พระ ราช กรณียกิจ ด้านเศรษฐกิจ

พระราชดำรัสด้านเศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช
มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

Show

“การใช้จ่ายโดยประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเองและครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้ จะมีผลดีไม่เฉพาะแกผู้ประหยัดเท่านั้น ยังจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 31 ธันวาคม 2502


“การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมีพอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจชั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น 20 ธันวาคม 2516


“...เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาของเศรษฐกิจ การที่ต้องใช้รถไถต้องไปซื้อ เราต้องใช้ต้องหาเงินมาสำหรับซื้อน้ำมันสำหรับรถไถ เวลารถไถ เก่าเราต้องยิ่งซ่อมแซม แต่เวลาใช้นั้นเราก็ต้องป้อนน้ำมันให้เป็นอาหาร เสร็จแล้วมันคายควัน ควันเราสูดเข้าไปแล้วก็ปวดหัว ส่วนควายเวลาเราใช้เราก็ ต้องป้อนอาหาร ต้องให้หญ้าให้อาหารมันกิน แต่ว่ามันคายออกมา ที่มันคายออกมาก็เป็นปุ๋ย แล้วก็ใช้ได้สำหรับให้ที่ดินของเราไม่เสีย...”

พระราชดำรัส เนื่องในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๙


“...เราไม่เป็นประเทศร่ำรวย เรามีพอสมควร พออยู่ได้ แต่ไม่เป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก เราไม่อยากจะเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก เพราะถ้าเราเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมากก็จะมีแต่ถอยกลับ ประเทศเหล่านั้นที่เป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า จะมีแต่ถอยหลังและถอยหลังอย่างน่ากลัว แต่ถ้าเรามีการบริหารแบบเรียกว่าแบบคนจน แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป ทำอย่างมีสามัคคีนี่แหละคือเมตตากัน จะอยู่ได้ตลอดไป...”

พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔


“การกู้เงินที่นำมาใช้ในสิ่งที่ไม่ทำรายได้นั้นไม่ได้ อันนี้เป็นข้อสำคัญ เพราะว่าถ้ากู้เงินและทำให้มีรายได้ ก็เท่ากับจะใช้หนี้ได้ ไม่ต้องติดหนี้ ไม่ต้องเดือดร้อน ไม่ต้องเสียเกียรติ”

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540


“...ตามปกติคนเราชอบดูสถานการณ์ในทางดี ที่เขาเรียกว่าเล็งผลเลิศ ก็เห็นว่าประเทศไทย เรานี่ก้าวหน้าดี การเงินการอุตสาหกรรมการค้าดี มีกำไร อีกทางหนึ่งก็ต้องบอกว่าเรากำลังเสื่อมลงไปส่วนใหญ่ ทฤษฎีว่า ถ้ามีเงินเท่านั้นๆ มีการกู้เท่านั้นๆ หมายความว่าเศรษฐกิจก้าวหน้า แล้วก็ประเทศก็เจริญมีหวังว่าจะเป็นมหาอำนาจ ขอโทษเลยต้องเตือนเขาว่า จริงตัวเลขดี แต่ว่าถ้าเราไม่ระมัดระวังในความต้องการพื้นฐานของประชาชนนั้นไม่มีทาง...”

พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖


“เศรษฐกิจพอเพียงนี้ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียว คือไม่ต้องทั้งหมด หรือแม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ ได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนามาช้านานแล้ว มาบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี่ดีมาก แล้วก็เข้าใจว่าปฏิบัติเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น หมายความว่า ถ้าทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ของประเทศก็จะพอ ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงและทำได้เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น ไม่ได้แปลว่า เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ”

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541


“คำว่าพอเพียงความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่า พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง”

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรและการยกระดับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย[แก้]

ด้านการเกษตร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงให้ความสนใจด้านนี้ พระองค์ได้เสด็จเยี่ยม ไต่ถามความทุกข์สุขของประชาชน และรับฟังข้อปัญหาเกิดเป็นโครงการตามพระราชดำริต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการชลประทาน การพัฒนาดิน การวิจัยพันธุ์พืชและปศุสัตว์ เป็นต้น ดังหัวข้อต่อไปนี้

ทรัพยากรน้ำ[แก้]

โครงการตามพระราชดำริของพระองค์ มีทั้งการแก้ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุทกภัย รวมไปถึงการบำบัดน้ำเสีย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำมีทั้งโครงการขนาดใหญ่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมได้[ต้องการอ้างอิง] เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ {{cn-spanเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่จังหวัดลพบุรี}} จนถึงโครงการขนาดกลางและเล็กจำพวก ฝาย อ่างเก็บน้ำ โดยพระองค์ทรงคำนึงถึงลักษณะของภูมิประเทศ สภาพแหล่งน้ำ ความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ ประชาชนที่ได้รับประโยชน์และผลกระทบจากโครงการ มาเป็นหลักในการพิจารณา พระองค์ได้ทรงวิจัยและริเริ่มโครงการฝนหลวง เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งสำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทาน

ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่ประสบปัญหาน้ำท่วม และน้ำเน่าเสียในคูคลอง มีพระราชดำริเรื่องแก้มลิง ควบคุมการระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน ลำคลองต่าง ๆ ลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล ทั้งยังเป็นการใช้น้ำดีไล่น้ำเสียออกจากคลองได้อีกด้วย เครื่องกลเติมอากาศ กังหันชัยพัฒนา ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยการเพิ่มออกซิเจน เป็นสิ่งประดิษฐ์หนึ่งของพระองค์ที่ได้รับสิทธิบัตรจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536[ต้องการอ้างอิง]

ทรัพยากรดิน[แก้]

;การแกล้งดิน

แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นที่จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัด จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่า ดินในพื้นที่พรุที่มีการชักน้ำออก เพื่อจะนำที่ดินมาใช้ทำการเกษตรนั้น แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิด ประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุด และให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรียวัตถุ หรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบน และมีระดับความลึก 1 - 2 เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้น เมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ " แกล้งดิน " เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ " แกล้งดินให้เปรี้ยว " คือทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น " แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด " จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้ วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ คือควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์

จากการทดลอง ทำให้พบว่า วิธีการปรับปรุงดินตามสภาพของดินและความเหมาะสม มีอยู่ 3 วิธีการด้วยกัน คือ

  • ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เพราะเมื่อดินหายเปรี้ยว จะมีค่า pH เพิ่มขึ้น หากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟต ก็จะทำให้พืชให้ผลผลิตได้
  • ใช้ปูนมาร์ลผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน
  • ใช้ทั้งสองวิธีข้างต้นผสมกันได้
  • การปลูกหญ้าแฝก

โครงการเพื่อการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ[แก้]

ทรงมีพระราชดำริในการจัดตั้งโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อส่งเสริมการเกษตรและประมงได้แก่โครงการเพาะเลี้ยงปลานิล โครงการวิจัยเพื่อการเกษตรในการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าว อนุรักษ์พันธุ์พืชและพัฒนาปศุสัตว์ให้เจริญก้าวหน้าช่วยให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร[แก้]

การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การผลิตเอทานอล แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล เป็นต้น

เกษตรทฤษฎีใหม่[แก้]

ดูบทความหลักที่: ทฤษฎีใหม่

เศรษฐกิจพอเพียง[แก้]

ดูบทความหลักที่: เศรษฐกิจพอเพียง

พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[แก้]

พระองค์ทรงใช้ประสบการณ์และแนวพระราชดำริ โครงการหลวงในการพัฒนาและวิจัย พระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อนำกลับมาพัฒนาประเทศ[ต้องการอ้างอิง]

พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข[แก้]

พระ ราช กรณียกิจ ด้านเศรษฐกิจ

ในด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าปัญหาในด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังพระราชดำรัสที่ว่า ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง[ต้องการอ้างอิง] ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ ทั้งแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และแพทย์อาสาสมัคร โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด[ต้องการอ้างอิง] เพื่อที่จะได้รักษาผู้ป่วยไข้ได้ทันที นอกเหนือจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชยังได้ริเริ่มหลายโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ดังนี้

  • โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
  • โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน
  • โครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์
  • หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน
  • โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
  • โครงการแพทย์ หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้พระราชทาน
  • โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์
  • หน่วยงานฝ่ายคนไข้ ในกองราชเลขานุการ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาแพทยศาสตร์ตอนหนึ่งว่า

จึงใคร่ขอร้องให้ทุก ๆ คนตั้งใจ และพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ผลสมบูรณ์จริง ๆ อย่าปล่อยให้กำลังของชาติต้องเสื่อมถอยลงเพราะประชาชนเสียสุขภาพอนามัย [1]

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา[แก้]

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดลให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่างๆเพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษาหาความรู้ต่อ ดังพระราชดำรัสที่ว่า

การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของบุคคล หากสังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วนในทุกๆ ด้านแล้ว สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ สามารถดำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้ และพัฒนาก้าวหน้าต่อไปโดยตลอด [2]

พระองค์จึงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนี้

โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์[แก้]

โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงให้การอุปถัมป์ในด้านต่างๆ เช่น ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ รวมทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนและพระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อสนับสนุนและเป็นกำลังใจแก่ครูและนักเรียนของโรงเรียน โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์มีทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ดังนี้

  • โรงเรียนจิตรลดา
  • โรงเรียนราชวินิต
  • โรงเรียนวังไกลกังวล
  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์
  • โรงเรียนราชประชาสมาสัย
  • โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • โรงเรียนเพื่อลูกหลานชนบท
  • โรงเรียนร่มเกล้า
  • โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน
  • โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • โรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือตามความจำเป็นเร่งด่วน

ทุนการศึกษาพระราชทาน[แก้]

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อก่อตั้งกองทุนการศึกษาหลายขั้นหลายทุน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ดังนี้

  • ทุนพระราชทานเพื่อการศึกษาสงเคราะห์ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดลขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2502 [ต้องการอ้างอิง]โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แก่นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่นในด้านต่างๆ ให้นิสิตนักศึกษาเหล่านั้นได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้วิชาการชั้นสูงในต่างประเทศ และนำความรู้นั้นกลับมาใช้พัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
  • ทุนเล่าเรียนหลวง
  • ทุนมูลนิธิภูมิพล
  • ทุนมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิโรงเรียนราชประชาสมาสัย
  • ทุนนวฤกษ์
  • ทุนการศึกษาพระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะกรณี

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน[แก้]

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเริ่มดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ว่า

หนังสือประเภทสารานุกรมนั้น บรรจุสรรพวิชาการอันเป็นสาระไว้ครบทุกแขนง เมื่อมีความต้องการหรือพอใจจะเรียนรู้เรื่องใด ก็สามารถค้นหาอ่านทราบโดยสะดวก นับว่าเป็นหนังสือที่มีประโยชน์เกื้อกูลการศึกษาเพิ่มพูนปัญญาด้วยตนเองของประชาชนอย่างสำคัญ โดยเฉพาะในยามที่มีปัญหาการขาดแคลนครูและที่เล่าเรียนเช่นขณะนี้ หนังสือสารานุกรมจะช่วยคลี่คลายให้บรรเทาเบาบางลงได้เป็นอย่างดี[3]

ปัจจุบัน[เมื่อไร?] โครงการฯ ได้จัดทำหนังสือสารานุกรมไทยที่บรรจุความรู้ใน 7 สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ แพทยศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ขณะนี้มีออกมาแล้ว 28 เล่ม โดยแต่ละเล่มได้จัดแบ่งเนื้อหาของแต่ละเรื่องออกเป็นสามระดับ เพื่อที่จะให้เยาวชนสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ตามพื้นฐานของตน

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา[แก้]

ในทุกๆ ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา แม้พระราชกรณียกิจนี้จะเป็นภาระแก่พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์มาก แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชก็มีพระราชกระแสรับสั่งให้คงพิธีพระราชทานปริญญาบัตร

พระราชกรณียกิจด้านศาสนา[แก้]

พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในการเปิดพระราชพิธีเนื่องในวโรกาสต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีบำเพ็ญการกุศล ทรงสนับสนุนให้มีการสร้างศาสนสถาน[ต้องการอ้างอิง] อีกทั้งยังทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนา เคยทรงให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นจำนวน 45 เล่ม[ต้องการอ้างอิง]

พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้]

พระ ราช กรณียกิจ ด้านเศรษฐกิจ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขณะมีพระราชดำรัส ณ รัฐสภาแห่งสหรัฐ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2503

ในระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวม 28 ประเทศ เพื่อเป็นการเจริญพระราชไมตรีกับบรรดามิตรประเทศเหล่านั้นให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเพื่อนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปมอบให้กับประชาชนในประเทศต่างๆ โดยรายชื่อประเทศต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเยือน มีตามลำดับดังนี้

  • ประเทศเวียดนามใต้ ระหว่างวันที่ 18 ธันวาคม - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2502
  • สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503
  • สหภาพพม่า ระหว่างวันที่ 2 มีนาคม - 5 มีนาคม พ.ศ. 2503
  • สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2503
  • ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2503
  • สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2503
  • สาธารณรัฐโปรตุเกส ระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2503
  • ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2503
  • ประเทศเดนมาร์ก ระหว่างวันที่ 6 กันยายน - 9 กันยายน พ.ศ. 2503
  • ประเทศนอร์เวย์ ระหว่างวันที่ 19 กันยายน - 21 กันยายน พ.ศ. 2503
  • ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ 23 กันยายน - 25 กันยายน พ.ศ. 2503
  • สาธารณรัฐอิตาลี ระหว่างวันที่ 28 กันยายน - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2503
  • นครรัฐวาติกัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2503
  • ประเทศเบลเยียม ระหว่างวันที่ 4 ตุลาคม - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2503
  • สาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2503
  • ประเทศลักเซมเบิร์ก ระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2503
  • ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2503
  • ประเทศสเปน ระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503
  • สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ระหว่างวันที่ 11 มีนาคม - 22 มีนาคม พ.ศ. 2505
  • สหพันธรัฐมลายา ระหว่างวันที่ 20 มิถุนายน - 27 มิถุนายน พ.ศ. 2505
  • ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2505
  • ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม - 12 กันยายน พ.ศ. 2505
  • ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม - 5 มิถุนายน พ.ศ. 2506
  • สาธารณรัฐจีน ระหว่างวันที่ 5 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506
  • สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 9 กรกฎาคม - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
  • สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2507
  • สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2509 (เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง)
  • สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 2 ตุลาคม พ.ศ. 2509 (เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง)
  • ประเทศอิหร่าน ระหว่างวันที่ 23 เมษายน - 30 เมษายน พ.ศ. 2510
  • สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2510 (เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง)
  • ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2510

จากนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชก็มิได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอีก เพราะทรงเห็นว่าพระราชภารกิจภายในประเทศนั้นมีมากมาย อย่างไรก็ตาม หากประมุขหรือรัฐบาลของประเทศใดกราบบังคมทูลเชิญให้เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยือน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชโอรส หรือพระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี รวมทั้งเพื่อทอดพระเนตรวิทยาการ และศิลปวัฒนธรรมของชาตินั้น ๆ

จนกระทั่งวันที่ 8 มีนาคม - 9 มีนาคม พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศลาว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งนับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอีกครั้ง หลังจากที่ว่างเว้นมาเป็นเวลานานกว่า 30 ปี

พระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น รวมไปถึงการเสด็จพระราชดำเนินออกให้การต้อนรับราชอาคันตุกะจากประเทศต่างๆ ที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้บรรดาทูตานุทูตเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสาส์นตราตั้งในการเข้ามารับตำแหน่งในประเทศไทย และถวายบังคมทูลลาเมื่อครบวาระ

พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม[แก้]

  • ทรงตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย
  • ทรงตั้งโรงละครหลวงขึ้นเพื่อส่งเสริมการแสดงละครในหมู่ข้าราชบริพาร
  • ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบอาคารสมัยใหม่เป็นแบบทรงไทย เช่น ตึกอักษรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาคารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

พระราชกรณียกิจด้านการกีฬา[แก้]

เรือใบเป็นกีฬาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโปรดเป็นพิเศษ พระองค์ทรงเป็นตัวแทนของประเทศไทยลงแข่งเรือใบในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยทรงเข้าค่ายฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึกซ้อม และทรงได้รับเบี้ยเลี้ยงในฐานะนักกีฬา เช่นเดียวกับนักกีฬาคนอื่น ๆ ในที่สุด ด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงชนะเลิศเหรียญทอง และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทอง จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ท่ามกลางความปลื้มปีติของพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ และเป็นที่ประจักษ์แก่ชนทั่วโลก ทำให้พระอัจฉริยภาพทางกีฬาเรือใบของพระองค์ที่ยอมรับกันทั่วโลก พระองค์ยังได้ทรงออกแบบและประดิษฐ์เรือใบยามว่างออกมาหลายรุ่น พระองค์พระราชทานนามเรือใบประเภทม็อธ (Moth) ที่ทรงสร้างขึ้นว่า เรือใบมด เรือใบซูเปอร์มด และ เรือใบไมโครมด ถึงแม้ว่าเรือใบลำสุดท้ายที่พระองค์ทรงต่อคือ เรือโม้ค (Moke) เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 เรือใบซูเปอร์มดยังถูกใช้แข่งขันในระดับนานาชาติที่จัดในประเทศไทยหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายคือเมื่อ พ.ศ. 2528 ในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 13

นอกเหนือจากกีฬาเรือใบแล้ว ยังทรงเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ เช่น แบดมินตัน เทนนิส ยิงปืน เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาของมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๒
  2. พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะครูและนักเรียน ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
  3. พระราชดำริ พระราชทาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๒

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • วารี อัมไพรวรรณ, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (ในหลวงของเรา), ภัทรินทร์, 2537. ISBN 9745070955.
  • จิระนันท์ พิตรปรีชา, รู้ รัก สามัคคี, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), 2540. ISBN 9748956466.
  • พระผู้ทรงเป็นจอมทัพไทย : เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 5 รอบและเฉลิมรัชมังคลาภิเษก , กรมกิจการพลเรือนทหารบก, 2531.
  • พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช กับการศึกษาไทย, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2530.
  • Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn (translated by Pongpet Mekloy), A Regal Example, The Post Publishing, 1999. ISBN 9742280002.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • พระราชกรณียกิจ จากเครือข่ายกาญจนาภิเษก
  • ThaiMonarchy.com เก็บถาวร 2021-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน