ท่านตรวจสอบผู้ป่วยที่หมดสติ

ท่านตรวจสอบผู้ป่วยที่หมดสติ

เป็นลม

คือ อาการหมดสติเพียงชั่วคราวเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ มาจากหลายสาเหตุ เช่น เหนื่อยหรือร้อนจัด หิวหรือเครียด ดังนั้น การช่วยเหลือผู้ป่วยขั้นต้นเป็นสิ่งสำคัญมาก จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น . . เมื่อพบคนที่เป็นลม                          

  1. ควรรีบให้คนไข้นอนราบ หัวต่ำ (ไม่หนุนหมอน) และใช้หมอน หรือสิ่งอื่นยกขาให้สูงขึ้น
  2. สังเกตการณ์หายใจ ถ้าคนไข้หายใจได้ มีชีพจร  จึงอาจถือว่าคนไข้เป็นลม

(ถ้าคลำชีพจรที่คอและที่ขาหนีบไม่ได้ ต้องถือว่าหัวใจหยุด และรีบฟื้นชีวิตด้วยการทำ CPR หรือปั๊มนวดหัวใจทันที ถ้าคนไข้หายใจลำบากต้องช่วยหายใจก่อน และสามารถโทรขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ได้ที่ 1669 หรือ 1745 สายด่วนที่ให้บริการช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉิน)

  1. คลายเสื้อผ้าที่คับ ให้หลวมออก
  2. กันไม่ให้คนมามุงล้อมผู้ป่วย
  3. ใช้พัดหรือสิ่งอื่นโบกลมให้ผู้ป่วย
  4. อาจให้คนไข้สูดดมยา เช่น ยาหม่อง พิมเสน แอมโมเนียหอม หัวหอม หรืออื่น ๆ
  5. อาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็น (ในที่ที่อากาศร้อน) เช็ดหน้า คอ แขนขา และลำตัวของคนไข้ โดยทั่วไปคนไข้เป็นลมที่ได้รับการรักษาข้างต้น จะกลับฟื้นคืนสติในเวลาไม่กี่นาที
  6. เมื่อคนไข้ฟื้นคืนสติแล้ว ควรให้นอนพักหรือนั่งพักอย่างน้อยสัก 1-2 ชั่วโมง เพราะถ้าให้คนไข้ลุกขึ้น หรือกลับไปทำงานทันที จะเกิดอาการหน้ามืดเป็นลมอีกได้
  7. เมื่อคนไข้รู้สึกตัวดีแล้ว ต้องตรวจหาสาเหตุของอาการเป็นลม เพื่อให้การป้องกันและรักษาสาเหตุ คนไข้จะได้ไม่เกิดอาการเป็นลมขึ้นอีก หรือถ้าเกิดขึ้นอีกก็ไม่รุนแรง และไม่ทำให้เกิดอันตรายได้สำหรับคนไข้ที่มีอาการหน้ามืด ให้รักษาเช่นเดียวกับคนไข้ที่เป็นลม แต่อาจให้นั่งแทนนอน

สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการหน้ามืดเป็นลมจะรู้ได้โดยการซักประวัติให้ดี และควรได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อป้องกัน ดังนั้นการตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำทุกปีจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพราะการตรวจพบโรคต่างๆได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้เราได้รับการรักษาที่เหมาะสม และป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปมากจนเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

CPR หรือ Cardiopulmonary resuscitation เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยที่กำลังจะหยุดหายใจ หรือหัวใจกำลังจะหยุดเต้น ให้กลับมาหายใจ หรือลมหายใจไหลเวียนได้ตามปกติ

ความสำคัญของการทำ CPR ตอนนี้อยู่ที่การปั๊มหัวใจ ที่ต้องทำให้ถูกต้อง และทันเวลา เพราะหากสมองขาดออกซิเจนไปเกิน 4 นาที สมองอาจเสียหายได้

  • เมื่อไรถึงควรทำ CPR?

