพื่อนใหม่ กลัวสอบไม่ผ่าน การตกเป็นเหยื่อ การทำงานในที่อันตราย หรืออยู่ในครอบครัวยากจน เป็นต้น
  • เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่น การเปลี่ยนสถานศึกษา การเปลี่ยนที่ทำงาน การโยกย้ายตำแหน่ง การย้ายมาอยู่กับคู่สมรส การสูญเสียบุคคลที่รัก การหย่าร้าง เป็นต้น
  • เกิดจากการเจ็บป่วย เช่น ใช้ชีวิตอยู่กับโรคเรื้อรัง ใช้ชีวิตอยู่กับความทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะกะทันหัน เป็นต้น

เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนความเครียด เพื่อต่อสู้กับความเครียดรวมถึงกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้นกันในร่างกาย ประโยชน์ของฮอร์โมนความเครียดคือ ช่วยให้เราตอบสนองหรือหาทางแก้ไขเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียดเหล่านี้ เช่น ช่วยให้เรากล้าที่จะพูด กล้าที่จะทำอะไรบางอย่าง แต่หากร่างกายหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้มากเกิดไปหรือติดต่อกันนานๆ อาจกลายเป็นผลเสียได้ เช่น ทำให้เรารับมือกับความเครียดได้ยาก ทำให้รู้สึกอึดอัดใจ นานไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจและร่างกายได้


ความเครียดและความวิตกกังวลต่างกันอย่างไร?

ความเครียดและความวิตกกังวลมีความแตกต่างอยู่ที่ช่วงเวลาของเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยประสบ โดยความเครียดจะเป็นภาวะทางจิตใจที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ตัวเองกำลังประสบอยู่ หรือเคยเผชิญเหตุการณ์ในอดีตแล้วย้อนกลับมาเกิดซ้ำอีก

ในขณะที่ความวิตกกังวลจะเป็นภาวะความไม่สบายใจ หวาดหวั่นและตึงเครียด เมื่อได้รับรู้หรือคาดการณ์ความเลวร้าย รวมถึงความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองในอนาคต ความวิตกกังวลก็สามารถสร้างผลเสียให้กับร่างกายและจิตใจได้เช่นกัน


ความเครียดมีกี่ประเภท?


ความเครียดส่งผลต่อจิตใจอย่างไร

ความเครียดสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้


  1. ความเครียดเฉียบพลัน (Acute stress): ความเครียดที่เกิดขึ้นมากะทันหัน เป็นปฏิกิริยาต่อสถานการณ์ที่กดดัน ท้าทายหรือสิ่งที่ไม่คาดคิดมาก่อน เป็นประเภทของความเครียดที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด
  2. ความเครียดเฉียบพลันเป็นช่วงเวลา (Episodic acute stress): ความเครียดที่เกิดขึ้นกะทันหันแบบบ่อยครั้ง เนื่องจากต้องเจอกับสถานการณ์ตึงเครียดอยู่บ่อยๆ ความเครียดประเภทนี้จะทำให้รู้สึกกดดันอยู่บ่อยครั้งหรือสิ่งต่างๆ ไม่เป็นแบบที่คิดเลย ส่งผลให้เกิดความล้าทั้งร่างกายและจิตใจ
  3. ความเครียดเรื้อรัง (Chronic stress): ความเครียดที่เกิดขึ้นแบบกินเวลายาวนานจนส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ความเครียดเรื้อรัง เช่น การทำงานภายใต้ความกดดัน การต้องอยู่ในครอบครัวที่ไม่มีความสุข ปัญหาเรื่องรายได้ไม่เพียงพอ

นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รวบรวมกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับความเครียดโดยเฉพาะไว้ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับที่ 11 (ICD-11) ไว้ทั้งหมด 8 โรค ดังนี้


  1. โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post traumatic stress disorder)
  2. โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญชนิดซับซ้อน (Complex post traumatic stress disorder)
  3. ความเศร้าโศกจากการสูญเสียยาวนานเกินปกติ (Prolonged grief disorder)
  4. โรคการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorder)
  5. ความผิดปกติการสร้างความผูกพัน (Reactive attachment disorder)
  6. ความผิดปกติการเข้าสังคมไม่เลือกหน้า (Disinhibited social engagement disorder)
  7. โรคจำเพาะอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความเครียด (Other specified disorders specifically associated with stress)
  8. โรคที่เกี่ยวเนื่องกับความเครียด แต่ไม่มีความเฉพาะเจาะจง (Disorders specifically associated with stress, unspecified)

อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเครียด

อาการเครียดที่เกิดขึ้นได้เปลี่ยนแปลงร่างกายหลายๆ ด้าน จะเป็นสัญญาณเตือนที่ดีว่าผู้ป่วยกำลังเครียดอยู่ โดยจะแบ่งกลุ่มอาการได้ ดังนี้


  1. อาการด้านเชาวน์ปัญญา: หลงลืมง่ายแม้แต่เรื่องเล็กน้อย สมาธิสั้น ความอดทนต่ำ ความสามารถการแก้ไขปัญหาลดลง ประสิทธิภาพในการตัดสินใจแย่ลง มองโลกในแง่ร้าย เห็นแต่ด้านลบของสิ่งต่างๆ
  2. อาการด้านอารมณ์: อารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ฉุนเฉียวง่าย ซึมเศร้า เสียใจ ตื่นตระหนก รู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว
  3. อาการด้านร่างกาย: ปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะศีรษะ ไหล่และคอ ระบบขับถ่ายมีปัญหา ผมร่วง เป็นสิว ผิวอักเสบ หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกง่าย อ่อนเพลีย ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้กำเริบ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ความต้องการทางเพศน้อยลง
  4. อาการด้านพฤติกรรม: รับประทานอาหารมากขึ้นหรือน้อยลง นอนไม่หลับ ปลีกตัวเองออกจากสังคม รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา ทำผิดพลาดตลอดเวลา สูบบุหรี่มากขึ้น ดื่มแอลกอฮอล์มากหรือบ่อยครั้งขึ้น รวมถึงหันไปพึ่งยาเสพติดหรือการพนัน ความสัมพันธ์กับคนรอบเปลี่ยนไป

ภาวะแทรกซ้อนจากความเครียด


ความเครียดส่งผลต่อจิตใจอย่างไร

นอกจากความรู้สึกที่เปลี่ยนไปแล้ว ความเครียดยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบต่างๆ ในร่างกายได้อีกด้วย ได้แก่


  • การปวดศีรษะจากความตึงเครียด (Tension Headache)

ถือเป็นอาการแทรกซ้อนจากความเครียดที่พบบ่อยที่สุด โดยลักษณะการปวดจะเป็นชนิดกดบีบหรือรัดแน่นบริเวณท้ายทอย ร้าวขึ้นไปถึงบริเวณขมับและหน้าผาก บางกรณีอาจรู้สึกปวดทั้งศีรษะหรืออาจปวดร่วมกับไมเกรนด้วยก็ได้


  • ท้องไส้ปั่นป่วนจากภาวะความเครียด (Upset stomach)

ความเครียดส่งผลต่อการสื่อสารระหว่างสำไส้และสมอง ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าลำไส้ปั่นป่วนซึ่งเกิดมาจากความเครียด โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดท้องหรือมีแก๊สในท้อง รวมถึงส่งผลให้จุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุลจนนำไปสู่โรคระบบทางเดินอาหาร (Digestive disease) ต่างๆ ตามมา อย่างโรคกระเพาะอาหารหรือที่เรียกว่า เครียดลงกระเพาะ


  • ความผิดปกติของการรับประทานอาหาร (Eating disorders)

ความเครียดจะส่งผลต่อระบบประสาทที่เกี่ยวกับการกิน ทำให้พฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ที่มีภาวะเครียดเปลี่ยนแปลงไป บางรายมีพฤติกรรมกินจุบจิบ กินมากกว่าปกติ รวมถึงกินหนักกลางดึก แต่ในบางรายกลับกินน้อยกว่าปกติ


  • โรคหัวใจและหลอดเลือดที่สัมพันธ์กับความเครียด (Cardiovascular Diseases)

เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนและคอร์ติซอล ซึ่งอะดรีนาลีนจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ในขณะที่คอร์ติซอลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและเพิ่มคอเลสเตอรอล ในระยะยาวส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง


อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์

หากผู้ป่วยมีอาการเครียดหนักขึ้นดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา


  • ไม่สามารถจัดการความรู้สึกจากความเครียดที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง เช่น เริ่มเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า
  • รู้สึกเครียดและวิตกกังวลมากเกินปกติ
  • ความเครียดได้สร้างผลเสียต่อกิจวัตรประจำวัน

ความเครียดส่งผลต่อจิตใจอย่างไร


จัดการกับความเครียดอย่างไร?


