วิชาสังคม สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

 สินค้าและบริการในชีวิตประจำวัน  สินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของเราได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค สิ่งของรอบตัวในชีวิตประจำวัน เช่น แปรงสีฟัน  ยางลบ สมุดเรียน 

Show

สินค้า คือ สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่สามารถนำมาเป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆได้

การบริการ คือ การนำเงินไปแลกเปลี่ยนกับความพอใจ เช่น ไปธนาคาร ไปร้านตัดเสื้อ ไปร้านทำผม การนั่งรถประจำทาง 

วิชาสังคม สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

News In Daily Life … ข่าวในชีวิตประจำวันกับวิชาสังคมศึกษา  

                                                                                      By พี่จูน

              ช่วงนี้หลายคนคงกำลังกักตัวเองกับการอยู่บ้านตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อ Covid-19 กันใช่ไหมครับ (?) ก่อนอื่นพี่ขอส่งกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ผู้เกี่ยวข้อง และ ผู้ป่วยทุกท่านให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้นะครับ แล้วก้าวต่อไปอย่างเข้มแข็ง               สำหรับใครหลายคนตอนนี้คงเป็นช่วงพักผ่อนที่ยาวนานกว่าปกติ แต่ไม่ได้หมายความว่าการเรียนรู้จะต้องสิ้นสุดตามมาตรการการอยู่บ้าน เราสามารถเรียนรู้ผ่านสื่อช่องทางต่างๆได้เสมอ เช่นเดียวกับข่าวที่ทุกวันเราเสพสื่อ ความคิด และ ข้อเท็จจริง ที่แม้จะหลากหลายผ่านอารมณ์และความรู้สึก แต่เชื่อไหมว่าสิ่งเหล่านี้ก็สามารถนำมาใช้ในการทบทวนความรู้ในการสอบได้เช่นกัน

วิชาสังคม สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

            เมื่อนำความรู้วิชาสังคมศึกษามาเป็นฐานในการเรียนรู้ สิ่งที่พี่อยากแนะนำให้พวกเราได้กลับไปทบทวนความรู้ คือ “ความรู้พื้นฐาน 5 สาระ” ที่สามารถนำมาบูรณาการกับประเภทข่าวสารที่นับวันมีความหลากหลายทั้งเนื้อหา อรรถรส รวมถึง การวิเคราะห์จากสื่อมวลชนหรือคนทั่วไปที่ต้องมีสติ ความรู้ และ วิจารณญาณในการแยกแยะและให้คุณค่า ซึ่งประเภทที่น่าสนใจสำหรับพี่จะมีรายละเอียดดังนี้  

  1. ข่าวการเมือง : พี่เชื่อว่าในช่วงที่ผ่านมาพวกเราคงได้ติดตามข่าวสารจากสื่อ Social Media ในการบริหารจัดการด้านต่างๆ รวมถึงการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆในอำนาจอธิปไตยที่แม้จะมีความคิดที่หลากหลาย แต่ก็ต้องดำรงต่อไปเพื่อให้สังคมสามารถอยู่ได้ เราอาจจะศึกษาทั้งข่าวทั่วไป ข่าวท้องถิ่น ฯลฯ ที่นำมาเชื่อมโยงกับบริบทอื่นเช่น ศาสนา เศรษฐกิจ การบริหารเชิงนโยบายสังคม เป็นต้น

  2. ข่าวเศรษฐกิจ : ช่วงนี้เรื่องปากท้องทั้งตัวเราเอง คุณพ่อคุณแม่ รวมถึง คนในสังคม (ทุกหน่วยเศรษฐกิจ) กำลังเป็นที่สนใจอย่างมากในการปรับตัวต่อสภาพเศรษฐกิจที่กำลังได้รับผลกระทบอย่างมากและมีความต่อเนื่องในก่อนหน้านี้ เราสามารถนำประเด็นนี้มาต่อยอดกับปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้นได้เสมอเช่น นโยบายการเมือง การปรับตัวในสังคมนวัตกรรม ภาวะสังคมผู้สูงอายุ การเคลื่อนย้ายประชากร ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถอธิบายถึงโครงสร้างสังคมและการปรับตัวของแต่ละภาคส่วนเพื่อให้สังคมสามารถเดินหน้าต่อไปได้และตอบสนองความต้องการระหว่างกัน

  3. เหตุการณ์สำคัญ : อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจและเชื่อว่าน้องหลายคนมักจะหาความรู้เพิ่มเติมคือ “เหตุการณ์สำคัญในรอบปี” ซึ่งอาจจะเป็นเหตุการณ์ที่มีความต่อเนื่อง ผลิตซ้ำ หรือ ถูกกล่าวถึงและเป็นเรื่องที่น่าสนใจ โดยอาจจะโยงประเด็นจากข่าวการเมือง อาชญากรรม เศรษฐกิจ รวมถึง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในหลายๆด้านที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในเชิงมหภาคที่กลายเป็น “สัญลักษณ์” โดยอาจจะเชื่อมโยงเรื่องราวจาก Social Media กระแสนิยม และ การกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องก็ได้

              เมื่อนึกถึงการสอบในสนามต่างๆไม่ว่าจะเป็น O-NET 9 วิชาสามัญ รวมถึง การสอบวิชาเฉพาะที่มีการนำวิชาสังคมศึกษาไปประยุกต์ใช้ (เช่น คณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) แม้ข้อสอบจะมีความเข้มข้นของประเด็นเนื้อหาที่จะเน้นความเฉพาะทางในแต่ละสาขาหรือในแต่ละสาระวิชาตามหลักสูตรที่เรียน แต่อย่าลืมว่า ข่าว/ประเด็นทางสังคมต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเป็น “ตัวช่วย” ในการจดจำ วิเคราะห์ และ เชื่อมโยงความรู้และความเข้าใจที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง เพราะสิ่งหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนผ่านการอ่านและคิดคือ การเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบที่เพียงเข้าใจข่าว/ประเด็น ก็สามารถนำไปต่อยอดกับความรู้พื้นฐานที่จะนำไปสู่ความละเอียด ความเฉพาะทางได้เป็นอย่างดี อย่าลืมว่าแม้ข้อสอบจะเป็นปรนัยเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่การวิเคราะห์ เชื่อมโยง และ บูรณาการนั้นยังจำเป็นและเป็นคุณสมบัติที่พึงมี เพราะเชื่อว่าการทบทวน 5 สาระให้จดจำได้หมดในคราวเดียวคงเป็นไปได้ยาก ต่อให้จำได้ แต่ประยุกต์ใช้ไม่เป็น ในการสอบอาจจะตกที่นั่งลำบากได้เช่นกัน ดังนั้นข่าวสาร/ปรากฏการณ์ รวมถึงบทวิเคราะห์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น การเมือง ความสัมพันธ์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม น้องๆสามารถฝึกฝนจากการอ่าน คิด วิเคราะห์ และ เชื่อมโยงได้ และจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการสอบ GAT อีกด้วยที่อย่างน้อย เราจับใจความ เชื่อมโยง วิเคราะห์องค์ประกอบได้ คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะพัฒนาตนเองเช่นกัน อย่างไรก็ตามการติดตามข่าวสารและนำไปใช้ในการเรียนรู้นั้น  แม้เราจะสามารถเลือกศึกษาในสิ่งที่สนใจแล้วนำไปต่อยอดได้ แต่อย่าลืมว่า เราต้องเป็นกลาง ไม่มีอคติต่อเรื่องที่เกิดขึ้น รวมถึงการติดตามสถานการณ์ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลาจากความรู้พื้นฐาน ความเหมาะสม และ ความทันสมัยอีกด้วย

          พี่เชื่อว่า ในช่วงที่หยุดอยู่บ้านนี้ การทบทวนความรู้และเตรียมพร้อมสำหรับชั้นเรียนใหม่เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ทุกวันเช่นเดียวกับการติดตามข่าวสารและนำความรู้ที่เคยเรียนในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พี่มั่นใจว่าถ้าพวกเราเปิดใจและปรับตัวกับความหลากหลายที่มีอยู่ได้ ต่อให้เนื้อหาวิชาสังคมจะค่อนข้างซับซ้อนและมีความท้าทายในข้อสอบสนามต่างๆ แต่คลังความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์เหล่านี้จะช่วยพวกเราให้มีภูมิต้านทาน ไอเดีย และ การตัดสินใจที่เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ และวิชาสังคมจะไม่ไกลตัวหรือน่าเบื่ออีกต่อไป

“ถ้าเราเปิดใจกับสิ่งนั้นอย่างเต็มใจและเต็มที่อย่างดีที่สุด”

  พี่จูน