นางลมุล ยมะคุปต์ มีบทบาทสําคัญต่อวงการนาฏศิลป์และละครไทยด้านการศึกษาอย่างไร

มัลลี คงประภัศร์

เกิด20 มกราคม พ.ศ. 2426
ปุย ช้างแก้ว
จังหวัดธนบุรี
เสียชีวิต5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (88 ปี)
คู่สมรสสม คงประภัสร์
อาชีพข้าราชการ
ครูสอนนาฏศิลป์ไทย
ปีที่แสดงพ.ศ. 2436–2505
สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

มัลลี คงประภัศร์ หรือ ครูหมัน เป็นศิลปินด้านนาฏศิลป์, โขน และละครรำ เป็นที่รู้จักจากความสามารถในแสดงโขนและละครชาตรีได้ทุกบทบาทแม้แต่ในบทบาทของผู้ชาย[1] ครูหมันเกิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2426 นามเดิมว่า "ปุย" เป็นบุตรีของนายกุก และนางนวม ช้างแก้ว ท่านอาศัยอยู่ที่บ้านริมปากคลองวัดประยุรวงศาวาส จังหวัดธนบุรี

หลังบิดาเสียชีวิตเมื่อครูอายุได้ 8 ขวบ มารดาของครูได้รับราชการเป็นข้าราชบริพารประจำห้องเสวยของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยวงศ์[โปรดขยายความ] ทำให้ครูหมันมีโอกาสได้ชมและสนใจในการแสดงละครรำที่มาแสดงในวังตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ท่านเคยแอบหนีมารดาเพื่อติดตามคณะละครไป และได้รับการฝึกสอนจาก "หม่อมแม่เป้า" ครูละครคนสำคัญของวังเจ้าขาว (ปัจจุบันคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) เมื่อมารดาทราบมาขอรับตัวกลับ ท่านปฏิเสธและอ้อนวอนจนมารดายอมแพ้และได้เข้าเรียนละครรำอย่างจริงจัง จนสามารถไปแสดงในงานต่าง ๆ ด้วยวัยเพียง 10 ขวบเท่านั้น

ชื่อ หมัน ของท่านได้มาจากเจ้านายฝ่ายในหลายพระองค์ทรงจำบทบาทการแสดงของท่านเมื่อยังเป็นเด็กในละครดาหลังซึ่งท่านรับบทเป็น สมันน้อย เจ้านายหลายพระองค์จึงทรงเรียกขานกันว่า เจ้าหมัน ซึ่งครูที่พอใจและใช้ชื่อนี้ตลอดมา ท่านแต่งงานกับนายสม คงประภัสร์ เมื่ออายุได้ 22 ปี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2477 หม่อมครูด่วนและครูละม่อม วงทองเหลือ อาจารย์ใหญ่ประจำโรงเรียนาฏดุริยางคศาสตร์ (วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ในปัจจุบัน) ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมา ได้ชักชวนครูหมันเข้าเป็นครู โดยพล.ต.หลวงวิจิตรวาทการรับเข้าเป็นราชการศิลปินชั้นสาม ครูนาฏศิลป์

ครูหมันกับครูลมุล ยมะคุปต์ ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำ แม่บทใหญ่ ครูหมันได้ถูกเลิกจ้างด้วยอาการหลงลืมในวัย 80 ปี ครูหมันได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ด้วยวัย 88 ปี[2] และได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส[3]

ตลอดเวลาที่ท่านเข้ารับราชการ ท่านได้เดินทางไปแสดงในนามรัฐบาลไทยในประเทศญี่ปุ่น และได้รับการยกย่องในความสามารถของท่านที่สามารถแสดงบทบาทในละครได้ทุกบทบาท และในการแสดงโขน ท่านสามารถขึ้นแสดงแทนในบทบาทชายได้

อ้างอิง[แก้]

  1. https://sobphrae1.files.wordpress.com/2014/10/e0b899e0b8b2e0b88fe0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98c-e0b89b-6.pdf&ved=2ahUKEwjN76juq_rfAhUKRY8KHXnZDMcQFjABegQIABAB&usg=AOvVaw2oHwcgliQHk0VULiGdM2v7
  2. http://oknation.nationtv.tv/blog/kusumatittee/2013/02/26/entry-1
  3. http://webcatplus.nii.ac.jp/webcatplus/details/book/12373616.html

                                                     

          กระบวนการสืบทอดในสมัยโบราณ  เป็นการสืบทอดจากครูตัวต่อตัว โดยวิธีการจำ  ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณอักษร  องค์ความรู้ทั้งหมดจะอยู่ในตัวครู

                                                     ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี

                                                                                          

นางลมุล ยมะคุปต์ มีบทบาทสําคัญต่อวงการนาฏศิลป์และละครไทยด้านการศึกษาอย่างไร

                                                         มีนามเดิมว่า แผ้ว สุทธิบูรณ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๔๖ เมื่ออายุ ๘ ขวบ ได้ถวายตัวในสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา และได้รับการฝึกหัดนาฏศิลป์ กับครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในราชสำนักเช่น เจ้าจอมมารดาวาดและเจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่  เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ ๕ หม่อมแย้ม ในนามสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ หม่อมอึ่งในสมเด็จพระบัณฑูรฯ จนมีความรู้ความสามารถออกแสดงละครเป็นตัวเอกในโอกาสที่แสดงถวายทอดพระเนตรหน้าพระที่นั่ง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลายครั้ง ท่านแสดงเป็นอิเหนาและนาดรสาในเรืองอิเหนา เป็นพระพิราพและทศกัณฐ์ในเรื่องรามเกียรติ์ทางด้านการศึกษาวิชาสามัญท่านจบหลักสูตรจากโรงเรียนในวังสวนกุหลาบในรัชสมัยพระมหาธีรราชเจ้า

                               ลงานเกี่ยวกับการแสดงศิลปะนาฏกรรม  เช่น  ท่ารำของตัวพระ  นาง ยักษ์  ลิง และตัวประกอบ การแสดงโขน  ละครชาตรี  ละครนอก  ละครใน  ละครพันทาง  และระบำฟ้อนต่างๆ  เป็นผู้คัดเลือกการแสดง  จัดทำบทและเป็นผู้ฝึกสอน  ฝึกซ้อม  อำนวยการแสดงถวายทอดพระเนตรหน้าพระที่นั่ง  ในวโรกาสต้อนรับพระราชอาคันตุกะ  อาคันตุกร  และงานของรัฐบาล หน่วยงานองค์กรต่างๆ  จัดต้อนรับเป็นเกียรติแก่แขกผู้มาเยือนประเทศไทย  เป็นผู้คัดเลือกตัวละครให้เหมาะสมตามบทบาทในการแสดงต่างๆ  เป็นผู้คัดเลือกการแสดงวางตัวศิลปินผู้แสดงต่างประเทศเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี  และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นผู้ฝึกสอนและอำนวยการฝึกซ้อมในการแสดงโขน  ละคร  การละเล่นพื้นเมิง  ระบำรำฟ้อนต่างๆ ที่กรมศิลปากรจัดแสดงแก่ประชาชน    โรงละครแห่งชาติ  สังคีตศาลา  ในต่างจังหวัดและทางสถานีโทรทัศน์ต่างๆ  ตลอดทั้งร่วมในงานของหน่วยราชการ  องค์กร  สถาบันการศึกษา  และเอกชน  เป็นวิทยากรบรรยายและตอบข้อซักถามในการอบรมวิชานาฏศิลป์และวรรณกรรม และเป็นที่ปรึกษาในการสร้างนาฏกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นด้วย

                                                                                               ครูรงภักดี (เจียร  จารุจรณ)

                                                                         

