พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในวัยรุ่น


  1. Burapha University Research Report
  2. มหาวิทยาลัยบูรพา
  3. บทความวารสาร

กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2823

ชื่อเรื่อง:  พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนิสิตระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: 
นัยนา พิพัฒน์วณิชชา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ:  ความเสี่ยง
พฤติกรรมสุขภาพในวัยรุ่น
วัยรุ่น - - สุขภาพและอนามัย
วัยรุ่น
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่:  2558
บทคัดย่อ:  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนิสิตระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 300 คน จากนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 107101 การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่น (The 2013 Standard Youth Risk Behavior Survey: 2013 Standard YRBS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า นิสิตร้อยละ 50.3 มีดัชนีมวลกายปกติ ร้อยละ 27.4 มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน ร้อยละ 22.3 มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ 6 ด้านพบว่า 1) พฤติกรรมเสี่ยงด้านความปลอดภัยและความรุนแรง พบว่า นิสิตร้อยละ 9.0 สวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 23.3 คาดเข็ดขัดนิรภัยเมื่อใช้รถยนต์ ร้อยละ 26.3 เคยมีความรู้สึกซึมเศร้า ร้อยละ 5.6 เคยพยายามฆ่าตัวตาย ร้อยละ 11.0 เคยมีเรื่องชกต่อย ตบตีกับผู้อื่น ร้อยละ 6.7 เคยพกพาอาวุธ 2) พฤติกรรมเสี่ยงด้านการสูบบุหรี่ นิสิตร้อยละ 40.7 เคยลองสูบบุหรี่ ร้อยละ 9.7 สูบบุหรี่อย่างน้อยหนึ่งมวนทุกวัน 3) พฤติกรรมเสี่ยงด้านการดื่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด พบว่า นิสิตร้อยละ 68.7 เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 2.7 ดื่มอย่างน้อย 1 แก้วขึ้นไปเกือบทุกวันหรือทุกวันในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ 4.3 เคยเสพยาบ้า และร้อยละ 1.0 เคยเสพยาอี 4) พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ พบว่า นิสิตร้อยละ 34.3 เคยมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 6.0 มีคู่นอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เมื่อครั้งสุดท้ายที่มีเพศสัมพันธ์ นิสิตร้อยละ 9.3 ไม่ไดใช้ถุงยางอนามัย และร้อยละ 7.6 ดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยาเสพติดก่อนการมีเพศสัมพันธ์ 5) พฤติกรรมเสี่ยงด้านการบริโภคอาหาร พบว่า นิสิตเพียงร้อยละ 15.7 เท่านั้นที่รับประทานอาหารเช้าทุกวันร้อยละ 54.0 พยายามลดน้ำหนัก ด้วยวิธีการที่อาจเกิดอันตราย โดยร้อยละ 18.7 อดอาหารเกิน 24 ชั่วโมง ร้อยละ 9.7 รับประทานยาควบคุมน้ำหนักโดยแพทย์ไม่ได้แนะนำ และร้อยละ 6.3 ทำให้ตนเองอาเจียนหรือใช้ยาระบาย 6) พฤติกรรมเสี่ยงด้านการมีกิจกรรมทางกาย พบว่า นิสิต ร้อยละ 56.9 มีการกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่นิสิตร้อยละ 23.3 ไม่มีกิจกรรมทางกายเลย และร้อยละ 32.7 ใช้เวลาในการเล่นวิดีโอเกมส์หรือคอมพิวเตอร์เกมส์ 5 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป ผลการวิจัยเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยและผู้ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการวางนโยบาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพและลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและความพิการของนิสิต จากผลการวิจัยอาจพอกล่าวได้ว่าโครงการส่งเสริมสุขภาพต่าง ๆ ของทางมหาวิทยาลัย อาทิเช่น การรณรงค์ให้นิสิตและบุคลากรสวมหมวกนิรภัย 100% ยังไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยควรมีการเสริมกลยุทธ์ในโครงการส่งเสริมสุขภาพอื่น ๆ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ
URI:  http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2823
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: บทความวารสาร

รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในวัยรุ่น

02-9965172 , 0982848358

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในวัยรุ่น

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในวัยรุ่น

คลินิกหมอศิริวรรณ

  • Home

  • รายชื่อแพทย์

  • Our Services

  • Blog

  • Contact

  • Shop

  • More

    • All Posts

    Search

    We Couldn’t Find This Page

    Check out some of the other great posts in this blog.

    See More Posts

    พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นที่มีผลต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง

    องค์การ UNICEF (2007 อ้างถึงใน กรเกล้า สาลี, 2558) ได้กล่าวไว้ว่า พฤติกรรมเสี่ยง หมายถึง การกระทำของบุคคลที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต หรือทรัพย์สิน ได้แก่การสูบ บุหรี่ การดื่มสุรา การเสพยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ การไม่ใช้ถุงยางอนามัย และการตั้งครรภ์ใน วัยรุ่น

    ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมเสี่ยงมีอะไรบ้าง

    1. H – Home ครอบครัว ที่อยู่อาศัย ชุมชนแวดล้อม ความปลอดภัยในบ้าน 2. E – Education/Employment การเรียน การทำงาน เป้าหมายอาชีพและความหวังในชีวิต 3. Eating – พฤติกรรมการกิน มากหรือน้อยเกินไป ไม่ถูกสุขลักษณะ ขาดอาหาร ผอมเกินไปหรือเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกิน

    พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง

    พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพชีวิตหรือทรัพย์สิน.
    การเดินเท้า - ขาดความระมัดระวังในการข้ามถนน - ไม่ข้ามทางม้าลาย สะพานลอย ... .
    การขับขี่รถจักรยานยนต์ - ขับขี่ไม่ชำนาญ ... .
    การโดยสารยานพาหนะ.

    พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นมีอะไรบ้าง

    1.4 พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นในชุมชน มีระดับความเสี่ยงตั้งแต่เสี่ยงน้อย จนถึงเสี่ยงมาก ดังนี้ 1) พฤติกรรมการแต่งกายเปิดเผยสัดส่วนของร่างกาย 2) พฤติกรรมการใช้สังคมออนไลน์ 3) พฤติกรรมการปกปิด ความจริงเพื่อโดดเรียน หนีเที่ยว 4) พฤติกรรมการมีแฟน และ การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน