การประเมินภายนอกแตกต่างจากการประเมินภายในอย่างไร

ความแตกต่างระหว่างการประกันคุณภาพภายในและภายนอก

12 Wednesday Feb 2014

การประเมินภายนอกแตกต่างจากการประเมินภายในอย่างไร

ความแตกต่างระหว่างการประกันคุณภาพภายในและภายนอก

การประกันคุณภาพภายใน

การประกันคุณภาพภายนอก

ผู้รับผิดชอบ :โรงเรียน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ผู้รับผิดชอบ : สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมิน

คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)

กระบวนการ กระบวนการ
  • การควบคุมคุณภาพ
  • การตรวจสอบคุณภาพ
  • การตรวจสอบคุณภาพ
  • การประเมินคุณภาพ
  • ประเมินคุณภาพ
  • การให้การรับรอง

ประโยชน์ที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษา

1. นักเรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษา

ที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

2.  ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ มีการทำงานที่เป็นระบบ โปร่งใส มีความรับผิดชอบที่

ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเน้นคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่องทำให้เป็น ที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน

3. ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำและความรู้ ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ

และมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของ

ผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

4.  กรรมการสถานศึกษาได้ทำงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม เป็นผู้ที่ทำประโยชน์

และมีส่วนพัฒนาสถานศึกษาและคุณภาพทางการศึกษาให้แก่เยาวชนและชุมชนร่วมกับผู้บริหารและครู สมควรที่ได้รับความไว้วางใจให้มาเป็นกรรมการสถานศึกษา

5. หน่วยงานที่กำกับดูแล ได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง

ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับ ดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพทางการศึกษาและคุณภาพของสถานศึกษา

1) ชุมชนและสังคมประเทศชาติ ได้เยาวชนและคนที่ดี มีคุณภาพและศักยภาพที่จะ

ช่วยพัฒนาองค์กร ชุมชน และสังคมประเทศชาติต่อไป

2) ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจจากการให้บริการของหน่วยงาน

ในระดับสถานศึกษาการประกันคุณภาพจะครอบคลุมถึงการสร้างความมั่นใจโดยการใช้ข้อมูล

สารสนเทศและองค์ความรู้และการวางแผนป้องกันปัญหาที่จะเกิดตั้งแต่ในขั้นการออกแบบกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร การบริหารหลักสูตร การติดตาม ตรวจสอบและทบทวนเป็นระยะๆ เพื่อให้มีการแก้ไข ปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การประเมินคุณภาพผลผลิต การจัดทำรายงาน และนำเสนอข้อมูลการประเมินสำหรับ การตัดสินใจในระดับต่างๆ และ สำหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในระยะต่อไป

หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การประกันคุณภาพการศึกษาครอบคลุมถึงมวลกิจกรรมและภารกิจทางวิชาการและทางการบริหารการจัดการที่มี การวางแผนล่วงหน้า และมีการประสานสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจทีสมเหตุสมผลว่าผู้เรียน จะมีความรู้ ความสามารถ และ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้

                    ตามหมวด 6 มาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม

(ฉบับที่ 2) พ.ศ.  2545   กำหนดให้ถือว่า การประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่สถานศึกษาต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปี เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก

                    การประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอกเชื่อมโยงกันด้วยมาตรฐานการศึกษา

โดยสถานศึกษาจะใช้มาตรฐานการศึกษาใดก็ได้ตามความเหมาะสมและบริบทของสถานศึกษา  แต่ควรมีส่วนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการประเมินภายนอก  ซึ่งพัฒนาตามจุดมุ่งหมาย  หลักการ  และแนวการจัดการศึกษาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติรวมอยู่ด้วย

                    การประกันคุณภาพภายในเป็นกระบวนการประเมินผลและการติดตาม  ตรวจสอบ

คุณภาพ  และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา  ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา  จะต้องส่งให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)  เพื่อให้คณะผู้ประเมินภายนอกได้ศึกษาอย่างละเอียดก่อนการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา

                การประกันคุณภาพภายนอก  เป็นงานที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กับการประกันคุณภาพภายใน  และเป็นการตรวจสอบผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา  ตามมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน   เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงานแก่สถานศึกษา  และทำให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง  การประเมินคุณภาพภายนอกจึงมีความสัมพันธ์กับการประกันคุณภาพภายใน 

                                                                                     อรวรรณ  พันธุปาล

การประเมินภายในกับการประเมินภายนอกแตกต่างกันอย่างไร

การประเมินคุณภาพภายในจะใช้วิธีการศึกษาตนเอง (Self Study) และการประเมินตนเอง (Self Assessment) ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอกเป็นการดำเนินงานโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อประเมินผลและรับรองว่า สถาบันการศึกษาจัดการศึกษาได้คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้

การประเมินคุณค่าภายนอกคืออะไร

1. การประเมินภายนอกหรือการวิพากษ์ภายนอก เป็นการพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้ แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด เป็นการประเมินลักษณะทั่วไปของหลักฐานนั้น เพื่อดูว่าเป็นของจริงหรือ ของปลอม โดยพิจารณา เช่น ใครเป็นผู้ท าหรือเขียน ท าหรือเขียนขึ้นเมื่อใด ท าหรือเขียนขึ้นท าไม ท าหรือ เขียนขึ้นที่ไหน ทั้งนี้ การ ...

การประเมินภายนอกมีอะไรบ้าง

การประเมินคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ...

การประเมินหลักฐานภายในหมายถึงอะไร

การประเมินหลักฐานภายในเป็นการประเมินเนื้อหาของข้อมูลที่ปรากฏในหลักฐานนั้น ๆ ว่าน่าเชื่อถือ หรือมีอคติหรือไม่ ผู้ศึกษาต้องตรวจสอบวิธีการนำาเสนอผลงานของผู้เขียนว่า ตรงกับ ข้อเท็จจริงหรือมีการบิดเบือนข้อมูลหรือไม่ การวิเคราะห์ การตีความ หรือข้อสันนิษฐานของผู้เขียนใน ผลงานชิ้นนั้นมีการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์หรือไม่ ...