นักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรในการใช้สื่อสังคมออนไลน์

เมื่อวันที่ 24 มี.ค.2560 ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่ประกาศคำสั่งจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติให้มีผลบังคับใช้ตามกฏหมายโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 25(10) แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2559 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559 โดยพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ประกาศฉบับนี้จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สาระสำคัญของ ประกาศฉบับนี้ แนวทางปฏิบัตินี้เป็นแนวทางเบื้องต้น เพื่อประกอบการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งรวมถึงการใช้งานในเรื่องวิชาชีพและส่วนตัวที่อาจเกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย วิชาชีพ หรือระบบสุขภาพโดยรวมของสภาวิชาชีพ สถานพยาบาล องค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน และผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ โดยสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงกระดานข่าว เครือข่ายสังคมออนไลน์ บล็อก เว็บไซต์สำหรับสร้างและแก้ไขเนื้อหาร่วมกัน เช่น วิกิพีเดีย เกมออนไลน์หรือโลกเสมือนที่มีผู้ใช้งานหลายคน สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อออนไลน์อื่นที่เป็นช่องทางสื่อสารระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสาธารณะ และสื่อสำหรับการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเนื้อหาที่เป็นภาพนิ่ง เสียง วีดิทัศน์ หรือแฟ้มข้อมูลหรือเนื้อที่เก็บข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

โดยให้ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามหลักการที่มีการกำหนดไว้ในแนวทางฉบับนี้ อาทิ หลักการเคารพกฎหมาย หลักการเคารพในจริยธรรมแห่งวิชาชีพ หลักการเคารพในกฎระเบียบและนโยบายขององค์กร หลักการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นเสียหาย หลักการรายงานพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ และหลักเสรีภาพทางวิชาการ

ซึ่งในพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 กำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 7 ไว้ว่าต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยความผิดนี้เป็นความผิดฐานยอมความได้

การใช้งานที่ดูเหมือนว่าเข้าถึงได้ง่ายทุกเพศทุกวัย จึงทำให้หลายคนละเลยในความปลอดภัยที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต เมื่อเราเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ได้ง่ายขึ้น กลุ่มมิจฉาชีพอาจอาศัยความละเลยของผู้ใช้งาน เกี่ยวกับความปลอดภัยในส่วนของข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดภัยเข้าถึงเราได้แบบไม่รู้ตัว ดังนั้นควรมีข้อจำกัดในการเล่นให้ตนเอง เพื่อความปลอดภัยและไม่มีภัยร้ายแปลกปลอมเข้ามาในชีวิตที่อาจทำให้เราเสียเงินทอง ทรัพย์สิน ความรู้สึกต่างๆ ไปแบบไม่รู้ตัว

Facebook เป็นตัวเลือกที่คนในสังคมใช้มากที่สุดและทรงอิทธิพลต่อสังคมและคนในสังคมมากเช่นกัน ข้อควรระวังที่อยากมาแนะนำให้กับทุกคนต่อไปนี้ คือการใช้ Facebook อย่างมีสติและระมัดระวัง เพราะหลายอย่างที่เราแสดงต่อสังคมสาธารณะนั้นสะท้อนถึงความเป็นตัวตนและความคิดอ่านของคนนั้นๆ ด้วย ดังนั้นการเสพข่าวสารหรือแชร์ข่าวสารต่างๆ ควรคิด วิเคราะห์ ไตร่ตรอง ให้ดี ไม่คล้อยตามแนวความคิดที่ทำให้เราเสียหายในภายหน้าได้

1.เลือกตอบรับคำขอเป็นเพื่อนเฉพาะคนรู้จัก
Facebook สามารถเพิ่มเพื่อได้ทุกคน นั่นหมายความว่าทุกคนนั้นก็สามารถเพิ่มเราเป็นเพื่อนได้เช่นกัน แต่ข้อแนะนำคือเราควรรับเฉพาะเพื่อนที่รู้จักและไว้ใจได้มากกว่า หรือเป็นการรู้จักกัน เจอหน้าและทักทาย แล้วค่อยเพิ่มเป็นเพื่อนทีหลังก็ยังได้และปลอดภัยกว่าอีกด้วย

2.ก่อนโพสต์ควรนึกถึงผลกระทบและควรตั้งค่าไว้ให้เห็นเฉพาะเพื่อนเท่านั้น
บางครั้งโพสต์ที่เราเผยแพร่ออกไปนั้นอาจส่งผลเสียต่อเราได้ ทางที่ดีควรมีสติในการตั้งสเตตัสและหากเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มก็ไม่ควรตั้งโพสต์เป็นสาธารณะ ควรเลือกโพสต์เฉพาะกลุ่มเพื่อนดีกว่า

3.อย่าโพสต์ภาพลับ
เมื่อภาพนั้นๆ เป็นภาพลับ หรือเป็นความลับที่ไม่อยากให้มีผู้ใดรู้หรือเห็น ก็ไม่ควรนำมาโพสต์ลงโซเชียล ถึงแม้ว่าจะตั้งค่าให้เราเห็นคนเดียวก็ตามแต่ เพราะถ้าออกสู่โลกอินเทอร์เน็ตแล้วอะไรก็ไม่แน่นอนและมีความเป็นไปได้ว่าจะหลุดได้เช่นกัน

4.อย่าเช็คอินสถานที่ที่ชอบไปบ่อยๆ
เมื่อไปสถานที่ที่ชอบบ่อยๆ และเช็คอินบอกกล่าวให้สังคมโซเชียลได้รู้ ว่าอยู่ไหนและกำลังทำอะไรอยู่ อาจเป็นส่วนที่ทำให้กลุ่มมิจฉาชีพสะกดรอยตาม ทำร้ายร่างกาย หรือชิงทรัพย์ได้

5.แสดงความคิดเห็นอย่างมีสติ
ต่างคนต่างความคิดเห็น เมื่อเราไม่พอใจในสิ่งที่เห็นไม่จำเป็นเข้าไปโต้แย้งให้เสียงอารมณ์ เสพและรับสารอย่างมีสติ เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงและอาจก่อให้เกิดเป็นความผิดได้

6.กด Like สิ่งที่สร้างสรรค์
ถ้าหากกด Like เพจในเรื่องที่ไม่เหมาะสม เพื่อนก็จะเห็นในสิ่งที่กด Like ด้วยเช่นกัน

7.เช็คก่อนแชร์
อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่า ควรเสพและแชร์ข่าวสารอย่างมีสติ หากพลาดไปแชร์สิ่งที่ผิดกฎหมายหรือทำให้คนอื่นเสื่อมเสียชื่อเสียงก็อาจถูกลงโทษได้ ตาม พรบ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่

8.ระวังการถูกถามข้อมูลส่วนตัว
การถูกถามข้อมูลส่วนตัวโดยการกรอกข้อมูลผ่านเว็บต่างๆ ผ่านลิงก์เว็บ Phishing หรือลิงก์ข่าวปลอมบน Social ที่เสี่ยงอันตราย หรือการถูกถามทางแชทแบบง่ายๆ ที่เราไม่ทันตั้งตัว

9.อย่าลืม Log out ออกจากระบบ โดยเฉพาะ Computer สาธารณะ อย่ากด Remember me
เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีผู้สวมรอยเป็นเรา แล้วนำ Facebook ของเรานั้นไปหลอกลวง หรือทำสิ่งที่ไม่ดีต่อผู้อื่น บางคนอาจผูกรหัสทางธุรกรรมไว้ที่ Facebook ด้วย ดังนั้นต้องระมัดระวังส่วนนี้ให้มากเป็นพิเศษด้วย

การใช้โซเชียลอย่างมีสติจะช่วยให้เราปลอดภัยจากการโจรกรรมทางทรัพย์สิน และการถูกโจรกรรมทางความคิดได้ ภัยอันตรายและกลุ่มมิจฉาชีพนั้นแฝงตัวอยู่ทุกซอกมุม เราจึงจำเป็นต้องระมัดระวังเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย เพื่อไม่ให้เกิดภัยต่อเราและคนใกล้ตัว

ควรปฏิบัติตนอย่างไรบ้างในการเป็นสมาชิกที่ดีของเครือข่ายสังคมออนไลน์

- ไม่ควร post หรือเผยแพร่ข้อความ รูปภาพ วีดีโอที่ทำให้ผุ้อื่นเสียหาย เช่น ภาพหลุด คลิปหลุด หรือโพสรูปภาพที่สื่อถึงสิ่งอบายมุขต่างๆ ไม่ควรใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด เสียดสี ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม รวมทั้งไม่ควรโพสต์รูปภาพ ภาพถ่าย วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร ลงใน Social Network.

นักเรียนคิดว่าสื่อสังคมออนไลน์มีข้อดีอะไรบ้าง

1. สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้ 2. เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคาถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคาตอบได้ช่วยกันตอบ 3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว

การใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์เป็นอย่างไร

1) ควรส่งข้อมูลข่าวสารเฉพาะบุคคลที่รู้จัก แสดงตัวตน ตำแหน่ง หน้าที่การงาน สถานะที่ชัดเจนเท่านั้น 2) ละเว้นการส่งข้อมูลที่เป็นข่าวลือ ข่าวไม่ปรากฎที่มา หรือเป็นเพียงการคาดเดา 3) งดเว้นการส่งต่อข้อความเกี่ยวข้องกับสถาบันทุกกรณี ยกเว้น ข้อความนั้น ๆ เป็นที่เผยแพร่ ต่อสาธารณะแล้ว

กฎหมายเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์มีอะไรบ้าง

ระวัง! เรื่องต้องห้าม เสี่ยงผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์.
การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท.
ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท.
ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท.