ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด

 สมเด็จพระบรมราชชนกบิดาแห่งการแพทย์ไทยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่วงการแพทย์ไทยและประชาชนทรงพัฒนาการแพทย์เพื่อประชาชนมีสุขภาพที่ดี

ดุจเดียวกับพระปิยะมหาราชผู้เป็นที่รักร.๕ที่ปลดปล่อยทาสให้เป็นไทและพาประเทศชาติให้พ้นภัยรักษาเอกราชความเป็นไทรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของลัทธิล่าอาณานิคม

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
พระราชประวัติ

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ทรงเป็นพระองค์ที่ 69 ในจำนวนพระราช โอรส พระราชธิดา 77 พระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระ องค์ที่ 7 ในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงพระราชสมภพในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันศุกร์ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 (ค.ศ.1891) มีพระนามเต็มว่า "สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหิดล อดุลยเดชนเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรสิริสวัสดิ์ขัตติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐลักษณะวิจิตรพิสิฏฐบุรุษย์ ชนุดมรัตนพัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร"

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
เมื่อยังทรงพระเยาว์ ประทับอยู่กับสมเด็จพระราชชนนีในพระบรมมหาราชวัง โดยมีกรมหลวงสมรรัตน ศิริเชษฐ์ เป็นผู้ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด พระพี่เลี้ยง คือ มจ. กุสุมาเกษมสันต์ พระพลานามัยไม่สมบูรณ์นัก ต้องเสวย น้ำมันตับปลาเป็นประจำ พระกระยาหารที่ทรงโปรดมาก คือ ปลากุเลากับส้มโอฉีก ส่วนเครื่องหวานทรงโปรดอ้อยควั่นแช่น้ำดอกไม้สด

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
สมเด็จพระบรมราชชนกได้รับการถวายพระอักษรตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์มากที่โรงเรียนราชกุมาร ในพระ บรม มหาราช วัง โดยมีพระยาอิศรพันธุ์โสภณ (หนู) เป็นพระอาจารย์ภาษาไทยคนแรก ทรงมีพระสหายสนิท คือ สมเด็จ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ในส่วนพระราชจริยาวัตรนั้น ไม่ทรงถือพระองค์และทรงมี น้ำพระทัยเมตตากรุณา ต่อบรรดาประชาราษฎร์มาแต่ยังทรงพระเยาว์

 
พระราชพิธีโสกันต์และพระราชทานพระสุพรรณบัตร

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เมื่อพระชนม์ได้ 12 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราช พิธีมหามงคลโสกันต์ มีการสมโภช 7 วัน 7 คืน ตั้งแต่ วันที่ 24 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2446 หลังโสกันต์แล้ว

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
"เป็นพระราชประเพณีโบราณมา ที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า เมื่อทรงพระชันษาเจริญขึ้น สมควรกาลแล้ว ก็พระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนาม ตามควรที่ตั้งอยู่ในพระบรมราชตระกูลอันสูงศักดิ์ บางพระ องค์ โปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงพระเกียรติยศเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม ทรงศักดินาเต็มตามพระราชกำหนด เป็นธรรมเนียมสืบ มา ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายมหิดลทรงพระเจริญวัย สมควรได้รับพระสุพรรณบัตร เฉลิมพระนามตามขัตติยราชประเพณี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีพระราชพิธีตามอย่างที่เคยมีมาแต่ก่อน ให้สถาปนาสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดล อดุลยเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรสิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติ ประกฤษฐ์ ลักษณวิจิตรพิสิฏฐบุรุษย์ ชนุดมรัตนพัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร กรมขุนสงขลานครินทร์ มุสิกนาม ให้ทรงศักดินา 40,000 ตามพระราชกำหนด อย่างสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าต่างกรม ในพระบรมราชตระกูลอันสูงศักดิ์"

  ทรงผนวช

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2447 หลังจากพิธีโสกันต์ได้ 1 ปี สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงผนวชเป็น สามเณรที่วัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช) ซึ่งการนี้มีการสมโภชที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ระหว่างทรงผนวชประทับที่ "ตำหนักทรงพรต" ทรงลาผนวช เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2447

เสด็จศึกษาในต่างประเทศ

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้พระราชโอรส 3 พระองค์ ที่ทรงอยู่ใน วัยที่สมควรและทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์ เสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ยุโรป ดังที่เคยทรง ปฏิบัติมากับพระราชโอรสที่ทรงแข็งแรงพอ ในครั้งนี้พระราชโอรส ทั้ง 3 พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธฯ กรมขุน นครราชสีมา สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล อดุลยเดชฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ และสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑารุชธราดิลกฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทรา ไชย ได้เสด็จออกจากกรุงเทพ ฯ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 (ค.ศ.1905) ถึงลอนดอนวันที่ 11 มิถุนายน ปีเดียวกัน

