คุณธรรมจริยธรรมมีความสําคัญต่อการประกอบอาชีพอย่างไร

ความสำคัญของจริยธรรม ในการประกอบอาชีพ

ความสำคัญของจริยธรรม 

ในการประกอบอาชีพ

คุณธรรมจริยธรรมมีความสําคัญต่อการประกอบอาชีพอย่างไร

ความหมายของจริยธรรมและจรรยาบรรณ

จริยธรรม คือ คุณความดีที่ใช้เป็นข้อปฏิบัติในการประพฤติที่ดีที่ชอบ โดยมีพื้นฐานมาจาก

กฎหมายหรือศีล หรือจากประเพณีวัฒนธรรมของคนในแต่ละสังคม


จรรยาบรรณคือ หลักความประพฤติปฏิบัติอันเหมาะสมแสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมที่พึง

ปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพที่บุคคลในแต่ละวิชาชีพได้ประมวลขึ้นเป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกใน

สาขาวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นถึงจริยธรรมปลูกฝัง และเสริมสร้างให้สมาชิกมี

จิตสำนึกบังเกิดขึ้นในตนเองเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร และมุ่งหวังให้

สมาชิกได้ยึดถือ เพื่อรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติคุณของสมาชิก และสาขาวิชาชีพของตน





ดังนั้นจริยธรรมและจรรยาบรรณจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานทุก

คน ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาธนาคารและให้บริการแก่ผู้ประกอบการ SMEs ได้มี

แนวทางปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งความประพฤติในชีวิตส่วนตัวและการประกอบ

อาชีพการงาน อันจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการได้รับ

ความเลื่อมใส ศรัทธา และเชื่อถือจากประชาชนทั่วไป



จริยธรรมในการประกอบอาชีพโดยทั่วไป

1. จริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน เนื่องจากเราท างานคนเดียวไม่ได้ ต้องทำงานร่วมกันหลายคน 

เราจึงต้องมี มนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ประกอบด้วย การเอื้อเฟื้อแบ่งปัน การพูดจาด้วย

ถ้อยคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน จริงใจ ไม่พูดหยาบคาย ก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะ

สำหรับกาลเทศะ การ ประพฤติตนเสมอต้นเสมอ ปลาย


2. จริยธรรมต่อหน้าที่การงาน การทำงานเราต้องแข่งขันกันด้วยการสร้างคุณงามความดี โดย

คุณงาม ความดีที่ว่านี้ ประกอบด้วย ความขยันหมั่นเพียร ความมีสติ ความเป็นระเบียเรียบร้อย 

การใคร่ครวญ ไตร่ตรอง การสำรวจตนเอง การไม่ประมาท และการดำเนินชีวิตอย่างมีศีลธรรม



3. จริยธรรมที่ส่งเสริมเกียรติศักดิ์ศรีให้แก่ตน ประกอบด้วย ความจริงใจต่อผู้อื่น ความตรงต่อ

เวลา ความจริงจังต่อหน้าที่ การรักษาคำพูด และความเชื่อมั่นในตนเอง จริยธรรมทั้ง 3 ประการ

นี้ จะทำให้ผู้ประกอบอาชีพสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ตลอดจนสามารถ ครองใจเพื่อน

ร่วมงานและผู้รับบริการได้อีกด้วย 

About author: CLIPDEDPO18UP

Cress arugula peanut tigernut wattle seed kombu parsnip. Lotus root mung bean arugula tigernut horseradish endive yarrow gourd. Radicchio cress avocado garlic quandong collard greens.

คุณธรรม จริยธรรม ของครู

คุณธรรมจริยธรรมมีความสําคัญต่อครู และวิชาชีพครู ครูจึงตองเข้าใจความหมายและความสําคัญของ คุณธรรมจริยธรรมที่มีต่อบุคลากรครูและวิชาชีพครูดังนี้้


การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่

1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ


คุณธรรมจริยธรรมของครู

1.ครูต้องมีความขยันหมั่นเพียร

2.ครูต้องมีวินัยตนเอง

3.ครูต้องรู้จักปรับปรุงตนเอง

4.ครูต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น

5.ครูต้องบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน

6.ครูต้องเสียสละเพื่อสาธารณะประโยชน์

7.ครูต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

8.ครูต้องมีความกตัญญูกตเวที

9.ครูต้องไม่ประมาท

10.ครูต้องปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี

11.ครูต้องมีสัจจะและแสดงความจริงใจ

12.ครูต้องมีความเมตตากรุณา

13.ครูต้องมีความอดทน อดกลั้น

14.ครูต้องมีความซื่อสัตย์

15.ครูต้องมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา

16.ครูต้องมีการให้อภัย

17.ครูต้องประหยัดและอดออม

18.ครูต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

19.ครูต้องมีความรับผิดชอบ

20.ครูต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์


ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพครู พ.ศ. 2556

จรรยาบรรณวิชาชีพครู มี 5 ด้าน 9 ข้อ

  1. จรรยาบรรณต่อตนเอง

ข้อที่ 1 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ  เช่น  ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี  ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตตามประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนด  ศึกษา หาความรู้ วางแผนพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และสะสมผลงานอย่างสม่ำเสมอ   ค้นคว้า แสวงหา และนำเทคนิคด้านวิชาชีพ ที่พัฒนาและก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับมาใช้แก่ศิษย์และผู้รับบริการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่พึงประสงค์


2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้อที่ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ
และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ เช่น  แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ   รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ   ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพ ให้สาธารณชนรับรู้   อุทิศตนเพื่อความก้าวหน้าของวิชาชีพ  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ  ซื่อสัตย์สุจริตตามกฎ  ระเบียบ  และแบบแผนของทางราชการ   เลือกใช้หลักวิชาที่ถูกต้อง  สร้างสรรค์เทคนิค วิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ   ใช้องค์ความรู้หลากหลายในการปฏิบัติหน้าที่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในองค์การ   เข้าร่วมกิจกรรมของวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์


3.จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ

ข้อที่ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม
ให้กําลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
ข้อที่ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัย
ที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข้อที่ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย
วาจา และจิตใจ
ข้อที่ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย
สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
ข้อที่ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตําแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

เช่น ให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือศิษย์และผู้รับบริการด้วยความเมตตากรุณาอย่างเต็มกำลังความสามารถและเสมอภาค   สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็กเยาวชน  และผู้ด้อยโอกาส   ตั้งใจ เสียสละ และอุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ศิษย์และผู้รับบริการได้รับการพัฒนาตามความสามารถ  ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล   ส่งเสริมให้ศิษย์และผู้รับบริการสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อ อุปกรณ์ และ แหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย   ให้ศิษย์และผู้รับบริการ มีส่วนร่วมวางแผนการเรียนรู้ และเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม กับตนเอง   เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์และผู้รับบริการด้วยการรับฟังความคิดเห็น ยกย่อง ชมเชย และให้กำลังใจอย่างกัลยาณมิตร


4.จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ

ข้อที่ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์
โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ เช่น  เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ   มีความรัก ความสามัคคี  และร่วมใจกันผนึกกำลังในการพัฒนาการศึกษา


5.จรรยาบรรณต่อสังคม

ข้อที่ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นําในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เช่น  ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   นำภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมมาเป็นปัจจัยในการจัดการศึกษาให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม   จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้และสามารถดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง   เป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพัฒนาเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม


 วินัยและการรักษาวินัย
1.ครูต้องประพฤติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
2.ครูต้องสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธ์ใจและมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้น
3.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด
4.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาลโดยถือประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
5.ครูต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง


6.ครูต้องตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียนจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
7.ครูต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ
8.ครูต้องไม่กลั่นแกล้ง กล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง
9.ครูต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
10.ครูต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบหรือนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นหรือจ้างวานให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขี้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
11.ครูต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
12.ครูต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยต้องไม่อาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนแสดงการฝักใฝ่ ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล หรือพรรคการเมืองใด
13.ครูต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว        

คุณธรรมในการประกอบอาชีพมีความหมายอย่างไร

คุณธรรมในการประกอบชีพ หมายถึง การกระทำ ที่เป็นประโยชน์ต่อการ ประกอบ อาชีพ ซึ่งก่อให้เกิดผลผลิต และรายได้โดยไม่เบียดเบียน หรือ ทำให้ ผู้อื่น เดือดร้อน และเป็นที่ยอมรับของสังคม ผู้ประกอบอาชีพทุกคนต้องมีคุณธรรมใน การประกอบอาชีพ เพื่อธำรงศักดิ์ศรีของมนุษย์เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ช่วยเสริมสร้างบุคลิกที่ดี สร้างความสำเร็จ ...

คุณธรรมและจริยธรรมในการทํางาน มีอะไรบ้าง

๙ คุณธรรมพื้นฐาน.
๑. ขยัน มีความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง.
๒. ประหยัด ... .
๓. ซื่อสัตย์ ... .
๔. มีวินัย ... .
๕. สุภาพ ... .
๖. สะอาด ... .
๗. สามัคคี ... .
๘. มีน้ำใจ.

คุณธรรมและจริยธรรมมีความสําคัญอย่างไร

กล่าวได้ว่า คุณธรรม และจริยธรรม มีความสำคัญ เป็นมาตรฐานกำหนดแสดงออกว่าควรทำหรือไม่ควรทำ ช่วยในการตัดสินใจปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแทนการปฏิบัติในทางทุจริต ทำให้ตนเองมีความสงบสุข มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต ซึ่งคุณธรรม จริยธรรมจะอยู่กับสังคมทุกระดับ เพื่อผลักดันให้สังคมมีความสงบสุข และคุณธรรม จริยธรรมของแต่ละ ...

ผู้ประกอบการควรมีคุณธรรมข้อใดในการประกอบอาชีพ

คุณธรรมพื้นฐานที่ประกอบอาชีพทุกคนควรมี ได้แก่ ๑. ความซื่อสัตย์ ๒. ความขยัน อดทน ๓. ความยุติธรรม