สิ่งที่เป็นภัยใกล้ตัวใช้สำนวนว่าอย่างไร

"สำนวนและสุภาษิต" เมื่อได้ลองอ่านแล้ว บางคนอาจแยกไม่ออกซึ่งทั้งสองสิ่งนี้มีความแตกต่างกันในแง่ของลักษณะการเขียน แต่มีความหมายในเชิงสอนใจเช่นกัน ผู้คนมักจะหยิบยกสำนวนเหล่านี้ขึ้นมาเพื่ออบรมสั่งสอนลูกหลานหรือเพื่อเตือนใจ

สำนวนไทยคืออะไร ?

สำนวนไทย คือ ถ้อยคำหรือข้อความเชิงอุปมาอุปมัยโดยมีนัยแฝงอยู่อย่างลึกซึ้ง มีความหมายไม่ตรงตามตัว จะเป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบ เชิงสั่งสอน และมักจะไม่แปลความหมายตรง ๆ ซึ่งผู้อ่านต้องตีความ

สุภาษิตคืออะไร ?

สุภาษิต หมายถึง คำพูดที่พูดออกมา ไม่ว่าจะเป็นทำนอง สำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอนและสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ

สำนวนและสุภาษิต ถือเป็นคำเปรียบเปรยที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบอกเล่า เตือนใจ สร้างทัศนคติใหม่ และยังแฝงข้อคิดดี ๆ เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน มาดู "9 สำนวน สุภาษิตไทย" ชวนฉุกให้คิดก่อนลงมือทำ

สิ่งที่เป็นภัยใกล้ตัวใช้สำนวนว่าอย่างไร

ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

หมายถึง การทำดีไม่ต้องคอยระแวงใคร แต่หากคดโกง ไม่สุจริต ไม่ซื่อตรง สักวันอาจจะเดือดร้อน เมื่อความจริงเปิดเผย มักใช้เชิงสั่งสอนให้คนมั่นแต่ทำความดี ซื่อสัตย์ ไม่คิดคดโกงใคร

สิ่งที่เป็นภัยใกล้ตัวใช้สำนวนว่าอย่างไร

ปลาหมอตายเพราะปาก

หมายถึง การพูดพล่อย ๆ ไปเรื่อยโดยไม่ยั้งคิด สุดท้ายตนเอง ก็ได้รับอันตรายจากคำพูดนั้น เป็นสำนวน สุภาษิตเชิงสั่งสอนให้ฉุกคิดก่อนพูด ไม่ควรพูดเรื่องที่อาจจะนำภัยสู่ตัวในภายหลัง

สิ่งที่เป็นภัยใกล้ตัวใช้สำนวนว่าอย่างไร

แกว่งเท้าหาเสี้ยน

หมายถึง คนที่เข้าไปยุ่งเรื่องของคนอื่น จนทำให้ตัวเองได้รับความเดือนร้อน มักใช้ตักเตือนให้คิดว่าไม่ควรเป็นยุ่ง ข้องเกี่ยวกับเรื่องของผู้อื่นโดยไม่จำเป็นเพราะอาจนำภัยมาสู่ตนได้เช่นกัน

สิ่งที่เป็นภัยใกล้ตัวใช้สำนวนว่าอย่างไร

ขว้างงูไม่พ้นคอ

หมายถึงผู้นั้นมีปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พยายามจะปัดปัญหาให้พ้นจากตัว แต่แล้วก็ไม่สามารถปัดความรับผิดชอบไปได้ ต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานั้นอยู่ดี ที่มาของสํานวน เปรียบเหมือนกับการขว้างงูออกไปจากตัว แต่เนื่องจากงูตัวยาวจึงยังใช้หางรัดคอผู้ขว้างไว้อยู่ดี ผู้ขว้างจึงไม่สามารถขว้างงูให้พ้นจากตนเองได้

สิ่งที่เป็นภัยใกล้ตัวใช้สำนวนว่าอย่างไร

ฟ้าไม่กระเทือนสันหลัง

หมายถึง อํานาจเบื้องบนหรือผู้ปกครองยังไม่ลงโทษทัณฑ์ ใช้ในสํานวนว่า ถ้าฟ้าไม่กระเทือนสันหลังก็ยังไม่รู้สึก. มักใช้เปรียบเทียบกับคนที่ดื้อด้าน หัวรั้น ต้องโดนลงโทษก่อนถึงจะสำนึกได้

สิ่งที่เป็นภัยใกล้ตัวใช้สำนวนว่าอย่างไร

ยาวบั่น สั้นต่อ

หมายถึง รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาท รักจะอยู่ด้วยกันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้ เป็นการเปรียบเปรยถึงความสัมพันธ์ หากต้องการที่จะรักกันให้นานนั้นให้ทำการบั่น ทำความดีต่อกันเพื่อความสัมพันธ์ระยะยาว ซึ่งหมายถึงการตัดความคิด อาฆาตพยาบาท ความไม่หวังดีออกไป สั้นให้ต่อนั้น หมายถึงการ ต่อความคิด อาฆาตพยาบาท ความไม่หวังดี หรือสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ซึ่งจะเป็นการทำลายความสัมพันธ์ให้สิ้นสุดลงเร็วมากยิ่งขึ้น

สิ่งที่เป็นภัยใกล้ตัวใช้สำนวนว่าอย่างไร

วัวใครเข้าคอกคนนั้น

หมายถึง กรรมที่ใครสร้างไว้ ย่อมส่งผลให้แก่ผู้นั้นดุจวัวที่กลับเข้าคอกของมันเอง. หรือ กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นคืนสนองใครที่ทำกรรมอะไรไว้ย่อมด้รับผลกรรมจากการกระทำที่ตัวเองได้ทำไว้ ไม่ช้าก็เร็ว

สิ่งที่เป็นภัยใกล้ตัวใช้สำนวนว่าอย่างไร

สุกเอาเผากิน

หมายถึง ทำแค่ให้เสร็จ ๆ ให้พ้น ๆ ไป ทำอย่างลวก ๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลที่ออกมาว่าดีหรือไม่

สิ่งที่เป็นภัยใกล้ตัวใช้สำนวนว่าอย่างไร

คนล้มอย่าข้าม

หมายถึง ไม่ควรไปดูถูกคนที่ตกต่ำ ล้มเหลว ผิดพลาด หรือกำลังลำบากในชีวิต ไม่ควรไปดูถูกหรือเหยียบหยามเขา เนื่องจากในภายภาคหน้าเขาอาจจะกอบกู้ฐานะเดิมกลับมาได้อีกครั้ง

ได้ยิน “สุภาษิต” มาตั้งแต่เด็ก แต่สุภาษิตไทยมีมากมายกว่าที่เรารู้ แล้วยังแฝงความหมายเป็นคติเตือนใจอีกด้วย จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ ไปดูกันเลยดีกว่า~

สิ่งที่เป็นภัยใกล้ตัวใช้สำนวนว่าอย่างไร

24 ธ.ค. 2021 · โดย ฟางเส้นสุดท้าย

ภาษาไทยที่พวกเราเรียนกันมาตั้งแต่จำความได้และใช้สื่อสารกันเป็นเป็นประจำในชีวิตของเรา มีทั้งความสละสลวยและชั้นเชิงทางภาษาในการสื่อสารเป็นอย่างมาก อย่างกาพย์ โคลง กลอน หรือแม้กระทั่ง “สุภาษิต” ที่เราคุ้นหูกันมาตั้งแต่เด็ก จนบางทีเราอาจจะเผลอพูดโดยไม่รู้ตัวเช่น “ตกใจเป็น กระต่ายตื่นตูม ไปได้” แต่ว่าสุภาษิตไทยนั้นมีมากกว่าที่พวกเรารู้อีกมาก วันนี้ Wongnai ขออาสาพาทุกคนไปรู้จักสำนวน สุภาษิต คำพังเพยกว่า 180 คำ ว่าจะมีคำไหนและมีความหมายว่ายังไงบ้าง ไปดูกันเลย!

แต่ว่า...ก่อนจะไปดูทั้ง 180 คำ คงมีคนสงสัยเหมือนเราแน่เลยว่า สำนวนสุภาษิต คำพังเพย และคำที่ใกล้เคียงคำสุภาษิตนั้นมีรูปแบบอย่างไร เหมือนหรือต่างกันแค่ไหน? ถ้าอย่างนั้น เราไปทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าทุกคน

คำสุภาษิต

คำสุภาษิตส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่บางครั้งเมื่อเราได้ฟัง ก็ไม่ค่อยเข้าใจความหมายของสุภาษิตเท่าไหร่นะ ต้องนำไปประกอบกับเหตุการณ์หรือกับตัวบุคคล ถึงจะได้ความหมายที่เป็นคติเตือนใจ ซึ่งคำสุภาษิตนั้นมีอยู่ 2 ประเภท ก็คือ

  1. คำสุภาษิตที่ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที โดยที่ไม่ต้องแปลความหมายให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
  2. คำสุภาษิตที่ฟังแล้วไม่เข้าใจในทันที ต้องแปลความหมายของมันให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ก่อนถึงจะรู้ความหมายของคำสุภาษิตนั้น ๆ เช่น น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง

แต่ว่า...ยังมีคำที่ใกล้เคียงคำสุภาษิตอยู่อีกคือ

สำนวน

สำนวนคือคำพูดในลักษณะเปรียบเทียบ และต้องแปลความหมายก่อน ฟังครั้งแรกอจจะไม่เข้าใจ คล้าย ๆ กับประเภทที่ 2 ของคำสุภาษิตนั่นแหละ

คำพังเพย

คำพังเพยคือคำพูดที่พูดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจว่าจะสอนอะไร แต่เป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบว่าสถานการณ์นั้นเป็นอย่างไรมากกว่า แต่ส่วนใหญ่คำพังเพยนี้จะแฝงแง่คิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้

คำคม

คำคมคือคำพูดที่หลักแหลม ที่คิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ที่พอเราได้ฟังถึงขั้นตกยกนิ้วให้เลย คนคิดมักจะเป็นคนที่ฉลาด ไหวพริบดี หรือนักปราชญ์ เช่น คำคมของขงเบ้ง อย่าง “ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน” ไงทุกคน

คำขวัญ

คำขวัญคือคำที่ถูกแต่งขึ้นมาเพื่ออธิบายหรือพรรณาเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น ๆ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น คำขวัญจังหวัด หรือคำขวัญวันเด็กที่เราได้ยินกันทุกปีนั่นเอง

คำสุภาษิตไทยพร้อมความหมาย

สิ่งที่เป็นภัยใกล้ตัวใช้สำนวนว่าอย่างไร

คำสุภาษิตหมวด ก.

  1. กงเกวียนกำเกวียน หมายถึง ทำอะไรกับใครไว้ ย่อมได้รับผลกรรมนั้น
  2. กบในกะลาครอบ หมายถึง มีความรู้หรือประสบการณ์น้อย แต่นึกว่าตัวเองรู้มาก
  3. กรวดน้ำคว่ำขัน (คว่ำกะลา) หมายถึง ตัดขาดไม่เกี่ยวข้องด้วย ชาตินี้อย่าได้เจอกัน
  4. กระเชอก้นรั่ว หมายถึง ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย ไม่ประหยัด ไม่เก็บหอมรอมริบ
  5. กระดี่ได้น้ำ หมายถึง ดีอกดีใจจนเกินงาม เนื้อตัวสั่น
  6. กระต่ายขาเดียว หมายถึง ยืนกรานไม่ยอมรับผิด
  7. กระต่ายตื่นตูม หมายถึง ตื่นตกใจง่าย ยังไม่ทันหาสาเหตุให้ชัดเจนเสียก่อนก็โวยวายแล้ว
  8. กระต่ายหมายจันทร์ หมายถึง ผู้ชายที่หมายปองหญิงสูงศักดิ์ ฐานะดีกว่าตัวเอง
  9. กระโถนท้องพระโรง หมายถึง บุคคลที่ถูกใคร ๆ รุมใช้อยู่คนเดียว
  10. กลับเนื้อกลับตัว หมายถึง เลิกทำความชั่ว แล้วมาประพฤติตัวเป็นคนดี
  11. กลับหน้ามือเป็นหลังมือ หมายถึง เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปอย่างตรงกันข้าม
  12. กล้านักมักบิ่น หมายถึง กล้าเกินไปมักจะเกิดอันตรายได้
  13. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ หมายถึง ทำงาน 2 อย่าง แบบลังเลใจ แก้ปัญหาไม่ทันท่วงทีต้องเสียงานไป 1 อย่าง
  14. ก่อร่างสร้างตัว หมายถึง ทำงานหาเงินเป็นกอบเป็นกำ ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เป็นหลักฐาน
  15. กาคาบพริก หมายถึง คนผิวดำที่ชอบแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง ๆ หรือสีสด ๆ
  16. กำขี้ดีกว่ากำตด หมายถึง ได้มาบ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
  17. กำแพงมีหูประตูมีช่อง / กำแพงมีหู หมายถึง ประตูมีตา จะพูดอะไรต้องระวัง อาจมีคนรู้ได้
  18. กิ่งทองใบหยก หมายถึง ชายหนุ่ม หญิงสาวเหมาะสมกันดีที่จะแต่งงาน
  19. กินที่ลับไขที่แจ้ง หมายถึง เอาความลับหรือเอาเรื่องที่ทำกันที่ลับมาเปิดเผยให้คนเขารู้
  20. กินน้ำใต้ศอก หมายถึง เมียน้อยต้องยอมรับของเหลือจากเมียหลวง ตกเป็นรองด้านศักดิ์ศรี
  21. กินน้ำพริกถ้วยเก่า หมายถึง อยู่กับเมียคนเดิม
  22. กินน้ำไม่เผื่อแล้ง หมายถึง มีเงิน มีของก็ใช้จนหมด ไม่ห่วงอนาคตข้างหน้า
  23. กินน้ำเห็นปลิง หมายถึง ตะขิดตะขวงใจกับคนชั่วที่รู้พูดหรือคบด้วยโดยรู้ว่าเขาไม่ดี
  24. กินบนเรือนขี้บนหลังคา หมายถึง คนเนรคุณอาศัยบ้านเขาหรือเขาให้ความช่วยเหลือแต่กลับทำความไม่ดีห้
  25. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน หมายถึง เก็บเล็กผสมน้อย เก็บส่วนเล็กส่วนน้อยจนเป็นรูปเป็นร่างเป็นกอบเป็นกำ
  26. เกลือจิ้มเกลือ หมายถึง แก้แค้นให้สาสมกับที่ทำไว้ ไม่ยอมเสียเปรียบกัน
  27. เกลือเป็นหนอน หมายถึง คนภายในกลุ่มของเรา คิดทรยศไปบอกความลับฝ่ายตรงข้าม
  28. เกี่ยวแฝกมุงป่า หมายถึง ทำอะไรเกินกำลังความสามารถของตัว
  29. แกว่งเท้าหาเสี้ยน หมายถึง อยู่ดีไม่ว่าดี ไปหาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว
  30. ไก่แก่แม่ปลาช่อน หมายถึง หญิงมีอายุมาก มีมารยามาก เล่ห์เหลี่ยมมาก
  31. ไกลปืนเที่ยง หมายถึง ไม่ค่อยรู้ความเป็นไปของโลก เพราะอยู่ห่างไกลความเจริญ
  32. ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ หมายถึง ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน

คำสุภาษิตหมวด ข.-จ.

  1. ขนมผสมน้ำยา หมายถึง ทั้งคู่ดีเลวพอกัน จะบอกว่าใครดีกว่าใครไม่ได้
  2. ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า หมายถึง บังคับฝืนใจคนอื่นให้ทำตามที่ใจเราต้องการ
  3. ขว้างงูไม่พ้นคอ หมายถึง ทำอะไรก็ตาม ผลร้ายย้อนกลับมาสู่ตัวเอง
  4. ขวานฝ่าซาก หมายถึง พูดจาตรง ๆ ไม่เกรงใจใครเลย
  5. ขายผ้าเอาหน้ารอด หมายถึง ยอมเสียสละของสำคัญของตนเพื่อรักษาชื่อเสียงตนเอาไว้
  6. ขิงก็รา ข่าก็แรง หมายถึง ต่างคนต่างอารมณ์ร้อนพอกัน ต่างคนต่างไม่ยอมกัน
  7. ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง ลงทุนมาก แต่กลับได้ผลนิดเดียว
  8. ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา หมายถึง เหยียดหยามทั้งคำพูด และสายตามองแบบดูถูก
  9. ขุดบ่อล่อปลา หมายถึง ทำกลอุบายให้เขาเชื่อเพื่อหวังผลประโยชน์
  10. เข็นครกขึ้นภูเขา หมายถึง ทำงานที่ยากลำบากต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนมาก
  11. เข้าด้ายเข้าเข็ม หมายถึง กำลังคับขันเวลากำลังสำคัญ ถ้าพลาดหรือมีอะไรมาขัดจังหวะจะเสียการเสียงาน
  12. เข้าตามตรอก ออกตามประตู หมายถึง ทำตามขนบธรรมเนียมประเพณี ส่วนใหญ่หมายถึงการแต่งงาน
  13. เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า หมายถึง ให้รอบคอบ อย่าประมาท
  14. เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม หมายถึง ทำตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่คนในสังคมนั้นเขาทำกัน
  15. เขียนเสือให้วัวกลัว หมายถึง หลอก ขู่ ให้ฝ่ายตรงข้ามเสียขวัญหรือเกรงขาม
  16. คดในข้อ งอในกระดูก หมายถึง คนไม่ซื่อสัตย์ นิสัยชอบคดโกง
  17. คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ หมายถึง จะคบเพื่อนต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อน
  18. คลื่นกระทบฝั่ง หมายถึง เรื่องราวเกิดขึ้นแล้วก็เงียบหายไปในที่สุด
  19. คลุมถุงชน หมายถึง การแต่งงานที่เจ้าบ่าวเจ้าสาว ต่างไม่ได้รักกันมาก่อน โดนผู้ใหญ่จับแต่งงานกัน
  20. ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด หมายถึง มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์
  21. คอหอยกับลูกกระเดือก หมายถึง เข้ากันได้ดี แยกกันไม่ออก สนิทสนมกัน
  22. คางคกขึ้นวอ หมายถึง คนจนพอได้ดีขึ้นมา ก็ลืมตัว
  23. คาหนังคาเขา หมายถึง จับได้ในขณะที่กำลังทำผิดหรือพร้อมกับหลักฐาน
  24. โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน หมายถึง ชายแก่ชอบหญิงสาวอายุน้อยเป็นภรรยา
  25. ฆ้องปากแตก หมายถึง เก็บความลับไม่อยู่ ชอบนำความลับของคนอื่นไปโพนทะนา
  26. ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก หมายถึง จะทำการใหญ่ ไม่ควรตะหนี่ หรือขี้งก
  27. งมเข็มในมหาสมุทร หมายถึง ค้นหาสิ่งหายากที่จะค้นหาได้
  28. เงยหน้าอ้าปาก / ลืมตาอ้าปาก หมายถึง มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิม
  29. จับงูข้างหาง หมายถึง ทำสิ่งที่เสี่ยงต่ออันตราย
  30. จับแพะชนแกะ หมายถึง ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้นเพื่อให้เสร็จ ๆ ไป
  31. จับเสือมือเปล่า หมายถึง หาผลประโยชน์โดยตัวเองไม่ลงทุน
  32. จุดไต้ตำตอ หมายถึง พูดหรือทำบังเอิญไปโดนเจ้าของเรื่องโดยผู้พูดนั้นไม่รู้ตัว

คำสุภาษิตหมวด ช.-ด.

  1. ชักใบให้เรือเสีย หมายถึง พูดหรือขวางให้การสนทนาออกนอกเรื่อง
  2. ชักแม่น้ำทั้งห้า หมายถึง พูดจาหว่านล้อม ยกยอคนอื่นว่าเขาดีเลิศ เพื่อให้ได้ในสิ่งที่เราต้องการ
  3. ชักหน้าไม่ถึงหลัง หมายถึง มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย
  4. ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ หมายถึง พระสงฆ์จะประพฤติตัวอย่างไรก็เรื่องของท่าน ท่านก็ได้รับผลกรรมเอง
  5. ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม หมายถึง ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ พิจารณาให้ดี รอบคอบ เดี๋ยวจะสำเร็จเอง
  6. ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด หมายถึง ความผิดร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด
  7. ผัวหาบ เมียคอน หมายถึง ช่วยกันทำมาหากินทั้งผัวและเมีย
  8. ชี้นกบนปลายไม้ หมายถึง หวังในสิ่งที่อยู่ไกลตัว มันเป็นไปได้ยาก
  9. ชุบมือเปิบ หมายถึง ฉวยเอาผลประโยชน์ของผู้อื่น โดยตัวเองไมได้ลงทุนลงแรง
  10. ซื่อเหมือนแมวนอนหวด หมายถึง ทำเป็นซื่อ ๆ
  11. ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ หมายถึง ซื้อของโดยไม่คิดเวลาหรือฤดูกาล ย่อมได้ของแพง
  12. ดีดลูกคิดรางแก้ว หมายถึง คิดถึงผลได้ ผลดีอย่างเดียว
  13. ได้ทีขี่แพะไล่ หมายถึง ไปซ้ำเติม เยาะเย้ยเมื่อคนอื่นเพลี่ยงพล้ำ

คำสุภาษิตหมวด ต.

  1. ตกกะไดพลอยโจน หมายถึง จำเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีทางเลี่ยง
  2. ตักน้ำรดหัวตอ หมายถึง แนะนำเท่าไร พร่ำสอนเท่าไร ก็ไม่ได้ผล
  3. ตักบาตรอย่าถามพระ หมายถึง จะให้อะไรแก่คนอื่น อย่าไปถามเขาว่าเอาไหม อยากได้ไหม
  4. ตัดหางปล่อยวัด หมายถึง ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง
  5. ตาบอดคลำช้าง หมายถึง คนที่รู้อะไรด้านเดียว แล้วเข้าใจแต่อย่างนั้น สิ่งนั้น
  6. ตาบอดได้แว่น หมายถึง คนที่มีสิ่งที่ตัวเองใช้ประโยชน์ไม่ได้ *มักใช้คู่กับ หัวล้านได้หวี
  7. ตาลยอดด้วน หมายถึง คนที่ไม่มีหนทางทำมาหากินคนไม่มีบุตรสืบสกุล
  8. ตำข้าวสารกรอกหม้อ หมายถึง ทำพอให้เสร็จไปแค่ครั้งหนึ่ง ๆ พอพรุ่งนี้จะเอา ค่อยทำใหม่
  9. ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หมายถึง เสียทรัพย์โดยไม่ได้รับประโยชน์อะไร
  10. ติเรือทั้งโกลน หมายถึง ติพล่อย ๆ ตำหนิในสิ่งที่เขายังทำไม่เสร็จ
  11. ตีงูให้กากิน หมายถึง ทำสิ่งที่ตนควรจะได้รับประโยชน์ แต่กลับไม่ได้ ตกอยู่กับผู้อื่น
  12. ตีงูให้หลังหัก หมายถึง ทำสิ่งใดแก่ศัตรูไม่เด็ดขาดจริงจัง ย่อมได้รับผลร้ายภายหลัง
  13. ตีตนก่อนไข้ หมายถึง กังวลทุกข์ร้อนก่อนในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น
  14. ตีนถีบปากกัด / ปากกัดตีนถีบ หมายถึง มานะพยายามทำงานทุกอย่างเพื่อปากท้อง โดยไม่ห่วงคำนึงถึงความลำบาก
  15. ตีปลาหน้าไซ หมายถึง พูดหรือทำให้กิจการของผู้อื่นซึ่งกำลังดำเนินไปด้วยดีกลับเสีย
  16. ตีวัวกระทบคราด หมายถึง โกรธคนหนึ่งแต่ทำอะไรเขาไม่ได้ ก็เลยรังควานอีกคนที่ตนเองสามารถทำได้
  17. ตื่นแต่ดึก สึกแต่หนุ่ม หมายถึง เร่งรัดเกินไปในเวลาที่ยังไม่เหมาะสม
  18. เตี้ยอุ้มค่อม หมายถึง คนจนแต่รับเลี้ยงดูคนที่ต่ำต้อย จนเหมือนกัน

คำสุภาษิตหมวด ถ.-ป.

  1. ถอดเขี้ยว ถอดเล็บ หมายถึง เลิกแสดงฤทธิ์เดชอำนาจอีก
  2. ถอยหลังเข้าคลอง หมายถึง หวนกลับไปหาแบบเดิม ๆ ล้าสมัย
  3. ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น หมายถึง ดูเหมือนจะรอบคอบถี่ถ้วน แต่รอบคอบไม่จริง
  4. ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ หมายถึง ทำการสิ่งใด ถ้ากลัวหมดเปลืองย่อมไม่ได้ผล
  5. นกสองหัว หมายถึง ทำตัวเข้ากับทั้ง 2 ฝ่ายที่เขาไม่ถูกกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตัวเอง
  6. นายว่าขี้ข้าพลอย หมายถึง พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามเจ้านาย
  7. น้ำขึ้นให้รีบตัก หมายถึง มีโอกาสดีก็ควรรีบทำ
  8. น้ำซึมบ่อทราย หมายถึง รายได้มาเรื่อย ๆ
  9. น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง หมายถึง พูดมากได้สาระน้อย
  10. น้ำท่วมปาก หมายถึง พูดไม่ได้ เกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น
  11. น้ำลดตอผุด หมายถึง เมื่อหมดอำนาจ ความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฎ
  12. บนข้าวผี ตีข้าวพระ หมายถึง ขอร้องให้เทวดาผีสางนางไม้ช่วยโดยการบน
  13. บอกหนังสือสังฆราช หมายถึง สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว
  14. เบี้ยบ้ายรายทาง หมายถึง เงินที่ต้องใช้จ่าย หรือเสี่ยไปเรื่อย ๆ ในขณะทำธุรกิจให้สำเร็จ
  15. ปลาติดร่างแห (ติดหลังแห) หมายถึง คนที่พลอยรับเคราะห์กรรมกับคนอื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพัน
  16. ปากปราศัย ใจเชือดคอ หมายถึง พูดดีแต่ใจคิดร้าย
  17. ปากว่าตาขยิบ หมายถึง พูดอย่างหนึ่งแต่ทำอีกอย่างหนึ่ง ปากกับใจไม่ตรงกัน
  18. ปากหวานก้นเปรี้ยว หมายถึง พูดจาอ่อนหวาน แต่ไม่จริงใจ
  19. ปิดทองหลังพระ หมายถึง ทำดีแต่ไม่มีใครยกย่อง เพราะมองไม่เห็นคุณค่า
  20. ไปไหนมา สามวาสองศอก หมายถึง ถามอย่างหนึ่ง ตอบไปอีกอย่างหนึ่ง

คำสุภาษิตหมวด ผ.-ย.

  1. ผักชีโรยหน้า หมายถึง ทำความดีเพียงผิวเผิน
  2. ผีซ้ำด้ำพลอย หมายถึง ถูกซ้ำเติม เมื่อพลาดพลั้งหรือเมื่อคราวเคราะห์ร้าย
  3. ผีถึงป่าช้า หมายถึง ต้องยอมทำ เพราะจำใจหรือไม่มีทางเลือก
  4. ฝนตกไม่ทั่วฟ้า หมายถึง ให้หรือแจกจ่ายอะไรไม่ทั่วถึงกัน
  5. ฝนทั่งให้เป็นเข็ม หมายถึง เพียรพยายามสุดความสามารถจนสำเร็จ
  6. พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น หมายถึง พบหญิงสาวที่ถูกใจ เมื่อแก่แล้ว
  7. พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ หมายถึง รู้ทันกัน ไม่มีทางจะโกหก หลอกกันได้
  8. พูดเป็นต่อยหอย หมายถึง พูดฉอด ๆ ไม่หยุดปาก เม้าท์เก่ง
  9. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง หมายถึง พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า สงบสยบความเคลื่อนไหว
  10. มะนาวไม่มีน้ำ หมายถึง พูดห้วน ๆ
  11. มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก หมายถึง พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลงไปมาจนจับคำพูดไม่ทัน
  12. มากหมอมากความ หมายถึง มากคนก็มากเรื่อง วุ่นวาย ต่างคนต่างก็ถือความคิดตัวเอง
  13. มือถือสาก ปากถือศีล หมายถึง ชอบแสดงตัวตนว่าเป็นคนมีศีล มีธรรม แต่ทำความเลวเป็นนิจ
  14. มือห่าง ตีนห่าง หมายถึง สุรุ่ยสุร่าย เลินเล่อ สะเพร่า ไม่ระมัดระวัง
  15. ไม่ดูตาม้าตาเรือ หมายถึง ไม่พิจารณารอบคอบดูให้ดี
  16. ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน หมายถึง ไม่รู้ว่าบ้านช่องอยู่ไหน เป็นลูกหลานใคร ไม่รู้จักพื้นเพ
  17. ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้ หมายถึง ด่วนตัดสินใจทำอะไรเลยไป ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันควร
  18. ไม้ใกล้ฝั่ง หมายถึง แก่มาก ใกล้หมดอายุขัย
  19. ไม่หลักปักไม้เลน หมายถึง โลเล ไม่แน่นอน
  20. ยกตนข่มท่าน หมายถึง พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า
  21. ยกภูเขาออกจากอก หมายถึง โล่งอก หมดวิตกกังวล
  22. ยื่นแก้วให้วานร หมายถึง เอาของมีค่าให้คนที่ไม่รู้จักค่าของสิ่งนั้น

คำสุภาษิตหมวด ร.-ส.

  1. รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ หมายถึง รักจะคบกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่สั้น ๆ ให้คิดอาฆาต
  2. รีดเลือดกับปู หมายถึง บังคับเอากับผู้ยากจนที่ไม่มีจะให้
  3. ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก หมายถึง ดีแต่พูด แต่ทำจริง ๆ ทำไม่ได้
  4. ลางเนื้อชอบลางยา หมายถึง ของบางสิ่งอาจถูก เข้ากันได้ดี เหมาะกับคนหนึ่ง แต่อาจไม่เหมาะกับอีกคน
  5. ลูกขุนพลอยพยัก หมายถึง พวกประจบสอพลอ ผู้ที่คอยว่าตามผู้ใหญ่ เจ้านาย
  6. ลูกผีลูกคน หมายถึง จะเอาแน่นอนไม่ได้ มักใช้ในกรณีสำคัญ ๆ
  7. ลูบหน้าปะจมูก หมายถึง จะทำอะไรเด็ดขาดจริงจังลงไปไม่ได้ เพราะเกรงจะไปกระทบพวกพ้องตัวเอง
  8. เล่นเอาเถิดเจ้าล่อ หมายถึง อาการหลบไปมาเพื่อไม่ให้พบ
  9. เลือดข้นกว่าน้ำ หมายถึง ญาติพี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น
  10. วัวใครเข้าคอกคนนั้น หมายถึง กรรมที่ใครสร้างไว้ ย่อส่งผลให้แก่ผู้นั้น
  11. ว่ายน้ำหาจระเข้ หมายถึง เสี่ยงเข้าพบทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นอันตราย
  12. ศรศิลป์ไม่กินกัน หมายถึง ไม่ถูกกัน ไม่ลงรอยกัน ไม่ชอบหน้ากัน
  13. สร้างวิมานในอากาศ หมายถึง คิดคาดหวัง จะมีจะเป็นอะไรอย่างเลิศลอย
  14. สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ หมายถึง ความสุขที่เกิดจาการทำดี ทำชั่ว อยู่ที่ใจทั้งนั้น
  15. สองฝักสองฝ่าย หมายถึง ทำตัวเข้ากับ 2 ฝ่ายที่ไม่ถูกกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน
  16. สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ หมายถึง สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือถนัดอยู่แล้ว
  17. สาวไส้ให้กากิน หมายถึง เอาความลับของตน หรือพวกตนไปเผยให้คนอื่นรู้ เป็นการประจานตน
  18. สิ้นไร้ไม้ตอก หมายถึง ยากไร้ ขัดสนถึงที่สุด ไม่มีทรัพย์สมบัติติดตัว
  19. สิบเบี้ยใกล้มือ หมายถึง ของหรือประโยชน์ที่ควรได้ก็เอาไว้ก่อน
  20. สุกเอาเผากิน หมายถึง ทำลวก ๆ ทำพอเสร็จไปครั้ง ๆ หนึ่ง
  21. เส้นผมบังภูเขา หมายถึง เรื่องง่าย ๆ แต่คิดไม่ออก เหมือนมีอะไรมาบังอยู่

คำสุภาษิตหมวด ห.-อ.

  1. หงิม ๆ หยิบชิ้นปลามัน หมายถึง บุคลิกลักษณะเรียบร้อย แต่ความจริงฉลาด เลือกเอาดี ๆ ไปได้
  2. หญ้าปากคอก หมายถึง สะดวก ง่าย ไม่มีอะไรยุ่งยาก
  3. หนังหน้าไฟ หมายถึง ผู้ที่คอยรับหน้า รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น
  4. หน้าเนื้อใจเสือ หมายถึง หน้าตาแสดงความเมตตา แต่ใจโหดเหี้ยม
  5. หนามยอกเอาหนามบ่ง หมายถึง ตอบโต้หรือแก้ด้วยวิธีการทำนองเดียวกัน
  6. หน้าสิ่วหน้าขวาน หมายถึง อยู่ในระยะอันตราย เพราะอีกฝ่ายหนึ่งกำลังโกรธ
  7. หมาในรางหญ้า หมายถึง คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้
  8. หมาสองราง หมายถึง คนที่ทำตัวเข้าทั้ง 2 ฝ่ายที่เป็นศัตรูกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน
  9. หยิกเล็บเจ็บเนื้อ หมายถึง เมื่อทำความเดือดร้อนให้แก่คนใกล้ชิด ก็จะมีผลกระทบถึงตัวผู้ทำหรือพวกพ้อง
  10. หอกข้างแคร่ หมายถึง คนใกล้ชิดที่จะคอยทำร้ายเมื่อใดก็ได้
  11. หักด้ามพร้าด้วยเข่า หมายถึง หักโหมเอาด้วยกำลัง ใช้อำนาจบังคับเขา
  12. หัวแก้วหัวแหวน หมายถึง เป็นที่รักใคร่เอ็นดูมาก
  13. หัวมังกุ ท้ายมังกร หมายถึง ไม่เข้ากัน ไม่กลมกลืนกัน
  14. หัวหลักหัวตอ หมายถึง บุคคลที่น้อยใจ เพราะคนอื่นมองข้ามความสำคัญ ไม่ยอมมาปรึกษา
  15. เหยียบเรือสองแคม หมายถึง ทำทีเข้าด้วยทั้ง 2 ฝ่าย
  16. หูผีจมูกมด หมายถึง ไหวตัวทันเหตุการณ์ตลอด
  17. หาเหาใส่หัว หมายถึง รนหาเรื่องเดือดร้อน รำคาญใส่ตน
  18. เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน หมายถึง แสดงความรู้หรืออวดรู้กับผู้ที่รู้เรื่องดีกว่า
  19. เอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้าง หมายถึง เอาทรัพย์หรือสิ่งของจากคนที่มีน้อยไปให้ผู้ที่มีมากกว่า
  20. เอามือซุกหีบ หมายถึง หาเรื่องเดือดร้อนหรือความลำบากใส่ตัวโดยใช่ที่
  21. เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง หมายถึง คัดค้านผู้มีอำนาจ ฐานะสูงกว่า หรือผู้ใหญ่กว่า มักจะล้มเหลว
  22. เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ หมายถึง แสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ไม่สนใจ

จัดเต็ม! คำสุภาษิตกันถึง 180 คำกันเลย สุภาษิตบางคำ เกิดมายังไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย...ดีเหมือนกันนะเนี่ย จะได้เอาสุภาษิตไปใช้ในชีวิตประจำวัน ก็ชิค ๆ คูล ๆ ไปอีกแบบ แถมยังรู้ความหมายแล้วด้วย ใช้ได้ถูกกับสถานการณ์ ความหมายไม่ผิดแน่นอน! เราหวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ที่ Wongnai เสนอให้นะ พูดคำสุภาษิตเปรียบเทียบชั้นดูมีชั้นเชิงทางภาษาสักหน่อย หรืออย่างน้อยอ่านนิยายหรือดูละครพีเรียดก็เข้าใจความหมายแล้ว~