ข้อมูลสารสนเทศและความรู้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

Skip to content

สารสนเทศ คือ ข้อมูลชนิดหนึ่งที่ได้ผ่านกรรมวิธีจัดการข้อมูล (Data manipulation) จนมีเนื้อหาและรูปแบบที่ตรงกับความต้องการ และเหมาะสมต่อการนำไปใช้

กรรมวิธีจัดการข้อมูล ได้แก่ การปรับเปลี่ยน การจัดรูปแบบใหม่ การกลั่นกรอง และการสรุป ดังนั้นสารสนเทศเป็นข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และอยู่ในรูปแบบที่นำไปใช้ได้ทันทีตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ช่วยในการตัดสินใจ สารสนเทศมีรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ แผนที่ แผ่นใส หรือวีดิทัศน์ เป็นต้น

สรุปได้ว่าข้อมูลมีความแตกต่างจากสารสนเทศ คือ ข้อมูลเป็นส่วนของข้อเท็จจริง โดยได้จากการเก็บมาจากเหตุการณ์ต่างๆ ส่วนสารสนเทศเป็นข้อมูลที่นำมาผ่านกรรมวิธีจัดการข้อมูลมาแล้ว ให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้หรือนำไปช่วยในการตัดสินใจได้ทันที ดังตัวอย่างแสดงข้อแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล : นักเรียนในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งมีจำนวน 2,000 คน มีจำนวนครู 50 คน

สารสนเทศ : อัตรานักเรียนต่อครูในโรงเรียน = 2,000/50 = 40

จากตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าสารสนเทศเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที เช่น ถ้าต้องการทราบว่า โรงเรียนใดที่มีจำนวนครูเพียงพอที่ดูแลนักเรียนได้ทั่วถึงมากกว่ากัน ก็สามารถทำได้โดยการหาค่าอัตราส่วนของนักเรียนต่อครูของแต่ละโรงเรียนมาเปรียบเทียบกัน ก็จะทราบว่าโรงเรียนใดที่มีจำนวนครูไม่เพียงพอ เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน

ทั้งข้อมูลและสารสนเทศเป็นพื้นฐานของความรู้โดยข้อมูลถูกประมวลผลออกมาเป็นสารสนเทศ จากสารสนเทศนำไปสู่ความรู้ ดังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันได้ในรูปพีระมิดแสดงลำดับชั้นของความรู้

ข้อมูลสารสนเทศและความรู้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ภาพพีระมิดแสดงลำดับชั้นของความรู้

ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

ข้อมูลสารสนเทศและความรู้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจให้ตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ ซึ่งสารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย

ข้อมูลสารสนเทศและความรู้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ

1. ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น ได้แก่ ข้อมูล การปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลงานบุคลากร ข้อมูลงานกิจการนักเรียน เป็นต้น

2. ข้อมูลภายนอก หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่น ๆ

ข้อมูลสารสนเทศและความรู้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวม และตรวจสอบข้อมูล การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน โดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้

1. การรวบรวม และตรวจสอบข้อมูล

  • การเก็บรวบรวมข้อมูล ที่มีจำนวนมาก และต้องเก็บให้ได้ทันเวลา เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน
  • การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข ซึ่งการตรวจสอบข้อมูลก็มีอยู่หลายวิธี

2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ

  • การจัดแบ่งข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน เพื่อความสะดวกในการค้นหา
  • การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร เป็นต้น
  • การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่น สถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น เป็นต้น
  • การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้น การสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย

3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน

  • การเก็บรักษาข้อมูล คือ การนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล ทั้งนี้ก็ต้องดูแล และทำสำเนาข้อมูล เพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้
  • การค้นหาข้อมูล จะต้องค้นได้ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการทำงาน ทำให้การเรียกค้นกระทำได้ทันเวลา
  • การทำสำเนาข้อมูล เพื่อที่จะนำข้อมูลเก็บรักษาไว้ หรือนำไปแจกจ่ายในภายหลัง จึงควรจัดเก็บข้อมูลให้ง่ายต่อการทำสำเนา หรือนำไปใช้อีกครั้งไดโดยง่าย
  • การสื่อสาร ข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย ซึ่งการสื่อสารข้อมูล และมีบทบาทจึงสำคัญที่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็ว

ข้อมูลสารสนเทศและความรู้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ประโยชน์ของสารสนเทศ

  • ให้ความรู้ ทำให้เกิดความคิด และความเข้าใจ
  • ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
  • ใช้ประกอบการตัดสินใจ
  • ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
  • เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน

ข้อมูล : gotoknow.org และ sites.google.com

รูปภาพ : pixabay.com