นางลมุล ยมะคุปต์ มีบทบาทสําคัญต่อวงการนาฏศิลป์และละครไทยด้านการศึกษาอย่างไร

              เกิดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ที่จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรของจางวางจอนและนางพริ้ง
              ครูรงภักดีฝึกหัดโขน (ยักษ์) กับพระยานัฏกานุรักษ์และคุณหญิงนัฏกานุรักษ์ เมื่ออายุ 13 ปีที่กรมมหรสพ สมัยรัชกาลที่ 6 ต่อมาเข้ารับราชการเป็นศิลปินในกรมมหรสพ สมัยรัชกาลที่ 7 นอกจากรับราชการเป็นตำรวจหลวงแล้ว ท่านยังมีหน้าที่เป็นครูสอนนาฏศิลป์โขนอีกด้วย
              ครูรงภักดีเป็นผู้มีความสามารถในการรำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ซึ่งเป็นนาฏศิลป์สูงสุดได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นายรงภักดีประกอบพิธีครอบองค์พระ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2506 ณ บริเวณโรงละครพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต  ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีพิธีต่อท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพเป็นครั้งที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 25 พ.ศ. 2527 ณ ศาลาดุสิตาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน แก่ศิลปินกรมศิลปากรที่ได้รับการคัดเลือกว่าเป็นผู้ที่มีฝีมือเยี่ยม ในขณะนั้นครูรงภักดีชราภาพมากแล้ว มีอายุได้ 86 ปี โดยให้ศิลปินต่อท่ารำจากภาพยนตร์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบันทึกท่ารำของครูรงภักดีไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2506
              ด้วยเหตุนี้หน้าพาทย์องค์พระพิราพจึงไม่สูญไปจากนาฏศิลป์ไทย นับว่าครูรงภักดีได้เป็นผู้สืบทอดเพลงหน้าพาทย์สูงสุดของวิชานาฏศิลป์ไว้เป็นมรดกของแผ่นดิน เพื่อเยาวชนไทยรุ่นหลังจะได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป

                                                                                                    ครูอาคม  สายาคม

                                      

นางลมุล ยมะคุปต์ มีบทบาทสําคัญต่อวงการนาฏศิลป์และละครไทยด้านการศึกษาอย่างไร

                                                                          ครูอาคม สายาคม เดิมชื่อ บุญสม เกิดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2406 ณ บ้านสี่แยกหลานหลวง จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายเจือ ศรียาภัยและนางผาด ศรียาภัย สกุลเดิม อิศรางกูร ณ อยุธยา (นามสกุลสายาคมเป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6)
                                           ครูอาคมได้รับการฝึกหัดโขนพร้อมกับเรียนหนังสือจนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 จากนั้น เข้ารับตำแหน่ง “พระ” แผนกโขนหลวง กรมพิณพาทย์และโขนหลวง กระทรวงวัง
                                           ต่อมา พ.ศ. 2478 โอนมาประจำโรงเรียนศิลปากร แผนกดุริยางค์ ดำรงตำแหน่งนักวิชาการละครและดนตรี 7 กองการสังคีต กรมศิลปากร เมื่อเกษียณอายุ กรมศิลปากรได้เชิญให้เป็นผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ สอนนักศึกษาปริญญาตรี
                                           

                                           ผลงานด้านการแสดง ครูอาคมแสดงเป็นตัวเอก เช่น พระราม อิเหนา พระร่วง พระอภัยมณี ขุนแผน พระไวย ไกรทอง ฮเนา (เรื่องเงาะป่า) พระลอ อุณรุท พระสังข์ เป็นต้น
         

                                           ผลงานด้านประดิษฐ์ท่ารำ ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ตระนาฏราช เพลงหน้าพาทย์โปรยข้าวตอก เพลงเชิดจีน ลีลาประกอบท่าเชื่อม ตำราท่ารำ 
ผลงานด้านวิชาการ เขียนคำอธิบายนาฏยศัพท์ บทความ เพลงพื้นเมือง เพลงหน้าพาทย์ ความสำคัญของหัวโขน ระบำ รำ เต้น การเลือกเด็กเข้าฝึกหัดละครสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นต้น
                                          ผลงานด้านวิทยุกระจายเสียง ตั้งคณะสายเมธี แสดงนิยายและบรรเลงในแบบดนตรีสากลและดนตรีไทย ตั้งคณะสายาคมแสดงเพลงพื้นเมือง เป็นต้น
                                          ผลงานด้านภาพยนตร์ แสดงเป็นพระเอกภาพยนตร์เรื่อง อมตาเทวี เรื่องไซอิ๋ว แสดงเป็นพระถังซำจั๋งและเป็นผู้กำกับการแสดง เป็นต้น
                                          ผลงานด้านกำกับเวที กำกับการแสดงและการสอนโขนและละครเรื่องต่างๆ
                                          พ.ศ. 2505 ได้รับมอบให้เป็นผู้ประกอบพิธีไหว้ครู
                                          พ.ศ. 2506 ได้รับถ่ายทอดท่ารำองค์พระพิราพจากครูรงภักดี
                                          พ.ศ. 2507 ทำพิธีครอบโขนละครในพิธีไหว้ครูประจำปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ร่วมครอบในพิธีไหว้ครูดังกล่าวด้วย
                                          พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา ได้รับเชิญเป็นประธานไหว้ครูของสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งของราชการและเอกชน รวมทั้งท่านได้พยายามถ่ายทอดวิชาความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ของท่านให้แก่เยาวชนรุ่นหลังได้รับสืบทอดต่อไป ซึ่งนับว่าครูอาคมได้ปฏิบัติภารกิจด้านนาฏศิลป์ไทยอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
                                          ครูอาคม สายาคม ได้สมรสกับนางสาวเรณู วิเชียรน้อย มีบุตร 3 คน
                                          ครูอาคม สายาคม เสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2525

                                                                   ครูลมุล  ยมะคุปต์

                                         

นางลมุล ยมะคุปต์ มีบทบาทสําคัญต่อวงการนาฏศิลป์และละครไทยด้านการศึกษาอย่างไร

                              ครูลมุล ยมะคุปต์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2448 เป็นชาวจังหวัดน่าน เป็นธิดาของร้อยโทนายแพทย์จีน อัญชัญภาติกับนางคำมอย บิดาพาไปถวายตัวเป็นนางละคร ณ วังสวนกุหลาบ เริ่มฝึกหัดนาฏศิลป์ตั้งแต่อายุ 5 ขวบและย้ายไปศึกษาด้านละครใน ณ วังเพชรบูรณ์

                                      ผลงานด้านการแสดง ท่านแสดงเป็นตัวเอกเกือบทุกเรื่อง เพราะมีฝีมือเป็นเยี่ยม บทบาทที่ท่านเคยแสดง เช่น พระสังข์ เขยเล็ก เจ้าเงาะ ฮเนา ซมพลา พระวิษณุกรรม พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สุดสาคร อุศเรน อิเหนา สียะตรา วิหยาสะกำ อุณรุท พระราม พระลอ พระมงกุฎ อินทรชิต พระนารายณ์ พระคเณศ สมิงพระราม พระไวย พลายบัว พระพันวษา เป็นต้น
                                      ผลงานด้านการประดิษฐ์ท่ารำ ที่ประดิษฐ์ให้กรมศิลปากรในฐานะผู้เชี่ยวชาญ เช่น รำแม่บทใหญ่ รำซัดชาตรี รำวงมาตรฐาน รำเถิดเทิง รำกิ่งไม้เงินทอง ระบำกลอง ระบำฉิ่ง ระบำนกยูง ระบำกฤดาภินิหาร ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำอธิษฐาน ระบำในน้ำมีปลา ระบำระฆัง ระบำนกสามหมู่ ระบำเชิญพระขวัญ ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนแพน ฟ้อนแคน เซิ้งสราญ เซิ้งสัมพันธ์ เป็นต้น
                                    ในการคิดค้นท่ารำนั้น บางท่ารำครูลมุลสามารถนำเอาท่ารำของนาฏศิลป์เพื่อนบ้านมาดัดแปลงประดิษฐ์ขึ้นใหม่ได้อย่างแนบเนียนกลมกลืน ซึ่งเป็นแนวคิดและกลวิธีที่ครูนาฏศิลป์ในรุ่นต่อๆ มาได้นำมาใช้เป็นแบบอย่าง

                                    นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ร่างหลักสูตรให้แก่วิทยาลัยนาฏศิลป ซึ่งนับว่าท่านเป็นครูนาฏศิลป์คนแรกในการวางหลักสูตรการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทย ทำให้การเรียนนาฏศิลป์มีระบบ มีขั้นตอนในการฝึกหัด นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่ท่านฝากไว้แก่แผ่นดิน 

  ครูเฉลย  ศุขะวณิช

                                             

นางลมุล ยมะคุปต์ มีบทบาทสําคัญต่อวงการนาฏศิลป์และละครไทยด้านการศึกษาอย่างไร


      
                              คุณครูเฉลย ศุขะวณิช เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๗ เป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนและออกแบบนาฏศิลป์ไทย แห่งวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ซึ่งมีความรู้ความสามารถสูงในกระบวนท่ารำทุกประเภท ทางราชการได้มอบหมายให้เป็นผู้วางรากฐานจัดสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์ตั้งแต่ระดับต้นจนถึงขั้นปริญญา เป็นผู้มีความเมตตาเอื้ออารี อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและงานศิลป์อย่างต่อเนื่อง ได้รับปริญญาครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานาฏศิลป์ สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา นางเฉลย ศุขะวณิช สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๐


