แนวทาง การอนุรักษ์ประเพณีไหล เรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟ บางทีเรียกว่า “ลอยเรือไฟ” พิธีกรรมทางพุทธศาสนาที่นิยมทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (วันออกพรรษา) โดยเฉพาะท้องถิ่นที่มีชัยภูมิเหมาะสม คือ มีแม่น้ำหรือลำน้ำ เท่าที่ปรากฏจะมีแนวทางที่คล้ายกันและอยู่บนพื้นฐานความเชื่อต่าง ๆ อาทิ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธบาท ความเชื่อเกี่ยวกับการบวงสรวงพระธาตุจุฬามณีบนสวรรค์ ความเชื่อเกี่ยวกับการขอฝน ความเชื่อในการเอาไฟเผาความทุกข์ ความเชื่อเกี่ยวกับการขอขมาและระลึกถึงพระคุณพระแม่คงคา เป็นต้น เรือไฟในสมัยโบราณนั้นมีรูปแบบที่เรียบง่าย โดยทำจากต้นกล้วยและลำไม้ไผ่ที่หาได้มาจัดทำเป็นโครงเรือไฟง่าย ๆ พอที่จะทำให้ลอยน้ำได้ การรประดับตกแต่งเรือไฟภายในเรือไฟจะประดับด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างไสว ก่อนจะปล่อย เรือไฟลงกลางลำน้ำโขง ปัจจุบันได้จัดทำเรือไฟรูปแบบต่างๆ โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ประกอบในการจัดทำ และประดับตกแต่งให้วิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้น เมื่อปล่อยเรือไฟเหล่านี้ลงกลางลำน้ำโขงภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วง แล้วจะเป็นภาพที่งดงามและติดตาตรึงใจตลอดไป 

แนวทาง การอนุรักษ์ประเพณีไหล เรือไฟ


แนวทาง การอนุรักษ์ประเพณีไหล เรือไฟ


แนวทาง การอนุรักษ์ประเพณีไหล เรือไฟ


แนวทาง การอนุรักษ์ประเพณีไหล เรือไฟ


แนวทาง การอนุรักษ์ประเพณีไหล เรือไฟ


แนวทาง การอนุรักษ์ประเพณีไหล เรือไฟ


แนวทาง การอนุรักษ์ประเพณีไหล เรือไฟ


แนวทาง การอนุรักษ์ประเพณีไหล เรือไฟ


แนวทาง การอนุรักษ์ประเพณีไหล เรือไฟ

 ขอขอบคุณ ภาพ จาก บริษัทวินวินสมาย

  ประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีที่ชาวนครพนม ภาคภูมิใจ เพราะบรรพบุรุษ ได้ยึดถือปฏิบัติกันมานานตั้งแต่โบราณ โดยมีความเชื่อในประเพณีว่าเนื่องมาจากการบูชารอย พระพุทธบาทการสักการะท้าวพกาพรหม การบวงสรวจพระธาตุจุฬามณี และการระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคาการขอฝน การเอาไฟเผาความทุกข์ และการบูชาพระพุทธเจ้า

ประเพณีการไหลเรือไฟบางที่เรียกว่า " ล่องเรือไฟ " " ลอยเรือไฟ " หรือ"ปล่อย เรือไฟ" ซึ่งเป็นลักษณะที่เรือไฟเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ เรือไฟหรือเฮือไฟ หมายถึง เรือที่ทำด้วยท่อนกล้วย ไม้ไผ่หรือวัสดุที่ลอยน้ำ มีโครงสร้างเป็นรูปต่างๆ ตามต้องการ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมปฏิบัติกันในเทศกาล ออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑

ในด้านความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอย พระพุทธบาท ที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักษิณาบท ประเทศอินเดียนั้นเชื่อว่า ในครั้งที่พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมในพิภพของนาค เมื่อเสด็จกลับพญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ ประทับรอยพระบามไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที พระองค์จึงได้ประทับรอยพระบาทไว้ตามความประสงค์ของพญานาค รอยพระบาทที่ทรงประทับไว้นี้เป็นที่เคารพ ของเทวดามนุษย์ตลอดจนถึงสัตว์ทั้งหลาย ผู้ซึ่งต้องการบุญกุศล เหตุนี้การไหลเรือไฟ จึงถือว่าเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทซึ่งมีคำบูชาว่า  " อะ หัง อินิมา ปะทีเปนะ นัมมากายะ นะทิยา ปุเลนิ ปาทะวะอัญชัง อภิปูเชมิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหัง ทีฆรัตตัง หิ ตายะ สุขายะ สังวัตคุะตุ "

แปลว่า ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระบาทของพระมุนีเจ้า อันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทรายแห่ง แม่น้ำนัมมทานทีโพ้นด้วยประทีปนี้ ขอให้การบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมุนีเจ้าด้วยประทีป ในครั้งนี้จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้า ทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ

รูปทรงเรือไฟ รูปเรือไฟจะมีการทำที่แตกต่างกันออกไปตามความคิด ความเชื่อ ความรู้ ความสามารถของช่างในแต่ละกลุ่ม โดยมีรูปทรงดังนี้

การประดับตกแต่งเรือไฟภายในเรือไฟจะ ประดับด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างไสว ก่อนจะปล่อย เรือไฟลงกลางลำน้ำโขง ปัจจุบันได้จัดทำเรือไฟรูปแบบต่างๆ โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ประกอบในการจัดทำ และประดับตกแต่งให้วิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้น เมื่อปล่อยเรือไฟเหล่านี้ลงกลางลำน้ำโขงภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วง แล้วจะเป็นภาพที่งดงามและติดตาตรึงใจตลอดไป

ซึ่งประเพณีไหลเรือไฟนครพนม ปี2554 จัดขึ้น ณ บริเวณริมแม่น้ำโขงและหน้าตลาดอินโดจีน อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ระหว่างวันที่ 5-13 ตุลาคม 2554

ไหลเรือไฟ เป็นประเพณีที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นับเป็นอีกหนึ่งฮีตที่ถือปฏิบัติกันในฮีตสิบสองหรือประเพณีสิบสองเดือน และเป็นประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านาน นอกจากนั้นประเพณีไหลเรือไฟยังเป็นวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันหลายจังหวัด แตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น แต่ที่มีความโดดเด่นคือประเพณีไหลเรือไฟของชาวจังหวัดนครพนม

ความเชื่อสู่วิถีชีวิต

ไหลเรือไฟของชาวจังหวัดนครพนมเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนา และเป็นพิธีกรรมที่ยึดถือปฏิบัติกันมาจนเกิดเป็นประเพณีเฉพาะท้องถิ่นขึ้น บางครั้งเรียกว่า ลอยเรือไฟ หรือล่องเรือไฟ แต่ในปัจจุบันเรียกว่า “ไหลเรือไฟ”  ประเพณีไหลเรือไฟเป็นพิธีกรรมหนึ่งในงานบุญออกพรรษา เป็นประเพณีฮีต สิบสองของชาวอีสาน จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เชื่อกันว่า การไหลเรือไฟในแม่น้ำโขงคือการขอขมาและรำลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา พร้อมกับบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนั้นยังมีความเชื่อที่ชี้ให้เห็นถึงภูมิปัญญาในเชิงสร้างสรรค์ทางด้านการเกษตรกรรม เชื่อว่าการไหลเรือไฟจะทำให้ฝนในปีต่อไปดี เพราะการไหลเรือไฟเป็นการปล่อยไฟลงน้ำ ทำให้พญานาคที่อยู่ในน้ำได้รับความเดือดร้อนแล้วหอบน้ำหนีขึ้นไปอยู่บนฟ้า พอถึงเดือนหกน้ำในโลกมนุษย์จะแห้ง ผู้คนเดือดร้อน จึงพากันจุดบั้งไฟขอฝน พอมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นไป พญาแถนจะสั่งให้พญานาคนำน้ำที่หอบขึ้นมาไปคืนในโลกมนุษย์ จึงตกลงมาเป็นน้ำฝน (ชีวิตไทย ชุด บูชาพญาแถน, 2551 : 67 )

ประเพณีไหลเรือไฟจึงมีการเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันหลายความเชื่อ ทั้งความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาในการบูชารอยพระพุทธบาท ความเชื่อเกี่ยวกับวันพระเจ้าเปิดโลก ความเชื่อเกี่ยวกับการขอขมาและรำลึกถึงพระแม่คงคา รวมไปถึงความเชื่อเกี่ยวกับการขอฝน ถือได้ว่าชาวนครพนมได้ผสมผสานความเชื่อของการไหลเรือไฟไว้เป็นที่ยึดถือปฏิบัติต่อกันมาได้อย่างเหนียวแน่น นอกจากนั้นการไหลเรือไฟยังสะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์เฉพาะตนและวิถีชีวิตของชาวลุ่มแม่น้ำโขงที่อาศัยน้ำในการหล่อเลี้ยงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการอุปโภคบริโภค การทำการเกษตร การประมง รวมถึงการคมนาคมน้ำ และยังแสดงถึงการมีวัฒนธรรมร่วมกันของชาวไทย-ลาว ที่ให้ความสำคัญกับแม่น้ำ เป็นประเพณีที่ปฏิบัติร่วมกันของคนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง เป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมร่วมกันทำให้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ จึงทำให้ประเพณียังคงสืบต่อไป แม้ความเชื่อความศรัทธาอาจจะน้อยลงไปหรือเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย เพราะการเข้ามาของค่านิยมสมัยใหม่ ที่ทำให้คนส่วนใหญ่หันไปมองความสวยงามตระการตา และการแข่งขันเพื่อชิงรางวัลมากกว่าความศรัทธาที่มีมาตั้งแต่อดีต

พิธีกรรมและรูปแบบจากอดีตถึงปัจจุบัน

งานประเพณีไหลเรือไฟของชาวนครพนมเป็นเทศกาลงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของผู้คนแถบลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งชาวไทยและชาวลาวจะมาร่วมงานกันอย่างเนืองแน่น ความโดดเด่นของงานอยู่ที่เรือไฟซึ่งส่องแสงสว่างสวยงามยามค่ำคืนกลางลำน้ำโขง ในงานเต็มไปด้วยผู้คนจากทุกสารทิศ ในอดีตมีการทำเรือไฟด้วยไม้ไผ่และต้นกล้วย ยาวเพียง 5-6 วาเท่านั้น ความสูง ไม่เกิน 1 เมตร และเป็นรูปเรือธรรมดา ทำราวไว้สองข้าง เพื่อวางขี้กะไต้ ตะเกียง หรือโคมไฟ มีการจัด ข้าวปลาอาหารขนมนมเนย ฝ้ายไน ไหมหลอด เสื่อผืน บรรจุไว้ข้างใน พอเวลาประมาณ 5 โมงเย็นจะเริ่มทำพิธี โดยนิมนต์พระมาสวดและหลังการรับศีล ฟังเทศน์ ไหว้พระเรียบร้อยแล้ว จึงให้ญาติโยมตกแต่งเรือด้วยดอกไม้ธูปเทียนที่ถือไปบำเพ็ญกุศลนั้นเอง พอย่ำค่ำก็นำเรือไฟออกไปกลางแม่น้ำโขงแล้วจุดไฟปล่อย ให้เรือไหลไปตามลำน้ำส่งแสงระยิบระยับทอดยาวไปไกลจนสุดสายตา(นครพนม สกลนคร : 114)

ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบของเรือไฟที่แตกต่างกันออกไปตามยุคสมัยหรือตามกระแสนิยมที่เข้ามามีบทบาทในช่วงเวลานั้นๆ เทคโนโลยีจึงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เข้ามาอยู่ในกรอบแนวคิดของเจ้าของวัฒนธรรม ซึ่งได้กลายมาเป็นแนวคิดใหม่ที่ทำให้ประเพณีพิธีกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ประเพณีไหลเรือไฟของชาวจังหวัดนครพนมจึงมีการฟื้นฟูเพื่อจัดทำเป็นประเพณีในอีกรูปลักษณะหนึ่งตามกระแสของการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อให้ถือเป็นประเพณีที่ใหญ่ระดับประเทศ เป็นการพัฒนางานประเพณีให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน เน้นรูปแบบเรือไฟที่นำเสนอความสวยงาม แต่อย่างไรก็ตามชาวนครพนมยังสืบทอดวิธีการดั้งเดิมเอาไว้โดยจัดทำเรือไฟแบบเก่าให้เป็นต้นแบบหลักให้ไหลไปก่อนที่จะตามมาด้วยเรือไฟที่เน้นความสวยงาม

               ปัจจุบันชาวจังหวัดนครพนมได้จัดทำเรือไฟขึ้น โดยการหันมาเน้นในเรื่องของดวงไฟที่จะให้ปรากฏเป็นภาพเรือไฟที่งดงาม ส่วนประกอบยังเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ เช่นเดิมคือ ส่วนที่เป็นทุ่นสำหรับลอยน้ำทำด้วยลำไม้ไผ่รวมเป็นกลุ่มมัดเข้าด้วยกัน วางไว้ในน้ำเป็น 2-3 แถวเพื่อรับน้ำหนัก ส่วนที่ 2 คือโครงร่างที่ใช้เหล็กเส้นดัด- ตัดเชื่อมต่อกันเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ อาจเป็นรูปสัตว์ ปราสาท เจดีย์ ฯลฯ ในบางหน่วยงานหรือบางอำเภอที่จัดทำเรือไฟส่วนที่เป็นทุ่นจะทำด้วยการใช้ถังน้ำมันที่ไม่ใช้แล้วขนาด 200 ลิตรเป็นถังเปล่า วางลอยทำเป็นลักษณะคล้ายแพ ด้านบนถังวางเป็นแผ่นเรียงติดกัน 3 ระยะ คือ ต้นแพกลางแพและท้ายแพ ทั้งนี้ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการให้แพนี้รับน้ำหนักของโครงร่างที่เป็นเหล็กได้และยังสามารถนำถังน้ำมันเปล่านี้มาใช้ได้ในการจัดสร้างเรือไฟในปีต่อไป (ไหลเรือไฟนครพนม : 52)

               จะเห็นได้ว่าการไหลเรือไฟในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างทั้งด้านรูปแบบ จุดมุ่งหมายและพิธีการ ความแตกต่างของยุคสมัยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ประเพณีไหลเรือไฟที่นับถือและปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านานโดยตั้งอยู่บนความศรัทธาและความเชื่อ ได้ถูกสอดแทรกด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่กับกระแสนิยมบนการส่งเสริมวัฒนธรรมการท่องเที่ยว สมัยก่อนเราจะเห็นถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนที่ยึดมั่นต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และความเคารพบูชาต่อแม่น้ำแหล่งชีวิตที่อยู่อาศัย รวมถึงการทำเรือไฟเราจะเห็นว่าในอดีตจะใช้ไม้ที่สามารถลอยน้ำได้ เช่น ไม้งิ้ว ไม้ไผ่ เป็นต้น ต่อมาพัฒนาใช้ถังน้ำมันเป็นทุ่นลอยและปัจจุบันเปลี่ยนเป็นการใช้เรือจริงๆ

               ส่วนการตกแต่งเมื่อก่อนนั้นไม่เน้นเรื่องความสวยงาม แต่จะใช้ดอกไม้ธูปเทียน ขนม ข้าวต้ม และเครื่องใช้ ฯลฯ ใส่ลงไปในเรือเพื่อเป็นการทำบุญ ปัจจุบันเรือไฟมีการเน้นเรื่องความสวยงามมากขึ้นเพื่อการประกวด และไม่นิยมใส่ของลงไปในเรือ เมื่อปล่อยเรือเสร็จก็จะนำมาเก็บไว้เพื่อใช้ประกวดในคราวต่อไป ส่วนในด้านของประชาชนที่มาร่วมงาน ก่อนนั้นมาร่วมพิธีกรรมด้วยพื้นฐานของความศรัทธาในพุทธศาสนา เป็นการบูชาสิ่งต่างๆที่เชื่อถือกันมานาน เช่นการบูชารอยพระพุทธบาท ฯลฯ  ปัจจุบันมีประชาชนเพียงส่วนน้อยที่ยังคงมีความเชื่อถือและศรัทธาในพิธีกรรมแบบเดิม เพราะประชาชนส่วนใหญ่ขาดความรู้เกี่ยวกับที่มาและความสำคัญของประเพณีนี้ ขาดศรัทธาที่จะทำ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะปัจจุบันจุดประสงค์ในการทำจะออกมาในรูปแบบของการประกวดเพื่อชิงรางวัลและตอบสนองค่านิยมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นหลัก

               จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นยังสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของการจัดสร้างเรือไฟที่ได้หันมาเน้นด้านความใหญ่โตเป็นสำคัญ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างสูงขึ้นในบางปีเพื่อเน้นเรื่องชื่อเสียงของหน่วยงานอำเภอที่ส่งเข้าประกวดในงาน ทำให้งบประมาณค่าจัดสร้างสูงกว่าที่จังหวัดตั้งไว้เป็นรางวัลสูงสุด อย่างไรก็ดียังหากมองความเปลี่ยนแปลงในด้านบวก ทำให้เรามองเห็นความแตกต่างที่มีการพัฒนาขึ้น ประเพณีที่สืบทอดมาเป็นเวลานานสะท้อนให้เห็นถึงความรักในวัฒนธรรมของชาวจังหวัดนครพนม และที่สำคัญคือ เห็นถึงความเสียสละ ความร่วมมือร่วมแรงของกลุ่มคนในหน่วยงาน อำเภอ การแข่งขันทำเรือไฟแม้ว่าจะอยู่ภายใต้กติกากำหนด แต่ความคิดสร้างสรรค์ไม่อาจหยุดได้ การคิดค้นเทคนิคเพื่อนำเสนอผู้ชมจึงเป็นสิ่งที่ทำให้ช่างทำเรือไฟต้องหาสิ่งแปลกใหม่มาเพิ่มให้เรือของตนมีความโดดเด่นเหนือเรือลำอื่นๆ เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชม  ศิลปะในการจัดสร้างเรือไฟของชาวนครพนมได้ผ่านการเรียนรู้สะสม สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดออกมาอย่างน่าทึ่ง และศิลปะเหล่านี้ยังคงจะต้องวิวัฒนาการต่อไป


บรรณานุกรม

กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร. (2543). นครพนม. กรุงเทพมหานคร : เลิฟแอนด์ลิพเพรส.

ชีวิตไทย ชุด บูชาพญาแถน. (2551) : พิมพ์ครั้งที่ 4 . กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

เที่ยวทั่วไทย ไปกับนายรอบรู้ นครพนม สกลนคร.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สารคดี, มปป.

พระกฐินพระราชทาน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 24 ตุลาคม 2541 /คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึก มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไหลเรือไฟนครพนม. มปท : มปพ, มปป.

ไหลเรือไฟ

มีการทำกันอยู่หลายแบบในเดือนต่อกัน ในวันเพ็ญ เดือน 11 เรียกพิธีลอยไฟ ส่วนวันเพ็ญ เดือน 12 เรียกว่า ไหลเรือ พิธีลอยไฟที่ทำในเดือน 11 นั้น เป็นพิธีดั้งเดิมที่มีความสำคัญ และจัดกันอย่างสนุกสนาน โดยการทำแพหยวกกล้วย ยาวประมาณ 2 – 3 ศอก เอาไม้ปักเป็นเสาบนหยวกกล้วยเป็นระยะ ๆ บนปลายเสาทำเป็นรูปเรือหรือรูปพญานาค แล้วเอาผ้าชุบน้ำมันยางจุดบนปลายไม้ข้าง ๆ เป็นระยะ ๆ จนถึงเวลาค่ำจึงพากันมายกกระทงไปลอยในแม่น้ำ ของที่บรรจุในกระทงมีทั้งอาหาร เสื้อผ้า ของใช้ และอาจมีรวงข้าวอ่อนผูกไว้ด้วย แล้วอาจจะเอากระทงไปวางไว้เฉย ๆ ที่ใดที่หนึ่งก็ได้ เพื่อเป็นการบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้าที่ริมฝั่งน้ำนัมนที อีกตำนานหนึ่งคือบูชาพระพุทธเจ้าหลังจากเสด็จไปจำพรรษาเพื่อแสดงเทศนาอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์โปรดพุทธมารดาแล้วลงมาในเมืองมนุษย์

ปัจจุบันมีการแข่งเรือยาวในแม่น้ำโขงจากท้องถิ่นต่าง ๆ  ทำเรือไฟด้วยไม้ไผ่และต้นกล้วย ใช้ขี้ไต้ผสมกับไม้ผุ ห่อด้วยใบตองหรือใบเตยจุดเป็นคบไฟ ในเรือบรรจุข้าวปลาอาหาร เสื่อ แพรวา หลังจากเสร็จพิธีทางศาสนาตอนค่ำ ก็จะนำไปลอยกลางแม่น้ำโขง ในปัจจุบัน พิธีไหลเรือไฟมักจะออกเป็นเวลาราวหนึ่งทุ่ม และตกแต่งเรือไฟโดยใช้ตะเกียง แต่ละลำหลายหมื่นดวง บนถังน้ำมัน 200 ลิตร เพื่อให้รับน้ำหนักได้มาก ชาวคุ้มและหน่วยงานต่าง ๆ ลงทุนเงินกันหลายแสนบาท ตกแต่งเป็นรูปพญานาค เจดีย์ ปราสาท และแสดงถึงความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีคำถวายพระพรทรงพระเจริญ และมักจะมีการแสดงแสงเสียงที่เกี่ยวกันกับความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ด้วย พอรุ่งเข้า มีการตักบาตรเทโวและรำบูชาองค์พระธาตุพนมของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครพนมทั้งเจ็ดกลุ่ม มีการประกวดเทพี ประกวดหมอลำ มีการจัดข้าวพาแลงไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วย


บรรณานุกรม

ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะ.(2544). โครงการวิจัยเรื่องประเพณีสิบสองเดือน : พิธีกรรมที่เปลี่ยนไป. (2544). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร.

ประเพณีไหลเรือไฟทำยังไง

เรือไฟ” หรือ “เฮือไฟ” แต่โบราณเป็นเรือที่ทำด้วยไม้ไผ่ ยาวประมาณ 1 เมตร ที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านโดยแท้ มีการใส่ขนม ข้าวต้มผัด สิ่งของที่ต้องการบริจาคทาน มีการตัดเล็บหรือเส้นผม ตามความเชื่อของการสะเดาะเคราะห์ พร้อมตกแต่งเรือด้วยดอกไม้ธูปเทียน ตะเกียงขี้ไต้ เพื่อจุดส่องแสงให้สว่างไสวก่อนจะปล่อยเรือไหลไปตามสายแม่น้ำโขง ...

ประเพณีไหลเรือไฟมีความสําคัญอย่างไร

งานประเพณีไหลเรือไฟ (เฮือไฟ) จัดขึ้นในวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 การไหลเรือไฟถือเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า ในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาจากเทวโลก หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจําพรรษาที่ดาวดึงษ์ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา เมื่อออกพรรษาแล้วพระพุทธเจ้าก็เสด็จลงมาสู่มนุษย์โลก โดยบันไดทิพย์ทั้ง 3 วัน ...

ประเพณีไหลเรือไฟของชาวลาวมีวัตถุประสงค์เพื่อการใด

ด้วยเหตุนี้ ชาวลาวที่นับถือศาสนาพุทธ จึงได้ประดิษฐ์เรือไฟเป็นประเพณีในเทศกาลออกพรรษาปวารณา เพื่อระลึกถึงบุญคุณบิดามารดา และบูชาพระรัตนตรัย โดยการปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำ หรือ บางท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากแม่น้ำ ก็สามารถทำ "เรือไฟโคก" ขึ้นแทน ดังนั้นลาวจึงพากันเรียกว่า “เรือไฟ” และก็ถือเอาเป็นแบบอย่างสืบทอดเป็นประเพณีสืบต่อ ...

วัสดุสำคัญใด ที่ใช้ทำ ไหลเรือไฟ

ในบางพื้นที่ที่อาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำก็จะจัดให้มีการไหลเรือไฟขึ้น มีชื่อเรียกตามแต่ละท้องที่ เช่น ล่องเรือไฟ ลอยเรือไฟ หรือปล่อยเรือไฟ โดยชาวบ้านจะรวมตัวช่วยกันทำเรือไฟขึ้น โดยใช้ต้นกล้วย ไม้ไผ่ หรือวัสดุที่ลอยน้ำได้ ตกแต่งด้วยธงทิว ดอกไม้ และของไหว้ขอขมา เช่น หมาก พลู ก้อนข้าวเหนียว ข้าวต้มมัด กล้วย อ้อย รวมทั้งอาหารคาว ...