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
สมเด็จพระบรมราชชนก เสด็จไปประทับกับครอบครัวนายคอลเชสเตอร์วิมส์ ในเมืองเล็ก ๆ เพื่อให้ภาษาอังกฤษ และความรู้อื่น ๆ ดีขึ้น ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2449 (ค.ศ.1906) ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนแฮร์โรว์เป็นเวลาปีครึ่ง

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) ได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาทหารบกที่เมืองปอตสดัม ประเทศเยอรมณี ทรง ศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยชั้น ต้น พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์ม ได้จัดนายร้อยเอกเอ็กเป็นพระอภิบาล เมื่อทรงจบหลักสูตรโรงเรียนนายร้อยชั้นต้นแล้ว เสด็จเข้าโรงเรียนนายร้อยชั้นสูงที่ โกรสลิชเตอร์เฟลเด้ (Gross Lichterfelde) ทรงศึกษาโรงเรียนนี้ 2 ปี ในปีสุดท้ายทรงมีพระประสงค์จะเปลี่ยนเหล่าทัพ ไปศึกษาวิชาทหารเรือแทนที่จะเป็น ทหารบก พระเจ้าไกเซอร์ทรงอนุญาตด้วยเงื่อนไขว่า ต้องทรงสอบวิชาทหารบกได้ก่อน ซึ่งก็ทรงทำได้อย่างดี สมเด็จพระ บรมราชชนก ได้เสด็จไปทรงศึกษาในโรงเรียนนายเรือที่ Imperial German Naval College ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ ทรงสอบได้เป็นที่ 1 และในปีสุดท้ายของการศึกษา ทรงชนะการประกวดการออกแบบเรือดำน้ำ

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ในปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ.1911) ทรงสำเร็จการศึกษาเป็นนายเรือตรีในกองทัพเรือเยอรมัน และได้รับพระ ราชทานยศจากเมืองไทย เป็นนายเรือตรีแห่งราชนาวีไทย เมื่อพระชนมายุได้ 21 พรรษา ทรงรับราชการในกองทัพเรือเยอรมันเป็นเวลา 3 ปี

เจ้าฟ้าทหารเรือ

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ในปีพุทธศักราช 2457 (ค.ศ.1914) เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้น สมเด็จพระบรมราชชนกทรง ลาออกจากกองทัพเรือเยอรมัน เสด็จนิวัติประเทศไทย และเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือ ในตำแหน่งสำรองราชการ กรมเสนาธิการทหารเรือได้รับพระราชทานยศเป็นนายเรือโท ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2458 หลังจากทรง ศึกษาระเบียบราชการทหารเรือ และวิธีบริหารราชการจาก กรมเสนาธิการทหารเรือ ประมาณ 4 เดือน ทรงย้ายไปรับตำแหน่งในกองอาจารย์นายเรือ แผนกตำรากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เพื่อจะได้ทรงมีเวลาศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรของวิชา และวิธีการสอนในโรงเรียนนายเรือ ทรงสนพระทัยในการสอนนักเรียนนายเรือเป็นอย่างยิ่ง สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงสนพระทัยและเชี่ยวชาญทาง เรือดำน้ำและเรือตอร์บิโดรักษาฝั่งซึ่งทรงศึกษามาจากประเทศเยอรมัน

