สนธิสัญญาเบาว์ริงเกิดขึ้นได้อย่างไร

“หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง” เป็นสนธิสัญญาทางการค้าระหว่างสยามกับสหราชอาณาจักร โดยเซอร์จอห์น เบาว์ริง ราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย เข้ามาทำสนธิสัญญา และได้ลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) ซึ่งบนปกสมุดไทยใช้ชื่อว่า “หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง” เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2398

สยามเปลี่ยนไปอย่างไร เมื่อระเบียบใหม่เข้ามา ?

สนธิสัญญาเบาว์ริงลงนามในสมัยรัชกาลที่ 4 ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างสยามและอังกฤษ เดิมถูกกำหนดไว้โดยสนธิสัญญา เบอร์นี ในปี 2369 และซึ่งเบาว์ริงใช้สนธิสัญญานี้เป็นจุดเริ่มต้นเจรจา 

สนธิสัญญาเบาว์ริงเปลี่ยนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ โดยถือเป็นการสิ้นสุดของการผูกขาดการค้าต่างประเทศโดยพระคลังสินค้าของกษัตริย์และเจ้านายสยาม ฯลฯ ทำให้เกิดการค้าเสรี แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษารูปแบบบางประการของการให้สัมปทานหรือการผูกขาด ของเจ้าภาษีอากรแบบเดิมอยู่ (ฝิ่นและบ่อนเบี้ยการพนัน) นอกจากนี้ สนธิสัญญายังอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยาม ทั้งให้สหราชอาณาจักรจัดตั้งกงสุลอังกฤษในกรุงเทพฯ ด้วย

สิทธิสภาพนอกอาณาเขตคืออะไร ?

สนธิสัญญาเบาว์ริงมีผลทำให้สยามเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล มีการรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้พลเมือง เป็นสิทธิทางกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ที่สามารถใช้กฎหมายของประเทศตัวเอง ในดินแดนประเทศอื่นได้ กล่าวคือสยามยินยอมให้ชาวต่างชาติ และคนในบังคับของชาวต่างชาตินั้นไม่ต้องขึ้นศาลไทย แต่ขึ้นศาลกงสุลแทน ซึ่งต่อมาไทยได้ใช้สนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นแม่แบบของสนธิสัญญากับประเทศชาติตะวันตกอื่น ๆ ด้วย เช่น ฝรั่งเศส สหรัฐฯ เดนมาร์ก รวมถึงประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น  

ผลของสนธิสัญญาทำให้คนจีนที่เข้ามาค้าขายในไทย ขอเข้าเป็นคนในบังคับชาติตะวันตก เพื่อต้องการได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทำให้คนไทยเกิดข้อเสียเปรียบอย่างยิ่ง นำมาสู่การพยายามเจรจาเพื่อขอยกเลิกสนธิสัญญาเบาว์ริง ซึ่งบางประเทศได้คืนเอกราชทางการศาลใหไทย บางประเทศต่อรองว่าไทย ต้องประกาศใช้ประมวลกฎหมายครบถ้วนแล้วเป็นเวลา 5 ปี จึงจะยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตอย่างเด็ดขาดให้

สู่หนทางพัฒนากฎหมายไทย

หลังสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ 4 สยามในเวลานั้นก็เร่งปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายให้เป็นสากล หวังการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลของไทยให้เจริญทัดเทียมอารยประเทศ โดยมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ก็เพื่อนำไปสู่การยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทวงคืนอธิปไตยทางการศาล โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการชำระกฎหมายขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 เพื่อปรับปรุงประมวลกฎหมายของไทย

ในปี พ.ศ. 2477 ไทยได้จัดทำประมวลกฎหมายสำเร็จ และประกาศใช้อย่างสมบูรณ์ในปี 2478 นับต่อไปอีก 5 ปี คือราวปี 2480 รัฐบาลไทยได้เจรจาขอความร่วมมือในการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทำให้ไทยได้รับเอกราชทางการศาลกลับคืนมา นับรวมอายุของสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่มีอิทธิพลต่อไทยนับเป็นเวลากว่า 80 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2398 - 2480 

Sources : www.m-culture.go.th, pridi.or.th, วารสารนิติสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1/2549: ความตกลง FTA กับความชอบด้วยกฎหมาย

หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง หรือสนธิสัญญาเบาว์ริง หรือในชื่อทางการว่าหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม เป็นสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำกับสหราชอาณาจักร โดยราชทูต เซอร์จอห์น เบาว์ริง ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เข้ามาทำสนธิสัญญา 

 

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามอยู่ในสภาวะคับขันเพราะการขยายอำนาจของชาติจักรวรรดินิยมตะวันตก โดยหลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้เพียง 3 ปี สหรัฐอเมริกาใช้กำลังทางเรือบีบบังคับญี่ปุ่นให้เปิดประเทศ หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ปิดประเทศมากว่า 200 ปี ส่วนอังกฤษใช้อิทธิพลกับจีนและประเทศอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน กอปรกับพระองค์มีพระราชดำริแตกต่างจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้เป็นพระเชษฐาหลายประการ โดยทรงเห็นว่าการเปิดให้ค้าข้าวกับต่างประเทศอย่างเสรีจะสร้างประโยชน์แก่บ้านเมืองมหาศาลกว่านโยบาย ‘ปิดข้าว’ ที่สร้างรายได้ให้แก่คนส่วนน้อย 

 

ขณะเดียวกัน เซอร์จอห์น เบาว์ริง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงติดต่อด้วยเป็นการส่วนพระองค์ แสดงท่าทีชัดเจนที่จะใช้กำลังบีบบังคับไทยให้เปิดประเทศทำนองเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาทำกับญี่ปุ่นก่อนหน้านี้

 

ในปี 2393 รัฐบาลสยามไม่ยอมแก้ไขหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและข้อตกลงเกี่ยวกับการค้าขายกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดความตึงเครียด มิชชันนารีทั้งหลายถึงกับเกรงว่าจะเกิดสงครามขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงอันตรายจากการที่ไทยไม่ยอมประนีประนอมกับชาติตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ต้อนรับคณะทูตอังกฤษอย่างสมเกียรติ และจำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษในปี 2398

 

เนื่องจากในอดีตการค้าของชาวตะวันตกได้รับการจัดเก็บภาษีอย่างหนัก สาระสำคัญของสนธิสัญญาฉบับนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้มีการค้าเสรีกับต่างประเทศในสยาม มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ สร้างระบบการนำเข้าและส่งออกใหม่เพิ่มเติมจากสนธิสัญญาเบอร์นีในปี 2369 นอกจากนี้ยังอนุญาตให้จัดตั้งกงสุลอังกฤษในกรุงเทพมหานคร และรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้ 

 

สนธิสัญญาเบาว์ริงได้ชื่อว่าเป็น ‘สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม’ เนื่องจากสยามไม่อยู่ในสถานะที่จะเจรจาต่อรองได้ โดยมีการวิเคราะห์กันว่าความต้องการสำคัญของอังกฤษคือการเข้ามาค้าฝิ่นได้อย่างเสรีในสยามและไม่ต้องเสียภาษี และอังกฤษพร้อมทำสงครามกับสยามอยู่แล้วหากการเจรจาไม่ประสบผล

 

สนธิสัญญาเบาว์ริงมีเนื้อหาคล้ายกับสนธิสัญญานานกิง ซึ่งจีนจำเป็นต้องลงนามร่วมกับอังกฤษภายหลังสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่งในปี 2385 และในปี 2397 สหรัฐอเมริกาบีบบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศด้วยการลงนามในสนธิสัญญาคานางาวะโดยใช้สนธิสัญญานานกิงเป็นต้นแบบ

สนธิสัญญาเบาว์ริงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

สนธิสัญญาเบาว์ริงเปลี่ยนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ โดยถือเป็นการสิ้นสุดของการผูกขาดการค้าต่างประเทศโดยพระคลังสินค้าของกษัตริย์และเจ้านายสยาม ฯลฯ ทำให้เกิดการค้าเสรี แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษารูปแบบบางประการของการให้สัมปทานหรือการผูกขาด ของเจ้าภาษีอากรแบบเดิมอยู่ (ฝิ่นและบ่อนเบี้ยการพนัน) นอกจากนี้ สนธิสัญญายัง ...

สนธิสัญญาเบาว์ริงส่งผลอย่างไร

ความเปลี่ยนแปลงระบบเงินตราที่มีต่อเศรษฐกิจไทยหลังสนธิสัญญา เบาว์ริง ในพ.ศ. 2398 ส่งผลทำให้เศรษฐกิจไทยเริ่มมีการพัฒนาระบบ เงินตราที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลมากขึ้น การค้าขายขยายตัวออกไป อย่างกว้างขวาง โดยใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน การขยายตัว ทางการค้าทำให้เงินตราที่ใช้หมุนเวียนภายในประเทศไม่เพียงพอกับ การค้าขาย ...

การทําสนธิสัญญาเบาว์ริงเกิดขึ้นในสมัยใด

วันนี้ในอดีต 18 เมษายน พ.ศ. 2398. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ โดยมีเซอร์จอห์น เบาริ่ง เป็นราชทูต สนธิสัญญานี้รู้จักกันในชื่อ "สนธิสัญญาเบาว์ริง", ไทยทำสัญญากับอังกฤษเรื่องอำนาจของกงสุลอังกฤษในไทย

ข้อใดคือผลที่ได้รับจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง *

สนธิสัญญาเบาว์ริงมีผลทำให้สยามเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล มีการรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้พลเมือง เป็นสิทธิทางกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ที่สามารถใช้กฎหมายของประเทศตัวเอง ในดินแดนประเทศอื่นได้ กล่าวคือสยามยินยอมให้ชาวต่างชาติ และคนในบังคับของชาวต่างชาตินั้นไม่ต้องขึ้นศาลไทย แต่ขึ้นศาลกงสุลแทน ซึ่งต่อมาไทยได้ใช้สนธิสัญญา ...