โลจิสติกส์สนับสนุนการจัดการซัพพลายเชนได้อย่างไร

โลจิสติกส์ (Logistics) หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) หมายถึง การจัดการในส่วนของกระบวนการที่เกิดขึ้น ระหว่างผู้ผลิต (ผู้ให้บริการ) กับผู้ขายปัจจัยผลิต (ซัพพลายเออร์) เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต อันนำไปสู่การเพิ่มผลกำไรของกิจการได้ในที่สุด โดยกระบวนการนี้จะเริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต(Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดจำหน่าย (Distribution) ตลอดจนการขนส่ง (Transportation) ซึ่งมีผลสำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

สรุปความแตกต่างระหว่างการจัดการโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน

 โลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ที่จะช่วยในการวางแผน สนับสนุน การควบคุมการไหลของกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ

Related Posts

CT51 กลยุทธ์การจัดซื้อแบบกรีน  (Green Purchasing Strategy)

ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

โดย กาญจนา กาญจนสุนทร

บทนำ

ปัจจุบัน ประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมกำลังได้รับความสำคัญในวงการธุรกิจและบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ส่งผลให้ความต้องการสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่มีลักษณะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน และเมื่อถึงเวลานั้นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมจะกลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีการค้าในการค้าระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมในประเทศแถบยุโรปและญี่ปุ่นได้มีการปรับเปลี่ยนและหันมาสู่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (environment friendly products หรือ eco-products) และนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อความอยู่รอด ยั่งยืน และสามารถแข่งขันได้ในอนาคต ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ตลาดสินค้าประเภทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัด แต่ก็มีสัญญาณหลายๆอย่างที่บ่งบอกได้ถึงแนวโน้มการเจริญเติบโตที่ใหญ่ขึ้นของตลาดสินค้าประเภทนี้ในอนาคต ดังนั้นในหลายๆประเภท ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม องค์กร และสถาบันทางด้านสังคมได้มีการทำงานร่วมกันในการจัดซื้อและจัดหาสินค้าประเภทที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเล็งเห็นถึงประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และคุณภาพชีวิตเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้ คำว่า Green Purchasing และ Green Supply Chain จึงกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้โลกปรับเปลี่ยนไป

Green Purchasing - วิธีการสำคัญที่สร้างให้เกิดการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

การจัดซื้อที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม (Environmentally Preferable Purchasing : EPP) หรือที่ส่วนใหญ่เรียกกันว่า “การจัดซื้อแบบกรีน” (green purchasing) หมายถึง กระบวนการในการเลือกและทำให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการที่มีผลให้เกิดผลกระทบในเชิงลบด้านสิ่งแวดน้อยที่สุดตลอดวงจรอายุ (life cycle) ของการผลิต การขนส่ง การใช้ และการนำกลับไปใช้ใหม่ รวมไปถึงการกำจัดด้วย ตัวอย่างของคุณลักษณะที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมได้แก่ สินค้าหรือบริการที่ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและน้ำ ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดของเสีย และการปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ หรือผลิตใหม่ได้ พลังงานที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถฟื้นตัวได้รวดเร็วเช่น น้ำมันเชื้อเพลิงจากพืช พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม และน้ำมันเชี้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ เป็นต้น

เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คำว่า green purchasing จึงหมายถึง การเพิ่มมุมมองทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในราคาและเกณฑ์อื่นๆในการคัดเลือกผู้ส่งมอบ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการจัดซื้อแบบนี้คือ เพื่อลดผลกระทบในเชิงลบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรที่มีอยู่ ดังนั้นกลยุทธ์ในการจัดซื้อแบบกรีนจึงเป็นการเพิ่มมุมมองทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในเกณฑ์การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้ก็มีตั้งแต่ระดับง่ายไปจนถึงระดับที่ยากและซับซ้อน

ปัจจุบัน กลยุทธ์การจัดซื้อแบบกรีนสามารถพบได้จำนวนมากในองค์กรขนาดใหญ่ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากข้อมูลการสำรวจบริษัทผู้ซื้อสินค้าจำนวน 1,000 แห่งในปี ค.ศ.1995 พบว่าผู้ซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องมือสำนักงาน และวัสดุสิ้นเปลือง ร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถามมองประเด็นทางด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการเลือกซื้อสินค้าเข้ามาใช้ในองค์กร ซึ่งผลสำรวจดังกล่าวนี้ในปี ค.ศ. 1993 มีเพียงร้อยละ 40 เท่านั้น ในระดับประเทศ พบว่าในประเทศเยอรมันนี ได้เริ่มกิจกรรมการจัดซื้อแบบกรีนเป็นประเทศแรกในปลายคริตศตวรรษที่ 1980 ตามมาด้วยประเทศในแถบยุโรป เช่นประเทศเดนมาร์ก (ค.ศ.1994) ฝรั่งเศส (ค.ศ.1995) อังกฤษและออสเตรเลีย (ค.ศ.1997) และสวีเดน (ค.ศ.1998) ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดย US EPA ได้พัฒนาแนวทางและคู่มือในการจัดซื้อที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมขึ้น ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายด้านการจัดซื้อแบบกรีนขึ้นในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ.2000 เพื่อเป็นการรณรงค์ให้เห็นว่าการจัดซื้อแบบกรีนถือเป็นนโยบายสำคัญของชาติ โดยในกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย รวมถึงระดับท้องถิ่น ต้องดำเนินกระบวนการจัดซื้อแบบกรีน และต้องรายงานสรุปประวัติด้านการจัดซื้อของหน่วยงานมายังส่วนกลางอย่างต่อเนื่อง และนอกเหนือจากภาครัฐและองค์กรต่างๆระดับชาติแล้ว ในองค์กรเอกชนต่างก็หันมาให้ความสนใจกับการจัดซื้อแบบกรีนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ดังตัวอย่างแนวโน้มของการจัดซื้อแบบกรีนของบริษัท Olympus ที่ได้เผยแพร่ประวัติการจัดซื้อแบบกรีน

รูปที่ 1 การเติบโตของกระบวนการจัดซื้อแบบกรีน ของบริษัท Olympus

รูปที่ 1 แสดงถึงร้อยละของการจัดซื้อซึ่งผู้ใช้และฝ่ายจัดซื้อได้ให้ความสำคัญกับประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม เทียบกับจำนวนของการจัดซื้อสินค้าตลอดทั้งปี จากรูปจะเห็นได้ว่าระบบการจัดซื้อของบริษัทมีแนวโน้มเป็นการจัดซื้อแบบกรีนเพิ่มขึ้นและอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากเป็นนโยบายของบริษัท และเป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญ นอกจากนี้เรายังจะได้เห็นบทความหรือผลงานตีพิมพ์ทางด้านการจัดซื้อแบบกรีนที่มีเพิ่มมากขึ้นในลักษณะของเอกสารด้านการศึกษา และตำราเรียน

ในผลงานตีพิมพ์ฉบับหนึ่งได้รายงานผลการสำรวจโรงงานจำนวน 256 แห่ง ในสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับผู้มีส่วนสำคัญในการสร้างและลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ผลจากแบบสอบถามพบว่าประมาณ 50% ที่ระบุว่าผู้ส่งมอบ (supplier) เป็นส่วนสำคัญดังกล่าว ในงานตีพิมพ์ยังได้ระบุว่าองค์กรข้ามชาติที่คัดเลือกผู้ส่งมอบโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญในปัจจุบัน ได้แก่ Motorola, IBM, S.C. Johnson, TRW, Nokia, Sony, Ford, Ray-O-Vac, Northern Telecom, Apple Computer, Sun Microsystems, และ Body Shop เป็นต้น

กลยุทธ์การจัดซื้อแบบกรีน และผลกระทบที่มีต่อผู้ส่งมอบ (Green Purchasing Strategies and Impact on Suppliers)

การจัดซื้อแบบกรีนในองค์กรระดับชาติหลายๆ แห่ง ใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกัน และส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ส่งมอบ (suppliers)ที่แตกต่างกัน โดยกลยุทธ์เหล่านี้สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ (product standards) มาตรฐานด้านพฤติกรรม (behavior standards) และความร่วมมือ (collaboration)  ผลกระทบของกลยุทธ์เหล่านี้ที่มีต่อพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ส่งมอบก็มีลักษณะต่อเนื่องเป็นขั้นๆ ตั้งแต่ระดับต่ำ คือระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงระดับสูง ได้แก่ระดับของความร่วมมือ  ตัวอย่างเช่น การกำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ดังกล่าวไม่ได้ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ส่งมอบ เนื่องจากผู้ส่งมอบสามารถกระทำได้โดยเพียงแค่เปลี่ยนแปลงส่วนผสมของสินค้าและบริการเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามกับระดับสูงสุดซึ่งได้แก่ระดับของความร่วมมือระหว่างผู้ซื้อกับผู้ส่งมอบในประเด็นพฤติกรรมของผู้ส่งมอบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องอาศัยแรงผลักดันจากผู้ซื้อ และโดยทั่วไปแล้ว ความพยายามของผู้ซื้อมักเป็นไปในลักษณะที่เพิ่มการดำเนินงานของผู้ส่งมอบในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผู้ซื้อจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการที่ผู้ส่งมอบมีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม  

กลยุทธ์การจัดซื้อแบบกรีน (Green Purchasing Strategies)

ตามที่กล่าวมาแล้วว่า กลยุทธ์การจัดซื้อแบบกรีนสามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ (Product Standards)

1. การซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ผลิตใหม่ และมีส่วนประกอบหรือวัตถุดิบที่ไม่เป็นพิษ (recycled materials, non-toxic ingredients)

2. ซื้อผลิตภัณฑ์ที่แสดงคุณลักษณะด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ติดฉลากอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 

มาตรฐานด้านพฤติกรรม (Behavior Standards)