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ในปีพุทธศักราช 2458 (ค.ศ.1915) เป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระ ราชประสงค์จะบูรณะกองทัพเรือซึ่งขณะนั้นเล็กมาก จึงได้จัดให้มีการประชุมนายทหารเรือ สมเด็จพระบรมราชชนกถวายความเห็นว่าเมืองไทยเป็นประเทศเล็ก ไม่มีฐานทัพเรือและอู่ใหญ่ๆ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะมีเรือรบใหญ่ ควรใช้เรือเล็ก ๆ เช่นเรือดำน้ำ และเรือตอร์ปิโด ซึ่งเข้าแม่น้ำได้สะดวกจะมีประโยชน์กว่า แต่ในสมัยนั้นผู้ใหญ่ส่วนมาก ได้ศึกษามาจากประเทศอังกฤษ มีความเห็นว่าควรมีเรือใหญ่ เพื่อจะได้ฝึกทหารไปในตัว และคิดว่าจะใช้เรือขนาดครูเซอร์ สมเด็จพระบรมราชชนก ขณะ นั้นดำรงพระยศสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ก็มิได้ทรงถืออำนาจ ทรงยอม รับฟัง แต่น้อยพระทัยว่าอุตส่าห์ไปทรงศึกษาวิชานี้โดยตรงจากประเทศเยอรมัน ครั้นถึงเวลาปฏิบัติงานจริง กลับไม่ได้ดังพระประสงค์ ต่อมาทรงลาออกจากประจำการเมื่อ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2459 (ค.ศ.1916) รวมเวลาที่ทรงรับราชการในกระทรวงทหารเรือ 9 เดือน 18 วัน ภายหลังได้พบเอกสารลายพระหัตถ์เป็นภาษา เยอรมันและ มีภาพร่างเรือรบแบบต่าง ๆ หลังจากดำเนินการแปลแล้ว ทำให้ทราบว่า ขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกยังทรงรับราชการทหารเรือนั้น ทรงจัดทำโครงการเกี่ยวกับเรือดำน้ำ และทรงร่างโครงการสร้างกำลังทางเรือทั้งกองทัพไว้อีกด้วย แต่ยังไม่ได้ทรงจัดทำเป็นการงานให้ เรียบร้อย ก็ทรงลาออกจากกระทรวงทหารเรือในสมัยนั้นเสียก่อน

องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขไทย

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ในปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ.1916) สมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรง ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง และ ผู้บัญชาการราชแพทยาลัย ทรงพิจารณาเห็นว่า โรงเรียนแพทย์อยู่ในฐานะล้าหลังมาก เมื่อเทียบกับโรงเรียน แพทย์ ในทวีปยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์ ทรงตกลงพระทัยที่จะปรับปรุงเป็นการใหญ่ แต่ต้องประสบ อุปสรรค คือ หาผู้ที่มีวิชามาเป็นอาจารย์ไม่ได้ จึงได้ทรงพยายามชักชวนผู้ที่มีความรู้มาร่วมงาน พร้อมทั้งได้ขอร้องให้กระทรวงธรรมการติดต่อกับมูลนิธิร็อกกี เฟลเลอร์ ให้ช่วยจัดอาจารย์ในวิชากายวิภาคศาสตร์ , สรีรวิทยา , พยาธิวิทยาและศัลยกรรม ซึ่งในครั้งกระนั้นประเทศไทยได้ผู้เชี่ยวชาญมาเพียงคนเดียว คือ ดร . เอ จี เอลลิส ซึ่งต่อมาได้เป็นกำลังสำคัญในการปรับปรุง โรงเรียนแพทย์ สมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ได้เสด็จไปเฝ้าสมเด็จพระบรมราชชนก และทรง โน้มน้าวให้หันมาสนพระทัยการแพทย์ และสาธารณสุข เสด็จในกรม ฯ ได้ทรงออกอุบายเชิญเสด็จประทับเรือยนต์ประพาสทางน้ำ เรือแล่นไปตามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านเข้าคลองบางกอกน้อย พอเรือออกปากคลองบางกอกน้อย จึงทูลเชิญขอให้ทรงแวะที่ศิริราชพยาบาล ซึ่งเป็นที่ทำงานของเสด็จในกรมฯ สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทอดพระเนตรโรงคนไข้ ซึ่งเป็นเรือนไม้หลังคาจาก มีที่ไม่พอรับคนไข้ มีคนไข้นั่งรอนอนรออยู่ตามโคนไม้ อุปกรณ์การรักษา พยาบาลขาดแคลน โรงเรียนแพทย์มีเครื่องมือในการเรียนไม่พอเ พียง สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงทราบถึงความยากลำบากและขาดแคลนของศิริราช ทรงสลดพระทัยเป็นอันมาก เสด็จในกรมฯ กราบทูลวิงวอนให้สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงช่วยจัดการการศึกษาแพทย์ เสด็จในกรมฯ ประทานเหตุผลที่ทรงทำเช่นนั้นว่า เพราะสมเด็จเจ้า ฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นสูง ถ้าเข้ามาทรง จัดการเรื่องนี้แล้วจะทำให้กิจการแพทย์เด่นขึ้น มีผู้โดยเสด็จช่วยเหลืองานมากขึ้น อนึ่งทูลกระหม่อมทรงมีรายได้สูงแต่พอพระทัยจะใช้ในการบำเพ็ญพระกุศลสาธารณะ และประการสำคัญที่สุดทรงเป็นเจ้าฟ้าที่มีพระปัญญาหลักแหลม มีความเพียรกล้า จะทรงทำอะไรก็ทรงทำจริงไม่ย่อท้อ กิจการแพทย์จะเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว ถ้าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงตกลงพระทัยที่จะจัดการเรื่องการแพทย์ "สมเด็จพระบรม ราชชนก ทรงรับสั่งว่าพระองค์เป็นทหารเรือจะช่วยได้อย่างไร" ในที่สุดก็ตกลงพระทัยจะทรงช่วย ในการปรับปรุงการแพทย์ของประเทศไทย โดยเสด็จไปทรงศึกษาวิชาเฉพาะเสียก่อน เพื่อจะให้งานได้ผลจริง ๆ

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงสนพระทัยทางด้านการสาธารณสุข ได้เสด็จเข้าศึกษาวิชาสาธารณสุขที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2460 ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ทรงสนพระทัยและ เป็นห่วงกิจการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศตลอดเวลา ทรงตระหนักว่าการสาธารณสุขจะได้ผลดีก็ต้องมี แพทย์ที่มีคุณภาพสูง และการจะมีแพทย์ที่มีคุณภาพสูงนั้นจะต้องมีการศึกษาแพทย์ที่เหมาะสม ได้พระราชทานทุนให้แก่นักเรียนแพทย์ ไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาจำนวน 2 ทุน ซึ่งทางโรงเรียนแพทย์ได้คัดเลือกให้ตามพระราชประสงค์ และมีนักเรียนพยาบาล 2 คนที่ได้รับทุนจากสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า คือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและนางลิปิธรรม ศรีพยัตต์ นักเรียน ทุนส่วน พ.ศ. 2460 สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงดูแลเอาใจใส่นักเรียนของพระองค์ ทรงแนะนำวิธีการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีของต่างประเทศ ทรงอบรมให้รู้จักกระเหม็ดกระแหม่ ทรงรับสั่งเตือนสติเสมอว่า "เงินที่ฉันได้ใช้ออกมาเรียน หรือให้พวกเธอออกมาเรียนนี้ไม่ใช่เงินของฉัน แต่เป็นเงินของราษฏรเขาจ้างให้ออกมาเรียน ฉะนั้นเธอต้องตั้งใจเรียนให้ดี ให้สำเร็จเพื่อจะได้กลับไปทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ และขอให้ประหยัดใช้เงิน เพื่อฉันจะได้มีเงินเหลือไว้ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป" เรื่องการประหยัดกระเหม็ดกระแหม่ใช้จ่ายเงินทองนั้นมิได้เพียงแต่ รับสั่งอย่างเดียว พระองค์เองก็ทรงปฏิบัติด้วย เช่น ถุงพระบาท ขาดก็ทรงชุนเอง ซักผ้าเช็ดพระพักตร์ ถุงพระบาทหรือสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมทั้งทรงล้างและทำความสะอาดรถยนต์ด้วยพระองค์เอง ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ที่ฮาร์วาร์ดนี้ ทรงใช้พระนามว่า "มิสเตอร์มหิดล สงขลา" นับเป็นที่ชื่นชมของชาวอเมริกามาก ดังจะเห็นได้จากบทความของ ดร. เอลลิส กล่าวไว้ว่า "ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด" ก็ทรงเป็นเพียงนักเรียนแพทย์ ผู้หนึ่งไม่ใช่เจ้านาย ในพระนามบัตรก็มีว่า "มิสเตอร์มหิดล สงขลา" ในเวลาที่ประทับอยู่ในประเทศที่ไม่มีเจ้านาย พระองค์ท่านก็ไม่ใช่เจ้านาย เราถือว่าการที่วางพระองค์เช่นนี้ เป็นการให้เกียรติยศอันแท้จริงแก่ ประเทศของเราและสมกับพระลักษณะของการเป็นเจ้านายที่แท้จริง"

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
พระกรุณาธรรมและเมตตาธรรมของ สมเด็จพระบรมราชชนก นั้น มิได้ทรงพระราชทานเฉพาะกับคนไทยเท่านั้น ทรงเผื่อแผ่ไปถึงชาวต่างชาติที่มาร่วมเรียนด้วย ครั้งหนึ่งทรงทราบว่าพระสหายชาวเม็กซิโก ซึ่งตั้งใจจะกลับไปทำประโยชน์ให้แก่เพื่อร่วมชาติของเขา เกิดขาดเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของตน ก็ทรง พระกรุณา พระราชทานเงินให้เขาเดือนละ 100 เหรียญจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ขณะทรงศึกษาวิชาสาธารณสุขชั้นปีที่ 3 ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จกลับมาร่วมงาน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชริน ทราบรมราชชนนี พระพันปีหลวง และประทับอยู่ในพระนค รชั่วระยะหนึ่ง ก่อนที่จะเสด็จกลับสหรัฐอเมริกาเพื่อทรงศึกษาต่อ ช่วงระยะเวลาที่ประทับอยู่ในพระนครนี้พระองค์ มิได้ทรงอยู่เฉย ได้เสด็จห้องทดลองที่ศิริราชเพื่อศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เชื้อโรคบิดอะมีบาและตัวเชื้อโรคไข้มาลาเรียที่ทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด นอกจากนี้ ยังทรงพระเมตตาสอนนักศึกษาเตรียมแพทย์ ในแผนกอักษร ศาสตร์และวิทยาศาสตร์ รวมทั้งยังทรงปลีกเวลาเรียบเรียงเรื่องโรคทุเบอร์คุโลลิส คือโรคฝีในท้อง หรือวัณโรค พระราชทานแก่กรมสาธารณสุขเพื่อจัดพิมพ์

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2463 สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงอภิเษกสมรสกับนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) หลังจากนั้นสมเด็จพระบรมราชชนกพร้อมพระชายาได้เสด็จยังประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อทรงศึกษาต่อ ในการเสด็จครั้งนี้ ได้ทรงพระราชทานทุนส่วนพระองค์แก่เจ้าหน้าที่ในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ทำงานร่วมกับพระองค์ตามเสด็จไปศึกษาด้วย

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
สมเด็จพระบรมราชชนกทรงสำเร็จการศึกษา ได้รับประกาศนียบัตรการสาธารณสุขเมื่อ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2464 และได้เสด็จยุโรปพร้อมพระชายาประทับที่เอดินเบอร์ก ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการเจรจากับ มูลนิธิร็อกกี เฟลเลอร์ เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านการศึกษาวิชาแพทย์ในประเทศไทย การเจรจานั้นทรงกระทำหลายครั้ง ซึ่งบรรลุผลสำเร็จให้กับรัฐบาลไทย

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
การเสด็จยุโรปนี้ทรงตั้งพระทัยจะศึกษาวิชาแพทย์ ที่มหาวิทยาลัย เอดินเบอร์ก ให้จบแต่มีอุปสรรคเนื่องจากประชวรด้วยโรคของพระวักกะ ประกอบกับที่อังกฤษมีอากาศชื้นและหนาวเย็น ไม่เหมาะกับโรค ในที่สุดสมเด็จ พระบรมราชชนกก็ต้องเสด็จนิวัติพระนคร เพราะมีพระราชโองการของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ทรงเข้ารับตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ไม่นานนักก็ทรงรู้สึกเบื่องานประจำโต๊ะ ซึ่งคอยมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมความ ตรวจแก้ไข ข้อบกพร่องของผู้น้อย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งบั่นทอนพระวรกาย ต่อมาได้ทรงสอนวิชาว่าด้วยกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง และวิชาประวัติศาสตร์แก่นักเรียนเตรียมแพทย์ สมเด็จพระบรมราชชนกทรงห่วงใยนักเรียนของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ไม่เฉพาะแต่การเรียนเท่านั้น แม้ในด้าน ส่วนตัว การอยู่การกินได้เสด็จตรวจหอพักโดยไม่ทรงบอกกล่าว ล่วงหน้า สิ่งที่ทรงพร่ำสอนแก่นักเศึกษาแพทย์ทั้งหลายคือ

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
"อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ แพทย์ที่ดีจะไม่ร่ำรวย แต่ไม่อดตาย ถ้าใครอยากร่ำรวย ก็ควรประกอบอาชีพอื่น" ต่อมาทรงพ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย และทรงรับตำแหน่งข้าหลวงสำรวจการศึกษาทั่วไป เป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นเฉพาะพระองค์เท่านั้น

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ตามตำแหน่งจะทรงมีสิทธิตรวจและแนะนำงานต่างๆ ได้กว้างขวางขึ้น การที่ทรงตรากตรำทำงานอย่างหนักทั้งเรื่องการก่อสร้างตึก การจัดการโรงเรียน โรงพยาบาล และการเกี่ยวกับหลักการของมหาวิทยาลัย (พ.ศ.2466 - 2468) ทำให้พระอนามัยทรุดโทรม ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2468 ทรงรู้สึกพระองค์ว่าจะต้องรับการรักษา จึงทรงโปรดให้นายแพทย์ผู้หนึ่งตรวจพระอาการ ได้รับคำกราบทูล แนะนำให้เสด็จไปรักษาพระองค์ที่ยุโรปหรืออเมริกาซึ่งมีอากาศเหมาะกับพระอาการ

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
จากเหตุดังกล่าวแล้วยังมีสิ่งอื่นที่เร่งเร้ากระตุ้นให้เสด็จต่างประเทศ เพื่อทรงศึกษาวิชาแพทย์ให้สำเร็จ

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
"ฉันหวังว่าการรักษาตัวของฉันจะได้ผลดีขึ้น เท่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้ยังไม่แน่ใจว่าควรจะเรียนต่อไปหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดีฉันรู้สึกว่า ถ้าฉันจะทำงานเกี่ยวข้องกับโรงเรียนแพทย์อีกต่อไปแล้ว ควรอย่างยิ่งที่จะเรียนให้จบหลักสูตรแพทย์ ในระหว่างสองปีที่อยู่ในกรุงสยาม ฉันรู้สึกตัวว่าฉันยังเป็นรองอยู่มาก"

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2468 สมเด็จพระบรมราชชนก เสด็จยุโรปพร้อมพระชายาและพระธิดา ครั้งนี้ได้ทรงให้เจ้าหน้าที่ใน แผนกฟิสิกส์คนหนึ่งตามเสด็จ เพื่อไปศึกษาเพิ่มเติมด้วยทุนส่วนพระองค์

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงเข้าศึกษาวิชาแพทย์ต่อในชั้นปีที่ 3 ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทรงสนพระทัยในวิชากุมารเวชศาสตร์ ทรงศึกษาเกี่ยวกับแบคทีเรียและลักษณะทางคลีนิคของโรคท้องเดินในเด็ก ซึ่งทรงคิดว่าจะเป็นประโยชน์เมื่อเสด็จกลับประเทศไทยและทรงสนพระทัยเป็นพิเศษเกี่ยวกับวิชามารดาทารกสงเคราะห์

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ระหว่างที่ทรงศึกษาแพทย์ในปีสุดท้าย ทรงใช้เวลาและพลกำลัง มากเกินไปจนเป็นเหตุ ให้อาการพระโรค ของพระวักกะอักเสบ (ระบบไต) ได้กำเริบขึ้น คณะแพทย์คิดว่าพระอาการจะไม่ฟื้นดีขึ้นได้จึงถวายคำแนะนำ มิให้ทรงตรากตรำเข้าสอบไล่ แต่ต่อมาพระอาการดีขึ้นจึงทรงเข้าสอบจนสำเร็จได้เกียรตินิยม Cum Laude เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2471

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ในเดือนธันวาคม ทรงมีลายพระหัตถ์ทูลเสด็จในกรมฯเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ขอกลับมาเป็นแพทย์ประจำบ้านที่โรงพยาบาลศิริราช 1 ปี หลังจากทรงจบการศึกษาแล้ว ซึ่ง คณะแพทย์ศาสตร์ไ ด้ตกลงและเตรียมจะถวายตำแหน่งหัวหน้า แพทย์ประจำบ้าน แต่ก็มิได้สำเร็จดังพระราชประสงค์ เนื่องด้วยพระอิสริยยศ ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์รัชทายาทด้วย เนื่องจากพระพลานามัยไม่สมบูรณ์ จึงทรง ระงับการศึกษาต่อในเรื่องโรคเด็กที่ทรงกำหนดไว้แต่แรก ก่อนเสด็จนิวัติพระนคร สมเด็จพระบรมราชชนก ได้เสด็จประพาสยุโรป เพื่อเป็นการพักฟื้น และเสด็จเยี่ยมนักเรียนทุนส่วนพระองค์ รวมทั้งทอดพระเนตรงานในสถาบันการแพทย์ต่างๆ ทรงเสด็จถึงพระนครเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2471

  พระราชกรณียกิจ หลังจากที่ทรงเป็นแพทย์โดยสมบูรณ์แล้ว

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
พระราชกรณียกิจประการแรก คือพระราชทานทุนให้ นักเรียนออกไปศึกษาขึ้น 10 ทุน ในสาขาการแพทย์ สาธารณสุข พยาบาล และในแขนงวิชาเตรียมแพทย์ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2471 สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงแสดงปาฐกถาในการประชุมใหญ่ประจำปีของแพทยสมาคม ความตอนหนึ่งดำรัสว่า "การที่พระองค์ทรงศึกษาวิชาแพทย์นั้นทำให้ทรงได้รับความสนุกและพอพระทัย แต่พระราชประสงค์ที่แท้จริงคือ เพื่อจะทำพระองค์ให้เป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติ ในประเทศไทยนั้นยังมีหนทางอีกมาก ที่จะช่วยกันบำรุงการแพทย์ให้เจริญขึ้นได้ และควรจะช่วยกันทำการค้นคว้าเรื่องราวสมมุติฐานของโรคในเมืองนี้" และเพื่อสนับสนุนให้มีการค้นคว้าได้ พระราชทานทุนค้นคว้า 2 ทุนแก่แพทย์ที่สำเร็จใหม่ ชื่อ "ทุนสอนและค้นคว้าของโรงพยาบาลศิริราช"

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
สมเด็จพระบรมราชชนกทรงมีความเห็นว่านักเรียนแพทย์ ที่สำเร็จจากต่างประเทศ ซึ่งอยู่ในเขตหนาวและได้ศึกษาเฉพาะโรคที่เกิดขึ้นในเขตนั้น เมื่อกลับมาประเทศไทยควรจะศึกษาต่ออีก 1 ปี จึงจะถือว่ามีความรู้และความชำนาญโรคของประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักที่ทำให้ทรงมีพระราชหัตถเลขามาก่อนที่จะเสด็จนิวัติประเทศไทย แต่ทางการก็มิอาจทำได้ดังพระราชประสงค์ เป็นเหตุให้ไม่ทรงพอพระราชหฤทัยและเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลเองก็เสียใจ ที่ไม่ได้พระองค์มาช่วยงานที่ศิริราช

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
สมเด็จพระบรมราชชนก จึงทรงเปลี่ยนพระราชหฤทัยเสด็จโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลก็กระตือรือร้นรอรับเสด็จ

  หมอเจ้าฟ้าที่เชียงใหม่

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
24 เมษายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จถึงจังหวัดเชียงใหม่ ทรงประทับกับครอบครัว ดร. อี.ซี. คอร์ท ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขณะนั้น ที่ประทับเป็นตึกเล็ก ๆ และทรงมีมหาดเล็กเพียงคนเดียว เวลาส่วน ใหญ่ทรงใช้ไปกับผู้ป่วย ในโรงพยาบาล ทรงปฏิบัติพระองค์เยี่ยงแพทย์ธรรมดาสามัญผู้หนึ่ง

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
สมเด็จพระบรมราชชนก จะทรงออกตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก พร้อมกับหมอคอร์ท ทรงโปรดรักษาเด็ก และโรคประสาทต่าง ๆ ทรงทำงานด้านห้องทดลองด้วยพระองค์เอง ตอนกลางคืนก่อนบรรทม ก็จะเสด็จออกตรวจคนไข้ทุก ๆ เตียง ถ้าคืนใดมีการตามหมอคอร์ทกลางดึก ถ้าทรงทราบก็จะเสด็จด้วย หรือถ้าหมอคอร์ทไม่อยู่ก็จะเสด็จออกตรวจแทนทุกครั้ง นอกจากทรงมีพระเมตตาผู้ป่วยแล้ว พระราชอัธยาศัยและการวางพระองค์ต่อบรรดาแพทย์และพยาบาล ก็เป็นไปอย่างละมุนละม่อมไม่ถือพระองค์ ชาวเมืองเชียงใหม่ขนานพระนามของพระองค์ว่า "หมอเจ้าฟ้า" สำหรับสุขภาพของพระองค์ระหว่างประทับที่เชียงใหม่ ทรงตรวจพบว่ามีไข่ขาวในพระบังคลเบาเสมอ นอกจากนั้นก็มีอาการพระโลหิตจาง แต่ก็มิได้ทรงย่อท้อที่จะทรงงาน สมเด็จพระบรมราชชนก ประทับ ที่เชียงใหม่ประมาณ 3 สัปดาห์ ก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 เนื่องในพระราชพิธี ถวายพระเพลิงสมเด็จกรมพระยาภานุพันธ์วงศ์วรเดช ทรงมีพระราชประสงค์จะเสด็จไปเชียงใหม่ แต่ก็มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์ เนื่องจากทรงพระประชวร ต้องประทับในตำหนักวังสระปทุม โดยไม่ได้เสด็จออกจากวังอีกเลย ระหว่างที่ประชวรหนักมิได้เสด็จที่ใดนั้น ได้ทรงดัดแปลงห้อง ในพระตำหนักเป็นห้องปฏิบัติการเพื่อจะได้ใช้ศึกษางานต่อไป

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงมีพระราชหฤทัยห่วงศิริราชอย่างล้นเหลือ ยามใดที่มีผู้ใกล้ชิดเข้าเฝ้าจะรับสั่งถึงงานโรงพยาบาลศิริราชเสมอ พระอาการดีขึ้นและแล้วก็ทรุดลง แพทย์ประจำพระองค์คือ ศาสตราจารย์ที พี โนเบิล และดับบลิว เอช เปอร์กินส์ ได้ถวายการรักษาอย่างสุดความสามารถแต่พระอาการก็ทรุดลงเรื่อย ๆ ได้เสด็จทิวงคตจากพระอาการบวมน้ำที่พระปับผาสะ (ระบบปอด) และพระหทัยวาย เมื่อวันที่ 24 กันยายน พุทธศักราช 2472 เวลา 16.45 น . พระชนมายุ 38 พรรษา

  พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ในช่วงเวลาที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงรับราชการในกองทัพเรือ ได้ทรงจัดทำโครงการเกี่ยวกับเรือ ดำน้ำ ถึงแม้จะไม่ได้ดังพระประสงค์ในช่วงเวลานั้น แต่อีก 20 ปีต่อมา กองทัพเรือก็ได้สั่งต่อเรือดำน้ำจำนวน 4 ลำ คือ เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล นอกจากเรื่องเรือดำน้ำ พระองค์ยังได้ทรงร่างโครงการสร้างกำลังทางเรือทั้งกองทัพไว้อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันกองทัพเรือได้จัด ตั้งฐานทัพเรือและสถานี ทหารเรือ พร้อมกับจัดส่งกำลังทางเรือ ไปประจำตามฐานทัพเรือและสถานีเรือ สอดคล้องกับแนวพระราชดำริโครงการสร้างกองเรือรบ

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ทางด้านการแพทย์ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ทรงเกี่ยวข้องกับการแพทย์ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจไว้มากมาย ทรงอุทิศทั้งพระราชทรัพ ย์และพระวรกาย พระสติกำลังเพื่อการแพทย์โดยแท้ กล่าวคือทรงพระราชทานทุนเพื่อการศึกษาและค้นคว้า พระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อการก่อสร้างตึกต่างๆ และขยายพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
ในด้านการสาธารณสุขทรงเคยสำรวจสุขาภิบาลในกรุงเทพ เพื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศที่ทรงศึกษามา ทรงช่วยอบรมสาธารณสุขมณฑล และเคยทรงปรารภว่าจะให้มีการเผาศพด้วยไฟฟ้า เพื่อให้เป็นไปตามหลักสูตรสุขาภิบาล

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
นอกจากนี้ยังทรงมีน้ำพระราชหฤทัยเมตตา ช่วยเหลือการศึกษาด้านอื่นนอกเหนือจากการแพทย์ เป็นต้นว่า ทรงพระราชทานทุน 1 แสนบาทแก่กรมประมงเพื่อส่งคนไปศึกษาต่างประเทศ กรมประมงถวายราชสดุดีว่าเป็น "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย" พระราชทานทุ น ให้แก่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนเพื่อจัดหาอาจารย์ชาวต่างประเทศมาสอน ทรงพระราชทานเงินให้โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จัดซื้อเครื่องเอกซเรย์ และทรงพระราชทานเงินบำรุงโรงพยาบาลสงขลาเป็นรายปี

ทรง ศึกษา ด้าน การ แพทย์ ที่ มหาวิทยาลัย ฮา ร์ ว่า ร์ ด
การสิ้นพระชนม์ก่อนกาลอันควร ของสมเด็จพระบรมราชชนก เป็นการสูญเสียครั้งสำคัญของชาวไทยทั้งชาติ

เจ้าฟ้าหายากเพี้ยง

หาเพ็ชร ม่วงพ่อ

ทูลกระหม่อมมหิดลเม็ด

เขื่องซ้ำ

โอดครวญฤาด่วนเสด็จ

ศิวโลก เสียรา

สยามชาติประยูรญาตช้ำ

วิโยคเศร้าเสียดาย แสนฮือ

ด้วย สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ อันเป็นประโยชน์ต่อวงการทหารเรือ จนเป็นที่ประจักษ์และทรงได้รับการยกย่องเป็น “เจ้าฟ้าทหารเรือ” ดังนั้น กองทัพเรือ จึงได้เสนอรัฐบาลขอให้นำความกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานพระยศ “จอมพลเรือ” ถวายแด่พระองค์ท่านในการนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ “จอมพลเรือ” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน เมื่อ 8 มกราคม 2541