โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน

สรุปสาระสำคัญ

  โครงการนี้เป็นการส่งเสริมการกินผักผลไม้ในโรงเรียน โดยมีการปรับเปลี่ยนการจัดอาหารกลางวันของนักเรียน จากเดิมที่ให้แม่ครัวประมูลเข้ามาทำอาหารให้นักเรียน มาเป็นคณะครูเป็นผู้ดำเนินการจัดทำอาหารกลางวันให้กับนักเรียนแทน โดยได้ใช้ Thai School Lunch ในการจัดรายการอาหาร ทำให้นักเรียนได้รับอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีผลไม้ขนมหวานอีกด้วย การจัดทำอาหารที่คณะครูให้ความสำคัญกับการจัดทำที่ถูกหลักโภชนาการ สะอาด และมีรสชาติดี ประกอบกับการถ่ายทอดความรู้อย่างต่อเนื่องโดยแกนนำนักเรียนและคณะครู และแรงเสริมที่คณะครูพยายามใช้ด้วยการกล่าวชมเชย และการชักชวนให้นักเรียนรับประทานผัก เหล่านี้ทำให้นักเรียนรับประทานผักได้มากขึ้นเรื่อย ๆนอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมเสริมความรู้เรื่องผักและผลไม้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยมีแกนนำนักเรียน 12 คนเป็นผู้ดำเนินการและจากวิทยากรที่ได้เชิญเข้ามา ทั้งนี้ ในโครงการยังมีการติดตามผลการกินผักของนักเรียนอย่างต่อเนื่องทุกวัน โดยให้นักเรียนแกนนำเป็นผู้บันทึกในแบบบันทึกการรับประรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียนทุกคนเพื่อติดตามพฤติกรรมการกินของนักเรียนทั้งในภาพรวมและรายบุคคล เพื่อแก้ปัญหาที่ทำให้เด็กกินผักได้น้อยพบว่านักเรียนสามารถรับประทานผักผลไม้ได้มากขึ้นเป็นลำดับ ในช่วงสุดท้ายของการดำเนินโครงการนักเรียนกินผักผลไม้ได้มากขึ้นเป็น ร้อยละ 90 กว่า และจากการประเมินภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเพื่อหาค่าเฉลี่ย พบว่า ภาวะทางโภชนาการของนักเรียนดีขึ้นกว่าเดิมด้วยเช่นกัน

บทเรียนที่น่าเรียนรู้จากโครงการเพื่อการนำไปขยายผล

1.  โปรแกรม Thai school lunch เป็นเครื่องมือช่วยให้โรงเรียนทำอาหารได้ถูกหลักโภชนาการ และปรับวัตถุดิบได้ตามข้อจำกัดที่มีอยู่

2.  การติดตามผลดี

3.  ความสามารถในการบริหารเวลาของครูผู้รับผิดชอบ

4.  การปลูกผักโรงเรียน ที่ให้ผู้ปกครองและนักเรียนช่วยกันดูแลแปลงผัก และใช้ประโยชน์จากผักในแปลงทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านได้

5.  โปรแกรม Thai School Lunch ช่วยโรงเรียนในการจัดการอาหารกลางวันที่ถูกตามหลักโภชนาการภายใต้งบประมาณ 20 บาทต่อหัวได้จริง แต่ต้องอยู่ภายใต้การจัดการของโรงเรียน ทั้งระบบ ตั้งแต่การกำหนดเมนูอาหาร จนถึงการจัดการวัตถุดิบในการปรุงอาหาร จนถึงการปรุงอาหาร

6.  การส่งเสริมการกินผักของนักเรียนและได้โภชนาการที่เหมาะสมตามวัย ภายใต้ข้อจำกัดเรื่องงบประมาณอาหารกลางวัน 20 บาท/คน/วัน ต้องใช้โปรแกรม Thai school lunch เป็นฐานในการออกแบบเมนูอาหาร ที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุดิบให้ได้เหมาะสมทางโภชนาการตามข้อจำกัดงบประมาณ โรงเรียนต้องมีผักตนเองช่วยสนับสนุนการลดค่าใช้จ่ายและให้เด็กนักเรียนคุ้นเคยกับผักชนิดต่างๆ ผ่านการได้ร่วมเพาะปลูกเอง และเรียนรู้ประโยชน์จากกิจกรรม-การเรียน ในโรงเรียน มีแม่ครัวที่ใส่ใจปรับปรุงการทำอาหารให้เด็กกินได้ง่าย จากการติดตามผลการกินต่อเนื่องโดยแกนนำนักเรียนเอง ที่ทำหน้าที่ติดตาม บันทึกผลและครูเป็นผู้วิเคราะห์ผลและใช้ผลพัฒนาการทำอาหารที่เด็กกินผักได้เพิ่ม

โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน

  • directions_run
  • beenhere
  • attach_money
  • assessment
  • lock

stars

1. รายละเอียดโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมภาวะโภชนาการ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกาลูบี
รหัสโครงการ 64-L5307-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านกาลูบี
วันที่อนุมัติ 4 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 23,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางโนร์ลัยลา โต๊ะประดู่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place

stars

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

stars

3. งวดสำหรับการทำรายงาน

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ

การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง

การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ

การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้

การส่งเสริมพัฒนาการตามวัย/กระบวนการเรียนรู้/ความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ

stars

5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหาร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 คือ ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ทั้งนี้ไม่รวมยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ยาเสพติดให้โทษ เมื่อรับเข้าสู่ร่างกาย (ไม่ว่าจะเป็นการดื่ม การกิน หรือการฉีด ฯลฯ) แล้วเกิดประโยชน์แก่ร่างกาย โดยให้ สารอาหาร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง สารอาหาร คือ สารเคมีที่ประกอบอยู่ในอาหาร ประโยชน์ของอาหารที่เราบริโภคขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนของสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบของอาหารนั้น สารอาหารที่ร่างกายต้องการแบ่งออกเป็น 6 พวกใหญ่ๆ คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำ สารอาหารแต่ละพวกทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ 1. ให้พลังงานและความร้อน ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของอวัยวะภายในและ นอกร่างกาย 2. ช่วยบำรุงเลี้ยงหรือช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต (ในเด็ก) และช่วยซ่อมแซมร่างกาย (ในผู้ใหญ่) 3. ช่วยควบคุมปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ในร่างกาย และการทำงานของอวัยวะทุกส่วน 4. ช่วยในการป้องกันและต้านทานโรค หรือช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อร่างกายของคนเรา เป็นต้นว่าเนื้อ นม ไข่ ถั่ว (โปรตีน) เป็นหมู่ที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตจึงเหมาะสำหรับเด็ก ถ้าเด็กขาดหมู่นี้มักจะตัวเล็กและแคระเกร็น ในกรณีเนื้อราคาแพงก็สามารถใช้ถั่วและไข่ทดแทนได้หรือกรณีกินเจหรือมังสวิรัติ และการรับประทานอาหารให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ จะต้องควรรับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ได้ทั้งปริมาณทั้งคุณภาพ ปราศจากสารพิษปนเปื้อน และสุขภาพจิตที่ดีอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์
ไข่ไก่และไข่เป็ดเป็นอาหารที่มีการบริโภคอย่างกว้างขวางตลอดปี เพราะหาซื้อง่าย ราคาไม่สูงมาก ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย มีรสอร่อยถึงแม้ผู้ที่ปรุงอาหารไม่เป็นก็ยังสามารถปรุงอาหารจากไข่รับประทาน ได้ ประการที่ส าคัญ ไข่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยให้สารอาหารที่จำเป็นหลายอย่างจนถึงกับว่าไข่เป็นอาหารบำรุงร่างกายทีเดียว (ลูกไก่ และลูกเป็ด ขณะเจริญเติบโตอยู่ในไข่ก็ใช้สารอาหารในไข่เจริญเติบโตขึ้นเป็นชีวิตใหม่) ไข่ไก่ 1 ฟอง น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 50 กรัม ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี โปรตีน 7 กรัม ซึ่ง FAO ได้จัดว่าเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดีที่สุด มีค่า Biological Value เป็น 100 ซึ่งหมายความว่าเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพในการดูดซึมสูงกว่าโปรตีนชนิดอื่น มีไขมัน 6 กรัม และยังให้วิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี1, บี2, บี3, บี6 และ บี12 ธาตุเหล็ก lecithin เป็นต้น คุณค่าทางโภชนาการของไข่ไก่และไข่เป็ด จะใกล้เคียงกัน (พูนศรี เลิศลักขณวงศ์ : 4 พฤษภาคม 2548)

โปรตีน เป็นหนึ่งในสารอาหารที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับ เพราะมีส่วนช่วยในการทำงานของสมอง เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ซ่อมแซมและฟื้นฟูส่วนที่สึกหรอ อีกทั้งยังเหมาะสำหรับการรับประทานเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อในกลุ่มผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยโปรตีนนั้นสามารถพบได้มากในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ เมล็ดธัญพืช ถั่วเหลืองและถั่วทุนิด แม้กระทั่งในจุลินทรีย์บางชนิด ตลอดจนยีสต์สาหร่ายก็เป็นแหล่งของโปรตีนที่ดีได้ด้วยเช่นกัน การรับประทานโปรตีนที่เหมาะสม ควรเลือกปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกาย และเลือกส่วนที่มีไขมันน้อยเพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของไขมันที่มากเกินไป หากร่างกายได้รับโปรตีนชนิดไม่ดีที่มีไขมันสูงมาก อย่างเช่นหนังไก่ หรือไขมันจากเนื้อสัตว์ก็จะทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มระดับสูงขึ้นได้ กลายเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ ทั้งนี้ไข่ไก่ ถือเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุด และหารับประทานได้ง่ายมากที่สุด โดยเลซิตินในไข่ไก่มีประโยชน์ต่อสมองเป็นอย่างมากดังนั้น จึงควรรับประทานไข่ไก่อย่างน้อยวันละ 1 ฟอง สำหรับเด็กและหญิงมีครรภ์ควรรับประทานอย่างน้อยวันละ 1-2 ฟอง เพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนและสารอาหารจากไข่ไก่ในปริมาณที่เพียงพอต่อวัน ทางโรงเรียนบ้านกาลูบีได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพนักเรียน โดยได้คัดเลือกนักเรียนที่มีนำหนักและส่วนสูงที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด จากการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงในปีการศึกศึกษา 2563มาเพิ่มโภชนาการทางด้านโปรตีนให้กับนักเรียนกลุ่มนี้ โดยการให้นักเรียนรับประธานไข่ไก่วันละ 1 ฟอง เป็นระยะเวลา 100 วัน เพื่อเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารให้แก่นักเรียนกลุ่มนี้ ตลอดจนการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขกำหนด

stars

6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้กับนักเรียนกลุ่มที่มีน้ำหนักและส่วนสูงที่ตำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

ร้อยล่ะ ของนักเรียนที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

50.00 80.00
2 เพิ่มเสริมสร้างให้นักเรียนกลุ่มนี้มีได้รับสารอาหารที่ถูกต้องและครบถ้วน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

ร้อยล่ะของนักเรียน ได้รับสารอาอาหารที่ถูกต้องและครบถ้วน

50.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของนักเรียน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

ร้อยล่ะผู้ปกครอง ได้รับความรู้ความเข้าใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม

50.00 80.00

stars

7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

  • บันทึกตามกลุ่มกิจกรรม
  • บันทึกไม่มีกลุ่มกิจกรรม
  • จำแนกตามวัตถุประสงค์

stars

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. นักเรียนมีภาวะทางด้านโภชนาการ น้ำหนัก-ส่วนสูง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
  2. นักเรียนได้รับสารอาหารที่ถูกต้องครบถ้วน
  3. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของภาวะโภชนาการได้อย่างถูกต้อง

stars

9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 00:00 น.