โครงงานประวัติศาสตร์ ประเพณี

หลักการและเหตุผล

หมู่บ้านปลาอีด  เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในตำบลนาแก  อำเภอคำเขื่อนแก้ว  จังหวัดยโสธร เป็นหมู่บ้านเล็กๆที่ประชาชนมีวิถีการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียง  และมีวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีงามและน่าสนใจ จนได้รับรางวัลชนะเลิศจากจังหวัดยโสธร ให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข ระดับมั่งมี  ศรีสุข ปี พ.ศ. 2551 

                หมู่บ้านปลาอีด เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบในการดำเนินวิถีชีวิตแบบพอเพียง สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีภูมิปัญญาท้องถิ่น มีกลุ่มอาชีพและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน ดังนั้นเพื่อให้เป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตแบบพอเพียง และให้คนในชุมชนเกิดความรัก  ความภาคภูมิใจในท้องถิ่นบ้านเกิดของตนเอง และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปได้ศึกษา จึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้นมาไว้เพื่อศึกษา ให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่าและร่วมกันอนุรักษ์สืบต่อไป

µ   วัตถุประสงค์การเรียนรู้

              1.  เพื่อศึกษาภูมิหลังประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านปลาอีด  อำเภอคำเขื่อนแก้ว  จังหวัดยโสธร

              2.  เพื่อศึกษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

              3.  เพื่อศึกษาแบบอย่างในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง

              4 .  เพื่อให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจ ในท้องถิ่นของตนเอง

              5.  เพื่อให้เห็นคุณค่า ร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ดำรงอยู่คู่ชุมชนสืบต่อไป

µ    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักเรียนมีความรู้และเข้าใจภูมิหลังประวัติศาสตร์ความเป็นมา  วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น  ของท้องถิ่นตนเอง

2. นักเรียนสามารถดำรงชีวิตอย่างพอเพียงได้

3. นักเรียนเกิดความรัก  ความภาคภูมิใจ ในท้องถิ่นของตนเอง

4. นักเรียนสามารถปฏิบัติตนในการร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ดำรงอยู่คู่ชุมชนสืบต่อไป

µ  ขั้นตอนการดำเนินงานโครงงานประวัติศาสตร์

1.1      กำหนดเรื่องหรือปัญหาที่ต้องการศึกษา

1.2       ค้นหาและรวบรวมหลักฐานที่ใช้ในการศึกษา

1.3      การตรวจสอบ วิเคราะห์ ประเมินคุณค่า และตีความหลักฐานที่ได้จากการศึกษา

1.4      นำเสนอข้อเท็จจริงต่างๆที่น่าสนใจ

µ   การนำเสนอข้อเท็จจริงต่างๆ 

1. ข้อมูลด้านประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านปลาอีด

      จากการสืบค้นข้อมูลของนักเรียน ได้ข้อมูลดังนี้

        ประวัติศาสตร์การตั้งชุมชน สืบค้นความเป็นมาจากอดีตถึงปัจจุบันของ บ้านปลาอีด หมู่ที่  2, 8 ตำบลนาแก  อำเภอคำเขื่อนแก้ว  จังหวัดยโสธร บันทึกประวัติศาสตร์การตั้งเมืองอุบลราชธานี ได้กล่าวเอาไว้ว่า ดินแดนภาคอีสานในอดีตเป็นถิ่นที่อยู่ของอาณาจักรขอมเจนละ และทราวดี สองอาณาจักรโบราณได้ล่มสลายลงราว พุทธศตวรรษที่ 16 – 18 หรือเมื่อปี พ.ศ. 1600 – 1800  ปีที่ผ่านมา เพราะเกิดทุพภิกขภัยและขาดผู้นำ อีสานจึงถูกปล่อยทิ้งร้างไปราว 700 ปี ความอุดมสมบูรณ์ของป่าภาคอีสานและสัตว์ป่าได้แก่ ช้าง เสือ แรด ควายป่า กระทิง เก้ง กวาง และสัตว์ต่าง ๆ จึงมีมากมาย

         เมื่อสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ราวปี พ.ศ. 2310  เจ้าพระวอกับเจ้าพระตา หลังจากแยกตัวจากนครเวียงจันทร์ มาตั้งเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (เมืองหนองบัวลำพู) การสู้รบกันระหว่างสองนคร เจ้าพระตาเสียชีวิตในสนามรบ เจ้าพระวอจึงอพยพไพร่พลชาวเมือง ไปรวมกลุ่มกับนครจำปาสัก ในที่สุดก็มาตั้งเมืองอุบลราชธานี กับเมืองยโสธรในปี พ.ศ. 2323  เจ้าคำผง หรือพระปทุมราชวงศา บุตรเจ้าพระตาเจ้าเมืองอุบลราชธานี จึงขยายเมืองบริวารส่งญาติวงศ์ออกไปสร้างบ้านแปลงเมืองสมัยนั้นเรียกว่า ชุมชนบ้านป่า แบ่งออกเป็น 5 สาย กล่าวถึงสายที่ 2 มอบท้าวสีหานาม นำไพร่พลชาวเมืองออกไปตั้งชุมชนที่บ้านบ่อแจระแม  บ้านทุ่งขุน บ้านปะอาว บ้านข่าโคม บ้านเขื่อง บ้านสร้างถ่อ บ้านธาตุโนนทราย บ้านกลางบ้านปลาอีด เป็นชุมชนที่แยกออกมาจากบ้านสร้างถ่อ และบ้านกลาง การสร้างบ้านตั้งถิ่นฐานชุมชนยุคบ้านป่าขาดอน เพื่อแสวงหาผืนดินทำกินจะเลือกป่าไม้ คำว่าเมืองหมายถึง ไม้ใหญ่ ชุมชนจะจัดสรรพื้นที่ป่าเพื่อที่อยู่อาศัย ป่าช้า ที่ทำเล และดอนปู่ตา ไม้ยางนาในป่ายางนาจึงเป็นปัจจัยหลักของการยังชีพ ทั้งน้ำมันยาง เนื้อไม้ยาง ความหลากหลายของเห็ดในป่ายางสืบมา
                 เมื่อปี พ.ศ. 2487 – 2488  เกิดโรคระบาดในชุมชนปลาอีด สัตว์เลี้ยงผู้คนล้มตายจำนวนมาก สมัยนั้นเรียกว่า “บ้านเดือด” การอพยพย้ายคนออกจากชุมชนคือทางเลือกสุดท้าย ไปตั้งชุมชนแห่งใหม่ห่างจากที่เดิมประมาณ  1,500  เมตร และยังคงเรียกชุมชนแห่งใหม่นี้ว่า ชุมชนบ้านปลาอีดเช่นเดิม

 2. ข้อมูลด้านสังคม สภาพความเป็นอยู่

จากการสืบค้นข้อมูลของนักเรียน ได้ข้อมูลดังนี้

สภาพทั่วไป

ที่ตั้ง

       ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตำบลนาแก

       ระยะห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาแกประมาณ 2 กิโลเมตร

       ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของอำเภอคำเขื่อนแก้ว

       ระยะห่างจากอำเภอคำเขื่อนแก้วประมาณ 20  กิโลเมตร

       ระยะห่างจากจังหวัดยโสธรประมาณ 40 กิโลเมตร

อาณาเขต

ทิศเหนือ         ติดต่อกับ  ตำบลสร้างถ่อน้อย  อำเภอหัวตะพาน  จังหวัดอำนาจเจริญ

ทิศใต้             ติดต่อกับ  ตำบลดงแคนใหญ่  อำเภอคำเขื่อนแก้ว

ทิศตะวันออก       ติดต่อกับ  บ้านปลาอีด  หมู่ที่ 8

ทิศตะวันตก         ติดต่อกับ  บ้านหนองแปน  ตำบลดงแคนใหญ่

 เนื้อที่

     เนื้อที่ประมาณ  44,760  ไร่

     เป็นที่อยู่อาศัยประมาณ  200  ไร่

     เป็นที่ทำการเกษตรประมาณ  2,500  ไร่

     เป็นพื้นที่ป่าไม้ และที่สาธารณะ ประมาณ 2,070  ไร่

 ภูมิประเทศ

ลักษณะทั่วไปเป็นที่ราบสูง ทุ่งนาสลับป่าโปร่ง  สภาพดินเป็นดินเค็มร่วนปนทรายไม่อุ้มน้ำมีป่าไม้  และแหล่งน้ำธรรมชาติล้อมรอบ

ลักษณะภูมิอากาศ
ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มล้อมรอบด้วยป่า  มีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือลำเซบาย ใน 1 ปี มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝนฤดูหนาว  และฤดูร้อน

ประชากร

จำนวนครัวเรือน  136  ครัวเรือน  ประชากร  792  คน  ชาย  411  หญิง 381  คน

 การศึกษา

                โรงเรียน                                               จำนวน       1       แห่ง

                 ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน                จำนวน       1       แห่ง

                สถาบันองค์กรศาสนา

                มีวัด                                                     จำนวน       1       แห่ง

                สาธารณสุข

                อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ                      จำนวน       136    ครัวเรือน

 3.  ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

              จากการสืบค้นข้อมูลของนักเรียน ได้ข้อมูลดังนี้

              บ้านปลาอีด   เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระดับ “มั่งมี  ศรีสุข”ได้รับรางวัลชนะเลิศจากจังหวัดยโสธร ให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข ปี พ.ศ. 2551 คนในชุมชนมีกิจกรรมด้านการเพิ่มรายได้ในชุมชนหลายกิจกรรมโดยการใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นจัดทำผลิตภัณฑ์ของชุมขึ้น  เช่นกิ่งตอนมะม่วงเพื่อจำหน่าย  ,ถ่านอัดแท่ง , การปลูกไผ่เลี้ยงหวาน  ,การทำน้ำส้มควันไม้จากไม้ไผ่ , ผ้าทอ ผ้าไหม  ผ้ามัดหมี่ จากกลุ่มทอผ้า , เสื่อ หวดนึ่งข้าว กระติบข้าว จากกลุ่มจักรสาน   เป็นต้น

 มาตรการและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสู่หมู่บ้านเศรษฐกิจ พอเพียงของชุมชนบ้านปลาอีด

 1. ยุทธศาสตร์การพึ่งตนเอง  ชุมชนต้องมุ่งแก้ไขปัญหาพึ่งพาสินค้าจากภายนอกชุมชน  โดยการผลิตสินค้าขึ้นมาใช้เองในชุมชน  โดยการผลิตสินค้าขึ้นมาทดแทนให้ได้  หรือผลิตสิ่งที่ช่วยให้เพิ่มผลผลิต เช่น ผลิตปุ๋ยชีวภาพ  ทำน้ำสกัดชีวภาพ  และการเลี้ยงสัตว์  เพื่อการบริโภคให้เพียงพอ  ตลอดการสร้างระบบการสะสมทุนภายในให้ดี  โดยวิธีการออมทรัพย์  การรวมกลุ่ม

2. ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ โดยการร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการจัดเก็บข้อมูลชุมชน นำมาวิเคราะห์  สังเคราะห์  จัดทำแผนงาน แผนงบประมาณ แผนการผลิตภายในชุมชน ให้เป็นปัจจุบัน โดยมุ่งไปสู่การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยใช้ข้อมูลของชุมชนในการประกอบการแก้ไขปัญหา

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรที่มีอยู่และภูมิปัญญาของชุมชน รวมถึงฝึกทักษะด้านแรงงานและทุนทางสังคมให้สัมพันธ์กัน โดยมุ่งไปสู่การเพิ่มมูลค่าของการผลิตให้มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

4. ยุทธศาสตร์การจัดทุนและหนี้สิน จากการศึกษาพบว่าหนี้สินส่วนใหญ่ เป็นหนี้สินจากกลุ่มองค์กรภายในชุมชน เช่น กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กู้มาเพื่อใช้จ่ายเพราะรายได้จากการผลิตทางการเกษตรไม่พอกับรายจ่าย จำเป็นต้องการกระบวนการในการจัดทุนและหนี้สิน โดยลดรายจ่ายต้นทุนในการผลิต เพื่อเพิ่มรายได้

5. ยุทธศาสตร์การสร้างกลุ่มองค์กรในชุมชน โดยการสร้างกลุ่มองค์กรในชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อแก้ไขปัญหา เช่น กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน  กลุ่มธนาคาร โค – กระบือ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มร้านค้าชุมชน  และกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ต่างๆให้สัมพันธ์กับยุทธศาสตร์ การพัฒนาทรัพยากร โดยมุ่งไปสู่การสร้างระบบเครือข่ายในชุมชนให้มีการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง

6. ยุทธศาสตร์การจัดระบบสุขภาพในชุมชนโดยการยึดหลักผลิตอาหารและการบริโภคอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารพิษเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง ฟื้นฟูดูแลสุขภาพโดยแพทย์แผนไทยด้วยสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อลดการพึ่งพาจากภายนอก

7.ยุทธศาสตร์การพัฒนาจิตใจ โดยการฟื้นฟูศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม จัดอบรมส่งเสริมวัฒนธรรมในท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม มีความพอเพียง พอดี พออยู่ พอกิน จัดอบรมฟื้นฟูพัฒนาจิตใจของชุมชนอย่างต่อเนื่อง

  สภาพเศรษฐกิจ

                ประชาชน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยอาชีพหลัก คือ ทำนา อาชีพรองคือเลี้ยงสัตว์ ค้าขาย และทาบกิ่ง 

4.   ข้อมูลด้าน ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี

      จากการสืบค้นข้อมูลของนักเรียน ได้ข้อมูลดังนี้

ลักษณะวิถีชีวิตของชาวบ้านค่อนข้างจะยากจน แต่ชาวบ้านก็อยู่กันอย่างพี่น้องมีอะไรก็

เผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีมีดังนี้

ด้านประเพณี วัฒนธรรม/เทศกาลประจำปี
- มีเทศกาลบุญบั้งไฟ บุญผะเหวด เข้าพรรษา ออกพรรษา บุญกฐิน สงกรานต์  ซึ่งเป็นบุญประเพณีประจำของภาคอีสาน ฮีตสิบสอง คองสิบสี่

สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเทียวมีห้วยหนอง ลำเซบาย ที่มีความสวยงาม เป็นสถานที่ที่ใช้ในการพักผ่อน

5. ข้อมูลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น

จากการสืบค้นข้อมูลของนักเรียน ได้ข้อมูลดังนี้

ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของหมู่บ้านปลาอีดมีดังนี้
1. มีหมอยาแผนโบราณ คือนายปาย   ดวงตา

2. มีกลุ่มทอผ้าของหมู่บ้าน , กลุ่มทอผ้าไหมสตรี

3. มีกลุ่มจักสานกระติบข้าว , หวดนึ่งข้าวและเสื่อ

4. มีกลุ่มทาบกิ่งมะม่วง

5. มีกลุ่มเลี้ยงไผ่หวาน

6. มีกลุ่มถ่านอัดแท่งไม้ไผ่

7. มีคณะกลองยาวของหมู่บ้าน

ทักษะฝีมือแรงงานของหมู่บ้าน
- มีช่างทอผ้า ,ช่างปูน,ช่างเชื่อม, ช่างเย็บผ้าช่างจักสาน

ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของหมู่บ้าน
1. ผ้าไหม,. ผ้ามัดหมี่ ,ผ้าทอ จากกลุ่มทอผ้า
2. กิ่งตอนมะม่วง ,จากกลุ่มมะม่วงทาบกิ่ง

3.ไผ่หวาน จากกลุ่มเลี้ยงไผ่หวาน

4. น้ำส้มควันไม้และถ่านอัดแท่ง  จากกลุ่มถ่านอัดแท่งไม้ไผ่

5. เสื่อ ,หวดนึ่งข้าว,กระตี๊บข้าว จากกลุ่มจักรสาน

6. โคพันธ์พื้นเมือง  ไก่พันธ์พื้นเมือง  ผลิตโดยชุมชน

7. ข้าวหอมมะลิ  ผลิตโดยกลุ่มชาวนาเกษตรอินทรีย์

8. อาหารป่าธรรมชาติตามฤดูกาล

แหล่งข้อมูล

  1. แหล่งศึกษาหมู่บ้านปลาอีด  ตำบลนาแก  อำเภอคำเขื่อนแก้ว  จังหวัดยโสธร
  2. เว็ปไซต์  www. plaead.moobanthai.com
  3. หนังสือแผนแม่บทชุมชนบ้านปลาอีดปี 2551-2555 และกฎระเบียบข้อบังคับบ้านปลาอีดหมู่ 2
  4. แหล่งสอบถามโดยสอบถามจากบุคคลในชุมชนดังนี้

4.1  นายสุกัณฑ์  ประการแก้ว   อาชีพ ผู้นำหมู่บ้าน

4.2  นายรินทร์ทอง  รวมธรรม  อาชีพ ผู้นำชุมชน

4.3  นายสนอง  งานการ  อาชีพเกษตรกรรม  หัวหน้ากลุ่มอาชีพทาบกิ่งมะม่วง

4.4  นายสมยศ  สุวิน  อาชีพเกษตรกรรม  หัวหน้ากลุ่มอาชีพถ่านอัดแท่งและน้ำส้มควันไม้

4.5  นางณัฐกิจ  สุวิน  อาชีพเกษตรกรรม  หัวหน้ากลุ่มอาชีพไผ่เลี้ยงหวาน

4.6  นายพันธ์  ศรีแก้ว  อาชีพเกษตรกรรม หัวหน้ากลุ่มอาชีพจักสาน

4.7  นางอุไร  กองธรรม  อาชีพเกษตรกรรม  หัวหน้ากลุ่มทอเสื่อ

4.8  นางจันทร์  ประการแก้ว  อาชีพเกษตรกรรม  หัวหน้ากลุ่มทอผ้า

µ  หลักฐานการสัมภาษณ์

                ผู้ให้สัมภาษณ์ นายสุกัณฑ์   ประการแก้ว    อายุ 50  ปี

                อาชีพ ผู้ใหญ่บ้าน

                 ผู้สัมภาษณ์  นางสาวรัตน์สุดา  สายสะอาด

หัวข้อการสัมภาษณ์

1.   ประวัติการตั้งหมู่บ้าน

หมู่บ้านปลาอีดก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2323  โดยเจ้าคำผง หรือพระปทุมราชวงศา บุตรเจ้าพระตาเจ้าเมืองอุบลราชธานี จึงขยายเมืองบริวารส่งญาติวงศ์ออกไปสร้างบ้านแปลงเมืองสมัยนั้นเรียกว่า ชุมชนบ้านป่า แบ่งออกเป็น 5 สาย กล่าวถึงสายที่ 2 มอบท้าวสีหานาม นำไพร่พลชาวเมืองออกไปตั้งชุมชนที่บ้านบ่อแจระแม  บ้านทุ่งขุน บ้านปะอาว บ้านข่าโคม บ้านเขื่อง บ้านสร้างถ่อ บ้านธาตุโนนทราย บ้านกลางบ้านปลาอีด เป็นชุมชนที่แยกออกมาจากบ้านสร้างถ่อ และบ้านกลาง การสร้างบ้านตั้งถิ่นฐานชุมชนยุคบ้านป่าขาดอน เพื่อแสวงหาผืนดินทำกินจะเลือกป่าไม้ คำว่าเมืองหมายถึง ไม้ใหญ่ ชุมชนจะจัดสรรพื้นที่ป่าเพื่อที่อยู่อาศัย ป่าช้า ที่ทำเล และดอนปู่ตา ไม้ยางนาในป่ายางนาจึงเป็นปัจจัยหลักของการยังชีพ ทั้งน้ำมันยาง เนื้อไม้ยาง ความหลากหลายของเห็ดในป่ายางสืบมา

 2.   สภาพสังคม

ประชากรส่วนใหญ่มีลักษณะร่าเริงแจ่มใน สมบูรณ์ดี มีความเป็นอยู่ค่อนข้างยากจน บางครอบครัวมีฐานะพอสมควรแต่ชาวบ้านก็ช่วยกัน ไม่เห็นแก่ตัว มีอะไรจะช่วยเหลือกันอยู่ตลอดเวลา มีจิตใจเมตตาต่อเพื่อนร่วมโลก คนในหมู่บ้านชอบอยู่ในสังคมเดียวกัน สังคมของพวกเขาคือ สังคมปานกลาง พอมี พออยู่พึ่งพากันได้ ไม่รังเกียจกัน มีความเมตตากรุณาช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน  รักใคร่ปรองดองกัน มีความสามัคคี มีน้ำใจ และขยันทำมาหากิน ไม่ติดการพนัน ยาเสพติด

3.   สภาพเศรษฐกิจ

     บ้านปลาอีดเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระดับ “มั่งมี  ศรีสุข”

ได้รับรางวัลชนะเลิศจากจังหวัดยโสธร ให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข ปี พ.ศ. 2551 คนในชุมชนมีกิจกรรมด้านการเพิ่มรายได้ในชุมชนหลายกิจกรรมโดยการใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นจัดทำผลิตภัณฑ์ของชุมขึ้น  เช่นกิ่งตอนมะม่วงเพื่อจำหน่าย  ,ถ่านอัดแท่ง , การปลูกไผ่เลี้ยงหวาน  ,การทำน้ำส้มควันไม้จากไม้ไผ่ , ผ้าทอ ผ้าไหม  ผ้ามัดหมี่ จากกลุ่มทอผ้า , เสื่อ หวดนึ่งข้าว กระติบข้าว จากกลุ่มจักรสาน   เป็นต้น

4.  ลักษณะวิถีชีวิต  ขนบธรรมเนียมประเพณี

ลักษณะวิถีชีวิตของชาวบ้านค่อนข้างจะยากจน แต่ชาวบ้านก็อยู่กันอย่างพี่น้องมีอะไรก็เผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีประจำปีก็มีหลายอย่าง เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีบุญเข้าพรรษา ,ประเพณีบุญออกพรรษา เป็นต้น

                ผู้ให้สัมภาษณ์ นายสนอง  งานการ    อายุ 48  ปี

                อาชีพ ทาบกิ่งมะม่วง

                ผู้สัมภาษณ์  นางสาวอัญชลีย์  ละออเอี่ยม

หัวข้อการสัมภาษณ์

        1.    การประกอบอาชีพทาบกิ่งมะม่วง

กลุ่มอาชีพทาบกิ่งมะม่วงเป็นการนำมะม่วงมาทาบกิ่ง ประโยชน์การทาบกิ่งมะม่วงทำให้ได้ผลผลิตเร็วและสามารถทำผลิตมะม่วงได้ทุกฤดูกาล  ซึ่งนำผลผลิตมะม่วงไปขายในราคาต้นละ 20 บาท พ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่จะมารับซื้อที่หมู่บ้านเอง และบางส่วนก็จะนำไปขายตามตลาดต่างๆซึ่งสร้างได้ให้กับชุมชนประมาณปีละ 100,000 – 200,000 บาท ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนบ้านปลาอีดเป็นจำนวนมาก 

                ผู้ให้สัมภาษณ์ นายสมยศ  สุวิน  อายุ 55  ปี

                อาชีพ ถ่านอัดแท่งและน้ำส้มควันไม้

                ผู้สัมภาษณ์  นางสาวอัญชลีย์  ละออเอี่ยม

หัวข้อการสัมภาษณ์

1.  การประกอบอาชีพถ่านอัดแท่งและน้ำส้มควันไม้

กลุ่มอาชีพถ่านอัดแท่งและน้ำส้มควันเป็นกลุ่มอาชีพที่พึ่งเกิดขึ้นใหม่เมื่อไม่นาน เป็นการเอาภูมิปัญญาของท้องถิ่นในเรื่องการทำน้ำส้มมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยเริ่มแรกมีการเผาถ่านเพื่อทำเป็นถ่านอัดแท่ง และก็ใช้ประโยชน์จากการเผ่าถ่านทำน้ำส้มควันซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์หลายอย่างเช่น ทางการเกษตรใช้ไล่แมลง ,เป็นปุ๋ย,ใช้เลี้ยงสัตว์เพื่อป้องกันสัตว์ท้องเสีย,เป็นต้น  โดยมีบริษัทซีพี และพ่อค้ามารับซื้อผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายซึ่งสร้างได้ให้กับชุมชนประมาณปีละ 50,000 – 100,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนบ้านปลาอีดเป็นจำนวนมาก

                ผู้ให้สัมภาษณ์ นายณัฐกิจ  สุวิน   อายุ 50  ปี

                อาชีพ เลี้ยงไผ่หวาน

                ผู้สัมภาษณ์  นางสาวมุกดา  กอแก้ว

หัวข้อการสัมภาษณ์

1.  การประกอบอาชีพเลี้ยงไผ่หวาน

กลุ่มอาชีพเลี้ยงไผ่หวานเป็นการนำต้นไผ่มาเลี้ยงขยายพันธุ์ เพื่อให้ได้ต้นไผ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งประโยชน์ซึ่งประโยชน์ของต้นไผ่มากมายเช่น หนอเอาไว้กิน, ลำต้นใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และเผาถ่านอัดแท่ง ,ใบใช้ทำปุ๋ยเป็นต้น โดยมีพ่อค้าแม่ค้าจะมารับซื้อที่หมู่บ้านเอง และบางส่วนก็จะนำไปขายตามตลาดต่างๆซึ่งสร้างได้ให้กับชุมชนประมาณปีละ 100,000 – 200,000 บาท ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนบ้านปลาอีดเป็นจำนวนมาก

                ผู้ให้สัมภาษณ์ นายพันธ์    ศรีแก้ว   อายุ 60  ปี

                อาชีพ จักสาน

                 ผู้สัมภาษณ์  นางสาวมุกดา  กอแก้ว

หัวข้อการสัมภาษณ์

1.  การประกอบอาชีพจักสาน

กลุ่มอาชีพจักสาน ชาวหมู่บ้านปลาอีด มีการจักสานผลิตภัณฑ์หลายอย่างเช่น การสานกระติ๊บข้าวเหนียว , การสานหวดนึ่งข้าว , การสานพัด เป็นต้น  ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีการทำมาเป็นเวลานานแล้ว ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่นำไปขายเป็นสินค้า โอทอปของชุมชน และมีพ่อค้าแม่ค้ามาสั่งซื้อ  รายได้จากผลิตภัณฑ์จักสานประมาณปีละ 50,000 – 100,000 บาท ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนบ้านปลาอีดเป็นจำนวนมาก

               ผู้ให้สัมภาษณ์ นายอุไร  กองธรรม    อายุ 55  ปี

                อาชีพ ทอเสื่อ

                ผู้สัมภาษณ์  นางสาวจารุวรรณ  มุ่งสุดใจ

หัวข้อการสัมภาษณ์

1. การประกอบอาชีพทอเสื่อ

กลุ่มอาชีพทอเสื่อ ทอผ้า ของชาวหมู่บ้านปลาอีด มีการทอเสื่อซึ่งทำจากต้นกกและต้นไหลและมีการทอผ้าไหม ,ผ้าซิ่น  ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีการทำมาเป็นเวลานานแล้ว ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่นำไปขายเป็นสินค้า โอทอปของชุมชน และมีพ่อค้าแม่ค้ามาสั่งซื้อ  รายได้จากผลิตภัณฑ์ทอผ้าประมาณปีละ 50,000 – 100,000 บาท ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนบ้านปลาอีดเป็นจำนวนมาก