1. การจัดซื้อที่กำหนดให้ผู้ส่งมอบต้องแสดงข้อมูลเกี่ยวกับแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม เช่นวิธีการปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม

2. ตรวจสอบผู้ส่งมอบเพื่อประเมินผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม

3. กำหนดให้ผู้ส่งมอบต้องปฏิบัติและรักษาไว้ซึ่งระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System : EMS)

4. กำหนดให้ผู้ส่งมอบต้องมีระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (EMS) ที่ได้มาตรฐาน เช่น มาตรฐาน ISO 14001 และมาตรฐาน Responsible Care

5. กำหนดให้ผู้ส่งมอบต้องได้รับใบรับรองอย่างเป็นทางการของระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม 

ความร่วมมือ (Collaboration)

1. การทำงานร่วมกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ส่งมอบจะช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมลงได้ จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์และวัสดุที่ใช้โดยกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์

2. บริหารจัดการเชิงรุกในทุกแง่มุมของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เป็นวัตถุดิบไปจนถึงการกำจัดในขั้นสุท้าย

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องกล่าวถึงก็ คือ การใช้มาตรฐานบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอาจไม่ทำให้เกิดการปรับปรุงพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ส่งมอบเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานที่นำมาใช้ เช่น มาตรฐาน ISO14001 ไม่ได้กำหนดให้ต้องมีการปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ มาตรฐาน EMAS (Eco-Management & Audit Scheme) กำหนดให้ต้องมีการปรับปรุง ดังนั้น ผู้ซื้อที่ตัดสินใจเลือกซื้อโดยใช้กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ จะผลักดันให้ผู้ส่งมอบมุ่งเน้นการบรรลุมาตรฐานจากภายนอกแทนที่จะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือการบริหารจัดการ

Lamming และ Hampson ได้ทำการศึกษาบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศอังกฤษจำนวน 4 แห่งที่ได้กำหนดเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้ส่งมอบ และพบว่าบริษัทผู้ส่งมอบได้ให้ความสนใจกับการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเพียงเฉพาะในกรณีที่บริษัทลูกค้ามีความต้องการให้ทำ และผู้บริหารถือเป็นเครื่องมือสำหรับการขับเคลื่อนทางการตลาดเท่านั้น ซึ่งจากผลการสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่าการกำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์ไม่ส่งผลให้เกิดการปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยรวมของโซ่อุปทานที่แท้จริง การแก้ปัญหาที่แท้จริงต้องอาศัยความร่วมมือในระดับสูง (collaboration) ระหว่างองค์กรในโซ่อุปทาน

ตัวอย่างของการร่วมมือกับผู้ส่งมอบในโซ่อุปทานเพื่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่บริษัท Apple Computer ซึ่งได้กำจัดการใช้สาร CFCs ในผลิตภัณฑ์ของบริษัทโดยการทำงานร่วมกับผู้ส่งมอบเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตแผ่นวงจร (circuit board production) ใหม่ที่ไม่ต้องมีขั้นตอนสำหรับการทำงานสะอาดผลิตภัณฑ์ออกไป ซึ่งไม่เป็นเพียงแค่การลดมลพิษในโรงงานของผู้ส่งมอบเท่านั้น แต่ยังเป็นการลดจุดคอขวดแลเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้กับกระบวนการผลิตได้อีกด้วย ในรายงานระยะหลังๆยังพบว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ได้รับจากการทำงานใกล้ชิดกับผู้ส่งมอบในลักษณะของคู่ค้าที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมยังมีอีกมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกด้วย

การทำงานใกล้ชิดกับผู้ส่งมอบเพื่อลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมสามารถทำได้ตั้งแต่การปรับปรุงช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การเชื่อมโยงระบบการดำเนินงาน การวางแผนและวิจัยร่วมกัน ไปจนถึงการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินการดังกล่าวได้แก่การลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมโดยการเลือกแหล่งวัตถุดิบที่น่าเชื่อถือในด้านสิ่งแวดล้อม และต้นทุนในการควบคุมมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมต่ำ เนื่องจากต้นทุนดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังผู้บริโภในที่สุด

กล่าวโดยสรุป ความพยายามและต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบเพื่อการปรับปรุงพฤติกรรม และคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมควรจะสามารดเชยได้กับประโยชน์ทางธุรกิจที่ทั้งคู่จะได้รับ (สถานการณ์แบบ win – win)   เพื่อให้ความสัมพันธ์ในลักษณะของคู่ค้ามีลักษณะยาวนานและต่อเนื่อง

เอกสารอ้างอิง:

- Green Purchasing: The Issue of Responsible Supply Chain Management for Improving the Environmental Performance; เอกสารประกอบการบรรยาย โดย Nidhi S., 2008. ที่มา www.extension.ucr.edu/files/certificates/purchasing.pdf

- Environmental Management Based on the Olympus Corporation Environmental Management System ที่มา //www.olympus-global.com/en/corc/csr/environment/emanagement/image/emanagement

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด