รองเท้า training กับ running ต่าง กัน ยัง ไง

การออกกำลังกายด้วยการวิ่งยังไงก็ไม่ตกเทรนด์ แถมสาว ๆ สมัยนี้หันมารักสุขภาพ ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายกันมากขึ้น และอย่างหนึ่งที่สำคัญในการวิ่งมาก ๆ เลยก็คือ รองเท้าวิ่ง นั่นเองค่ะ เพราะรองเท้าสำหรับวิ่งไม่ได้แค่ช่วยให้เราสบายเท้าขณะวิ่งเท่านั้น  แต่มันยังช่วยพยุงข้อเท้าของเรา ลดการบาดเจ็บที่มักจะเกิดตอนวิ่งได้อีกด้วย รองเท้าวิ่งจึงเป็นสิ่งที่คุ้มค่าสำหรับการลงทุนที่ทุกคนควรหันมาใส่ใจเลือกซื้อและเลือกใส่อย่างถูกวิธีค่ะ

รองเท้า training กับ running ต่าง กัน ยัง ไง

ความจริงแล้วรองเท้าวิ่งถูกผลิตกันมามากกว่า 200 ปีแล้วว เริ่มแรกจากศตวรรษที่ 18 ชาวอังกฤษพยายามจะพัฒนาคิดค้นรองเท้าน้ำหนักเบาที่สามารถยึดเกาะพื้นดินได้ จนได้พัฒนากันมาเรื่อย ๆ และถ้าพูดถึงเรื่องการออกแบบรองเท้าวิ่งแล้วคนหนึ่งที่มีบทบาทสุด ๆ เลยคือ Adolf Dassler เค้าเริ่มออกแบบและผลิตรองเท้าวิ่งในปี 1920 ที่มีเอกลักษณ์ด้วยปุ่มแหลมด้านหน้ารองเท้า (Running Spikes) ทั้งสำหรับนักวิ่งระยะสั้นและระยะไกล จนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก หลังจากนั้นรองเท้าวิ่งก็ถูกผลิตออกมามากมายไม่ว่าจะจากแบรนด์ Adidas (ชื่อ Adi Dassler ในอดีต), Puma, Onitsuka Tiger, ASICS, New Balnce, Nike และตามมาด้วยแบรนด์ใหม่ ๆ อีกเยอะมากกกในปัจจุบัน

Source : 1, 2

อย่างที่บอกค่ะว่าตอนนี้รองเท้าวิ่งถูกพัฒนาออกแบบทั้งคุณภาพและความสวยงามไปไกลแล้ว ซึ่งรองเท้าวิ่งแต่รุ่นแต่ละคู่ต่างก็มีจุดเด่นและข้อดีที่แตกต่างกันออกไปค่ะ เพราะฉะนั้นเราจะเข้าไปซื้อรองเท้าวิ่งมั่ว ๆ ไม่ได้นะ ควรเลือกให้เหมาะกับการวิ่งของตัวเองและการใช้งานด้วย ทางที่ดีควรหาข้อมูลหรือสอบถามพนักงานร้านรองเท้าวิ่งโดยเฉพาะก่อนซื้อ จะได้ไม่เสียเที่ยวค่ะ!

ส่วนประกอบหลักของรองเท้าวิ่ง

Outsole เป็นส่วนของพื้นรองเท้าด้านล่างที่สัมผัสกับพื้น
Insole เป็นส่วนของพื้นรองเท้าที่สัมผัสกับเท้า
Midsole เป็นส่วนของรองเท้าที่อยู่ระหว่าง Outsole และ Insole ส่วนนี้จะช่วยควบคุมการทรงตัว ลดแรงกระแทก และป้องกันการบาดเจ็บต่าง ๆ จากการวิ่ง

รองเท้า training กับ running ต่าง กัน ยัง ไง

เลือกรองเท้าวิ่งให้เหมาะกับสภาพพื้นที่วิ่ง

เริ่มจากการเลือกรองเท้าวิ่งให้เหมาะกับพื้นที่เราจะวิ่งกันก่อนค่ะ มีทั้งแบบวิ่ง Indoor พื้นเรียบ ๆ วิ่งบน Trail พื้นดิน พื้นขรุขระสำหรับสาย Adventure ทั้งหลาย หรือว่ารองเท้าที่วิ่งได้ทั้งสองแบบก็มีค่ะ เราควรเลือกให้ดีเพราะถ้าเอารองเท้าวิ่ง Road มาใส่วิ่ง Trail หรือเอารองเท้า Trail มาใส่วิ่ง Road นอกจากจะวิ่งไม่ดีแล้ว ยังทำให้รองเท้าเราเสื่อมสภาพเร็วอีกด้วย