เราสามารถเข้าไปทำ CPR ให้กับผู้ป่วยที่หมดสติ ลมหายใจอ่อนหรือหยุดหายใจ หัวใจใกล้หยุดเต้น หรือหยุดเต้นไปแล้ว เช่น จมน้ำ หัวใจวาย สำลักควันไฟจากที่ที่เกิดไฟไหม้ อุบัติเหตุต่างๆ

ท่านตรวจสอบผู้ป่วยที่หมดสติ

  • วิธีทำ CPR ที่ถูกต้อง
  1. ตรวจดูความปลอดภัยบริเวณรอบๆ ตัวผู้ป่วย เช่น มีของแหลมคม มีกระแสไฟฟ้า มีน้ำมัน มีไฟ หรือสิ่งอันตรายอื่นๆ หรือไม่ ถ้าดูไม่ปลอดภัย อย่าเพิ่งเข้าไป เรียกกู้ภัยมาช่วยเหลือดีกว่า
  1. หากสถานที่รอบๆ ผู้ป่วยปลอดภัยดี ให้เข้าไปหาผู้ป่วยทำการยืนยันว่าผู้ป่วยหมดสติจริง โดยการตีที่ไหล่แล้วเรียกด้วยเสียงดัง 4-5 ครั้ง หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัวอยู่ หายใจเองได้ ให้จับนอนตะแคง รอการช่วยเหลือ โทร 1669 ไม่ควรทำ CPR ขณะที่ผู้ป่วยยังมีสติ
  1. หากไม่ได้สติ ไม่ลืมตาจริงๆ และหยุดหายใจ ให้รีบโทรหา 1669 เช่นกัน แจ้งทีมงานว่าผู้ป่วยไม่ได้สติ หยุดหายใจ ให้นำเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ หรือ AED มาด้วย
  1. เริ่มทำการกดหน้าอก โดยจับผู้ป่วยนอนหงาย นั่งคุกเข่าข้างผู้ป่วย วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก (ตำแหน่งตรงกลางระหว่างหน้าอก ระดับเดียวกับหัวนมพอดี) และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที สามารถปั๊มหัวใจตามจังหวะเพลง “สุขกันเถอะเรา” ของสุนทราภรณ์, “Staying Alive” ของ Bee Gees หรือ “Imperial March” เพลงธีมของ Darth Vader ในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ได้
  1. ควรทำ CPR ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าทีมแพทย์ หรือหน่วยกู้ภัยจะมา หากคุณไม่เคยเข้ารับการฝึกทำ CPR มาก่อน ให้กดหน้าอกเพียงอย่างเดียวไปเรื่อยๆ หากคุณเคยทำ CPR แล้ว อาจกดหน้าอกสลับกับการเป่าปากช่วยหายใจได้ โดยกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับมาเป่าปากช่วยหายใจ 2 ครั้ง
  1. ในกรณีที่มีคนอยู่ด้วยหลายคน สามารถสลับให้คนอื่นมาช่วยปั๊มหัวใจแทนได้
  • เมื่อไรควรหยุดทำ CPR?

ควรทำ CPR ไปเรื่อยๆ จนกว่าทีมกู้ภัย หรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จะมา แล้วเข้าช่วยเหลือด้วยเครื่อง AED อีกครั้ง ก่อนนำส่งโรงพยาบาล

อย่างไรก็ตาม ระหว่างการทำ CPR เราควรเรียกคนมาช่วย รีบโทร. 1669 / 1745 เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่เร็วที่สุด หากสามารถนำส่งโรงพยาบาลด้วยตัวเองได้ ก็สามารถทำ CPR ระหว่างนำส่งโรงพยาบาลได้เช่นกัน

ด้วยความห่วงใยและใส่ใจจากโรงพยาบาลบางปะกอก 3

#โรงพยาบาลบางปะกอก3 #BPK3 #ดูแลด้วยหัวใจHeartOfCare #1745Hotlineสายด่วน

วิธีทำ CPR ที่ถูกต้อง เผื่อเราเจอสถานการณ์คับขัน มีโอกาสได้ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทุกชีวิตจะได้ปลอดภัย

วิธีทำ CPR ที่ถูกต้อง ช่วยให้รอดชีวิต

มาดูวิธีทำ CPR ที่ถูกต้อง เผื่อเราเจอสถานการณ์คับขัน มีโอกาสได้ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทุกชีวิตจะได้ปลอดภัย

