การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ หมายถึง

กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน


เป็นฝ่ายที่รับผิดชอบ การดำเนินงานคุ้มครองความปลอดภัยประชาชนผู้บริโภคจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ และบริการสุขภาพ ได้แก่ อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษ สถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงสาธารณสุข โดยอาศัยหลักวิชาการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การวางแผนและจัดระบบงานด้านเภสัชกรรม ของสถานบริการสาธารณสุขในจังหวัด ให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการสาธารณสุขของประเทศ การสนับสนุนการดำเนินงาน สาธารณสุขมูลฐานในจังหวัด การแพทย์แผนไทย ตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุน การผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน


ความรับผิดชอบ

คุ้มครองผู้บริโภค ให้ได้รับบริการสุขภาพและใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย


การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ หมายถึง
ขอบเขตของงาน


1. การส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรชุมชน มีความรู้ ในการบริโภคอย่างถูกต้องและมีส่วนร่วมในการคุ้มครองและปกป้องสิทธิผู้บริโภค
2. การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความรู้และจิตสำนึกในการดำเนินการให้ถูกต้อง และพัฒนาคุณภาพในการประกอบการ
3. การส่งเสริมการใช้มาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. การดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5. การเฝ้าระวังการดำเนินการที่ไม่ถูกกฎหมาย
6. การรับเรื่องราวร้องทุกข์และประสานการแก้ไข รวมทั้งการดำเนินการแก้ไขในเชิงระบบ

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ หมายถึง

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ หมายถึง

อ่านแล้ว 39,455 ครั้ง  

ตั้งแต่วันที่ 11/09/2556

อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว


Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/ydyg7v4o

เมื่อผู้บริโภคเกิดปัญหาหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการด้านสุขภาพ และสิทธิด้านสุขภาพ ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องความเป็นธรรมได้โดยใช้กระบวนการทางกฎหมาย กล่าวคือ

  1. การฟ้องทางคดีอาญา : เมื่อผลที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความเสียหายถึงชีวิต หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจอันเนื่องมาจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือการรับบริการด้านสุขภาพ หรือถูกหลอกลวง ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน (ตำรวจ) และตำรวจจะส่งฟ้องคดี ตามประมวลกฎหมายอาญา หากองค์ประกอบความผิดครบถ้วน โดยเฉพาะการมีเจตนา เล็งเห็นผลหรือประสงค์ต่อผลให้เป็นอย่างนั้น หรือประมาท ผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษอาญา และผู้เสียหายสามารถนำผลจากการพิจารณาคดีอาญาไปฟ้องต่อในทางแพ่ง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายต่อไป
  2. การฟ้องทางคดีแพ่ง : ในกรณีที่ผลที่เกิดขึ้นทำให้ผู้บริโภคเกิดความเสียหายกับชีวิต สุขภาพ หรือทรัพย์สิน เข้าข่ายการละเมิด หรือ การกระทำที่เข้าข่ายการผิดสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้เสียหายสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งได้ ปัจจุบัน มี พรบ วิธีพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภค และ พรบ.ความรับผิดต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัย สามารถช่วยผู้บริโภค ฟ้องคดีทางแพ่งได้มาก เพราะสร้างสมดุลย์ระหว่าง 2 ฝ่าย

ปัญหาคือกระบวนการเข้าถึงความยุติธรรมนั้นยุ่งยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีอาญาซึ่งใช้ระบบกล่าวหา ผู้กล่าวหาต้องแสดงหลักฐานให้ครบ มีภาระในการพิสูจน์ต่อศาลโดยปราศจากข้อสงสัย สำนวนคดีต้องสมบูรณ์ ต่างจากระบบไต่สวนที่ให้ศาลสามารถสืบความเองได้ ศาลจะช่วยแก้ไขข้อที่ไม่ถูกต้องได้ เช่น ศาลคดีผู้บริโภคหรือศาลแรงงาน ส่วนในกรณีของคดีทางแพ่ง ผู้บริโภคก็มีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บหลักฐานหรือข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการในการพิทักษ์สิทธิ์ อย่างไรก็ดีผู้บริโภคสามารถขอความช่วยเหลือจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หรือองค์กรผู้บริโภค เช่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อช่วยดำเนินการให้เกิดความเป็นธรรมเพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้กระทำผิดเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้เสียหายสามารถร้องต่อสภาวิชาชีพเพื่อให้ลงโทษทางจรรยาบรรณวิชาชีพได้อีกทาง
กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่หน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าด้านการคุ้มครองผู้บริโภครับผิดชอบในการบังคับใช้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งผู้ผลิตสินค้าและบริการที่ฝ่าฝืนกฎหมายจะได้รับโทษทางอาญา หลายฉบับ เช่น พรบ. ยา พรบ. อาหาร พรบ.สถานพยาบาล เป็นต้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
กฏหมายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522, ประมวลกฎหมายอาญา, จริยธรรมจากสภาวิชาชีพ ของแพทยสภา สภาทันตแพทย สภาเภสัชกรรม สภาพยาบาล, กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่รับผิดชอบโดยกระทรวงสาธารณสุข, กฎหมายเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่รับผิดชอบโดยกระทรวงพาณิชย์, ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 หมวด 8 ในเรื่องของ การคุ้มครองผู้บริโภค
หน่วยงานภาครัฐเกี่ยวข้องกับกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ที่สำคัญมี 3 ด้านคือ

  1. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัย หน่วยงานหลัก คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในส่วนภูมิภาค คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
  2. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคด้านความเป็นธรรม ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม
  3. องค์กรที่มีวัตถุประสงค์พิทักษ์สิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคโดยรวม ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ) จังหวัดและท้องถิ่น คณะทำงานการสาธารณสุข พัฒนาคุณภาพชีวิต และคุ้มครองผู้บริโภค (สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
    องค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อสาธารณะประโยชน์ องค์กรภาคประชาชน องค์อิสระ และ องค์วิชาชีพ ที่มีบทบาทมาก เช่น
    1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
    2. สภาวิชาชีพ
    3. องค์กรอิสระด้านผู้บริโภค องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน
    4. แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.)
    5. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
    6. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชน
    7. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภควุฒิสภา
    8. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด (คคจ.)
    ผลงานและผลผลิตของหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วยงานประจำทั้งในเชิงรุกและรับ เช่น การสำรวจสถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับการบริโภค สินค้าและผลิตภัณฑ์ พัฒนารูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภค พัฒนาแนวทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคให้ถึงกลุ่มต่างๆ ในชุมชนอย่างครอบคลุม สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างแกนนำเยาวชน ครู เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ หมายถึง

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขหมายถึงอะไร

เป็นฝ่ายที่รับผิดชอบ การดำเนินงานคุ้มครองความปลอดภัยประชาชนผู้บริโภคจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ และบริการสุขภาพ ได้แก่ อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษ สถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงสาธารณสุข โดยอาศัยหลักวิชาการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ...

การคุ้มครองผู้บริโภคหมายถึงอะไร

สรุป การคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง การป้องกัน ปกป้อง ระวัง ดูแล พิทักษ์รักษา อารักขา กันไว้ ไม่ให้ผู้ที่ซื้อของมาใช้ ผู้กิน ผู้เสพ ผู้ใช้สอย ผู้น ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ เกิดภัยอันตราย บาดเจ็บ หรือเกิด ความเสียหาย ความส าคัญในการคุ้มครองผู้บริโภค

การคุ้มครองผู้บริโภคมีกี่ด้าน อะไรบ้าง

1. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้เสียเปรียบผู้ผลิต 2. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา 3. เพื่อควบคุมสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 4. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย

หน่วยงานใดที่รับผิดชอบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ

อย. เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภคจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และวัตถุเสพติดที่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ รวมไปถึงส่งเสริมข้อมูลที่ถูกต้องถูกหลักวิชาการมีประโยชน์ต่อผู้บริโภค ...