นักเรียนมีวิธีการปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทระบบสืบพันธุ์และระบบต่อมไร้ท่อให้เป็นปกติ

โดย :

นายอนุรุทธิ์ หมีดเส็น

เมื่อ :

วันอาทิตย์, 04 มิถุนายน 2560

ระบบต่อมไร้ท่อและระบบฮอร์โมน


นักเรียนมีวิธีการปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทระบบสืบพันธุ์และระบบต่อมไร้ท่อให้เป็นปกติ

ภาพอธิบายที่มาของระบบฮอร์โมนในร่างกายมนุษย์

ระบบฮอร์โมน (Hormonal system)

ฮอร์โมนหลายชนิดมีที่มาจากต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) รังไข่ (Overy) มดลูก (Placenta) และต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) มีส่วนในการทำให้เต้านมเจริญเติบโตและสร้างน้ำนม จำนวนน้ำนมที่สร้างขึ้นก็ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยว่าจะมีอยู่มากน้อยเพียงใด (Holmes and Wilson, 1984) แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะฮอร์โมนที่มีความสำคัญโดยตรง ดังนี้

1) ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน (Oestrogen and Progesterone)

ฮอร์โมนสองชนิดนี้มีอยู่มากในเพศหญิงที่กำลังอุ้มท้อง คือสร้างจากรกที่ห่อหุ้มตัวอ่อน มีหน้าที่กระตุ้นให้เต้านมเจริญเติบโตและขณะเดียวกันก็เป็นตัวยับยั้งการสร้างน้ำนมด้วย ฮอร์โมนสองชนิดนี้จะลดจำนวนลงเป็นอันมากเมื่อคลอดลูก (Holmes and Wilson, 1984)

2) ฮอร์โมนออกซี่โทซิน (Oxytocin)

เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) และส่งออกทางต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior Pituitary Gland) เข้าสู่กระแสเลือด มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างน้ำนมด้วยโดยเป็นตัวกระตุ้นการปล่อยฮอร์โมนProlactin จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary Gland) อีกทีหนึ่ง เพศหญิงที่ขาดฮอร์โมนนี้หรือมีไม่เพียงพอจะไม่ปล่อยนมจากเต้า มีผลทำให้นมลดลงและหยุดการให้นมเร็วขึ้นกว่าปกติ เป็นเพราะขาดฮอร์โมน Oxytocin ที่เป็นตัวกระตุ้นการสร้างน้ำนม (Holmes and Wilson, 1984)

3) ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) 

เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary Gland) ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างน้ำนมโดยตรง ฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นให้น้ำย่อยในเซลล์ของAlveoli ทำการเปลี่ยนวัตถุดิบธาตุอาหาร(Precursors) ที่ได้จากเลือด มาสังเคราะห์ขึ้นใหม่เป็นส่วนประกอบของน้ำนม ถ้าเพศหญิงสามารถสร้างฮอร์โมนนี้ได้อย่างสม่ำเสมอ อัตราการสร้างน้ำนมก็จะมากและสม่ำเสมอ แต่ถ้าขาดการสร้างน้ำนมก็จะหยุดตามไปด้วย (Holmes and Wilson, 1984)

4) ฮอร์โมนไทรอกซิน  (Thyroxin)

เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทรอยด์  (Thyroid) ทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของอาหารในร่างกายและการสร้างน้ำนมด้วย ถ้าหากเพศหญิงสร้างฮอร์โมนนี้ออกมาน้อย การสร้างนมก็จะน้อยลงด้วย เพศหญิงบางคนอาจให้นมเพิ่มขึ้นได้โดยการให้ฮอร์โมน Thyroxin ที่สังเคราะห์ขึ้นมาเพิ่มเติมในอาหาร (Holmes and Wilson, 1984)

5) ฮอร์โมนอีพิเนฟริน (Epinephrine)

เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมแอดรินัล (Adrenal) มีผลในการยับยั้งการให้นมของเพศหญิง ในขณะที่บางคนเกิดอาการไม่พอใจ, ตกใจ, เจ็บปวด หรือ ตื่นเต้น ซึ่งฮอร์โมนนี้จะถูกส่งเข้ากระแสเลือดและทำให้เกิดการตีบตันของเส้นเลือดทำให้การเดินทางของฮอร์โมน Oxytocin ที่ถูกส่งไปยังเต้านมหยุดชงักและจะทำให้แม่บางคนหยุดการให้นมทันที จึงต้องระมัดระวังให้มากที่สุด

ระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ สร้างและหลั่งพวกฮอร์โมน (Hormones) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลืองไปยังเป้าหมาย คือ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ต่อมไร้ท่อบางชนิดสร้างฮอร์โมน ออกมาร่วมทำงาน หรือถูกควบคุมการหลั่งโดยระบบประสาท เรียกว่า neuroendocrine system เช่น ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต้น

ลักษณะโครงสร้างของและหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อ

โดยทั่วไป ประกอบด้วย สองส่วนหลักคือ

1. Parenchyma (เนื้อต่อม) ประกอบด้วย เซลล์เนื้อผิวชนิดที่ เรียกว่า secretory cells และเป็นเซลล์สำคัญที่สร้างฮอร์โมน ซึ่งเซลล์เหล่านี้ อาจเรียงตัวเป็นกลุ่ม (clumps) ขดเป็นกลุ่ม (cord) หรือแผ่น (plates) โดยมีเส้นเลือดฝอยชนิด fenestrated หรือ sinusoid capillaries และเส้นน้ำเหลือง จำนวนมากแทรก เพื่อทำหน้าที่หล่อเลี้ยง และลำเรียงฮอร์โมน ออกจากเนื้อต่อมเข้าสู่วงจรไหลเวียน ของกระแสเลือดไปกระตุ้นอวัยวะต่าง ๆ ตามเป้าหมาย (target organs) ที่อยู่ในร่างกาย

2. Stroma (โครงร่างพยุงเนื้อต่อม) ประกอบด้วย เนื้อประสานโดยให้เป็นเปลือกหุ้ม และโครงร่างให้เซลล์ของเนื้อต่อมเกาะ ในต่อมไร้ท่อบางชนิดพบมีส่วน ของเปลือกหุ้มยื่นเข้าไปแบ่งเนื้อต่อม ออกเป็นส่วน เรียกว่า Trabaeculae

ต่อมไร้ท่อแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. ต่อมที่พบอยู่เดี่ยว ได้แก่

I. ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland หรือ Hypophysis) มีเปลือกหุ้มที่ประกอบด้วย เนื้อประสาน เนื้อต่อมแบ่งย่อยออกเป็น 4 ส่วนคือ

1. Pars Anterior (Pars distalis) ส่วนนี้มีลักษณะคล้ายต่อมประกอบด้วย เซลล์ 2 ชนิดคือ

a) Chromophils เป็นเซลล์ที่ชอบติดสี แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด (ศึกษาจากการ ย้อมด้วย H&E )
1. Acidophils เซลล์ชนิดนี้ cytoplasm ติดสีชมพู พบส่วนใหญ่บริเวณ – ส่วนกลางของ pars distalis
2. Basophils เป็นเซลล์ที่ cytoplasm ติดสีน้ำเงินเข้มและมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์ ชนิดแรก พบบ่อยบริเวณรอบนอกของ pars distalis

b) Chromophobe เป็นเซลล์ที่ไม่ชอบติดสี มีขนาดเล็กที่สุดเล็ก ภายใน cytoplasm ไม่บรรจุ granules มักพบเป็นกลุ่มเห็นแต่เฉพาะนิวเคลียส

2. Pars Intermedia มีลักษณะเป็นกลุ่มของถุงน้ำ (colloid-filled follicles) เปลือกของถุงน้ำดาดด้วยเซลล์ชั้นเดียวขนาดเล็กติดสีน้ำเงินเข้ม
3. Pars Nervosa and Infundibular Stalk ส่วนนี้มีลักษณะ เหมือนเนื้อประสาท เซลล์ที่พบใน pars nervosa คือ pituicytes มีลักษณะคล้าย neuroglial cells (เซลล์พยุงของเซลล์ประสาท) นอกจากนั้นพบ unmyelinated nerve fibers ที่มีบริเวณส่วนปลาย ขยายออกและบรรจุ neurosecretions ที่เรียกว่า Herring bodies
4. Pars Tuberalis ส่วนนี้ประกอบด้วยเซลล์ทรงลูกเต๋าที่เรียงตัว ม้วนเป็นขด อาจจะพบมีลักษณะเป็นถุงน้ำที่บรรจุ colloi

II. ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) มีเปลือกหุ้มและยื่นให้เป็น septa แทรก เข้าไปในเนื้อต่อม เซลล์ของเนื้อต่อมมีลักษณะเป็น colloid-filled follicles โดยเปลือกหุ้ม ถุงน้ำ ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิดคือ

1. Follicular cells เป็น simple cuboidal epithelium (ส่วนใหญ่) สร้างและหลั่ง iodine-containing hormone T3 และ T4
2. Parafollicular cells (clear cells) แทรกอยู่กับ follicular cells สร้างและหลั่ง Calcitonin

III. ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) มีเปลือกหุ้มและ septa ลักษณะ ของพวกเซลล์เรียงตัวเป็นแผ่น ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด

1. Chief cells พบจำนวนมาก พวกเซลล์มีขนาดเล็กแต่มีนิวเคลียสค่อนข้างใหญ่
2. Oxyphils พบจำนวนน้อย พวกเซลล์มีขนาดใหญ่ cytoplasm ติดสีกรด (ชมพู) และ มักอยู่กันเป็นกลุ่มๆIV. ต่อมหมวกไต (Suprarenal หรือ Adrenal gland) มีเปลือกหุ้มเนื้อต่อม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน เพราะมีแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกัน คือ

1. Cortex เนื้อต่อมส่วนนอกกำเนิดมาจาก mesodermal cells แบ่งย่อย ออกเป็น 3 บริเวณตามลักษณะของขนาด รูปร่าง และการเรียงตัวของพวกเซลล์ โดยมีเส้นเลือดฝอยชนิด sinusoidal capillaries แทรกได้แก่

a) Zona Glomerulosa พบอยู่ใต้เปลือกที่หุ้มการเรียงตัวของเซลล์ มี ลักษณะขดเป็นกลุ่ม คล้าย glomerulus ของเนื้อไต
b) Zona Fasciculata พบอยู่ถัดลงมา เนื้อต่อมส่วนนี้หนาที่สุด เซลล์รียงตัว เป็นแท่ง และมีลักษณะรูปทรงลูกเต๋า ภายในเซลล์ใสบางครั้งเรียกเซลล์ชนิดนี้ว่า spongiocyte
c) Zona Reticularis พบอยู่ด้านในสุดของเนื้อต่อมส่วนนอก ประกอบด้วย เซลล์ขนาดเล็ก ติดสีเข้ม และต่อเนื่องกันคล้ายร่างแห

2. Medulla เนื้อต่อมส่วนในสุดมีแหล่งกำเนิดมาจาก neural crest cells ประกอบด้วยเซลล์ขนาดใหญ่ ภายใน cytoplasm บรรจุ granules เรียกเซลล์ชนิดนี้ว่า chromaffin cells นอกจากนั้นยังพบ autonomic ganglion cells ขนาดใหญ่ ลักษณะสำคัญของเนื้อต่อมส่วนนี้คือพบว่ามี เส้นเลือดดำขนาดใหญ่บรรจุอยู่

V. ต่อมไพเนียล (Pineal gland) เปลือกที่หุ้มมาจาก pia mater มี septa แทรกในเนื้อต่อม ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิดคือ

1. Pinealocytes เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียสขนาดใหญ่
2. Neuroglial cells เป็นเซลล์ขนาดเล็กมีนิวเคลียสติดสีเข้มกว่าเซลล์ชนิดแรก ลักษณะสำคัญในเนื้อต่อมไพเนียลคือพบ Brain Sand (corpora arenacea) มีลักษณะเป็น calcified accretions ติดสีม่วงเข้ม

2. พวกเซลล์ต่อมไร้ท่อที่กระจัดกระจายหรือเป็นกลุ่ม

โดยพบอยู่ร่วมกับพวกเซลล์ต่อมมีท่อ หรือร่วมกับอวัยวะอื่นของร่างกาย เช่น Islets of Langerhans of pancreas,Interstitial cells of Leydig in testis และ APUD cells (Amine Precursor Uptake and Decarboxylation) ซึ่งกลุ่มเซลล์ชนิดหลังสุดประกอบด้วย hormone-secreting cells สร้างและหลั่ง สารเคมีที่มีโครงสร้างคล้าย peptides และ active amines สารเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนหรือ neuro- transmitters พบเซลล์เหล่านี้ กระจัดกระจายแทรกในเนื้อผิว ที่ดาดในท่อทางเดินอาหาร ทางเดินลมหายใจ ในระบบไตและทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น APUD cells มีบางตัวกำเนิดมาจาก neuroectoderm เซลล์ในกลุ่มนี้บางตัว สามารถสาธิตให้เห็นในบทที่เกี่ยวกับ อวัยวะเหล่านั้น ยกเว้นพวก APUD cells เพราะส่วนใหญ่บ่งชี้ได้ ต้องย้อมสีพิเศษ หรือศึกษาในระดับ กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน

ประเภทของต่อมไร้ท่อ

ต่อมไร้ท่อสามารถจำแนกตามความสำคัญของฮอร์โมนที่ต่อมสร้างได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.ต่อมไร้ท่อที่จำเป็นต่อชีวิต (essentail endocrine gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ถ้าร่างกายขาดหรือต่อมถูกทำลายอาจจะทำให้ตายได้ ได้แก่ ต่อมพาราไทรอย ต่อมหมวกไตชั้นนอก ไอส์เลตของตับอ่อน
2.ต่อมไร้ท่อที่ไม่จำเป็นต่อชีวิต (non-essentail endocrine gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่สร้างฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อร่างกายหรือต่อมไร้ท่ออื่นๆ น้อย ถ้าร่างกายขาดจะไม่ถึงตายแต่จะแสดงลักษณะผิดปกติบางประการ ได้แก่ ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไตชั้นนอก ต่อมไพเนียล ต่อมไทมัส อินเตอร์สติเชียลเซลล์ ฟอลลิเคิล คอร์พัสลูเทียม

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

ระบบฮอร์โมน,ฮอร์โมน,ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันอาทิตย์, 04 มิถุนายน 2560

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

ชีววิทยา

ช่วงชั้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

ดูเพิ่มเติม