1. รองเท้าวิ่ง Road/Indoor

มากันที่รองเท้าวิ่งแบบแรกกันก่อนเลยค่ะ คือรองเท้าวิ่งบน Road หรือ Indoor ใช้สำหรับวิ่งบนพื้นผิวเรียบอย่างพวกพื้นถนน พื้นสนาม พื้นยางในร่มต่าง ๆ เพราะพื้นแบบนี้ควรวิ่งด้วยรองเท้าแบบพื้นเรียบเช่นกันค่ะ คือจะไม่มีปุ่มอะไรมากมายบนพื้นรองเท้า เพื่อความสะดวกสบายต่อการวิ่งนั่นเอง รองเท้าวิ่ง Road มักจะมีพื้นหนา น้ำหนักเบา ใส่สบาย และรองรับแรงกระแทกได้ดี เพราะจะช่วยเพิ่มความมั่นคงของเท้าตอนที่ต้องวิ่งบนพื้นแข็ง

Recommended Items

• Puma Defy Luxe Wn's
• Nike Future Fast Racer EXP-X14 ripstop

2. รองเท้าวิ่ง Trail

ต่อมาเป็นรองเท้าวิ่ง Trail ไว้สำหรับวิ่งบนพื้นขรุขระ หรือพื้นที่มี Texture เหมาะกับการลุยในเส้นทางที่เป็น หิน ดิน โคลน มีปุ่มนิดหน่อยเพื่อป้องกันการลื่นในการวิ่งบนพื้นหญ้าหรือพื้นที่เป็นดิน เน้นการเกาะพื้นถนนขรุขระ รวมถึงการปกป้องเท้า มีโครงสร้างรองเท้าแข็งแรงและพื้นของรองเท้าลักษณะนี้ค่อนข้างนิ่ม วัสดุของทั้งด้านนอกและด้านในจะช่วยปกป้องเท้าจากการเตะหิน รากไม้ และวัสดุที่ใช้จะเหนียวทนทานกว่ารองเท้าวิ่งถนนทั่วไปด้วย เพื่อลดการฉีกขาด รอยขูดขีดจากการวิ่งชนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ

Recommended Items

• Altra Timp 1.5 W 
• On Cloudventure W

3. รองเท้าวิ่ง Allterrain

รองเท้า training กับ running ต่าง กัน ยัง ไง

ส่วนรองเท้าวิ่งแบบสุดท้ายคือ All Terrain ประเภทนี้จะเป็นการผสมผสานกันระหว่าง Trail และ Road/Indoor คือวิ่งได้ทั้งพื้นเรียบและพื้นขรุขระ คือเป็นรองเท้าวิ่งแบบลูกผสม คุณสมบัติจะกลาง ๆ เหมาะกับทั้งวิ่งพื้นเรียบและขรุขระ พื้นรองเท้าก็จะไม่ได้เรียบหรือเป็นปุ่ม ๆ ไปซะทีเดียวค่ะ

Recommended Items

• Adidas UltraBoost X All Terrain
• Adidas UltraBoost W

Tips สังเกตลักษณะของเท้าเวลาวิ่ง

ในข้อนี้หลายๆคนอาจจะไม่ทันสังเกตแต่ในการวิ่งของแต่ละคนนั้น จะมีลักษณะในการย่ำเท้าหรือการเคลื่อนที่ของเท้าขณะวิ่งที่แตกต่างกัน เรียกว่า Pronation ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นประเภทหลักได้ 4 ประเภทด้วยกัน คือ

รองเท้า training กับ running ต่าง กัน ยัง ไง

Underpronation เป็นลักษณะการวิ่งที่ทิ้งน้ำหนักไล่จากบริเวณส้นเท้า >> ผ่านฝ่าเท้าด้านนอก >> ไปจนถึงปลายเท้า
(เหมาะกับรองเท้าวิ่งประเภท Cushioned)

รองเท้า training กับ running ต่าง กัน ยัง ไง

• Overpronation เป็นลักษณะการวิ่งที่ทิ้งน้ำหนักไล่จากบริเวณส้นเท้า >> ผ่านฝ่าเท้าด้านใน >> ไปจนถึงปลายเท้า
(เหมาะกับรองเท้าวิ่งประเภท Stability และ Motion Control)

รองเท้า training กับ running ต่าง กัน ยัง ไง

• Neutral เป็นลักษณะการวิ่งที่ทิ้งน้ำหนักไล้จากส้นเท้า >> ผ่านฝ่าเท้า >> ไปจนถึงปลายเท้า
(เหมาะกับรองเท้าวิ่งทุกประเภทเลย)

ประเภทของรองเท้าวิ่ง

เอาล่ะค่ะ! หลังจากที่เราได้สังเกตลักษณะการวิ่งของตัวเองกันไปแล้ว และได้รู้ว่าลักษณะการวิ่งของเราเนี่ยต้องใส่รองเท้าที่มีคุณสมบัติแบบไหน ลองมาดูแบบเจาะลึกไปอีกสเต็ปกันดีกว่าค่ะว่ามันมีลักษณะยังไง หรือจุดเด่นอะไรบ้าง!

Cushioned Running Shoes

มากันที่รองเท้าวิ่งแบบแรกกันค่ะ ประเภทนี้บอกก่อนเลยว่าเหมาะสำหรับคนที่มีลักษณะการวิ่งแบบ Neutral ซึ่งจะเป็นการวิ่งที่มีการกระแทกตรงบริเวณกลางฝ่าเท้า รองเท้าประเภทนี้เลยถูกออกแบบมาเพื่อดูดซับแรงกระแทกที่จะเกิดบริเวณข้อเท้า และรองรับแรงกระแทกได้ดี ทั้งส่วนเท้า และส่วนโค้งของฝ่าเท้าด้วยค่ะ

เหมาะกับ : คนฝ่าเท้าโค้งเว้า และฝ่าเท้าปกติ เป็นรองเท้าที่เน้นรองรับแรง

Motion Control Running Shoes

รองเท้า training กับ running ต่าง กัน ยัง ไง
Left : Adidas UltraBoost W, Right : Nike Air Max 270

รองเท้าประเภทนี้เค้าออกแบบมาเพื่อดูดซับแรงกระแทกของการวิ่งลักษณะ Overpronation และชะลอการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อเท้าให้ช้าลง เป็นรองเท้าที่มีความทนทานสูงและมีน้ำหนักมากกว่าแบบอื่น รวมถึงถูกออกแบบมาให้ยึดข้อเท้าอย่างแข็งแรง และช่วยปรับข้อเท้าที่จะบิดเข้าด้านในเวลาวิ่งให้ตรงมากขึ้นอีกด้วยยย!

เหมาะกับ : คนฝ่าเท้าแบน เป็นรองเท้าที่เน้นรับแรงกระแทก

Lightweight Running Shoes

ต่อกันเลยกับรองเท้าวิ่งที่เน้นเรื่องน้ำหนักเบา ๆ กันบ้างค่ะ โดยรองเท้าแบบนี้จะเหมาะมากสำหรับพวกนักวิ่งหรือคนที่วิ่งแบบเน้นด้านความเร็ว เพราะเค้าจะมีน้ำหนักเบาและมีคุณสมบัติคล้าย ๆ กับรองเท้าวิ่ง Stability ในเรื่องของการดูดซับแรงกระแทก แต่อาจจะไม่นุ่มนิ่มเท่ารองเท้าวิ่งแบบ Cushioned นะคะ

เหมาะกับ : นักวิ่งมาราธอน คนที่เน้นความเร็วเป็นหลัก

Stability Running Shoes

รองเท้า training กับ running ต่าง กัน ยัง ไง
Adidas UltraBoost Laceless W

สุดท้ายยย! จะเป็นรองเท้าวิ่งที่ถูกออกแบบมาด้วยคุณสมบัติที่ผสมผสานระหว่างรองเท้าวิ่งประเภท Motion Control และประเภท Cushioned ค่ะ คือจะมีคุณสมบัติในการดูดซับแรงกระแทกและมีความทนทานสุด ๆ อีกอย่างคือรองเท้าประเภทนี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงในด้านโค้งของฝ่าเท้าตอนที่วิ่ง เพราะส่วนนี้จะเป็นส่วนที่รับแรงกระแทกมากที่สุดค่ะ

เหมาะกับ : คนฝ่าเท้าปกติ เป็นรองเท้าที่เน้นรับแรงกระแทก

วิธีดูแลรักษารองเท้าวิ่ง

หลังจากที่เราเลือกซื้อรองเท้าวิ่งมาใช้งานแล้ว การดูแลรักษารองเท้าก็สำคัญไม่แพ้กันนะคะ เพราะถ้าเราดูแลรักษาไม่ดีรองเท้าอาจจะเสื่อมสภาพหรือพังได้ในเวลาไม่นาน เพราะฉะนั้นเรามาดูกันค่ะว่า Tips ดูแลรองเท้าวิ่งมีอะไรที่สำคัญ ๆ กันบ้าง

รองเท้า training กับ running ต่าง กัน ยัง ไง

• ห้ามถอดรองเท้าโดยการเหยียบส้นรองเท้าโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ส้นรองเท้าเสียหายและผิดรูปทรงได้
• ควรใส่รองเท้าวิ่งเพื่อไปวิ่งเท่านั้น ห้ามไปเล่นกีฬาอย่างอื่น
• ถ้าเรามีรองเท้าวิ่งมากกว่า 1 คู่ ควรสลับกันใช้ แต่ถ้ามีคู่เดียวให้ปล่อยรองเท้าทิ้งไว้ 24ชม. หลังวิ่ง จะได้ฟื้นตัวอยู่ในสภาพเดิม
• ไม่วิ่งในตอนที่รองเท้าเปียก เพราะทำให้ประสิทธิภาพในการรองรับแรงกระแทกของส่วน Midsole ลดน้อยลงประมาณ 40-50%

แนะนำ 5 รองเท้าวิ่งน่าซื้อ!

รองเท้า training กับ running ต่าง กัน ยัง ไง

Adidas UltraBoost 4.0 W


รองเท้าวิ่งผู้หญิงที่เรามาแนะนำคู่แรกนี้เป็น รองเท้าวิ่งรุ่นที่ 4 ของ UltraBoost กับรองเท้าวิ่ง Midsole โฟม Boost ที่รองรับแรงกระแทกได้เลิศมาก! และยังช่วยเพิ่มแรงส่งเวลาวิ่งให้เราอีกด้วย อีกอย่างคือเป็นพื้น Outsole Continental Rubber ยางที่ยึดเกาะได้ทุกสภาพพื้นและมีความทนทานสูงมากถ้าเทียบกับยางทั่วไป คู่นี้เหมาะกับการวิ่งได้ทุกระยะเลยค่ะ ตั้งแต่วิ่งซ้อม 5-10 กม. ไปจนถึง Full Marathon เลยค่ะ

ราคา : 6,500 บาท

รองเท้า training กับ running ต่าง กัน ยัง ไง

Nike Epic React Flyknit


ถ้าจะให้แนะนำรองเท้าวิ่งอีกคู่ที่โดดเด่นทั้งเรื่องความนุ่ม ความเด้ง ความเบาและความทนทาน! เรียกได้ว่าเป็นรองเท้าที่มีส่วนผสมที่ลงตัวมาก ๆ ด้วยน้ำหนักแค่ 240 กรัม และตัวเนื้อผ้า Flyknit ที่บางและยืดหยุ่นได้ดี ช่วงหน้าเท้าจะมีโครงสร้างรักษาเท้าเราไว้ ไม่ให้โยกไปมาได้ หลายคนบอกว่าเวลาใส่วิ่งแล้วจะนุ่มแต่เด้งกลับ คือดีมาก เพราะปกติรองเท้าวิ่งนุ่ม ๆ มักจะใส่แล้วยวบค่ะ

ราคา : 5,500 บาท

รองเท้า training กับ running ต่าง กัน ยัง ไง

On Cloudventure W

คู่นี้เป็นรองเท้าวิ่ง Trail ที่ถูกแนะนำใน Runner's World 2016 Fall Trail Shoe Guide เชียวนะ! รองเท้าวิ่งจากแบรนด์ On Running ที่เค้าพัฒนาจากการวิ่งทดสอบในเทือกเขาเอลป์ มีพื้นรองเท้าแบบ Grip ที่ออกแบบมาเพื่อการวิ่ง Trail โดยเฉพาะเลยค่ะ ได้ทั้งความมั่นใจและความเร็วในการวิ่ง เป็นรองเท้าสำหรับวิ่งที่นักวิ่งตัวจริงต้องมีนะ!

ราคา : 6,500 บาท

รองเท้า training กับ running ต่าง กัน ยัง ไง

Nike Air Zoom Pegasus 35


ชื่อรุ่น Pegasus หรือม้าติดปีกในเทพนิยายกรีก รูปทรงปราดเปรียว ดูเฉี่ยว ๆ ตัวนี้เป็นรองเท้าวิ่งกลุ่ม Daily Trainer รุ่นที่ขายดีที่สุดของ Nike เลยแหละ ถ้ากำลังคิดว่าจะซื้อรองเท้าวิ่งยี่ห้อไหนดี ขอแนะนำคู่นี้ค่ะ เพราะเค้าว่ามันถูกออกแบบมาสำหรับนักวิ่งทุกคน ทุกระดับ ไม่ว่าจะวิ่งช้า วิ่งเร็ว มือใหม่ มืออาชีพ ก็คือใช้ได้ดี ใส่แล้วคล่องตัวมาก รุ่นนี้ใช้พื้นรองเท้าผสมกัน 2 ชนิดค่ะ คือแบบโฟม Cushion ที่เน้นเรื่องความนุ่ม และ Air Bag หรือ Zoom Air สำหรับการตอบสนองในการวิ่งที่ดี 

ราคา : 5,100 บาท

รองเท้า training กับ running ต่าง กัน ยัง ไง

Nike Air Max 270


รองเท้าวิ่งคู่สุดท้ายนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรองเท้า 2 รุ่นไอคอนอย่าง Air Max 93 และ Air Max 180 และเป็นรองเท้ารุ่นแรกในตระกูล Air Max ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นรองเท้าแบบ Life Style โดยเฉพาะ โดยพื้นรองเท้า Air Unit ของโมเดลนี้มีขนาดถึง 32 มิลิเมตร ถือเป็น Air Unit ที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีการผลิตมา เพื่อตอบสนองในการสวมใส่มากยิ่งขึ้น โดยชื่อรุ่นก็มาจาก องศา การมองเห็น Air Unit ที่บริเวณส้นเท้านั่นเองค่ะ

ราคา : 5,500 บาท

สาว ๆ คนไหนอยากลองเลือกซื้อรองเท้าวิ่งคู่แรกสักคู่ ลองตามไปดูกันได้ที่ร้านรองเท้า Ari Running Concept Store และ JD Sports กันได้เลยนะคะ เค้ามีรองเท้าวิ่งหลายแบบ หลายประเภทให้เลือกชอปกัน แถมมีพนักงานที่มีความรู้และคอยให้คำปรึกษาได้อย่างละเอียดเลยด้วย!

ขอขอบคุณรองเท้าวิ่งจากร้าน Ari Running Concept Store
Altra Timp 1.5 W, On Cloudventure W, Adidas UltraBoost X All Terrain และ Adidas UltraBoost W

ขอขอบคุณรองเท้าวิ่งจากร้าน JD Sports
Puma Defy Luxe Wn's, Nike Future Fast Racer EXP-X14 ripstop, Adidas UltraBoost Uncaged W, Nike Air Zoom Pegasus 35, Adidas UltraBoost W, Nike Air Max 270, Adidas Pureboost Go, Nike Epic React Flyknit และ Adidas UltraBoost Laceless W

รองเท้า Training นิ่ง ต่างจาก Running ยังไง

รองเท้าเทรนนิ่ง (Training Shoes, X-Training Shoes) เป็นรองเท้าที่เน้นการออกกำลังกายอยู่กับที่หรือไม่ได้เคลื่อนไหวกระแทกกันอย่างต่อเนื่อง รองเท้าเทรนนิ่งเป็นรองเท้าที่ต่างจากรองเท้าวิ่ง พื้นเท้าและส้นจะไม่หนาและนุ่มนิ่มเหมือนรองเท้าวิ่งหรือรองเท้าผ้าใบทั่วไป พื้นเท้าจะแข็งและช่วยให้ผู้ฝึกซ้อมเวทเทรนนิ่งคุมบาลานซ์ในท่า ...

รองเท้าเทรนนิ่งใส่วิ่งได้ไหม

อย่างไรก็ตามการใช้รองเท้า Running Shoes อาจจะนำมาใช้ Training ได้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้รองเท้า Training Shoes มาวิ่ง เพราะจะได้รับแรงกระแทกจะหัวเข่าที่ค่อนข้างสูง และอาจเกิดการบาดเจ็บเรื้อรังในที่สุด 1.

รองเท้าวิ่งกับรองเท้าเดินต่างกันยังไง

การลดแรงกระแทก ความยืดหยุ่น และน้ำหนัก โดยทั่วไปแล้ว รองเท้าวิ่งจะมีน้ำหนักเบากว่ารองเท้าเดินทั่วไป เนื่องจากการออกกำลังกายจะมีการขยับร่างกายที่รวดเร็วไปพร้อมๆ กับการยกเท้า ขณะที่รองเท้าเดินทั่วไปจะมีน้ำหนักมากกว่าและโครงสร้างรองเท้าที่แข็งเพื่อความมั่นคงสำหรับการเดินในแต่ละก้าว

วิ่งออกกำลังกายใส่รองเท้าอะไร

คุณสมบัติของรองเท้าวิ่ง รองเท้าวิ่งที่ดีควรมีลักษณะส้นที่หนาและปลายรองเท้าบาง เพราะส้นที่หนาจะเป็นตัวรับแรกกระแทก และยังช่วงชะลอให้แรงกระแทกส่งผ่านสู่ร่างกายช้าลง ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากแรงกระแทก