วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

Show

 วิชาวิทยาการคำนวณ (Computing science) เป็นวิชาที่จะมาแทนที่วิชาคอมพิวเตอร์หรือวิชาทางด้านเทคโนโลยี ที่มีสอนอยู่ในปัจจุบันผ และจะย้ายจากวิชาพื้นฐานในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี มาอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (อ่านเพิ่มเติม คำอธิบายรายวิชา : คลิกที่นี่)

สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในวิชานี้ก็คือ เด็กๆ จะไม่ได้เรียนแค่โปรแกรมพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ หรือเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์แค่ขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่วิชาใหม่นี้จะสอนให้เด็กๆ มีกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและสามารถนำมาปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ในสาขาวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวิชาอื่นๆ

รวมทั้งยังเป็นการทำให้เด็กๆ สามารถรับมือกับปัญหาที่มีความซับซ้อนได้หรือมีคำถามปลายเปิดได้ โดยที่วิทยาการคำนวณเป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ และเมื่อเด็กๆ ได้เรียนรู้แล้วก็ยังสามารถนำวิชานี้ไปปรับใช้ได้หลากหลายหลักสูตรเลยทีเดียว ซึ่งจะช่วยทำให้เราได้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละวิชาได้ดียิ่งขึ้น เมื่อต้องนำแต่ละวิชามาปรับใช้ด้วยกันไม่ว่าจะเป็นตอนเรียนหรือตอนทำงานในอนาคตก็ตาม

ข้อดีของวิชา วิชาวิทยาการคำนวณ

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการเรียนวิชาการคำนวณ จะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การคิดให้เหมือนคอมพิเตอร์เท่านั้น และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการคิดในศาสตร์ของนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่จะเป็นกระบวนการความคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาของมนุษย์ โดยเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานและช่วยแก้ไขปัญหาตามที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาวิชาใหม่นี้ ได้มีการกำหนดขอบเขตการเรียนการสอนของวิชาวิทยาการคำนวณเอาไว้ 3 องค์ความรู้ ดังนี้

การคิดเชิงคำนวณ

1. การคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) เป็นวิธีการคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ สามารถใช้จินตนาการมองปัญหาด้วยความคิดเชิงนามธรรม ซึ่งจะทำให้เราสามารถเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและมีลำดับวิธีคิดได้ โดยวิธีคิดแบบวิทยาการคำนวณนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การเขียนโปรแกรม เพราะภาษาโปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่จุดประสงค์ที่สำคัญกว่าคือการสอนให้เด็กคิดและเชื่อมโยงปัญหาต่างๆ เป็น จนสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบนั่นเอง

พื้นฐานด้านดิจิทัล

2. พื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (digital technology) เป็นการสอนให้รู้จักเทคนิควิธีการต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะในยุคไทยแลนด์ 4.0 จะเน้นในด้านระบบอัตโนมัติ (Automation) ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร อุตสาหกรรม หรือคมนาคม ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างรอบด้าน และนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม

รู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร

3. พื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (media and information literacy) เป็นทักษะเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล แยกแยะได้ว่าข้อมูลใดเป็นความจริงหรือความคิดเห็น โดยเฉพาะข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ทางปัญญาต่างๆ เพื่อให้เด็กใช้ช่องทางนี้ได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัยมากที่สุด

เนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอน

ชั้นมัธยมตอนปลาย

จะเป็นการประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณ เพื่อนำไปใช้ในการบูรณาการกับโครงานวิชาอื่นๆ อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

วิทยาการคำนวณ  เปลี่ยนจากผู้ใช้ ให้เป็นผู้สร้าง นวัตกรรม

เปลี่ยนจากผู้ใช้ ให้เป็นผู้ "สร้าง" นวัตกรรม

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

สร้างทักษะแห่งโลกอนาคตใหม่ พื้นฐานสำคัญในการสร้างทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมวิทยาการคำนวณ ให้ผู้เรียนสามารถคิด อย่างมีวิจารณญาณ แก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ และสามารถสร้างนวัตกรรมได้ด้วยตนเอง

  • การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)
  • ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)
  • การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย (Media and information literacy)

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

เด็กไทยวันนี้ได้ก้าวเข้าสู่ยุค

 

Digital age อย่างเต็มตัว

 

วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จะช่วยสร้างเหตุผลให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีจุดหมาย เด็กๆ จะเข้าใจถึง ที่มาที่ไป และสามารถนำเอาองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้พร้อมกับต่อยอด ไปสู่สิ่งใหม่ๆ จนเกิดเป็นการบูรณาการศาสตร์จากหลากหลายแขนง และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมอันจะนำพาไปสู่การพัฒนาประเทศได้

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

การคิดเชิงคำนวณ

 

Computational Thinking

การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) กระบวนการในการแก้ปัญหา ในหลากหลายลักษณะ เช่น การจัดลำดับเชิงตรรกศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาไปทีละขั้นทีละตอน หรือที่เรียกว่าอัลกอริทึ่ม รวมถึงการย่อยปัญหาที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับมือกับปัญหาที่ซับซ้อน หรือมีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิดได้ วิธีคิดเชิงคำนวณมีความจำเป็น ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ แต่ในขณะเดียวกัน วิธีคิดนี้ยังช่วยแก้ปัญหาในวิชาต่างๆ ได้ด้วย ดังนั้นเอง เมื่อมีการบูรณาการ วิธีิคิดเชิงคำนวณผ่านหลักสูตรในหลากหลายแขนงวิชา นักเรียนจะเห็น ความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละวิชา รวมทั้งสามารถนำวิธีคิดที่เป็นประโยชน์นี้ ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ในระยะยาว

• Computational Thinking •

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

 

(Digital Technology)

 

เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) หมายถึง ทักษะความเข้าใจและการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital Literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสาร ปฏิบัติงาน หรือเพื่อพัฒนากระบวนการ ระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัย เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

• Digital Technology •

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

การใช้ (Use)

เทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล
และการประมวลผล

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

การประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply)

การประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยี
ในการแก้ปัญหา

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

การสร้างสรรค์ (Create)

ทักษะในการผลิตหรือสร้างผลงาน
ผ่านเทคโนโลยีสื่อสารโดยใช้ความหลากหลาย
ของสื่อดิจิทัล

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

และการสื่อสารอย่างปลอดภัย

Media and information literacy

การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ (media and information literacy) หมายถึง ความสามารถของแต่ละบุคคลในการเข้าถึง เข้าใจ ตีความ ประเมิน และสร้างข้อมูล และสื่อในรูปแบบที่หลากหลายด้วยความตระหนักถึง ผลกระทบของข้อมูลและสื่อต่าง ๆ ดังกล่าว โดยไม่ถูกครอบงำและสามารถ ใช้สื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการ ดำรงชีวิตของทั้งตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม

• Media and information literacy •

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

ความตระหนักใน อิทธิพลของสื่อ

Media Effect Awareness

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

การคิด อย่างมีวิจารณญาณ

Critical Thinking

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

การรู้เท่าทัน ตนเอง

Self Awareness

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

วิชาวิทยาการคำนวณ ไม่ได้สอนเพื่อให้เด็กทุกคนที่เรียนต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ หรือ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่ต้องการให้เด็กมีทักษะการคิดที่ถูกใช้ในการทำความเข้าใจ ปัญหาและสามารถสร้างแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบก่อนที่จะมีการนำมาเขียนโปรแกรมหรือโค้ดดิ้ง ซึ่งทักษะนี้หรือที่เราเรียกกันว่า Computational Thinking กำลังจะกลายเป็นทักษะพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะกับอนาคตการทำงาน ซึ่งในทุกวันนี้หลายกลุ่มในประเทศชั้นนำทางการศึกษาทั่วโลก เช่น ฟินแลนด์ หรือ เกาหลีใต้ ก็ได้บรรจุวิชานี้ไว้ในหลักสูตรระดับชาติ ซึ่งเราเองคาดหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลักดันเรื่องนี้สู่การศึกษาไทยต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิทยาการคำนวณสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

วิทยาการคำนวณสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง

ประโยชน์ของการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ 1. วิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ การใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การบูรณาการกับวิชาอื่น การเขียนโปรแกรมการคาดการณ์ผลลัพธ์การตรวจหาข้อผิดพลาด การพัฒนาแอปพลิเคชั่นหรือพัฒนาโครงงาน อย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง

วิทยาการคอมพิวเตอร์มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไร

ปัจจุบันวิทยาการคอมพิวเตอร์สื่อดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศนับเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั่วโลกเพราะช่วงเวลาของการใช้เทคโนโลยีใน หลายปีที่ผ่านมาทำให้มนุษย์เห็นว่าเทคโนโลยีมาช่วยทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความสะดวกสบายขึ้นและยังช่วยให้การทำงานต่าง ๆ ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้สำเร็จลุล่วง ...

วิทยาการคํานวณคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

วิทยาการคำนวณ (Computing science) เป็นวิชาที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนให้เด็กสามารถคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) มีความพื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technology) และมีพื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and information literacy) ซึ่งการเรียนวิชาการคำนวณ จะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การคิดให้เหมือน ...

วิทยาการคอมพิวเตอร์มีความสําคัญอย่างไร

วิทยาการคอมพิวเตอร์ทำให้เราเข้าใจถึงหลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง เป็นรากฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ ขณะที่เทคโนโลยีสารสนเทศจะเน้นด้านการใช้งานวิทยาการคอมพิวเตอร์จะเน้นทฤษฏีและหลักการ วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นวิทยาศาสตร์ แขนงหนึ่งที่ผสมผสานระหว่าง ศาสตร์ด้านไฟฟ้าอีเล็กทรอนิกส์ คณิตศาสตร์หลายแขนง เช่น ตรรกศาสตร์ ...