                                 ผลงานด้านการประดิษฐ์ท่ารำและระบำ ระบำกินนร ระบำโบราณคดี ๔ ชุด คือ ระบำทวารวดี ระบำศรีวิชัย ระบำลพบุรี และเชียงแสน ฟ้อนแคน เซิ้งสัมพันธ์ ระบำฉิ่งธิเบต ระบำกรับ รำกิ่งไม้เงินทองถวาย (บทประพันธ์ของ น.ส. ปราณี สำราญวงศ์) เซิ้งสราญ ระบำสวัสดิรักษา ระบำมิตรไมตรีซีเกมส์ ระบำศรีชัยสิงห์ ระบำขอม

บุคคลสําคัญด้านนาฏศิลป์และละครท่านใดมีบทบาทในการเป็นผู้กํากับการแสดงละครพันทาง เรื่องผู้ชนะสิบทิศ

ในปีพ.ศ. 2529 ศุภชัยได้รับบทเป็นราชบุตรมังตราแห่งเมืองตองอูใน ละครพันทาง เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ ของยาขอบ กำกับและเขียนบทโดยอาจารย์เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ คู่กับ ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ผู้ได้รับบทจะเด็ด ซึ่งส่งผลให้ทั้งสองมีชื่อเสียงโด่งดัง กลายเป็นพระเอกละครยอดนิยมมาจนตราบทุกวันนี้

ในสมัยใดถือเป็นรากฐานสําคัญของนาฏศิลป์และการละครไทย

การละครในรัชกาลที่ ๖ เป็นยุคทองของการละครวรรณคดี อีกทั้งทรงพระราชนิพนธ์ บทละครทุกชนิด ทั้งละครร้อง ละครร า ละครดึกด าบรรพ์ เช่น พระร่วง ศกุนตลา ท้าวแสนปม และหัวใจนักรบ ในสมัยนี้ประชาชนให้ความส าคัญกับละครแบบตะวันตกมากกว่า เนื่องจากมีนักแสดงจาก ต่างประเทศหลายคนมาแสดงให้ชม ในสมัยนี้มีการตั้งกรมมหรสพขึ้นมาใหม่ เพื่อ ...

นางเฉลย ศุขะวณิช มีความสําคัญต่อวงการละครไทยอย่างไร

ท่านมาเป็นครูสอนละครนาง ณ โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ (วิทยาลัยนาฏศิลปในปัจจุบัน) เพื่อสอนแทนหม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก) ซึ่งถึงแก่กรรม ​ ๒.) คุณครูเฉลย ได้สร้างคุณูปการมากมายให้แก่วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และวงการนาฏศิลป์ไทย จนได้รับการยกย่องเป็น “ศิลปินแห่งชาติ” สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี

นางลมุล ยมะคุปต์ ได้ปรับปรุงการรำฉุยฉายใด

การรำฉุยฉายพราหมณ์มีกำเนิดขึ้นในครั้งนั้น และเชื่อกันว่าเป็นศิลปะการร่ายรำที่งดงาม เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป ลีลาท่ารำนั้นเชื่อกันว่าเป็นผลงานของพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) สืบทอดผ่านมา แต่รูปแบบท่าร่ายรำในปัจจุบันของกรมศิลปากร เป็นผลงานการปรับปรุงของนางลมุล ยมะคุปต์ อดีตผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัย ...

บุคคลสําคัญด้านนาฏศิลป์และละครท่านใดมีบทบาทในการเป็นผู้กํากับการแสดงละครพันทาง เรื่องผู้ชนะสิบทิศ ในสมัยใดถือเป็นรากฐานสําคัญของนาฏศิลป์และการละครไทย นางเฉลย ศุขะวณิช มีความสําคัญต่อวงการละครไทยอย่างไร นางลมุล ยมะคุปต์ ได้ปรับปรุงการรำฉุยฉายใด ลมุล ยมะคุปต์ ผลงาน ลมุล ยมะคุปต์ ประวัติ นางสมพันธ์ โชตนา มีบทบาทสำคัญต่อวงการนาฏศิลป์และละครไทยอย่างไร ครูอิ่ม อิเหนา เป็นบุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์และละครไทยสมัยใด ครูลมุล ยมะคุปต์ ได้รับการยกย่องในเรื่องใด นางลมุล ยมะคุปต์ รางวัลที่ได้รับ ครูลมุล ยมะคุปต์ อ่านว่า บุคคลสำคัญในวงการ ละคร สากล