          การทำ CPR คือวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ช่วยคืนชีวิตแก่ผู้ประสบเหตุมานักต่อนัก ดังนั้นขั้นตอนการทำ CPR ที่ถูกต้องจึงควรเป็นความรู้ที่น่าจะติดตัวเราทุกคนไว้บ้าง เพราะอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา และอาจมีบางสถานการณ์ที่เราต้องพบเห็นผู้ประสบเหตุหมดสติ หัวใจหยุดเต้น เช่น คนจมน้ำ คนถูกไฟดูด สูดดมก๊าซพิษ ควันพิษ ช็อกเพราะเสียเลือดมาก หรือผู้ประสบเหตุที่หัวใจหยุดเต้นไปชั่วขณะจากสาเหตุอื่น ๆ ก็ตาม ดังนั้นหากเรามีโอกาสและความรู้พอที่จะช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์หรือแม้กระทั่งคนใกล้ตัวได้ 

Cardiopulmonary Resuscitation หรือเรียกง่าย ๆ ว่า CPR คือ การปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นให้กลับมาหายใจ และมีการไหลเวียนออกซิเจนรวมทั้งเลือดกลับคืนสู่สภาพเดิม พร้อมทั้งป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้ได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร โดยเราสามารถทำการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานให้ผู้ประสบเหตุได้โดยการกดหน้าอกและช่วยหายใจ

            ทั้งนี้ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิต ซึ่งอาจเกิดได้จากการเป็นโรคหัวใจ, ออกกำลังกายมากเกินไป, ตกใจหรือเสียใจกะทันหัน, จากการสูญเสียเลือดมาก, เลือดมาเลี้ยงหัวใจไม่ทัน, ทางเดินหายใจอุดกั้น รวมทั้งอาจเกิดจากการได้รับยาเกินขนาดหรือแพ้ยา

          ดังนั้นจึงมีการบัญญัติ "ห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต" (Chain of Survival) เพื่อเป็นหลักการช่วยฟื้นคืนชีพแนวทางเดียวกันทั่วโลกและเป็นข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ ประกอบด้วย

          1. การประเมินผู้ป่วยว่ายังรู้สึกตัวอยู่หรือไม่ หากไม่มีสติ คลำหาชีพจรไม่พบ ควรเรียกขอความช่วยเหลือหรือเรียกบริการการแพทย์ฉุกเฉินจากหน่วยงานต่าง ๆ ทันที เช่น ศูนย์เอราวัณ (เฉพาะในพื้นที่ กทม.) โทร. 1646, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669 (ทั่วประเทศ)
          2. การกดหน้าอกอย่างถูกต้องและทันท่วงที (ทำ CPR)
          3. การทำการช็อกไฟฟ้าหัวใจ (AED) ภายใน 3-5 นาที เมื่อมีข้อบ่งชี้
          4. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพ
          5. การดูแลภายหลังการช่วยฟื้นคืนชีพ

สำหรับอาการของผู้บาดเจ็บที่ควรได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนด้วยการทำ CPR สามารถสังเกตได้ดังนี้

          1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
          2. ไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก
          3. หัวใจหยุดเต้น 

การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support: BLS) 

          แนวทางการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญ โดยแต่เดิมมีคำแนะนำให้ทำตามลำดับ A-B-C (Airway-Breathing-Circulation) แต่ปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงลำดับขั้นตอนเป็น C-A-B (Chest compression-Airway-Breathing) เนื่องจากการกดหน้าอกก่อนจะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนสำคัญ เช่น หัวใจและสมอง โดยวิธีปฏิบัติคือ

          กดหน้าอก (C) 30 ครั้ง >> เปิดทางเดินหายใจ (A) >> ช่วยหายใจ (B) 2 ครั้ง = 30 : 2

          ทั้งนี้ให้ทำ CPR ไปจนกว่ากู้ชีพจะมาถึง หรือจนกว่าผู้ป่วยจะรู้สึกตัว

ลองมาดูวิธีปฏิบัติในแต่ละขั้นตอน

          C : Chest compression คือการกดหน้าอก ปั๊มหัวใจช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีการไหลเวียนของเลือดในร่างกายอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้หลักในการปั๊มหัวใจ คือ ต้องกดให้กระดูกหน้าอก (Sternum) ลงไปชิดกับกระดูกสันหลัง ซึ่งจะทำให้หัวใจที่อยู่ระหว่างกระดูกทั้งสองอันถูกกดไปด้วย ทำให้มีการบีบเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกาย เสมือนการบีบตัวของหัวใจ ซึ่งมีขั้นตอนในการปั๊มหัวใจตามนี้

 1. ให้ผู้บาดเจ็บนอนราบกับพื้นแข็ง ๆ หรือใช้ไม้กระดานรองที่หลังของผู้บาดเจ็บ ผู้ปฐมพยาบาลคุกเข่าลงข้างขวาหรือข้างซ้ายบริเวณหน้าอกผู้บาดเจ็บ คลำหาส่วนล่างสุดของกระดูกอกที่ต่อกับกระดูกซี่โครง โดยใช้นิ้วสัมผัสชายโครงไล่ขึ้นมา (หากคุกเข่าข้างขวาใช้มือขวาคลำเพื่อหากระดูกอก แต่หากคุกเข่าข้างซ้ายให้ใช้มือซ้ายคลำ)

 2. วางนิ้วชี้และนิ้วกลางตรงตำแหน่งที่กระดูกซี่โครงต่อกับกระดูกอกส่วนล่างสุด วางสันมืออีกข้างบนตำแหน่งถัดจากนิ้วชี้และนิ้วกลางนั้น ซึ่งตำแหน่งของสันมือที่วางอยู่บนกระดูกหน้าอกนี้จะเป็นตำแหน่งที่ถูกต้องในการปั๊มหัวใจต่อไป 

          * หากไม่แน่ใจว่าตำแหน่งกระดูกซี่โครงอยู่ตรงไหน ง่ายที่สุดก็คือ ให้วางส้นมือ (ข้างที่ไม่ถนัด) ตรงกลางหน้าอก ระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง

3. วางมืออีกข้าง (ควรเป็นมือข้างที่ถนัด) ทับลงบนหลังมือที่วางในตำแหน่งที่ถูกต้อง แล้วเหยียดนิ้วมือตรง จากนั้นเกี่ยวนิ้วมือทั้ง 2 ข้างเข้าด้วยกัน เหยียดแขนตรง โน้มตัวตั้งฉากกับหน้าอกผู้บาดเจ็บ ทิ้งน้ำหนักลงบนแขนขณะกดหน้าอกผู้บาดเจ็บ กดให้ลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) สำหรับผู้ใหญ่ 

          แต่หากเป็นเด็กให้กดลงอย่างน้อย 1/3 ของความลึกทรวงอก (ประมาณ 2 นิ้ว หรือ 5 เซนติเมตร) ส่วนในเด็กแรกเกิดหรือเด็กอ่อน การปั๊มหัวใจให้ใช้เพียงนิ้วหัวแม่มือกดกลางกระดูกหน้าอกให้ได้อัตราเร็ว 100–120 ครั้งต่อนาที โดยใช้นิ้วมือโอบรอบทรวงอกสองข้างแล้วใช้หัวแม่มือกด

          4. เพื่อให้ช่วงเวลาการกดแต่ละครั้งคงที่ และจังหวะการสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจพอเหมาะกับที่ร่างกายต้องการ ให้ใช้วิธีนับจำนวนครั้งที่กด ดังนี้...หนึ่ง และสอง และสาม และสี่ และห้า...โดยกดทุกครั้งที่นับตัวเลข และปล่อยตอนคำว่า “และ” สลับกันไป ให้ได้อัตราการกดอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที (ถ้าน้อยกว่านี้จะไม่ได้ผล)

          เมื่อกดสุดให้ผ่อนมือขึ้นโดยที่ตำแหน่งมือไม่ต้องเลื่อนไปจากจุดที่กำหนด และก่อนการกดหน้าอกครั้งต่อไปต้องทำการกดทันทีที่หน้าอกคืนตัวกลับจนสุด ขณะกดหน้าอกปั๊มหัวใจ ห้ามใช้นิ้วมือกดลงบนกระดูกซี่โครงผู้บาดเจ็บ

          5. ควรกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการผายปอด 2 ครั้ง และควรมีผู้ช่วยเหลืออย่างน้อย 2 คน เพราะพบว่า ผู้ปฏิบัติจะเริ่มเหนื่อยและประสิทธิภาพในการกดหน้าอกลดลงหลังจากทำไปประมาณ 1 นาที ดังนั้นในกรณีมีผู้ช่วยเหลืออย่างน้อย 2 คน ให้เปลี่ยนบทบาทผู้ทำการกดหน้าอกทุก ๆ 2 นาที หรือกดหน้าอกสลับการช่วยหายใจครบ 5 รอบ (30:2) และทำต่อเนื่องไปจนกระทั่งเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจมาถึง และพร้อมใช้งาน หรือมีบุคลากรทางการแพทย์เข้ามาดูแลผู้ป่วย

ข้อควรระวัง

            - ต้องวางมือให้อยู่ตรงกลางหน้าอก ไม่ต้องค่อนไปทางซ้าย หรือใกล้หัวใจ เพราะอาจทำให้กระดูกซี่โครงหักได้

            - ต้องกดหน้าอกให้เร็วและแรง แต่อย่ากระแทก ด้วยอัตราความเร็วอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที

          - กดลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว หรือ 5 เซนติเมตร สำหรับผู้ใหญ่ 

          - หลังการกดแต่ละครั้งต้องปล่อยให้อกคืนตัวจนสุด เพื่อให้หัวใจรับเลือดสำหรับสูบฉีดครั้งต่อไป หากไม่ปล่อยให้หน้าอกคืนตัวจนสุด จะทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง

          - กดหน้าอกให้ต่อเนื่องให้ได้มากที่สุด โดยสามารถหยุดการกดหน้าอกได้ไม่เกิน 10 วินาที ในกรณีคลำหาชีพจร, มีการช็อกไฟฟ้าหัวใจ, ต้องการหยุดเพื่อใส่อุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจขั้นสูง (ในกรณีที่ใส่ในขณะกดหน้าอกไม่ได้)

          - ไม่ควรใช้วิธีช่วยหายใจมากเกินไป

          - บุคคลทั่วไปที่ไม่เคยเข้ารับการอบรมการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานมาก่อน ควรทำการกดหน้าอกแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องช่วยหายใจ เนื่องจากในช่วงแรกที่ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น ระดับออกซิเจนในกระแสเลือดยังเพียงพออยู่อีกระยะหนึ่ง และในขณะที่มีการกดหน้าอกนั้นการขยายของทรวงอกจะทำให้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ โดยเน้นให้กดหน้าอกที่แรงและเร็ว ผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือชีวิตควรจะทำการกดหน้าอกแต่เพียงอย่างเดียวต่อไปจนกระทั่งเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจมาถึงและพร้อมใช้งาน หรือมีบุคลากรทางการแพทย์มาดูแลผู้ป่วย

A : Airway หมายถึง การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง เพราะโดยมากผู้บาดเจ็บที่หมดสติจะมีภาวะโคนลิ้นและกล่องเสียงตกลงไปอุดทางเดินหายใจส่วนบน ดังนั้นจึงต้องเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยพิจารณาจาก

          - หากผู้ป่วยไม่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ จะใช้วิธีการแหงนหน้าและเชยคาง (Head tilt - Chin lift) 

          - หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการเจ็บของไขสันหลัง ให้ใช้วิธี Manual Spinal Motion Restriction โดยการวางมือสองข้างบริเวณด้านข้างของศีรษะ เพื่อป้องกันการเคลื่อนของศีรษะ

          - หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังบริเวณคอให้เปิดทางเดินหายใจด้วยวิธียกขากรรไกร (Jaw Thrust) คือ ดึงขากรรไกรทั้งสองข้างขึ้นไปด้านบน โดยผู้ช่วยเหลือจะอยู่เหนือศีรษะของผู้ป่วย

B : Breathing หมายถึง การช่วยหายใจ ด้วยการรักษาระดับออกซิเจนให้เพียงพอและขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นในผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นเนื่องจากการขาดอากาศ เช่น จมน้ำ จึงต้องรีบกดหน้าอกและช่วยหายใจ 5 รอบ หรือ 2 นาที ก่อนการร้องขอความช่วยเหลือ เนื่องจากผู้ป่วยกำลังมีระดับออกซิเจนที่ตำกว่าปกติ ซึ่งออกซิเจนที่เป่าออกไปนั้นมีออกซิเจนประมาณ 16-17% ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในร่างกาย

          ทั้งนี้ ในการช่วยหายใจ ได้กำหนดข้อปฏิบัติให้เริ่มจากการกดหน้าอก (C) ไปก่อน 30 ครั้ง แล้วจึงสลับกับการช่วยหายใจ (B) 2 ครั้ง ตามสูตร 30:2  โดย

          - ช่วยหายใจมากกว่า 1 วินาทีในแต่ละครั้ง

          - ให้ปริมาตรเพียงพอที่เห็นหน้าอกเคลื่อนไหว แต่ไม่ควรช่วยหายใจมากเกินไป เพราะเสี่ยงต่อการสำลักอาหาร และยังทำให้แรงดันภายในทรวงอกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เลือดที่กลับไปเลี้ยงหัวใจลดลง

          - ใช้อัตราการกดหน้าอก 30 ครั้งต่อการช่วยหายใจ 2 ครั้ง (30:2)

          - เมื่อมีการใส่ท่อช่วยหายใจขั้นสูงแล้ว ให้ช่วยหายใจ 1 ครั้ง ทุก 6-8 วินาที (8-10 ครั้งต่อนาที) โดยที่ไม่ต้องหยุดขณะที่ทำการกดหน้าอก

 วิธีช่วยหายใจ มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น 

          - การช่วยหายใจแบบปากต่อปาก (Mouth-to-Mouth) ผู้ช่วยเหลือสูดลมเข้าให้เต็มที่ แล้วประกบปากของผู้ช่วยเหลือเข้ากับปากของผู้ป่วยให้สนิท ใช้นิ้วบีบจมูก ทำการสูดลมเข้าปอดด้วยปริมาตรเท่าปกติ โดยเป่าลากยาวนานกว่า 1 วินาที ในขณะเป่าลม ควรใช้ตาชำเลืองดูบริเวณทรวงอกของผู้ป่วยว่ามีการขยับหรือไม่ เพื่อเป็นการประเมินประสิทธิภาพของการช่วยหายใจ หากผู้ป่วยมีชีพจร แต่ต้องการการช่วยหายใจ ให้ทำการช่วยหายใจในอัตรา 5-6 วินาทีต่อครั้ง (10-12 ครั้งต่อนาที)

          ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องสูดลมเข้าสุดเพื่อป้องกันการเกิดอาการหน้ามืด เวียนศีรษะของผู้ช่วยเหลือ และป้องกันภาวะ overinflation ของผู้ป่วย 

          - การช่วยหายใจแบบปากต่อจมูก (Mouth-to-Nose) ในกรณีที่ผู้บาดเจ็บมีอาการบาดเจ็บที่ปาก หรือในกรณีที่เป็นเด็กเล็ก ให้ใช้วิธีปิดปากผู้บาดเจ็บแล้วปล่อยลมหายใจของเราเข้าทางจมูกผู้บาดเจ็บแทน โดยให้ทำการช่วยหายใจในอัตรา 5-6 วินาทีต่อครั้ง (10-12 ครั้งต่อนาที)

          - การช่วยหายใจโดยใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจขั้นสูง (Advanced Airway) ในกรณีที่ผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจขั้นสูงแล้ว แนะนำให้ช่วยหายใจในอัตรา 1 ครั้งทุก ๆ 6-8 วินาที (8-10 ครั้งต่อนาที)

         

ทั้งนี้ ให้ผู้ช่วยเหลือทำขั้นตอน C-A-B ไปเรื่อย ๆ จนกว่าหน่วยกู้ชีพมาถึง หรือจนกว่าผู้ป่วยจะมีการตอบสนอง

            และหากสถานที่นั้นมีเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติหรือ AED ให้ร้องขอเพื่อนำมาใช้ เพราะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นได้ โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนในการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันด้วยการใช้เครื่องเออีดี


สรุปขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

          ขอสรุปย้ำถึงขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานไว้อีกครั้งแบบเข้าใจง่าย โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ แนะนำไว้ 7 ข้อดังภาพนี้

ทั้งนี้ในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บให้กลับมามีลมหายใจอีกครั้งก็ควรต้องช่วยเหลือเขาอย่างระมัดระวัง และหากมีผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้อยู่ก็ควรให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บก่อนนะคะ เพราะหากช่วยผิดวิธีอาจทำให้หัวใจช้ำ กระดูกหัก รวมทั้งอวัยวะอื่น ๆ ตกเลือดได้ และขอเตือนอีกอย่างว่าอย่าลองไปทำ CPR กับคนที่ไม่มีอาการบาดเจ็บหรือหมดสติ โดยเฉพาะการปั๊มหัวใจ เพราะอาจทำให้จังหวะหัวใจของคนที่โดนปั๊มเต้นผิดจังหวะไป ซึ่งอาจส่งผลด้านสุขภาพต่อไปได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
kapook.com

: 16 มกราคม 2018 : Admin 433390