นักเรียนเคยใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวหรือไม่ อะไรบ้าง

 ครอบครัวเป็นสถาบันขั้นพื้นฐานและเป็นสถาบันหลักของสังคม ครอบครัวจึงประกอบไปด้วย สามี ภรรยา บุตรและญาติ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวจึงเป็นกฏหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในครอบครัวหรือเครือญาติ ดังนั้น หลักกฏหมายที่ใช้โดยทั่วไปอาจนำมาใช้กับกฏหมายครอบครัวไม่ได้ กฏหมายครอบครัวจึงเป็นกฏหมายที่อ้างอิงหลักศีลธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีมากที่สุด เช่น เงื่อนไขเกี่ยวกับการหมั้น การสมรส การปฏิบัติต่อกันระหว่างสามีและภรรยา การปกครองบุตร ทรัพย์สินระหว่างสามีและภรรยา ตลอดถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมรดก เป็นต้น
1. การหมั้นตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว ได้กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการหมั้นโดยสรุปได้ดังนี้การหมั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับผู้หญิง การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 บริบูรณ์แล้ว 
ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณี การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ กล่าวคือ เมื่อหมั้นกันแล้วฝ่ายหนึ่งไม่ยอมสมรสด้วย อีกฝ่ายหนึ่งจะฟ้องบังคับไม่ได้ แต่อาจฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายได้ 
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าจะทำการสมรสได้ต่อเมื่อมีการหมั้นกันก่อน ฉะนั้นชายหญิงอาจทำการสมรสกันโดยไม่มีการหมั้นก็ได้ 
1.1 องหมั้น เป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง ถ้าฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย
1.2 สินสอด เป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤิตการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ 

2. การสมรส การสมรสหมายถึง การที่ชายและหญิงสมัครใจเข้ามาอยู่กินกันฉันสามีภริยา ชั่วชีวิตโดยจะไม่เกี่ยวข้องทางชู้สาวกับบุคคลอื่นใดอีกซึ่งตามกฏหมายปัจจุบันนั้น กำหนดว่า การสมรสต้องมีการจดทะเบียนสมรสจึงจะมี ผลตามกฏหมาย 
เงื่อนไขการสมรส        การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ เช่น ชายหรือหญิงหรือทั้งสองคนอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ แต่มีความจำเป็นต้องทำการสมรสเพราะต้องเดินทางไปต่างประเทศในฐานะครอบครัวที่เป็นสามีภรรยากัน ศาลอาจเห็นสมควรอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนอายุครบ 17ด ปีบริบูรณ์ 
ข้อห้ามมิให้ทำการสมรส 
1. ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ 
2. ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดา มารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา กรณีเช่นนี้ลูกพี่ลูกน้องแม้จะใช้ชื่อสกุลเดี่ยวกันก็อาจจะทำการสมรสกันได้ เพราะกฎหมายมิได้บัญญัติห้ามไว้ 
3. ชายหรือหญิงขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้ว 
4. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ การสมรสจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้น ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณี การจดทะเบียนสมรส ตามปกติแล้วจะจด ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่เขนที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิเลาอยู่ 

3. ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
สามีภรรยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู กันตามความสามารถและฐานะของตน ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ถ้าสามีภริยาได้ทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สินไว้เป็นพิเศษอย่างไรก็ให้เป็นไปตามนั้น ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็น “สินส่วนตัว” ย่อมเป็น “สินสมรส” 
สินส่วนตัว ได้แก่ ทรัพย์สินดังต่อไปนี้
    ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรสที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หาที่เป็นของหมั้นสินส่วนตัวของฝ่ายใดถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นซื้อทรัพย์สินอื่นมาหรือขายได้เป็นเงินมา ทรัพย์สินอื่น หรือเงินนั้นเป็นส่วนตัวของฝ่ายนั้น สินส่วนตัวของฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ 
สินสมรส ได้แก่ ทรัพย์สินดังต่อไปนี้
    ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบถว่าเป็นสินสมรสที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

จำนวนคนดู 24,796

นักเรียนเคยใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวหรือไม่ อะไรบ้าง

การหมั้น

เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้ง 2 ฝ่าย ตกลงกันว่า ชายและหญิงคู่หมั้น จะทำการสมรสกันในอนาคต แต่ไม่สามารถเอาสัญญาหมั้นมาฟ้องร้องบังคับคดีให้อีกฝ่ายหนึ่งทำการสมรสได้

เงื่อนไขสำคัญ

1.การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ (มาตรา 1435) หากฝ่าฝืน การหมั้นนั้นตกเป็นโมฆะ

(มาตรา 1435  วรรค 2)

2.ถ้าฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถทำการหมั้นได้ด้วยตนเอง ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่าย ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องได้รับคำยินยอมจากบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองของทั้งสองฝ่ายด้วย

3.ไม่สามารถหมั้นกับคนวิกลจริต หรือคนที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้

4..ไม่สามารถหมั้นกับบุคคลผู้เป็นบุพการีได้

5.ไม่สามารถหมั้นกับบุคคลที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว

6.บุคคลที่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือร่วมแต่มารดา หรือบิดาเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถหมั้นกันได้

7.บุคคลที่จะให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำการหมั้นได้แก่ บิดา และมารดา

ของหมั้น (มาตรา 1437)

ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ให้ไว้แก่ฝ่ายหญิงในขณะทำการหมั้นเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับฝ่ายหญิง

สินสอด (มาตรา 1437)

เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่ยินยอมให้ฝ่ายหญิงสมรสด้วย

การผิดสัญญาหมั้น

ถ้าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงคู่หมั้น ไม่ยอมทำการสมรสกับคู่หมั้นของตนโดยไม่มีมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ถือว่าคู่หมั้นฝ่ายนั้นผิดสัญญาหมั้น


Advertising

การสมรส

1.การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์(มาตรา 1448)

2.การสมรสจะต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจของทั้ง 2 ฝ่ายหากไม่สมัครใจในการสมรส การสมรสนั้นจะเป็นโมฆะ

3.การสมรสจะกระทำไม่ได้ ถ้าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือคนที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ(มาตรา 1449) หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นตกเป็นโมฆะ (มาตรา 1495)

4.ชายและหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรง เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา จะทำการสมรสกันไม่ได้ (มาตรา 1450) หากฝ่าฝืน การสมรสนั้นตกเป็นโมฆะ (มาตรา 1495)

5.ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้(มาตรา 1452)หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นตกเป็นโมฆะ(มาตรา 1495)

6.หญิงที่สามีเสียชีวิตจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อ สิ้นสุดการสมรสไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน(มาตรา 1453)

7.ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้  (มาตรา 1451)

8.การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อ ชายหญิงยินยอมเป็นสามีภรรยากันและต้องแสดงการยินยอมนั้นให้เปิดเผยต่อหน้านายทะเบียน(มาตรา 1458)

9.ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง(มาตรา 1454)หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะ (มาตรา 1509)

ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส

1.หากสามีข่มขืนกระทำชำเราภรรยา ภรรยาจะฟ้องคดีความผิดฐานข่มขืนไม่ได้

2.การที่ภรรยาปฏิเสธไม่ยอมให้สามีร่วมประเวณีด้วย อาจเป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยา เป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ (มาตรา 1516 (6))

3.ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไป เกิน 1 ปี เป็นเหตุหย่าได้ (มาตรา 1516 (4))