แนวโน้ม ราคา ทอง คํา ใน เดือนหน้า

ความเคลื่อนไหวราคาทองคำช่วงตรุษจีน ขอพิจารณาผลกระทบจากเทศกาลนี้ที่มีต่อราคาทองคำเป็น 2 ระยะคือ ช่วงราคาทองคำเป็นขาขึ้นปี 2543 – 2555 และช่วงราคาทองคำเป็นขาลงตั้งแต่ปี 2556 - ปัจจุบัน พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างราคาทองคำกับเทศกาลตรุษจีนหรือ Chinese New Year Effect นั้นต่างกัน

 

โดยในช่วงที่ทองคำเป็นขาขึ้น ราคามักปรับตัวขึ้นก่อนตรุษจีนและอ่อนตัวลงหลังตรุษจีน ซึ่งถือว่าสมเหตุสมผลเพราะทองคำถือเป็นของมงคลที่อยู่คู่กับคนจีนมาช้านาน ดังจะเห็นได้จากเทศกาลตรุษจีนหรือเทศกาลแต่งงาน ที่มักให้ทองคำเป็นของขวัญแก่กันเพื่อเสริมสิริมงคลสำหรับการดำเนินชีวิต ซึ่งสถิติบ่งชี้ว่าราคาทองคำมักปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 – 2% ต่อสัปดาห์ ในช่วง 5 – 15 วันทำการก่อนตรุษจีน และอ่อนตัวลงหลังจากนั้น 0.5% ต่อสัปดาห์ ในช่วง 5 – 15 วันทำการหลังตรุษจีน

 

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ พออนุมานได้ว่ามีการเร่งซื้อทองคำเพื่อเตรียมให้ของขวัญแก่กันก่อนเทศกาลจะมาถึง แต่พอผ่านพ้นไปแล้ว แรงซื้อจำนวนมากจะหายไป ซึ่งถ้าหากเป็นช่วงที่ขาดปัจจัยหนุนใหม่ หรือมีปัจจัยลบเล็กๆ น้อยๆ เข้ามาพอดี ราคาอาจถูกกดดันให้อ่อนตัวลงอีกครั้ง หรืออาจเป็นเพราะผู้ที่ได้รับทองคำเป็นของขวัญบางส่วนนำออกมาขายเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับตัวเอง

 

จากการสังเกตการเคลื่อนไหวของราคาทองคำช่วงตรุษจีนเพื่อจับจังหวะการ Trading ว่าการซื้อช่วงเวลาใดให้ผลตอบแทนดีที่สุด พบว่า ถ้าซื้อทองคำก่อนหน้าตรุษจีน 15 วันทำการ (ไม่นับเสาร์และอาทิตย์) จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยดีสุดที่ 2.6% มากกว่าการซื้อก่อนหน้า 5 และ 10 วันทำการที่ให้ผลตอบแทน 1.3% และ 1.7% ตามลำดับ

 

ถ้าพิจารณาร่วมกับค่าความเสี่ยงหรือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลตอบแทน แม้การซื้อก่อนหน้า 15 วันทำการ จะไม่ได้ให้ค่าความเสี่ยงต่ำสุด แต่ถ้าดูในแง่ของค่าความเสี่ยงต่อหนึ่งหน่วยผลตอบแทน (Coefficient of variation: CV) ประกอบ โดยนิยามว่าถ้าแต่ละช่วงเวลาให้ผลตอบแทนเท่ากันแล้ว ช่วงเวลาไหนที่ให้ค่าความเสี่ยงต่ำกว่าถือว่ามีความน่าสนในการลงทุนมากกว่า พบว่าการซื้อ 15 วันทำการก่อนหน้าให้ค่า CV ต่ำสุด โดยอยู่ที่ 1.4 เท่า น้อยกว่า 2.8 เท่า และ 2.2 เท่า ของช่วง 5 และ 10 วันทำการก่อนหน้า ตามลำดับ

 

ส่วนช่วงเวลาที่น่าขายมากที่สุดคือ 5 วันทำการหลังผ่านตรุษจีนไปแล้ว เพราะช่วงนั้นราคายังปรับตัวขึ้นได้เฉลี่ย 0.4% ด้วยความน่าจะเป็นที่จะให้ผลตอบแทนเป็นบวก 70% แต่ถ้าปล่อยเลยไปถึง 10 – 15 วันทำการ ราคาจะปรับตัวลงเฉลี่ย 0.4% ด้วยความน่าจะเป็นที่จะให้ผลตอบแทนเป็นลบ 70% ถ้าจะ Trading เฉพาะแค่ประเด็น Chinese New Year Effect ในช่วงราคาทองคำเป็นขาขึ้น ควรซื้อก่อนหน้าตรุษจีน 15 วันทำการ และขายหลังตรุษจีน 5 วันทำการ

 

ส่วนในช่วงที่ราคาทองคำเป็นขาลงตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน กลับพบว่าความสัมพันธ์แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยราคาทองคำปรับขึ้นก่อนตรุษจีนไม่มาก การซื้อทองคำในช่วง 5, 10, และ 15 วันทำการก่อนตรุษจีน ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยใกล้เคียงกันคือ 1% ในแต่ละช่วงเวลา แต่มักปรับตัวขึ้นได้ดีหลังผ่านตรุษจีนไปแล้ว โดยเฉพาะในช่วง 15 วันทำการหลังตรุษจีน ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 1.5% ด้วยความน่าจะเป็นในการให้ผลตอบแทนเป็นบวก 70%

 

และถ้าพิจารณาร่วมกับค่าความเสี่ยงก็ให้ผลลัพธ์เหมือนกัน คือ ซื้อทองคำหลังตรุษจีนจะให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับความเสี่ยงมากกว่าซื้อก่อนตรุษจีน ที่พฤติกรรมเปลี่ยนไปเช่นนี้อาจเป็นเพราะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนในระยะหลัง ซึ่งทำให้ความต้องการทองคำเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับลดลงเฉลี่ยไตรมาสละ 10% (Y-Y) ในปี 2557 - 2559

 

เพราะฉะนั้น ถ้าแนวโน้มราคาทองคำไม่เปลี่ยนแปลง คือ ยังเป็น Sideways ถึง Sideways Down การเข้าซื้อช่วงก่อนตรุษจีนในปีนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ อาจให้ผลตอบแทนไม่ดีนัก เมื่อเทียบกับการซื้อในวันตรุษจีนหรือหลังจากนั้นเล็กน้อย

 

โดยเชื่อว่าปีนี้จะมี Chinese New Year Effect กับราคาทองคำ แม้ภาวะปัจจุบันจะมีความเสี่ยงจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน อาจทำให้การจับจ่ายใช้สอยในจีนไม่คึกคัก แต่นั่นอาจทำให้คนจีนหันมาให้ความสำคัญกับการซื้อทองคำเพื่อใช้เป็นแหล่งพักเงินมากขึ้น และถ้าพิจารณาจากความต้องการทองคำในจีนทั้งใช้เป็นเครื่องประดับและการลงทุน ก็กลับมาฟื้นตัวแล้วตั้งแต่ปี 2560 ราว 4% (Y-Y) อยู่ที่ 1,013 ตัน และ 5% ในช่วง 9 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 785 ตัน  

 

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ข้างต้นพิจารณาจากพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาทองคำช่วงตรุษจีนในอดีตเท่านั้น ซึ่งอาจไม่เหมือนอนาคตถ้าแนวโน้มราคาทองคำเปลี่ยนแปลงไป ดังจะเห็นได้จากความสัมพันธ์ใน 2 ช่วงเวลาข้างต้นที่ให้ผลลัพธ์ต่างกันชัดเจน เพื่อให้การวิเคราะห์เป็นไปอย่างครอบคลุมและสัมฤทธิ์ผลมากที่สุด

 

นักลงทุนควรพิจารณาผลกระทบจากปัจจัยอื่นในช่วงนั้นอย่างรอบด้าน ซึ่งถ้าหากไตร่ตรองแล้วไม่มีปัจจัยไหนเด่นหรือปัจจัยบวกลบมีน้ำหนักพอกันก็สามารถใช้กลยุทธ์นี้ได้เต็มที่ ที่สำคัญเมื่อเลือกใช้กลยุทธ์ไหนแล้วต้องไม่ลืมวินัยในการลงทุน ถ้าผิดทางจนทำให้ขาดทุนมากกว่าระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ก็ให้ขายตัดขาดทุนทันที

นายธนรัชต์ พสวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มฮั่วเซ่งเฮง เปิดเผยว่า ปัจจัยที่กระทบราคาทองคำในปี 2566 ยังคงเป็นการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางในประเทศต่าง ๆ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐ ที่ใช้นโยบายเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 4.25% สู่ระดับ 4.25%-4.5% ในปี 2565 ที่ผ่านมา ขณะที่การคาดการณ์ Dot plot ของเจ้าหน้าที่เฟดในเดือนธ.ค. ล่าสุดนั้น เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสู่ระดับ 5.1% ภายในปี 2566 แสดงว่าเฟดจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% สะท้อนถึงการเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มผ่อนคลายลงกว่าเดิม จากมุมมองด้านเงินเฟ้อสหรัฐที่จะลดลงในปี 2566 ต่อไป

อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารกลางตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำเกินไป จนเกิดเงินเฟ้อ หรือแม้แต่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนดึงเงินเฟ้อให้ชะลอตัว แท้จริงแล้วไม่ใช่เพียงการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางเท่านั้น ที่ทำให้เงินเฟ้อพุ่งสูงหรือปรับตัวลง แต่ยังมีปัจจัยระหว่างประเทศ ได้แก่ ปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกและสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อเช่นกัน อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวก็ไม่ใช่สาเหตุที่เงินเฟ้อปรับขึ้นไปอย่างมาก ซึ่งการดำเนินนโยบายการเงินนั้นที่ได้ผลที่สุดคือการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในจำนวนเพียงพอเมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้จึงจะสามารถทำให้เงินเฟ้อเข้าสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% หากดูตามกฎเทย์เลอร์ ซึ่งเป็นที่รู้จักโดยผู้กำหนดนโยบายการเงินทั้งหมดของเฟด เราจะพบว่าเฟดยังคงตามหลังอยู่ โดยตามกฎเทย์เลอร์ ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินมีเสถียรภาพเมื่อเพิ่มอัตราดอกเบี้ยน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

ด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงใช้นโยบายเข้มงวดในการเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นกันเหมือนกับสหรัฐ แต่ไม่รุนแรงเท่าสหรัฐซึ่งในปี 2565 รวมทั้งผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลให้ก๊าซ พลังงาน ราคาอาหาร สินค้าโภฑภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นไปมาก และยังไม่มีทีท่าว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวลดลง และผลกระทบของสงครามที่ส่อแววจะยืดเยื้อก็ยิ่งดันให้อัตราเงินเฟ้อในยุโรปยังคงทรงตัวในระดับสูง

รวมไปถึงธนาคารกลางญี่ปุ่น หลังจากที่ BOJ เซอร์ไพรส์ตลาดโดยมีแผนยุติการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ ประกอบกับการเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นได้พุ่งขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2524 เนื่องจากต้นทุนนำเข้าสินค้าอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้น และเงินเยนอ่อนค่า ปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลต่อการคาดการณ์ว่า BOJ อาจจะทำการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินอีกครั้งในเดือนม.ค. ซึ่งอาจส่งให้เงินเยนกลับมาแข็งค่ามากขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์

การที่ธนาคารกลางสหรัฐมีแนวโน้มขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่อัตราน้อยลงอย่างมากแตกต่างจากปี 2565 ซึ่งอาจส่งผลให้ดอลลาร์เริ่มชะลอการแข็งค่าลง ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีท่าทีที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับแนวโน้มที่ BOJ จะยุติใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ และเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐและประเทศท้องถิ่นนั้น ๆ เริ่มมีช่องว่างของดอกเบี้ยที่แคบลง จึงส่งผลให้ค่าเงินประเทศอื่น ๆ นั้นเริ่มกลับมาแข็งค่ากว่าเดิม เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ จึงส่งผลให้ดอลลาร์อาจมีแนวโน้มอ่อนค่าลงในปี 2566 หนุนราคาทองคำ

ขณะเดียวกันสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งคาดว่ายังคงเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อต่อเนื่องจากจากปี 2565 ส่วนยุโรป ซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามมากที่สุดนั้นพยายามที่จะแก้ไขปัญหาด้านพลังงานที่ขาดแคลน และราคาพุ่งสูง

นอกจากนี้ต้องติดตามการเดินหน้าทดสอบขีปนาวุธเกาหลีเหนือ ซึ่งคาดว่าเกาหลีเหนืออาจมีการทดสอบยิงขีปานาวุธอย่างต่อเนื่อง และกรณีไต้หวัน ภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ จากการเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศ อีกทั้งเศรษฐกิจในหลายประเทศยังฟื้นตัวไม่ดีนัก ส่งผลต่อความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และปัจจัยดังกล่าวจะยิ่งหนุนแรงซื้อทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ตลอดจนแรงซื้อทองคำก่อนช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งในช่วงต้นปีมักจะมีแรงซื้อทองคำดังกล่าว จากประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้บริโภคทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้ในช่วงต้นปีราคาทองคำส่วนใหญ่จะปรับตัวขึ้น

สำหรับแนวโน้มราคาทองคำคาดเคลื่อนไหว Sideways ซึ่งสัปดาห์นี้ปริมาณการซื้อขายราคาทองคำอาจเบาบาง จากตลาดการเงินของสหรัฐปิดทำการในวันจันทร์ เนื่องด้วย Christmas Day และก่อนที่จะถึงช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลขึ้นปีใหม่ ส่วนสัปดาห์นี้สหรัฐจะเปิดเผยยอดทำสัญญาขายบ้านรอปิดการขายเดือนพ.ย. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนี PMI เขตชิคาโกเดือนธ.ค.

ทั้งนี้ ราคาทองคำ gold spot มีแนวรับอยู่ที่ 1,780 ดอลลาร์ และ 1,770 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้าน 1,820 ดอลลาร์ และ 1,830 ดอลลาร์ ส่วนราคาทองแท่งในประเทศมีแนวรับ 29,400 บาท และ 29,300 บาท ขณะที่แนวต้านที่ 29,800 บาท และ 29,900 บาท