ความเครียดส่งผลต่อจิตใจอย่างไร

การจัดการกับความเครียดไม่เพียงแค่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้


  1. ออกกำลังกายเพื่อให้นอนหลับง่ายและหลับลึกขึ้น ส่งผลให้รู้สึกเครียดน้อยลงแม้จะเป็นเพียงการเดินในระยะสั้นๆ
  2. ในแต่ละวันก่อนเข้านอน ควรแบ่งเวลาเพื่อทบทวนสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น อะไรที่ได้ลงมือทำไปแล้วและอะไรที่ยังไม่ได้ทำ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและลดความกดดันตัวเอง
  3. ตั้งเป้าหมายให้ตัวเองในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ หรือแต่ละเดือน เพื่อให้ตัวเองมองเห็นสถาการณ์ต่างๆ ได้ชัดขึ้นและรู้สึกควบคุมได้
  4. รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี พร้อมกับงดอาหารจำพวกน้ำตาล ของมัน คาเฟอีนและกาแฟ
  5. นอนหลับให้ครบ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่ควรอดนอนหรือนอนดึก เพราะจะทำให้ระดับความเครียดสูงขึ้น
  6. หากิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ เช่น เล่นโยคะ นั่งสมาธิ ฝึกการหายใจเข้าลึกๆ ดูหนัง ฟังเพลง พูดคุยกับผู้คน หัวเราะ รวมถึงการใช้เวลาเงียบๆ เพื่อหยุดความคิดของตัวเอง
  7. พบจิตแพทย์เพื่อบำบัดความเครียดที่เกิดขึ้นและรับคำแนะนำ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเกิดความเครียด


1. โรคเครียดกับโรคซึมเศร้าเหมือนกันไหม ?

ไม่เหมือนกัน เนื่องจากความเครียดเป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อเหตุการณ์กดดันหรือความทุกข์ใจและไม่ใช่โรคจิตเวช ส่วนโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากเหตุการณ์ร้ายแรงหรือมีสิ่งที่กระทบจิตใจจนทำให้รู้สึกเศร้าหมองหรือเสียใจติดต่อกันเป็นเวลานาน


2. ความเครียดทำให้เจ็บหัวใจได้หรือไม่ ?

ภาวะเครียดไม่เพียงแต่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะเท่านั้น ยังทำให้เลือดมีความหนืดเนื่องจากมีไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หัวใจบีบตัวแรงและเต้นเร็วขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำรู้สึกเจ็บหัวใจเมื่อเผชิญกับความเครียด


3. โรคเครียด (ภาวะเครียด) รักษาอย่างไร ?

อันดับแรก จิตแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการตั้งคำถามเพื่อประเมินอาการและความรุนแรงของภาวะเครียด และทำการบำบัดด้วยวิธีการต่างๆ รวมถึงการแนะนำให้ผู้ป่วยรับมือหรือกำจัดความเครียดได้ดีขึ้น ในกรณีที่มีความเครียดเรื้อรังจนส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหาร จิตแพทย์อาจจ่ายยารักษาอาการทางร่างกายร่วมด้วย


4. ความเครียดทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตจริงหรือไม่ ?

ต่อมน้ำเหลืองบวมโตอาจมีความสัมพันธ์กับความเครียดได้ เนื่องจากต่อมน้ำเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เมื่อเกิดความเครียดทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อปกป้องร่างกาย จึงอาจเป็นที่มาของความเครียดทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต



✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย


ความเครียดส่งผลต่อจิตใจอย่างไร




แหล่งข้อมูล


ความเครียดส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างไร

ผลของความเครียดต่อชีวิต ผลต่อสุขภาพจิตใจ นำไปสู่ ความวิตกกังวล ซึมเศร้า กลัวอย่างไรเหตุผล อารมณ์ไม่มั่นคง เปลี่ยนแปลงง่าย หรือโรคประสาทบางอย่าง

ความเครียดส่งผลต่อสมองของคุณอย่างไร

กลุ่มที่ 1 Cognitive Symptoms ความเครียดมักจะส่งผลกระทบกับสมองเป็นประการแรก ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง เช่น สมาธิสั้นลง มีปัญหาด้านความจำ ขี้หลงขี้ลืม การคิดแก้ไขปัญหาช้าลง เกิดความวิตกกังวลว่าตนเองจะทำผิดพลาด หวาดกลัวกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อสมองเราทำงานช้าลงจะทำให้ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ และส่งผลต่อการ ...

ความเครียดที่เกิดจากทางจิตมีอาการแบบใดได้บ้าง

สัญญาณของอาการเครียดสะสม พฤติกรรมทางอารมณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น นิ่งเงียบ ไม่พูดคุย เบื่อหน่ายชีวิต วิตกกังวล และหน้าตาเศร้าหมอง ความต้องการทางเพศลดลง อาการเครียดที่แสดงออกทางกาย เช่น หายใจถี่ขึ้น หรือ หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว บางรายมีอาหารปวดหัวร่วม ผู้ที่มีความเครียดสะสมมาก ๆ อาจมีอาการเครียดจนอยากตาย

โรคเครียดคืออะไร

โรคเครียด หรือ ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Adjustment Disorder มักเกิดขึ้นหลังจากเผชิญกับสภาวะกดดันหรือมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาคุกคามและก่อให้เกิดความไม่สมดุลของร่างกายและจิตใจ และไม่สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงในชีวิต มีความทุกข์ ทรมาน จนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเรียน การงาน ...